วิทยาศาสตร์กับศาสนา


บุญ-บาป ดี-ชั่ว ซึ่งรู้อยู่แก่ใจว่ามีจริง และสัมผัสได้

ปัญหาการพูดคุยกันเรื่องศาสนา ควรระมัดระวังอย่างสูง
ไม่ควรพูดคุยกันด้วยเหตุด้วยผลว่าใครดีกว่าใคร
พื้นฐานความเป็นมนุษย์ที่มีความรู้ความสามารถไม่เท่ากัน
ย่อมเกิดความคิดที่แตกต่างอย่างแน่นอน
ความถูกความผิดใครจะเอามาตราฐานไหนมาบ่งชี้
ในทางธรรมนั้น ทุกศาสนาสอนให้ศานิกนั้นๆปฏิบัติธรรม
ให้ถือศีล ละเว้นความชั่ว ความบาป
ผู้ที่เอาเรื่องศาสนามาประนาม ข่มเหง เบียดบัง ละเมิดผู้อื่น
ยกตนข่มท่านก็ผิดต่อศีลธรรมอันดีงามอยู่แล้ว
คนที่มีสติสัมปชัญญะ ย่อมไม่หลงเข้าไปโต้เถียงด้วย
เพียงแต่ชี้เหตผลว่า ทุกคนนั้นมีปัญญาที่จะรับรู้ว่า
ดี-ชั่ว ดำ-ขาว สูง-ต่ำ นั้นมีอยู่ และรับรู้ว่า ใครจะนำสิ่งใดไปใช้
นั่นขึ้นกับระดับของจิตใจผู้นั้น
เราห้ามไม่ไห้มีขโมยไม่ได้
เราห้ามไม่ไห้มีการผลิตสุราเมรัยไม่ได้ ฯลฯ
ศีลทั้งหลายจึงมีมาให้ผู้ที่ต้องการรักษาศีลได้ยึดถือ
สืบสานกันมาหลายร้อยพันปี

บ้างก็ว่าวิทยาศาสตร์สามารถพิสูจน์ว่ากับศาสนานั้นมีจริง
วิทยาศาสตร์กับศาสนานั้นเป็นคนละเรื่อง
ไม่มีวันใดเลยที่เรื่องทั้งสองจะเข้ากันได้
วิทยาศาสตร์ว่าด้วยเรื่อง"เรื่องของความรู้"ทางโลก
แต่จริงๆไม่รู้ หรือตอบไม่ได้ เพราะต้องใช้เหตุผลมาประกอบ
เช่น บุญ-บาป ดี-ชั่ว ซึ่งรู้อยู่แก่ใจว่ามีจริง และสัมผัสได้ แต่..
ตอบแบบนักพูดก็แบบหนึ่ง
ตอบแบบนักการศาสนาก็แบบหนึ่ง
ตอบแบบนักวิทยาศาสตร์ก็อีกแบบหนึ่ง
ไม่มีคำตอบใดถูกที่สุด เพราะคนที่ต้องการคำตอบ
จะยึดเอาคำหรือสิ่งที่ตนพึงพอใจมาเป็นที่ตั้ง
ว่าถูกใจตน ตามที่ตนค้นหา
ศีลไม่ทำให้ถูกใจใครหลายๆคน
แต่ ศีลธรรมให้ถูกต้องในหลาายๆคนได้
...........

คำสำคัญ (Tags): #บุญ-บาป ดี-ชั่ว
หมายเลขบันทึก: 413409เขียนเมื่อ 12 ธันวาคม 2010 22:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2014 01:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีครับ...

ผมประทับใจบทความของคุณ r_นนท์มากครับ เป็นความอิ่มเอิบจาก 'ข้างใน'

ภาษาใสกระจ่าง สั้นกระชับ ทว่าละเมียดละไม

ชอบครับ จะแวะมาพักเรื่อย ๆ นะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท