มีสติอยู่กับปัจจุบันขณะ = Presencing ?


 

  • วันนี้ผมพึ่งเข้าถึง คำว่า "มีสติอยู่กับปัจจุบันขณะ" ชัดขึ้นในบางประเด็นครับ (คงมีหลายท่านเข้าถึงนานแล้ว)
  • ผมพบว่า การฝึกมีสติอยู่กับปัจจุบันขณะ สำหรับมือใหม่(ผมด้วย)นั้น จำเข้าถึงได้และมีประโยชน์ก็ต่อเมื่อเข้าสู่สัมปะชัญญะ หรือมีสมาธิต่อเนื่องระดับหนึ่งมาแล้ว
  • กล่าวคือ สำหรับมือใหม่ ถ้าขณะนั้นจิตวุ่นวายแบบโลก ๆ อยู่ ผมว่า ยากที่จะเข้าถึงปัจจุบันขณะที่แท้และเห็นประโยชน์ของปัจจุบันขณะ
  • แต่ในทางกลับกัน ถ้าเดินมรรค มีสติ สมาธิ ปัญญาอยู่ในระดับที่ใช้การได้แล้ว สภาวะของการดำรงสติอยู่ในปัจจุบันจะเห็นผลเลิศและมีความสำคัญยิ่งนัก
  • (พาลูกชายไปถอนฟันก่อนนะครับ)

 

  • ------------- (กลับมาเขียนต่อแล้วครับ)
  • จากประสบการณ์ผมขอแบ่งสภาวะของจิตใจออกเป็น 4 ระยะ ดังนี้ครับ
  1. ระยะที่จิตสงบ (อย่างอริยชน)
  2. ระยะเปลี่ยนแปลงจากจิตสงบ(อย่างอริยชน) ไปสู่ จิตวุ่นวาย (อย่างปุถุชน)
  3. ระยะที่จิตวุ่นวาย (อย่างปุถุชน)
  4. ระยะเปลี่ยนแปลงจากจิตวุ่นวาย (อย่างปุถุชน) ไปสู่ จิตสงบ

 

ผมพบว่า...

  1. ในช่วงก่อนฝึกตนหรือช่วงฝึกแรก ๆ ระยะที่ 3 จะมีมากกว่า หรือมีเป็นหลัก  แต่พอฝึกเรื่อย ๆ ระยะที่ 1 จะมีแทรกเ้ข้ามาบ่อยขึึ้น เพิ่มมากขึ้นเรื่อย แรก ๆ ระยะที่ 1 นั้น จะดำรงอยู่เพียงเวลาสั้น ๆ แล้วก็จะกลับไปสู่ระยะที่ 3 ขึ้นอยู่กับว่า เดินมรรคเป็นหรือเร็วแค่ไหน ต่อมาระยะความสงบก็จะดำรงอยู่ได้นานมากขึ้น จนกลายเป็นเวลาส่วนใหญ่ และจะกลายเป็นว่า ระยะที่ 3 ที่จิตวุ่นวาย จะเป็นระยะส่วนน้อยที่นาน ๆ จะเข้ามาแทรกตามเหตุปัจจัย
  2. *** ถ้าเราอยู่ในระยะที่ 1 คือ ระยะที่จิตสงบ การมีสติอยู่กับปัจจุบันจะเป็นเครื่องมือแห่งเหตุที่ช่วยรักษาสภาวะระยะที่ 1 ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่ง...

 

ประเด็นที่น่าสนใจจาก 4 ระยะนี้

  1. ในสภาพสังคมปัจจุบันการดำรงไว้ซึ่งระยะที่ 1 คือ เน้นไปที่การทำจิตให้สงบเพื่อพัฒนาไปสู่ "ภาวนามยปัญญา" เป็นวิถีที่ถูกต้องเหมาะสมหรือไม่ ?
  2. ผมว่า สำหรับมือใหม่แล้ว ช่วงเปลี่ยนถ่ายทั้ง 2 ระยะ คือ ระยะที่ 2 กับ 4 จะมีอะไรที่เสริมการเดินปัญญาได้ดีนักแล (ขอให้ดูให้ดี ๆ ดูให้ทัน ไม่ต้องกลัว ไม่ต้องรีบร้อน)  นั่นหมายความว่า เพื่อให้เดิน "ปัญญา" ได้เร็ว มือใหม่ควรสร้างสภาวะที่ 2 และ 4 ให้เห็นบ่อย ๆ ใช่หรือไม่ ?
หมายเลขบันทึก: 413764เขียนเมื่อ 14 ธันวาคม 2010 19:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มกราคม 2014 13:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

เห็นควรเพิ่มเติมว่า "มีสติ ปัญญา อยู่กับปัจจุบันขณะ ปัจจุบันอารมณ์" น่าจะสมบูรณ์กว่า ตามวิธีแห่งการเจริญมรรคมีองค์ ๘ นะครับ

ปัจจุบันอารมณ์ เป็นศูนย์รวมของธรรมทั้งมวล ถ้าสติรู้ทัน ปัญญาเฝ้าดู เฝ้าสังเกตอยู่ที่ปัจจุบันอารมณ์ จะทำให้ สติปัฏฐาน ๔ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ บริบูรณ์ตามไปด้วยโดยอัตโนมัติ

มีสติ ปัญญา อยู่กับปัจจุบันขณะ ปัจจุบันอารมณ์

 

  • สาธุ สาธุ
  • ขอบคุณมากครับที่กรุณาช่วยเพิ่มเติมชี้ทางให้ครับ

ท่าน อโศกะ คงหมายความว่า

เราตามปัจจุบันอารมณ์ เพื่อ ไม่ปรุงแต่งอารมณ์

หรือ อาจกล่าวว่า ติดตามปัจจุบันอารมณ์ เพื่อ ...ไม่มีอารมณ์

เพราะ ถ้ามีอารมณ์ แล้ว จิต ก็ ไม่ประภัสสร

กระมังครับ

 

ระหว่างที่คิดด้วยใจอย่างใคร่ครวญตามคำชี้แนะของกัลยาณมิตรอยู่นั้น

จึงค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติม ไปพบหนังสือออนไลน์เล่มหนึ่งน่าสนใจมาก

จึงนำ Link มาฝากเป็นของขวัญปีใหม่ให้แด่กัลยาณมิตรครับ

 

ที่  http://www.sati99.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=350717

 

 

สติไม่ได้อยู่ที่ท่าทางครับ..แต่อยู่ที่การรู้เท่าทันสิ่งที่กระทบผัสสะ 5 แล้วไม่หวั่นไหวครับ

นาน....นาน.......................................นาน...แวะมาเยี่ยมทีครับอาจารย์

นมัสการพระคุณเจ้า

 

สติไม่ได้อยู่ที่ท่าทางครับ..แต่อยู่ที่การรู้เท่าทันสิ่งที่กระทบผัสสะ 5 แล้วไม่หวั่นไหวครับ

 

  • อากาศเริ่มเย็นลงเรื่อย ๆ ดูแลสุขภาพด้วยนะครับ
  • ผมเองนาน ๆ ๆ ถึงจะได้แวะมา Gotoknow เหมือนกันครับ ช่วงนี้โดนเจ้า FaceBook แย่งเวลาออนไลน์ไปครับ

จริง ๆ ด้วยครับ ผัสสะ 5 เป็นประตูทางออกภายนอกนี่เอง

 

 

 

ผมก็อยากแต่จะอยู่ที่ปัจจุบันขณะแต่ว่าทำไม่ค่อยจะสำเร็จสักครา อย่างไรช่วยหาทางได้แล้วบอกกันด้วย


ผมก็อยากแต่จะอยู่ที่ปัจจุบันขณะแต่ว่าทำไม่ค่อยจะสำเร็จสักครา  

เหมือนดั่งท่านอาจารย์ว่าไว้เลยครับ การมีสติอยู่กับปัจจุบัน จะช่วยรักษาสภาวะที่ 1 หรือจิตสงบได้นาน... แต่เจ้าการมีสติอยู่กับปัจจุบันนี้ ก็ไม่เที่ยงเหมือนกัน สำหรับมือใหม่อย่างผม ในสภาวะที่ต้องเร่งงานทางโลกอย่างตอนนี้แค่วันเดียวก็หลุดแล้วครับ

***..แต่ก็จะพบว่า ความสามารถในการกลับเข้าสู่ความสงบแห่งจิตก็จะทำได้ง่ายขึ้นกว่าเดิมเหมือนกันครับ น่าสนใจตรงนี้ด้วยครับ  

 



.....ถ้าหนูทำได้อย่างที่อาจารย์กล่าวมาหนูก็คงจะไม่มีความวุ่นวายในจิตใจ  คงจะต้องฝึก"การมีสติอยู่กับปัจจุบัน"จะพยายามค่ะ.....แล้วจะได้มีสติอยู่กับตนเองบ้าง

สาธุ สาธุ

ยินดีด้วยครับ ขอให้ใช้ความเพียรนะครับ

ถ้าเราเห็นต้นน้ำแล้ว เราคงไปถึงเป้าได้สักวันนะครับ

 

สาธุ  สาธุ  สาธุ  ครับท่านอาจารย์  ร่างกายที่ดีและมีสติการตัดสินใจต่างๆคงจะดีไปด้วย

ร่างกายที่ดีและมีสติการตัดสินใจต่างๆคงจะดีไปด้วย

 

สาธุ สาธุ ครับอาจารย์ประสิทธิ์

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท