AARหนึ่งปีกับการบวชของหลวงพี่ι จูงพ่อ จูงแม่เข้าวัด


  เมื่อวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน พ..๒๕๕๒ เป็นวันที่หลวงปู่เมตตาให้พี่ชายของติ๋วเข้าสู่พิธีบวช พร้อม ๆ กับผ้าขาวอีกสองรูป นึกย้อนถึงวันนั้นรอยยิ้มปรากฏขึ้นมาทุกครั้ง เพราะอะไรหน่ะเหรอค่ะ ก็เช้าวันนั้นพี่ชายติ๋วหาย ไม่ลงมาฉันฑ์เช้า ญาติโยมเต็มศาลา หลวงปู่ถามว่า

“ผ้าขาวอีกคนหนึ่งหายไปไหน”

มีเสียงฮือขึ้นมา แต่ละคนคิดไปต่าง ๆนานา ๆ ติ๋วเองก็อึ้ง ตกใจ แม่ถึงขั้นร้องไห้ ท่านพูดอีกว่า

เอ นี่ยังไงหนอ บวชแม่ก็ไม่ได้บังคับให้บวช ขอบวชเอง แล้วทำไมมาทำอย่างนี้”

ญาติออกตามหา ถึงขั้นขับรถลงไปดูที่โรงครัวรอบ ๆ วัดก็มี ผลปรากฏว่า

ท่านนอนหลับอยู่ที่กุฏิ” ฮา

"เพราะอากาศหนาวมาก ดูนาฬิกาว่ายังพอมีเวลาจึงคุมโปงของีบ ก็หลับยาวจนถึงตอนนั้นเลย"

หลวงพี่เล่าด้วยเสียงแจ่มใส ณ วันนั้น

นึกถึงใบหน้าของท่านที่เหมือนคนพึ่งตื่นตาบวม ๆ แต่แววตาท่านเต็มไปด้วยรอยยิ้ม เดินเข้ามาในศาลาหลังการบิณฑบาตรบนศาลาของพระ พอพูดถึงวัดบวชของหลวงพี่ แม่ออกในวัดที่อยู่ก็จะยิ้มและหัวเราะกับความน่ารักของท่านในวันนั้น ตลอดหนึ่งปีท่านเป็นผู้ประพฤติดีนอบน้อม ตั้งอกตั้งใจภาวนา หลวงปู่ท่านเมตตาเอ่ยชมอยู่บ่อย ๆ ล่าสุดท่านทำ กลดและไม้ตาด ได้งดงามน่าทึ่งมาก ๆ แม่ชีและแม่ครัวที่วัดชมกันไม่ขาดปาก

แล้วในครอบครัวติ๋วมีอะไรเปลี่ยนไปบ้างกับหนึ่งปีที่ผ่านมา

พ่อไปวัดทุกวัน ขับรถไปรับพระตอนเช้าหลังท่านบิณฑบาตรกว่าสี่กิโลเมตร หลังรับพระเสร็จบางวันท่านก็จะขับรถไปขนกับข้าวที่โรงครัว ยกเว้นวันเสาร์ เป็นที่รู้กันว่าบ้านนาคูมีตลาดนัด พ่อจะไม่มาวัด

ส่วนแม่ปกติทุกเช้าจะมาเตรียมกับข้าวให้พ่อไปวัด เมื่อถึงเวลาออกไปวัด แม่ก็จะไปเปลี่ยนขายของที่ตลาดแทนพ่อ ช่วงแรก ๆ แม่ไม่ค่อยมาร่วมภาวนาที่วัด ด้วยเมตตาของหลวงปู่ที่เทศน์ให้แม่ฟังว่า

ไม่ใช่ว่ามีลูกบวชแล้ว ได้บุญแล้วก็พอนะ กินแต่ข้าวลูกมันจะอิ่มได้ยังไง ก็ต้องมาทำเอง กินเอง ภาวนาก็เหมือนกัน ต้องมาภาวนาเอง”

แม่หัวเราะ แม่เป็นผู้มีความมุ่งมั่นค่ะ เมื่อท่านศรัทธาในสิ่งไหน ท่านจะทำอย่างไม่สงสัยและเต็มที่ หลังจากวันนั้นทุกวันพระแม่และพ่อ จะมาร่วมภาวนาที่วัดมิได้ขาด ซึ่งวัดห่างจากบ้านประมาณ ๒๐ กิโลเมตร ติ๋วและหลวงพี่ดีใจมาก ๆ เราคุยกันแล้วก็ยิ้มเพราะปรากฏถึงคำว่า

“จูงพ่อจูงแม่เข้าวัดเป็นแบบนี้เอง”

หลัง ๆ แม่จะมีคำถามเรื่องการภาวนา การทำสมาธิมาพูดคุยให้ฟังเสมอ ๆ ท่านเย็นลงมากค่ะ กังวลน้อยลง ทั้งพ่อและแม่มีความสุขมากขึ้นในบริบทของวิถีชีวิต

น้าราญ (น้องสาวแม่) ท่านไปถือศีลแปดที่วัดทุก ๆ วันพระอยู่แล้วแต่จะเป็นอีกวัดที่อยู่ห่างจากบ้านไป ๖ กิโลเมตร พอหลวงพี่บวช บางวันท่านก็ทำกับข้าวให้พ่อไปวัด หรือหากวันไหนที่พ่อกับแม่ไปวัดพร้อม ๆ กันตอนเช้า ๆ ท่านก็จะไปเฝ้าร้านแทน วันไหนที่เป็นวันพิเศษที่ไม่ใช่วันพระแล้วหลวงปู่ลงเทศน์สอน น้าราญก็จะร่วมเดินทางไปภาวนาที่วัดที่หลวงพี่บวชด้วย

ส่วนพี่ตุ๊ก (พี่สาวคนโต) และพี่เขย ปกติท่านจะมีพระที่อุปฐากดูแล เพราะเมื่อตอนที่ตรวจพบเนื้องอกขนาด ๑๔ เซนติเมตรที่ข้อต่อเข่า เมื่อหลายปีก่อนครอบครัวเราได้โยมอุปฐากของหลวงปู่ท่านนี้คอยดูแลในเรื่องของการรักษาจนหาย พี่สาวเป็นผู้มีศรัทธา หลังจากรักษาตัวไม่ว่าใครจะทำอะไร ท่านก็พร้อมจะช่วยเต็มที่เต็มกำลัง ภาระทางครอบครัวท่านยอมแบกรับไว้เองทั้งหมด ภาวนากับหน้าที่และความรับผิดชอบ พี่ตุ๊กเป็นผู้มีความอดทนมากค่ะ จากที่ท่านเคยกังวลปัจจุบันท่านมีความสุขมากกับทุกสิ่งที่ดำเนินไป

พี่เขยเป็นผู้คอยขับรถรับส่งหลวงปู่ที่ครอบครัวอุปฐากไม่ว่าจะยุ่งขนาดไหน หากหลวงปู่เอ่ยปากท่านไม่เคยรีรอ พี่เขยยังเป็นกำลังสำคัญของคนในครอบครัวในการดูแลกิจการ

สำหรับติ๋ว ชีวิตเปลี่ยนไปเยอะมาก ๆ ตั้งแต่หลวงพี่บวช เพราะตอนบวชติ๋วยังอยู่นนทบุรี แต่กลับทุกวันศุกร์ เพื่อเช้าวันเสาร์จะได้มาจังหันที่วัด แล้ววันอาทิตย์เย็น ๆ ก็กลับ หลวงปู่เมตตามาก ๆ ตอนนั้นท่านชมบ่อย ๆ ว่า “ภาวนาดี” หลัง ๆ ย้ายกับมาอยู่ขอนแก่น ติ๋วกลับบ้านได้สะดวกมากขึ้น หากเย็นวันศุกร์กลับทันจะเข้าไปพักภาวนาที่วัดแล้วเช้าวันอาทิตย์ค่อยออกมา แต่พอป้าป่วยหนัก ประจวบกับที่วัดมีเหตุการณ์ไม่ปกติเรื่องป่า หลวงปู่ให้ปิดประตูตอนห้าโมงเย็น จึงปรับวิถีชีวิตใหม่คือ คืนวันศุกร์จะนอนกับพ่อและแม่ เช้าวันเสาร์ไปวัด พักค้างแล้วค่อยกลับบ้านวันอาทิตย์ บ่าย ๆ ค่อยจะขับกลับขอนแก่น

พอพี่ชายบวชดูเหมือนว่า “มีเหตุผลอ้างให้เราทั้งครอบครัวไปวัดได้ง่ายขึ้น” เพราะแท้ที่จริงทุกคนปรารถนาอยู่ลึก ๆ อยู่แล้ว แต่การก้าวไปวัดทั้ง ๆ ที่ไม่มีใครบวช มันยากกว่าตอนที่มีหลวงพี่บวชอยู่ อันนี้วัดจากตนเองค่ะ เพราะตอนที่ท่านยังไม่บวช ติ๋วขอที่บ้านไปพักภาวนา ที่บ้านรู้สึกเป็นห่วง แต่ ทุกวันนี้ วัดเป็นเหมือนบ้านอีกหลังหนึ่ง จากทีแรก ๆ ขอเข้าพักในกุฏิ แม่ออกที่ดูแลท่านไม่ยอมเพราะเป็นห่วงต่าง ๆ นานา ๆให้พักที่บนโรงครัวเพราะดูปลอดภัย แต่ด้วยการปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ ทำให้ท่านมั่นใจ ไป ๆ มา ๆ กลายเป็นกุฏิประจำ เรื่องของเรื่องก็ไม่ใช่อะไรหรอกค่ะ กุฏินี้ตุ๊กแกเยอะมาก ท่านเป็นห่วงกลัวจะอยู่ไม่ได้ แต่กลับกันพอติ๋วเห็นทางจงกรมของกุฏินี้ก็รู้เลยว่า “ใช่” ท่านเล่าต่ออีกว่า “กุฏินี้ไม่ค่อยมีใครพัก เพราะตุ๊กแกเยอะ เป็นกุฏิแรกที่สร้างมาพร้อมกับวัดเลยทีเดียว”

หลวงปู่ พระในวัดและแม่ออกเอ่ยถึงครอบครัวเราบ่อย ๆว่า

"ไม่ค่อยเจอครอบครัวแบบนี้ ที่คนหนึ่งมาบวชแล้วก็มาร่วมภาวนาไปด้วยกันทั้งครอบครัว เป็นกุศลที่ทำได้ยาก ไม่ค่อยเห็นบ่อยนัก"

หลวงปู่เมตตาครอบครัวเรามาก ๆ ท่านเปิดโอกาสให้ครอบครัวเราได้สร้างกุศลเสมอ ท่านบอกว่า "ให้ทำเอา เงินเราไม่อยากได้ ไม่ต้องให้ แต่ให้มาภาวนา"

ครั้งหนึ่งติ๋วพาคนจากศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ ๖ (ขอนแก่น) ไปภาวนา ๑๙ คน สองคืนสามวัน หลวงปู่เมตตามาก ๆ ทั้ง ๆที่ท่านมีธุระต้องไปต่างจังหวัดแต่ท่านก็เมตตากลับมาเทศน์สอนแล้วให้ทุกคนได้ภาวนา ตอนระยะเวลาที่ภาวนาอยู่ที่วัดทุกคนประทับใจมากค่ะ

ครอบครัวเราร่มเย็นมาก ๆ ค่ะ ทุกวันศุกร์เป็นที่รู้กันว่า

“ติ๋วจะกลับบ้าน ระยะทาง ๑๘๐ กิโลเมตรถือว่าจิ๊บ ไปเลย”

 คนรอบข้างก็ได้รับผลด้วยบางวันท่านก็ฝากของไปวัด หรือก็ไปร่วมภาวนาด้วย ทำให้เข้าใจถึงคำว่า เวลามีอะไรดี ๆ เกิดขึ้น ณ จุด ๆ หนึ่งนั้น กระแสได้แผ่ขยายไปรอบ ๆ ข้างอย่างไม่มีประมาณจริงๆ อยู่ที่ใครเปิดใจรึเปล่าเท่านั้นเอง

สุดท้ายคุณความดีทั้งหมดที่บังเกิดขึ้นนี้ ขอน้อมนำบูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ รวมถึงครูและหลวงพี่ เพราะท่านเหล่านี้จึงทำให้มีวันนี้ และขอให้เป็นพละให้ก้าวเดินในหนทางเเห่งมรรคเพื่อให้ถึงที่สุดแห่งการเกิดด้วยเทอญ

 

หมายเลขบันทึก: 412738เขียนเมื่อ 9 ธันวาคม 2010 07:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 17:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวัสดีค่ะ

เหมือนหลวงปู้พูดเลยนะคะว่า "ไม่เคยเห็นครอบครัวไหนเหมือนแบบนี้"  น่าชื่นใจมากค่ะ 

น้องติ๋วเล่าให้เห็นถึงบรรยากาศวิถีชีวิต  และวัฒนธรรมด้วยเลย  สาธุค่ะ

ขอบพระคุณค่ะพี่ ยายคิม Ico32 

รู้สึกดีทุกครั้งที่หันมองครอบครัวที่เป็นรากเหง้าที่ได้เกิดและเติบโตมา

เพราะพ่อและเเม่ดูแลมาด้วยความรักความอบอุ่น

ที่สำคัญท่านเปิดโอกาสให้เรียนรู้เอง

แต่ท่านจะคอยดูอยู่ห่าง ๆ ประคับประคองไปเรื่อย ๆ

ขอบคุณนะคะที่แวะมา

สาธุค่ะท่านพี่ นาย ศุภรักษ์ ศุภเอม Ico32 

มาจนถึงวันนี้ทุกครั้งที่ระลึกขึ้นมาก็จะรู้สึกว่า "อยู๋ในถิ่นที่เหมาะสมเป็นเช่นนี้เอง"

อ่านตั้งนานยังไม่พบว่าหลวงปู่ชื่ออะไร และจำพรรษาอยู่วัดไหนครับ 

ขออนุโมทนาสาธุด้วยครับ ชอบแบบนี้เหมือนกัน 

ขอเอาดอกไม้มาฝากด้วย

เอาดอกไม้มาฝาก

สวัสดีค่ะอาจารย์

  • สบายดีอยู่มั๊ย ?
  • คิดถึงเสมอนะคะ

ขอบพระคุณสำหรับดอกไม้ค่ะ ท่านโสภณ เปียสนิท Ico32 

ขอให้ดอกไม้บานในใจ

สบายดีค่ะคุณยายIco32  
จากบันทึกของพี่

พึ่งทราบว่า เราไปงานสุขภาพดีวิถีอีสานเหมือนกัน

แต่ไม่ได้เจอ ยังคิดถึงอยู่นะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท