โพชฌงค์


สติ ธัมมวิจยะ วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา

โพชฌงค์ คือสิ่งที่เป็นพื้นฐานที่สำคัญที่ทำให้การตรัสรู้ หรือโพธิจิต หรือการบรรลุธรรมเกิดขึ้นได้ มี 7 อย่าง คือ
 สติ    คือ ความระลึกได้   การระลึกรู้ ตัวเดียวสั้นๆ นี้แหละ เราเข้าใจง่ายๆ เช่นว่า เราระลึกรู้ว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ นี้เรียกว่า มีสติ   ธัมมวิจยะ  คือ การสอดส่องเลือกเฟ้นธรรม การวิจัยธรรม ซึ่งเป็นตัวปัญญานั่นเอง ก็คือการใคร่ครวญโดยชอบธรรม  ใคร่ครวญ สังเกตพิจารณาใช้วิจารณญาณ  ใช้ปัญญาของตัวเอง ให้สังเกตให้พิจารณา ให้เป็นผู้ที่ใคร่ครวญคิดด้วยหลัก ธรรม เมื่อมีการใคร่ครวญด้วยหลักธรรม ก็เป็นส่วนที่ส่งเสริมให้มี วิริยะ  คือ  ความพากเพียร คือไม่ใช่มีสติและก็มีปัญญา แล้วก็เพิกเฉย มันปลุกเร้าให้มีวิริยะให้มีความพากเพียร  ปีติ    คือ ความอิ่มใจ, ความดื่มด่ำในใจ มี 5 ชนิด คือ
     1. ขุททกาปีติ ปีติเล็กน้อย   คือ     พอขนชันน้ำตาไหล
     2. ขณิกาปีติ ปีติชั่วขณะ       คือ    รู้สึกแปลบๆ ดุจฟ้าแลบ
     3. โอกกันติกาปีติ ปีติเป็นระลอก  คือ   รู้สึกซู่ลงมาๆ ดุจคลื่นซัดฝั่ง
     4. อุพเพคาปีติ ปีติโลดลอย    คือ     ให้ใจฟูตัวเบา หรืออุทานออกมา
     5. ผรณาปีติ ปีติซาบซ่าน     คือ       เอิบอาบไปทั่วสรรพางค์ เป็นของประกอบกับสมาธิ (จากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ โดย พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) เช่นกัน)
ปัสสัทธิ   คือ  ความสงบกายสงบใจ, ความสงบใจและอารมณ์, ความสงบเย็น, ความผ่อนคลายกายใจ (จากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ โดย พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) เช่นกัน)
สมาธิ       คือ      ความตั้งใจมั่น ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ซัดส่ายไปในอารมณ์ต่างๆ

 อุเบกขา   คือ      ความที่จิตมีความสงบระงับเป็นอย่างยิ่ง ไม่กระเพื่อมไหวไปตามสิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นความสุข ทุกข์ ดีใจ เสียใจ รัก ชัง กล้า กลัว ยินดี ยินร้าย ฯลฯ ซึ่งจะเป็นจิตที่มีความประณีต ละเอียดอ่อน ปลอดโปร่ง เบาสบาย เป็นอย่างยิ่ง

 

หมายเลขบันทึก: 413580เขียนเมื่อ 13 ธันวาคม 2010 21:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 17:34 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ขออนุโมทนาด้วย ในการบันทึกธรรม ขั้นสูง ในครั้งนี้

จาก (ในบางครั้งความคิดจะเป็นนาย เพราะเป็นคนพูดออกตรงๆ คิดอย่างไรก็แสดงมา และหงุดหงิดง่าย โกรธง่าย

บางครั้งก็ไม่เข้าใจตนเอง และจะเป็นทุกข์เพราะคำพูดอยู่เสมอๆ ช่วยโปรดสัตว์ด้วยว่าควรจะทำอย่างไรค่ะ)

ขอตอบแล้วกัน

ตั้งสติระลึกไว้อยู่กับตัวเราให้ได้ตลอดเวลา หรือ ในการงานที่ทำ เมื่อรู้ตัวแล้ว ก็ข่มใจตนเมื่อเกิดอาการฟูขึ้นในจิต ก็จะทำให้เราจะทำอะไรก็ไม่ขาดสติพลั้งเพลอได้ง่าย ถ้าจะให้ดีขึ้น ก็ทำกรรมฐานไปด้วย แผ่เมตตาในดวงจิตเรา เป็นอัปปมัญญา อัปปมัญญา ก็คือ แผ่เมตตาไปโดยไม่มีประมาณ ไม่จำกัดใคร แม้จะเป็นศัตรูคู่อาฆาต เป็นเพื่อน เป็นครู เป็นสรรพสัตว์ น้อยใหญ่ ก็จะทำให้ใจเราเย็นลง หรือ ทำกรรมฐาน กสิณ สีแดง หรือ กสิณไฟ ก็ได้ /// เอาแค่ นี้ก่อนนะไป เทศน์ในบล็อกก่อน

ขอเจริญในศีลในธรรมนะ เดี๋ยวจะมาอธิบายต่อวันหลัง

น่าอนุโมทนานะครับ ช่วยกันเผยแพร่ยิ่งขึ้นครับ

  • ได้ความรู้เรื่องระดับของปิติครับ
  • ความอิ่มใจที่บางครั้งตัวเองมี เป็นขุททกาปีติหรือเปล่าหนอ..สงสัยเสียแล้วครับ
  • ขอบคุณความรู้ และขอบคุณที่แวะไปเยี่ยมเยือนครับอาจารย์

ลึกซึ้งมากครับสำหรับคำสอนในพุทธศาสนาของเรา

ความมีอุเบกขานี่สำคัญจริง ๆ ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท