การจัดทำตัวชี้วัด


การจัดทำตัวชี้วัด

"การจัดทำตัวชี้วัด"

การบริหารผลการปฏิบัติงานเป็นกลยุทธ์หนึ่งของการบริหารทรัพยากรบุคคล ที่เน้นความสำคัญของการมีส่วนร่วมระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ปฏิบัติงาน เพื่อผลักดันผลการปฏิบัติงานให้สูงขึ้น โดยการบริหารผลการ ปฏิบัติงานเป็นกระบวนการต่อเนื่องที่จะช่วยผลักดันให้การปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานทุกระดับสอดคล้องกับ ทิศทางและเป้าหมายขององค์กร ซึ่งผู้ปฏิบัติงานแต่ละคนจะได้รับทราบ เป้าหมายผลการปฏิบัติงานของตนตั้งแต่ เริ่มต้น และยังเห็นถึงภาพความเชื่อมโยงของงานที่ตนรับผิดชอบกับผลสำเร็จขององค์กร ทำให้ผู้ปฏิบัติงานทุกระดับทำงานเพื่อผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจขององค์กรอย่างแท้จริง

กระบวนการบริหารผลการปฏิบัติงานประกอบด้วย 5 ขั้นตอนหลัก ได้แก่

(1) การวางแผนและการกำหนดเป้าหมายผลการปฏิบัติงาน

(2) การติดตาม

(3) การพัฒนา

(4) การประเมินผลการปฏิบัติงาน และ

(5) การให้รางวัลโดยทุกขั้นตอนมีความสำคัญและส่งผล

ต่อกัน

ดังนั้น หากเริ่มต้นในขั้นตอนแรกไว้ไม่ดี ก็จะส่งผล กระทบต่อขั้นตอนอื่นๆ ตามมา และผลสุดท้ายของการบริหารผลการปฏิบัติงานก็จะออกมาไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้

ขั้นตอนการวางแผนและกำหนดเป้าหมายผลการปฏิบัติงาน เป็นการกำหนดผลสำเร็จของงานและเป้าหมายที่องค์กรคาดหวังจากผู้ปฏิบัติงานและหน่วยงานระดับต่างๆ ซึ่งผลสำเร็จของงานโดยรวมของผู้ปฏิบัติงานทุกระดับจะส่งผลต่อความสำเร็จตามเป้าหมายขององค์กร ดังนั้น ในขั้นตอนแรกนี้ผู้บังคับบัญชาและผู้ปฏิบัติงานจะร่วมกันวางแผนและกำหนดขั้นตอน/วิธีการปฏิบัติงาน เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับ เป้าหมายขององค์กรว่าจะต้องทำอะไรให้สำเร็จ ในเวลาใด เหตุใดจึงต้องทำสิ่งเหล่านั้น และผลสำเร็จของงานที่ คาดหวังควรมีคุณภาพอย่างไร กำหนดปัจจัยชี้วัดผลสำเร็จของงาน รวมทั้งมาตรฐานผลงาน ที่สามารถวัด ประเมิน เข้าใจ ตรวจสอบได้ มีความเที่ยงธรรมและสามารถปฏิบัติให้บรรลุผลสำเร็จได้จริง นั่นก็คือ การกำหนด ตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานระดับบุคคล

ตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานระดับบุคคล หรือ ที่เรียกสั้นๆ ว่า ตัวชี้วัดนั้น จึงเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้ผู้บังคับบัญชาใช้ในการกำกับการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานเพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปตามเป้ าหมายที่วางไว้ นอกจากนั้นยังสามารถใช้เป็นเกณฑ์ในการประเมินผลการปฏิบัติงาน ณ สิ้นรอบการประเมินของผู้ปฏิบัติงานแต่ละคน โดยเมื่อทำการประเมินก็ให้นำผลการปฏิบัติงานที่เกิดขึ้นจริงตามตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานนั้น ๆ มาพิจารณาเทียบกับค่าเป้าหมายที่กำหนดไว้เพื่อประเมินเป็นผลการประเมิน หรือคะแนนการประเมินซึ่งเนื้อหาในบทเรียนนี้จะเน้นการอธิบายการกำหนดตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานระดับบุคลเป็นสำคัญ

การกำหนดตัวชี้วัดประกอบด้วยรายละเอียด 4 หน่วย ดังนี้

หน่วยที่ ๑ หลักการกำหนดตัวชี้วัด...

กำหนดตัวชี้วัดตามแนวทางของ SMART Objective

ตัวชี้วัดที่ดีต้องมีลักษณะ SMART ดังนี้

S Specificมีความเฉพาะเจาะจง ชัดเจนว่าต้องการวัดอะไร

M Measurable สามารถวัดได้จริง

A Agree Upon ผู้บังคับบัญชาและผู้ปฏิบัติงานเห็นชอบร่วมกัน

R Realistic and Relevant มีความเป็นไปได้ที่จะทำให้สำเร็จได้จริง เกี่ยวข้องกับงานหรือหน้าที่รับผิดชอบของผู้ปฏิบัติงานผู้ปฏิบัติงานและไม่อยู่นอกเหนือการควบคุม

T Timebound อยู่ในกรอบระยะเวลาที่เหมาะสม ตามรอบการประเมิน

หน่วยที่ ๒ วิธีการกำหนดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายรายบุคคล...

หน่วยที่ ๓ ข้อแนะนำในการกำหนดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย

รายบุคคล...

หน่วยที่ ๔ บทสรุป...

การกำหนดตัวชี้วัดรายบุคคลตลอดจนค่าเป้าหมายนั้น ต้องอาศัยการเรียนรู้ ฝึกฝนเพื่อให้เกิดทักษะความเชี่ยวชาญจนสามารถที่จะกำหนดได้อย่างมีคุณภาพ ทั้งนี้ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายที่ดีมีคุณภาพ หมายถึง ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายที่สามารถสะท้อนถึงภารกิจหรือผลงานหลักของผู้ปฏิบัติงานที่ผู้บังคับบัญชาคาดหวังในช่วงรอบ การประเมิน รวมทั้งควรสามารถสะท้อนหรือจำแนกถึงระดับผลงานที่แตกต่างได้จริง ตัวชี้วัดไม่ซับซ้อนมากนัก โดยผู้ปฏิบัติสามารถทำความเข้าใจได้ง่าย และมีตัวชี้วัดในจำนวนที่เหมาะสมไม่มากไม่น้อยเกินไป

ความที่ตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานและค่าเป้าหมายรายบุคคล มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการผลักดันผลการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติแต่ละบุคคลและยังสามารถใช้เป็นเกณฑ์ในการประเมินผลงานของ ผู้ปฏิบัติด้วย ดังนั้น ผู้บังคับบัญชาและผู้ปฏิบัติจึงควรทำความเข้าใจถึงวิธีการกำหนดตัวชี้วัดและการกำหนดค่าเป้าหมายที่ถูกต้องเพื่อให้การนำตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานและค่าเป้าหมายไปใช้ในการปฏิบัติงานและการประเมินผลการปฏิบัติงานได้ผลลัพธ์ที่สะท้อนต่อผลการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานอย่างแท้จริง...

ศึกษารายละเอียด เรื่อง "การจัดทำตัวชี้วัด" ได้จากไฟล์ด้านล่างนี้...

http://gotoknow.org/file/bussayamas/ocsc_indicator.pdf

หมายเลขบันทึก: 413562เขียนเมื่อ 13 ธันวาคม 2010 20:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 เมษายน 2016 13:31 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ขอขอบคุณมิตรภาพและบันทึกดีๆที่ได้รับมาตลอดปีนี้ และขอส่งความสุขสำหรับปีใหม่ที่กำลังจะมาถึงค่ะ..

สวัสดีค่ะ

มาสวัสดีปีใหม่

หวังว่าจะมีความสุข สงบ ตลอดปีใหม่นี้นะคะ

สวัสดีค่ะ...พี่นงนาท...Ico32

  • ขอบคุณมากค่ะ...สวัสดีปีใหม่ค่ะ...

สวัสดีค่ะ...พี่ณัฐรดา...Ico32

  • ขอบคุณค่ะ...

เรื่องราวที่น่าสนใจในโลกยุคตัวชี้วัด สิ่งที่น่าสนใจจากประสบการณ์ของผมเองคือการตกลงและสร้างความเข้าใจร่วมกันต่อเป้าหมายที่ต้องการวัด เพราะเป้าสูงหรือหย่อนเกินไปจะมีผลต่อความสำเร็จหรือเป้าหมายที่กำหนดไว้ครับ ขอบคุณครับสำหรับความรู้ที่แบ่งปัน 

สวัสดีค่ะ...คุณเกษมสันต์...Ico32...

  • ถูกต้องเลยค่ะ...การจะทำตัวชี้วัด ต้องเป็นเรื่องของการตกลงและสร้างความเข้าใจร่วมกันต่อเป้าหมายที่ต้องการวัดค่ะ...
  • ขอบคุณค่ะ...
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท