สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมและ วัฏจักรของสารในระบบนิเวศ


สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม วัฏจักรของสารในระบบนิเวศ

สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม และ วัฏจักรของสารในระบบนิเวศ

วัฏจักรของสาร หมายถึง การเปลี่ยนแปลงของสารหนึ่งไปเป็นอีกสารหนึ่งโดยการเปลี่ยนจากตำแหน่งหนึ่งไปยังอีกตำแหน่งหนึ่งหรือเปลี่ยนแจากสิ่งมีชีวิตหนึ่งไปยังสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง แต่ที่สุดแล้วสารนั้นก็จะหมุนเวียนกลับไปยังสภาพเดิมอีกครั้งเช่นการหมุนเวียนของออกซิเจนจากอากาศสิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่ใช้ออกซิเจนในการหายใจแล้วปล่อยแก๊ซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาพืชนำคาร์บอนไดออกไซด์ไปใช้ในการสังเคราะห์แสง พร้อมกับปล่อยแก๊ซออกซิเจนออกสู่บรรยากาศอีกครั้ง

วัฏจักรน้ำ

น้ำ เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิตทุกชนิดเพราะสิ่งมีชีวิตใช้น้ำในกระบวนการต่างๆ ในการดำรงชีวิตเช่นการหายใจขับถ่ายลำเลียงสาร

วัฏจักรน้ำแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ วัฏจักรระยะสั้น และ วัฏจักรระยะยาว

  • วัฏจักรระยะสั้น ไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตเป็นการหมุนเวียนน้ำที่เกิดโดยกระบวนการทางกายภาพเริ่มจากแหล่งน้ำที่ผิวโลกระเหยกลายเป็นไอรวมกันเป็นเมฆ ควบแน่นรวมกันกลายเป็นฝนตกลงสู่แหล่งน้ำอีกครั้ง
  • วัฏจักรระยะยาว เกี่ยวของกับสิ่งมีชีวิตเกิดจากพืชดูดน้ำเข้าทางรากเพื่อใช้ในการสังเคราะห์แสงและกิจกรรมต่างๆของพืชจากนั้นจึงคายไอน้ำออกทางปากใบสัตว์กินพืชได้น้ำจากพืชร่วมทั้งการดื่นน้ำสัตว์หายใจและขับน้ำออกจากตัวน้ำทั้งหมดระเหยการเป็นไอรวมกันกลายเป็นเมฆและตกลงมาเป็นฝนอีก

 

วัฏจักรคาร์บอน จากคาร์บอนที่อยู่ในบรรยากาศในรูปของแก๊ซคาร์บอนไดออกไซด์ พืชนำแก๊ซคาร์บอนไดออกไซด์ไปใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงสร้างเป็นสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตพืชถูกสัตว์กินเป็นอาหารสารประกอบคาร์บอนจึงเข้าสู่สัตว์ทั้งพืชและสัตว์หายใจเอาแก๊ซคาร์บอนไดออกไซด์ออกรวมทั้ง เมื่อพืชและสัตว์ตายถูกย่อยสลายการเป็นแก๊ซคาร์บอนไดออกไซด์และซากตายทับถมกันเน่าเปื่อยนานนับหลายร้อยหลานปีกลายเป็นเชื้อเพลิงฟอสซิว คือ ถ่านหินน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ

 

วัฏจักรคาร์บอนและออกซิเจนมีความสัมพันธ์กันโดยแก๊ซคาร์บอนไดออกไซด์เกิดจากกระบวนการหายใจของสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ซึ่งพืชและแพลงก์ตอน พืชนำแก๊ซคาร์บอนไดออกไซด์ไปใช้ในการสังเคราะห์แสงและได้ออกซิเจนที่สิ่งมีชีวิตไปใช้ในการหายใจและใช้ในการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง

 

แก๊ซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศที่เพิ่มขึ้นมากเนื่องจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงจึงทำให้โลกร้อนขึ้นเนื่องจากรังสีจากดวงอาทิตย์ที่มีทั้งแสงสว่างและความร้อนส่วนใหญ่เมื่อส่งมาที่โลกแล้วจะสะท้อนผ่านบรรยากาศออกไปแต่เมื่อมีแก๊ซคาร์บอนไดออกไซด์และแก๊ซอื่นๆกั้นไม่ให้ความร้อนสะท้อนกลับออกไปทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยบริเวณผิวโลกเพิ่มขึ้นหรือเรียกว่าภาวะโลกร้อน

วัฏจักรไนโตรเจน

ในอากาศมีไนโตรเจนอยู่ถึง 80% ในน้ำและในดินยังมีสารประกอบไนโตรเจนชนิดต่างๆ เช่น เกลือไนเตร เกลือไนไตรต์ ตัวแอมโมเนียม ตัวเหล่านี้พืชสามารถนำไปใช้สร้างส่วนต่างๆของพืชได้เมื่อสัตว์กินพืชสัตว์นำสารประกอบไนโตรเจนที่ได้จากพืชไปสร้างโปรตีนในเนื้อเหยื่อสัตว์เมื่อทั้งพืชและสัตว์ตายผู้ย่อยสลายจะเปลี่ยนเนื้อย่อยเหยื่อพืชและสัตว์ให้กลายเป็นสารประกอบไนโตรเจนอยู่ในดินอีกครั้งในดินมีแบคทีเรียสลายไนเตร ที่เป็นไนโตรต์ และให้เป็นในโตรเจนในอากาศได้อีกส่วนในปมรากถั่วมีแบคทีเรียช่วยตึงแก๊ซไนโตรเจนจากอากาศให้เป็นเกลือไนเตรได้

ธาตุคาร์บอน ออกซิเจน และไนโตรเจน มีความสัมพันธ์กันด้วยกระบวนการสำคัญๆ สองสามกระบวนการคือกระบวนการหายใจกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงและกระบวนการย่อยสลายอินทรียสารจากพืชหรือสัตว์ที่ตายหรือที่ขับถ่ายออกมาโดยได้รับการถ่ายทอดพลังงานจากดวงอาทิตย์และการหมุนเวียนถ่ายทอดสารและพลังงานไปยังสิ่งมีชีวิตอื่นๆในระบบนิเวศ

 

หมายเลขบันทึก: 413910เขียนเมื่อ 15 ธันวาคม 2010 16:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 22:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เรื่องราวดี ๆ อย่างนี้ไม่อ่านไม่ได้แล้ว ดีมาก ๆคะ เอาใจช่วยให้นำเรื่องรางดี ๆ มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอีกนะคะ และช่วยแนะนำ เพื่อน ๆ ให้สร้าง blog ด้วยนะคะ

ดีณ๊...วรรณภา..ความรู้อ่านแล้ววัฎจักรก็มีหลายณ๊...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท