ความเชื่อเรื่องความตาย


พุทธ คริสต์ อิสลาม กับความเชื่อเรื่องความตาย

พุทธ คริสต์  อิสลาม กับความเชื่อเรื่องความตาย

                 จากประสบการณ์การพัฒนาแนวทางการดูแลแบบประคับประคองของโรงพยาบาล  เมื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการดูแลแบบประคับประคองแล้วเสร็จปัญหา  คือการจะทำอย่างไรให้เจ้าหน้าที่สามารถปฏิบัติได้ตามแนวปฏิบัติที่เราเขียนขึ้นเพราะเมื่อติดตามการใช้แนวปฏิบัติเจ้าหน้าที่ยังเข้าใจไม่ลึกซึ่งในประเด็นทางด้านความเชื่อและ จิตวิญญาณ   จึงได้นิมนต์และเชิญผู้นำศาสนา พุทธ คริสต์  อิสลาม มาให้ความรู้เรื่องความเชื่อเรื่องความตายของแต่ละศาสนา และในบทบาทของบุคคลากรทางการแพทย์จะให้การช่วยเหลือกับผู้ป่วยที่นับถือได้จากไปอย่างสงบหรือที่เราเรียกว่าสมศักดิ์ศรี

ภาพที่ผู้นำทั้ง 3ศาสนานั่งในเวทีเดียวกันเป็นภาพที่น่าประทับใจ

และน่าเคารพมาก

 พบว่าความเหมือนของ 3 ศาสนา คือ

1.ก่อนเสียชีวิตให้จิตจดจ่อในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง คือทำให้จิตนั้นมีสมาธิ

ศาสนาพุทธจดจ่อกับลมหายใจ   ศาสนาคริสต์จดจ่อกับพระเจ้า  ศาสนาอิสลามจดจ่อกับพระอัลลอระห์

2.ความตายเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องพบซึ่งในแต่ละศาสนามีอุบายให้เห็นว่าความตายเป็นสิ่งที่ไม่น่ากลัวและไม่ควรกลัวและควรมีการเตรียมตัวตาย ศาสนาพุทธมีการเจริญมรณานุสติ   คริสเตียนเชื่อว่าความตายเป็นการกลับคืนสู่พระเจ้าในฝ่ายจิตวิญญาณ  อิสลาม การตายเป็นการหลุดพ้นพบความสงบ

 การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 

                 1.เริ่มตั้งแต่เราจะคัดเลือกผู้ที่จะมาเข้าร่วมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ควรประกอบด้วย ผู้สนใจทุกหน่วยงานที่มีการดูแลแบบประคับประคอง

                2.เมื่อดำเนินเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้พบว่าไม่เกิดการแลกเปลี่ยน  เราจะทำอย่างไรให้เวทีนี้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เริ่มแรกให้ทุกคนเวียนกันพูดในหัวข้อเดียวกันที่กำลังดำเนินการอยู่เมื่อเกิดความคุ้นเคยครั้งที่ 3-4 จึงจะกล้าแสดงความคิดเห็นแต่บางคนก็ต้องเรียกชื่อ

                3.ประเด็นไหนบางที่เราควรนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้

                                3.1.เป็นตามทฤษฎีที่เราต้องการให้ทีมรับทราบ

                                3.2.เป็นประเด็นที่เราประเมินได้ว่าเจ้าหน้าที่เรายังปฏิบัติได้ไม่ถูกต้อง 

                                3.3.ทีมตั้งประเด็นปัญหาที่ต้องการแลกเปลี่ยนขึ้นมาเอง

                4.ควรมีการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

                 

 

หมายเลขบันทึก: 414285เขียนเมื่อ 16 ธันวาคม 2010 20:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 16:11 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • ผมคิดว่า กระบวนการ และ กระบวนกร มีความสำคัญมากในการจัดเวทีแลกเปลี่ยนความรู้
  • บรรยากาศต้องเป็นมิตร ทำให้ทุกคนรู้สึกปลอดภัยที่จะพูดประสบการณ์ตนเอง ไม่ใช่ กลัวว่า เรื่องของเราดูเห่ยจัง เลยไม่กล้าพูด แต่ความจริง มันเป็นความรู้จากการปฏิบัติที่หาได้ยาก เป็นต้น
  • แลกเปลี่ยนได้อย่างไร เอามาเล่ากันบ้างนะครับ

* จากประสบการณ์ ที่จัดก็เรียนรู้จากการเป็นกระบวนกรครั้งแรกๆ แล้วให้คะแนนตัวเองทบทวนตัวเองและ

สอบถามผู้ที่เข้าร่วมเวที(ถามผู้ที่กล้าบอกเราตรงๆไม่ใช่คนชมอย่างเดียว)เพื่อปรับใช้ในการจัดครั้งต่อๆไป

* สำหรับกระบวนการก็อ่านจากของอาจารย์และอาจารย์หลายๆท่านและนำไปประยุกต์ใช้ค่ะ

* ขอบคุณมากค่ะอาจารย์ที่ให้ข้อคิดดีๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท