รูปแบบการเกษตร


การพัฒนาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ไม่จำกัดว่าจะใช้การผลิตรูปแบบใด ขึ้นอยู่กับความเหมาะทางสังคมเศรษฐกิจของแต่ละชุมชน

รูปแบบการเกษตร

การเกษตรที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้จะมุ่งถึงการใช้การผลิตอาหารในท้องถิ่น สร้างความพอเพียงให้ครอบครัวเกษตรกรรายย่อย   เพื่อเป็นฐานในการพัฒนาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ไม่จำกัดว่าจะใช้การผลิตรูปแบบใด ขึ้นอยู่กับความเหมาะทางสังคมเศรษฐกิจของแต่ละชุมชน ระบบการเกษตรที่อาจเลือกใช้ที่จะกล่าวถึงต่อไปตามลำดับ ดังนี้

1) เกษตรแบบยังชีพ(subsistence agriculture)

2) เกษตรแบบการค้า(commercial agriculture)

3) เกษตรผสมผสานแบบประณีต

4) วนเกษตร(agro-forestry)

5) เกษตรปลอดสารพิษ

6) เกษตรทฤษฎีใหม่

7) เกษตรธรรมชาติ(natural farming)

8) เกษตรอินทรีย์(organic agriculture)

เกษตรแบบยังชีพ

เป็นการทำการเกษตรที่มิได้มุ่งหวังผลิตเพื่อการจำหน่าย มุ่งเพื่อเป็นแหล่งอาหารและใช้ในครอบครัว อาจมีการแลกเปลี่ยนผลผลิตกันบ้าง ผลิตโดยใช้พันธุ์ที่มีอยู่ ใช้ปัจจัยที่หาได้ในท้องถิ่นเป็นหลัก

เกษตรแบบการค้า

เกิดขึ้นเนื่องจากการขยายตัวทางสังคมและเศรษฐกิจระบบทุนนิยม และวิชาการสมัยใหม่ที่เน้นการผลิตแบบพืชเชิงเดี่ยว เมื่อชุมชนหรือสังคมมีการติดต่อกันมากขึ้นความจำเป็นด้านการตลาดทางการค้าก็มีมากขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยนเงินตราเข้ามาสู่ชุมชนหรือแต่ละประเทศเกษตรแบบการค้า มุ่งเน้นผลิตอาหารหลักให้แก่โลก แต่ปัจจุบันมีประชากรโลกประมาณ 2,000 ล้านคน ที่มีชีวิตอยู่ได้เพราะการผลิตอาหารแบบดั้งเดิมในท้องถิ่น โดยมากเป็นชาวบ้านที่ยังไม่เชื่อคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรของภาครัฐ(staple food) ไม่กี่ชนิดเพื่อสนองการค้าของโลก โดยเชื่อกันว่าเป็นผู้ป้อนอาหาร

เกษตรผสมผสานแบบประณีต

เป็นการใช้พื้นที่ทางการเกษตรที่มีอยู่เดิมมาเพิ่มกิจกรรมให้มากกว่าเดิมตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป อาจเป็นการปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์ เป็นการลดความเสี่ยงที่เกิดจากราคาผลผลิตตกต่ำหากปลูกพืชเพียงอย่างเดียว ซึ่งกิจกรรมในพื้นที่จะต้องผสานเกื้อกูลกัน เช่น ทำนา ทำไร่ ทำสวน และเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่เดียวกัน

วนเกษตร

เป็นการทำการเกษตรโดยคำนึงถึงระบบนิเวศของป่าเป็นสำคัญ ให้เกิดความเกื้อกูลกันโดยไม่ทำลายความเป็นป่า หรือสร้างพื้นที่ให้ใกล้เคียงกับความเป็นป่า มีความหลากหลายทางชีวภาพดังเช่นระบบนิเวศของป่า มีรูปแบบตามองค์ประกอบกิจกรรมหลัก เช่น ระบบป่าไม้-ปลูกพืชเกษตร ป่าไม้-การทำปศุสัตว์ เกษตร-ป่าไม้-ปศุสัตว์ และป่าไม้-ประมง

เกษตรปลอดสารพิษ

ในปี 2545 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ตรวจสารพิษในผักคะน้าและผักบุ้งจำนวน 202 ตัวอย่าง พบสารพิษตกค้างของสารกำจัดศัตรูพืชในระดับที่มีพิษสูงมากถึงร้อยละ 48 ทำให้ผู้บริโภคได้ตระหนักถึงสุขภาพอนามัยของตนเองมากยิ่งขึ้น จึงมีการกำหนด

ผลิตภัณฑ์อาหารปลอดภัยที่ระดับต่างๆ เช่น

       1) ผลิตภัณฑ์ปลอดภัยจากสารพิษ เป็นผลผลิตการเกษตรที่ไม่เก็บเกี่ยวก่อนที่สารเคมีที่เป็นพิษจะถูกชะล้างหรือเสื่อมสลายไป หรือรอให้มีพิษตกค้างน้อยที่สุดไม่เกินปริมาณที่กำหนด

      2) ผลิตภัณฑ์ปลอดสารพิษ เป็นผลผลิตการเกษตรที่ไม่ใช้สารพิษหรือสารเคมีเลย

      3) ผลิตภัณฑ์อนามัย เป็นผลผลิตการเกษตรที่ผ่านการตรวจสอบของกรมวิชาการเกษตร โดยเกษตรกรได้ควบคุมการใช้สารเคมี ที่เป็นพิษอย่างระมัดระวัง มีความปลอดภัยในการนำไปบริโภค มีสารพิษตกค้างในปริมาณไม่เกินที่กำหนด

เกษตรทฤษฎีใหม่

เป็นแนวคิดในการทำการเกษตรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เหมาะกับพื้นที่ขนาดเล็ก 0 – 20 ไร่ มี 3 ขั้นตอน ดังนี้

ทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 1 : พออยู่พอกิน

เป็นเรื่องของการจัดการพื้นที่การเกษตรออกเป็น 4 ส่วน ตามสูตร 30 : 30 : 30 : 10 ตัวอย่างพื้นที่ 15 ไร่ แบ่งเป็น

1) แหล่งน้ำร้อยละ 30 หรือ 3 ไร่ ขุดลึก 4 เมตร เพื่อกักเก็บน้ำในหน้าฝน ป้องกันน้ำไหลหลากท่วมไร่นา และเพื่อใช้น้ำใน

หน้าแล้งหรือฝนทิ้งช่วง โดยคำนวณว่าพื้นที่เพาะปลูก 1 ไร่ ต้องมีน้ำ 1,000 ลูกบาศก์เมตร ดังนั้นพื้นที่ 10 ไร่ ต้องใช้น้ำอย่างน้อย10,000 ลูกบาศก์เมตร

2) ทำนาร้อยละ 30 หรือ 5 ไร่ เพื่อปลูกไว้กินเองหรือเหลือขายเป็นรายได้ คนไทยกินข้าวเฉลี่ยคนละ 200 กก.ข้าวเปลือกสมาชิกครอบครัวละ 3 – 4 คน ปลูกข้าว 5 ไร่ ผลผลิตไร่ละ 30 ถัง เพียงพอต่อการบริโภค

3) ปลูกไม้ผลยืนต้น พืชไร่ พืชผัก พืชสมุนไพร และไม้ดอกไม้ประดับ ร้อยละ 30 หรือ 5 ไร่ เพื่อเป็นแหล่งอาหาร ปลูกไม้ใช้สอย และเพิ่มรายได้

4) ที่อยู่อาศัย เลี้ยงสัตว์ และกิจกรรมอื่นๆ ร้อยละ 10 หรือ 2 ไร่

ทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 2 : รวมพลังเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันเป็นการรวมกลุ่มให้เกิดพลังในการดำรงชีพ การผลิต การตลาด ทำให้เพิ่มอำนาจในการต่อรองราคาในการจำหน่ายผลผลิตได้เมื่อกลุ่มเข้มแข็งก็สามารถสร้างสวัสดิการความเป็นอยู่ของสมาชิกและชุมชน

ทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 3 : ร่วมค้าขายสร้างเครือข่ายเศรษฐกิจชุมชนเป็นการร่วมกับคนภายนอกค้าขาย ประสานประโยชน์ร่วมกัน

เกษตรธรรมชาติ

เป็นการเกษตรอีกรูปแบบหนึ่งที่เน้นการผลิตโดยใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยไม่เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมเกษตรกรสามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างกลมกลืน

เกษตรอินทรีย์(organic agriculture)

การทำการเกษตรอินทรีย์ (organic farming) คือ “การเกษตรระบบหนึ่งที่ส่วนใหญ่อาศัยทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่นกับการขึ้นอยู่ของการรักษาสมดุลทางนิเวศและการพัฒนาการกระบวนการทางชีวภาพเพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดีที่สุด (optimum)

คำจำกัดความเกษตรอินทรีย์ (organic agriculture) จาก FAO/WHO (Codex Alimentarius Commission, 1999) ได้แก่การเกษตรระบบหนึ่งที่ส่วนใหญ่อาศัยทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่นกับการขึ้น” (จาก Stolton 2002 )

“ชีวภาพ และกิจกรรมชีวภาพของดิน โดยเน้นการใช้การปฏิบัติด้านการจัดการให้ใช้ปัจจัยนำเข้านอกฟาร์มที่มีอยู่ในท้องถิ่นที่ปรับตัวเข้ากับสภาพพื้นที่ได้แล้ว ซึ่งจะบรรลุผลได้โดยการใช้วิธีการทางวัฒนธรรม ชีวภาพ และวิธีกลเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยต่อต้านการใช้วัสดุสังเคราะห์ที่สนองต่อหน้าที่เฉพาะใดๆ ในระบบระบบจัดการการผลิตแบบองค์รวมที่เกื้อหนุนและเพิ่มพูนสุขภาพของระบบเกษตรนิเวศ รวมถึงความหลากหลายทางชีวภาพ วงจร”

 

 สรุปข้อมูลดีๆ จาก กรมปศุสัตว์นะครับ    ....ช่วยกันเผยแพร่....
หมายเลขบันทึก: 414644เขียนเมื่อ 18 ธันวาคม 2010 17:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 23:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท