มาทำให้สมองเราหยุดคิดหยุดกังวล.. สบายและปลอดโปร่ง..ด้วย ....กันเถอะครับ


ฉันรู้เธอรู้-เปิดเผย ฉันรู้เธอไม่รู้-ซ่อนเร้น ฉันไม่รู้เธอรู้-จุดบอด ฉันไม่รู้เธอไม่รู้-เร้นลับ

สมองเราจะหยุดคิดหยุดกังวล.... สบายและปลอดโปร่ง....เมื่อทราบสาเหตุแห่งทุกข์

โดย MacDca Mac ณ วันที่ 8 ธันวาคม 2010 เวลา 02:01 น.

คนเราถ้าอยากให้คนอื่นถูกใจ เราก็อยากคนอื่นถูกใจในความเป็นตัวตนของฉัน หรือเรียกว่า เว๊ากันซื่อๆๆๆ เปิดใจคุยกันเตือนกันได้แต่ห้ามโกรธ ทางพระเค้าเรียกว่า ปวารณา ถ้ามาเสแสร้งชม เสแสร้งชอบมันบาปเพราะจะทำให้เหลิง ให้คนที่ถูกชมไม่รู้จักสิ่งที่เรียกว่าจุดบอด (สิ่งที่คนอื่นรู้สิ่งไม่ดีของเรา แต่เรากลับไม่รู้ตัวหรือมองข้ามข้อไม่ดีของเราไปเสียนี่)

ว่าด้วยเรื่อง พิธีปวารณา ทางวัดต่างๆจะจัดให้มีขึ้น 1 วันใน 1 ปีเรียกว่า วันปวารณาสงฆ์ ก็จะมานั่งล้อมวงเหมือนที่เราได้ทำการ"ละลายพฤติกรรม" ก่อนดำเนินกิจกรรมและ "เปิดใจ" หลังจากเสร็จกิจกรรมนั่นแหละครับ ก็คือการเล่าสิ่งที่เป็นสิ่ง "จุดบอด" ให้ผู้อื่นได้รู้ตัว โดยเตรียมใจมาก่อนแล้วว่าต้องรับให้ได้ต้องไม่โกรธกลับ ต้องใจกว้างๆเปิดรับความเห็นทั้งบวกและลบ ถ้าทาง

การจัดการความรู้เค้าบอกเทคนิคของการฟังอย่างหนึ่งคือวิธีฟังไปเรื่อย ๆ ห้ามแสดงขัดความเห็นแย้งออกมา ให้ทำใจสบายๆ มีความเห็นแย้งแล้วเก็บไว้ในใจควบคุมไม่ให้พูดไว้ พอฟังนานๆใจที่แย้งกลับค่อยๆเรียบเรียงดูว่า อะไรเป็นสาเหตุให้เค้าเข้าใจอย่างนั้น คิดอย่างนั้น

ที่นี้ปัญญามา เพราะสมองเราต้องใช้เวลาวิเคราะห์กันหน่อย สักพักสาเหตุการทำให้เค้าเข้าใจอย่างนั้นมา สติรู้ รับรู้สาเหตุ จิตใจก็คิดเป็นระบบเป็นวัฏจักรต่อเนื่อง cycle ได้ มนุษย์ถึงจะยอมหยุดคิดหยุดกังวล เหมือนหนังขาดตอนไปมันทนไม่ได้ ตอนจบของหนังห้วนๆมันแย้งในสมองว่ามันต้องอย่างนั้นอย่างนี้ บางทีตอนจบหักมุมให้ความคิดมันแย้ง ก็เป็นเทคนิคการดึงความสนใจ ดึงรอยยิ้มได้บางคนพอไม่ happy ending ก็ทรมาน ทำไมทำไมไม่ลงเอยอย่างมีความสุข ถ้าอย่างนี้มนุษย์ก็ไม่อดทนกับความทุกข์เหรอ

ตอบว่ามนุษย์เกิดมาอย่างอบอุ่นสบายในท้องแม่ มีอาหารหล่อเลี้ยง มีความอุ่นสบาย ไม่ได้สัมผัสสภาพแวดล้อมฝุ่นละออง ใดใดก้อต้องอ่อนแอทางร่างกายเมื่อมาเจอสภาพอากาศภายนอก ที่ไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิได้อย่างที่แม่ทำได้ในครรภ์ครับ ต้องเข้าตู้อบให้ความอุ่นกันนานกว่าจะปรับสภาพให้ทนต่ออุณหภูมิห้องได้ครับ (ยิ่งเมืองนอก 15 องศายิ่งทนยาก ถ้าอุณหภูมิในโรงพยาบาลเราประมาณ 28 องศา สังเกตุตอนเริ่มเปิดแอร์ ตัวเลขที่ขึ้นตอนแรกก็คืออุณหภูมิห้องๆนั้น) การที่มนุษย์ไม่ได้ถูกออกแบบมาให้ช่วยเหลือเอาตัวรอดเองได้เองเหมือนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั่วไป ต้องอาศัยสารอาหารจากนมแม่ เคี้ยวเนื้อสัตว์พืชก็ไม่ได้เพราะไม่มีฟันมาแต่เกิด เหมือนต้นตระกูลมนุษย์ก็คือลิงครับ แต่เราแย่กว่านั้นคือเราไม่มีขนยาวเป็นผ้าห่มธรรมชาติติดตัว มีขนและผิวหนังหนาเพื่อกันไม่ให้สัตว์เลื้อยคลานทำร้ายโดยง่าย ผิวหนังของมนุษย์เหมือนปลาที่ไม่มีเกล็ด ถูกพัฒนาออกแบบผิวหนังเป็นแบบสายพันธ์ที่ไม่ต้องต่อสู้ ใช้ผิวกำบัง สิ่งที่จะทำอันตราย ตัวเรา เกิดมาจากท้องแม่ต้องได้รับการปกป้อง ต้อทนุถนอม ถึงจะเจริญเติบโต(เอาตัวรอดเองไม่)ได้ หลายท่านไม่ทานปลาที่ไม่มีเกล็ดเพราะเอาไปเปรียบเทียบกับ การที่สัตว์นั้นอ่อนแอ เหมือนคน เป็นสายพันธ์ที่สูงมีวิวัฒนาการตรงข้ามกับสัตว์เดรัจฉานหรือสัตว์เลื้อยคลาน ที่จำเป็นต้องมีหนังหนาเป็นเกราะป้องกันการทำร้ายจากศัตรูคู่อาฆาตกันมาแต่ชาติไหน คงคิดว่ามนุษย์ที่ไม่มีผิวหนังหนาเพราะเกิดมาตามธรรมชาติไม่ต้องการทำร้ายหรือไปต่อสู้กับใคร เป็นพวกสัตว์ประเสริฐ มีบุญ ถึงได้มีคนไม่ทานปลาที่ไม่มีเกล็ด ว่าก็ว่าเป็นปลาเทพเจ้าไปโน่น แต่มนุษย์ก็ไม่มีสิ่งกำบังผิวหนัง และผิวไม่หนา อาจเป็นไปได้ว่ามีบุญมาก จึงต้องมีคนคอยเลี้ยง คอยเทคแคร์เอาใจใส่ตั้งแต่เกิด ก็ได้ครับ สรุปว่าอดทนได้แต่ไม่เข้มแข็ง ความเข้มแข็งของร่างกายสร้างมาจากฮอร์โมนหรือภูมิคุ้มกันโรค ส่วนกำลังใจ แรงผลักดัน มนุษย์เรามาสร้างจากสติ วิธีคิดที่จะได้รับการพัฒนาให้คิดต่อมาครับ กำลังใจของเด็กก็คือความฝันความทะเยอทะยานอยากได้ อยากเอาชนะเพื่อน อยากเป็นแชมป์กีฬาชนิดนั้นชนิดนี้ กำลังใจของผู้ใหญ่ไม่ใช่ความฝันอีกต่อไป แต่เป็นเป้าหมายที่สามารถทำได้บนพื้นฐานความเป็นจริง พื้นฐานของ สมรรถนะ ความสามารถ และคุณสมบัติ ของตัวตนที่มี ก็เซ็ทตั้งเป้าหมายให้ท้าทาย สร้างกำลังใจความมุ่งมั่น ทุ่มเทกระทำให้เกิดสิ่งที่หวัง ที่วางแผนไว้ในอนาคต และเดินไป ต่อสู้ฝ่าฟันเรียนรู้อุปสรรค หาสาเหตุและแก้ไข ไปให้ถึง เรื่องงานก็ต้อง คาดการณ์ expect ไว้ว่าปีนี้ต้องพยายามดำเนินงานให้ได้ ตามเป้าหมาย ตามตัวชี้วัด ที่ตั้งประสิทธิผลและประสิทธิภาพไว้อย่างท้าทายความสามารถของคนเองและทีมงาน นั่นคือการบริหาร(เพื่อไปให้ถึง)เป้าหมาย ถ่ายทอดลงสู่ขั้นตอนการจัดการ ขั้นตอนการปฏิบัติ ในการทำงานให้บรรลุเป้าหมายและตรงวัตถุประสงค์ขององค์กรในปีงบประมาณหนึ่งๆอย่างเรา

กลับมาคุยในประเด็นที่ว่า เราจะหยุดคิด หยุดกังวลกับเรื่องๆหนึ่งเหตุการณ์หนึ่งๆ ก็ต่อเมื่อเราได้ทราบสาเหตุ และวิเคราะห์กระบวนการเกิดได้ตั้งแต่ต้นจนจบ ตรงกับการสืบสวนหาสาเหตุอากาศยานอุบัติเหตุครับ การฟ้องร้องของบรรดาญาติผู้เสียชีวิตจากการที่อากาศยานประสบอุบัติยานยังคงดำเนินต่อไป คณะกรรมการสอบสวนอากาศยานประสบภัยยังคงไม่ยุติการหาสาเหตุที่น่าจะเป็นไปได้ในทุกมิติ นั่นคือความต้องการที่จะได้ทราบถึงสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุ ผู้เสียหายและบรรดาญาติจะทุเลาจากความคับข้องใจ ก็ต่อเมื่อทราบว่า อุบัติเหตุในครั้งนี้ ไม่ได้เกิดจากการสะเพร่า หละหลวม หรือละเลยการปฏิบัติงาน ไม่เกิดจากทำสิ่งใดๆที่เป็นการเพิ่มโอกาสและเสี่ยงต่อการผิดพลาดในสิ่งใดๆอันที่จะก่อให้เกิดอันตราย การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ๆเกี่ยวข้อง การปฏิบัติต่อการบินในทุกด้านล้วนเป็นไปอย่างเข้มงวด กวดขัน ตรวจตราอย่างขมักเขม้น จากเจ้าหน้าที่ด้านการบินซึ่งจะเข้มงวดตรวจสอบ ในการที่จะไม่ปล่อยอากาศยานหรือนักบินที่ไม่ปลอดภัย ให้ทำการบินเหนือบริเวณผู้คนอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น เหนือบ้านเรือน สำนักงาน วัด วัง ที่มีผู้อยู่อาศัยทุกตารางนิ้ว เหนือศรีษะของชาวบ้าน และประชาชนในทุกประเทศทั่วโลก ให้ผิดพลาดแล้วตกลงมากระแทกเกิดหายนะอย่างใหญ่หลวง เกิดความเสียหายอย่างทั่วถึงยากที่จะคาดการณ์ใดๆล่วงหน้าได้ นั่นคือหายนะต่อชีวิตประชาชนที่จ่ายเบี้ย-เลี้ยงคุณ ถ้าอย่างนั้นแล้วก็คงตรงกับคำพระที่ว่า จะต้องหาสาเหตุแห่งการเกิดให้เจอ แล้วป้องกันไม่ให้เกิดอย่างยั่งยืน นั่นคือขั้นตอนการดำเนินการควบคุมบริบทต่างๆ ให้อยู่ในสภาพที่ไม่เอื้ออำนวยให้เกิดเหตุแบบที่เคยเกิดมาแล้ว หน้าที่ป้องกันคงต้องมีมาตรการต่างๆที่เกิดจากพวกเราชาวกรมการบินพลเรือน และองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) ทั้งนั้นครับนะ

เมื่อรู้ทุกข์อยู่ที่ไหนก็ตรงเข้าไปดับทุกข์ ไปไปมามาทุกทฤษฎีอิงจากธรรมะของชาวพุทธได้หมดเรยครับ จนผมจะกลายเป็นนักเทศน์แทนการเป็นนักเขียนเข้าสักวันครับ ครับเมื่อเรารู้สาเหตุ สิ่งที่อยากได้คือ แล้วหน่วยงานมีแผนการป้องกันกันอย่างตระหนักรู้ เอาใจใส่ในงาน มองเห็นงานที่ทำเป็นเนื้องานชิ้นสำคัญในวัฎจักรของกระบวนการทั้งหมด Accoutabilities และรับผิดชอบต่องานต่อวิธีขั้นตอนให้เกิดการปฏิบัติที่ปลอดภัย Responsibilities กันเพียงพอหรือยัง การปฏิบัติงานมุ่งยุทธศาสตร์เดียวกันไหม ทำงานด้วยจิตสำนึกที่ดี รักต่อองค์กร หรือจ้องแต่จะหาผลประโยชน์ส่วนตัว ส่วนกลุ่ม จากองค์กรไหม ตั้งเป้าหมายที่จะทำงานอย่างรับผิดชอบที่จะไม่ละเลยไม่เอาใจใส่จนส่งผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เกิดความเสียหายด้านทรัพย์สิน เสียโอกาสทางธุรกิจ หรืออาจเป็นที่ไม่พึงพอใจของผู้รับบริการ การบริการต่ำกว่ามาตรฐาน ผลเสียมากมายซึ่งเราต้องพยายามทำงานไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดเรย หรือถ้าเกิดให้น้อยที่สุด โดยใช้ประสบการณ์เช่น การตัดสินใจแก้ปัญหาหนึ่งด้วยวิธีหนึ่งวิธีใดที่เราเคยได้ทดลองทำแล้วเกิดผลดี มาใช้ในการทำงานเพื่อลดโอกาสเกิดสิ่งที่อาจก่อให้เกิดอันตรายให้มากที่สุด

ถ้าทำได้อย่างนี้ ประชาชนหรือผู้รับบริการก็คงบอกว่า ดีดี ผมรู้สึกว่าประชาชนได้ถูก protect ปกป้อง คุ้มครอง ดูแล ที่ดี ถ้าประชาชนมองว่ายังไม่ดี องค์กรคุณหน่วยงานคุณขาดอะไรไหม เอาเบี้ย-เลี้ยงฉันไปอีกไหม หมายถึง ถ้าขาดก็ให้ขึ้นภาษีประชาชนเอาไปจ้าง เจ้าพนักงานเพื่อควบคุมตรวจสอบในมาตรการต่างๆเพื่อคุ้มครองฉันเพิ่มขึ้น ได้เลยนะ เอาไหม ถ้าโอเคทุกอย่างก็เป็นระบบ แต่เป็นระบบที่ได้รับการปกป้องโอกาสการเกิดความเสี่ยงฯที่ดีกว่าที่ผ่านๆมาในครั้งไหนๆ

สิ่งที่สำคัญที่ต้องทำอย่างยิ่งคือ วิธีปฏิบัติต้องเป็นไปในแนวทางเดียวกัน หมายความว่าประชาชนต้องได้รับบริการที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ชาวบ้านไม่สับสนในขั้นตอน และวิธีพิจารณา กฎเกณฑ์ ข้อวินิจฉัยในการบังคับใช้กฎ ต้องเหมือนกันในกฎข้อเดียวกันมาตราเดียวกัน นั่นก็คือการที่เจ้าหน้าที่รับใช้ประชาชนทุกคนเท่าเทียมกัน ไม่ Double Standard ทำให้ชาวบ้านสับสน นั่นคือการทำงานแบบมีแบบแผนที่ดี รวมถึงวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุดที่ได้ปรับปรุงครั้งล่าสุด นั่นคือเจ้าหน้าที่ทุกคนใช้คู่มือปฏิบัติงานที่เป็นปัจจุบันที่อัพเดทตรงกัน Enforce ตีความวินิจฉัยไปในทางเดียวกัน ถ้าอย่างนี้ประชาชนยอมรับได้ครับ

แสดงให้เราเห็นว่า เมื่อถึงจุดๆหนึ่งมนุษย์เราก็ยอมรับกันและกัน ขอให้หาวิธีลดปัจจัยที่อาจก่อให้เกิดอันตราย มีกระบวนการและขั้นตอนการปฏิติงาน ตลอดจนมาตรการควบคุมบริหารการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ได้แก่ ปรืมาณแวดล้อมที่เปลี่ยนเช่น อุณหภูมิ สภาพอากาศ วัสดุ อุปกรณ์ คน เครื่องมือเครื่องจักร ให้สามารถดำรงอยู่ในสภาวะที่ปลอดภัย (Safety Condition) และบอกประชาชนว่า เราได้ปกป้องเต็มที่มากกว่าที่มีมาในครั้งไหนๆ อย่างนี้ประชาชนพอใจ เก็บภาษีเราไปเถอะเพราะเราได้รับการคุ้มครองความปลอดภัยจากคุณ ....คุณปกป้องชีวิตฉัน ฉันจ่ายเงินเดือนคุณด้วยภาษีฉัน ... นี่เบี้ย(ฉันๆ)เลี้ยงคุณ....

ขอบคุณแทนชาวบ้านทุกคนด้วยนะคะ ไม่รู้จะตอบแทนคุณอย่างใด ถ้ามีอะไรที่ชาวบ้านอย่างฉันพอจะช่วยข้าราชการดีดีอย่าคุณได้ก้อขอให้บอก เราต้องทำงานด้วยการให้เค้าก่อน ถึงได้การยอมรับเชื่อเถอะว่าไม่ได้มาง่ายๆหรอกครับ ที่สำคัญเจ้าหน้าที่ต้องเข้มแข็ง มุ่งมั่น พัฒนาระบบความปลอดภัย ตระหนักในความปลอดภัยชาวบ้านก่อน เรียกได้ว่าอุทิศเวลาให้กับงานแบบนี้อย่างหมดหัวใจ เพราะระบบดีดีไม่ได้เกิดขึ้นมาง่ายๆแค่ไม่กี่ปี แต่ใช้เวลากลั่นมาจากประสบการ์ณ วิธีปฏิบัติที่ดี ของทั่วโลก นั่นคือเบื้องหลังของกฎเกณฑ์เรื่องใด มีมากมายนักที่มีผู้เสียชีวิตเพราะการละเลยหรือยังไม่มีวิธีที่ปลอดภัยในการปฏิบัติงานในสมัยนั้น ฉนั้นคนสมัยนี้จึงหลีกเลี่ยงที่จะไม่ตระหนักไม่ได้เลย ขอฝากสำนวนคมๆจากนักบินส่วนบุคคลแบบผมก้อคือ "นอกจากการเรียนรู้ความผิดพลาดของตัวเองแล้ว จงเรียนรู้ความผิดพลาดของผู้อื่นด้วย เพราะหนึ่งรอบชีวิต เราอาจไม่มีเวลามากพอที่จะเรียนรู้ความผิดพลาดทุกอย่างด้วยตัวเองได้ทั้งหมด"

ก็มีคำถามจากหลายคนถามว่า พี่ๆครับ คุณอาคุณป้าคุณยายผมมีรายได้ไม่เคยใช้บริการด้านการบินเลย ไม่เคยขึ้นเครื่องบินเลยสักครั้ง พี่เงินเดือนของพี่ทำไมไม่เก็บ เฉพาะคนที่ใช้ บริการ จากค่าตั๋วคนที่ขึ้นเครื่องล่ะครับ อันนี้เป็นเหตุผลว่าทำไมประเทศอเมริกาเค้าถึงได้เก็บจากค่าตั๋วมาเป็นเงินเดือน จนท.สมาพันธ์การบินแห่งอเมริกา หรือ FAA นะครับ

วันนี้เอาแค่นี้ก่อนแล้วจะมาเล่าต่อนะครับ...............

พรุ่งนี้ตื่นเช้าต้องไปเตรียมงานนิทรรศการการบิน ที่จะมีขึ้นวัน พฤ ศ เสาร์ ที่ 9 - 11 ธ.ค.2553 นี้ จัดที่อาคารผู้โดยสารขาออกต่างประเทศ สนามบินดอนเมืองครับ

ต่อไปผมกะว่าจะเขียนเรื่อง"การยอมรับความเสี่ยง กับบางชีวิตที่เรียกคืนมิได้ "

ผมจะเขียนเรื่องพื้นๆและเริ่มมันส์ขึ้นๆๆๆๆนะครับเพราะเกรงว่าผู้อ่านและคนเขียนจะเบื่อไปเสียก่อน ของดีดีอยู่ท้ายๆ อ่านสบายๆอยู่แรกๆ อ่ะครับหลงเข้ามาอ่านติดกับผมเสียแล้วสิครับนะ

มาต่อกันเรยครับ....พอคนเราทราบสาเหตุแห่งทุกข์ นั่นคือ มรรค ซึ่งมีองค์ประกอบ 8 ประการดังนี้

เพราะประกอบด้วยองค์ หรือส่วนประกอบ 8 ประการที่ล้วนทำให้เกิดทุกข์ื จนได้รู้เห็นแจ้งแล้วจึงฝึกตนให้รู้ พินิจพิจารณา ปล่อยวาง แล้วยอมรับมันอย่างสบายๆว่ามันเป็นเช่นนี้มานานแล้วและะยังอยู่ในวัฏสงสารไปอีกนานแสนนาน ตราบใดเรายังไม่เป็นอรหันต์ ก้อต้องมีสติ see and avoid รับรู้ ตระหนักแต่ไม่ตระหนก ก็เพราะวิธีคิดคนเราไม่เหมือนกัน เราจึงได้มีวิธีคิดแบบธรรมชาติ คือจิตใต้สำนึกคิดอะไร จิตเหนือสำนึกก้อตามรับรู้ แล้วทำความคิดที่สองนั่นคือความคิดที่ได้ ไตร่ตรอง ใคร่ครวญ ตระหนักถึงผลได้ผลเสีย แล้วตัดสินใจทำ นั่นองครับ สิ่งนี้ละครับผมจึงเลี่ยงไม่ได้ที่จะสาธยาย ถึงองค์ประกอบของมรรคครับนะ มรรคมีองค์ 8 คือ

1.เห็นชอบ (สัมมาทิฏิฐิ) (ปัญญา) ได้แก่ ความรู้อริยสัจจ์ 4 หรือ เห็นไตรลักษณ์ หรือ รู้อกุศลและอกุศลมูลกับกุศลและกุศลมูล หรือเห็นปฏิจจสมุปบาท โดยการเข้าใจชอบหรือเห็นชอบนั้นมีอยู่ 2 ประเภท คือ

1.1 ความเข้าใจคือความรู้ ความเป็นพหูสูตร ความมีสติปัญญา สามารถรอบรู้สิ่งใดสิ่งหนึ่งตามข้อมูลที่ได้มา ความเข้าใจประเภทนี้เรียกว่า "ตามรู้" (อนุโพธ) เป็นความเข้าใจที่ยังไม่ลึกซึ้ง แค่รู้ตามทฤษฎีที่ได้พิสูจน์มา แต่การพิสูจน์นั้นมีค่าคงที่เยอะ หมายความว่า การได้ ซตพ.ผลมาแบบนี้ คุณต้องควบคุมบริบท ต่างๆให้เป็นแบบนี้ มันต้องทำในห้อง Lab ซึ่งในการปฏิบัติจริงแล้ว ไม่เป็นอย่างนั้น พูดง่ายๆก็คือ เข้าใจตามที่ได้เรียนมา แต่ยังไม่นำไปทดลองทำซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนเป็นประสบการณ์

ถ้าเป็นทางวิศวะเค้าเรียกว่า วิศวกรที่นั่งเทียน..เขียนแบบ ครับคือคิด-นึกสภาพแวดล้อมด้านกายภาพเอาเองว่าคงสามารถทำได้ตามแบบมาตรฐาน ซึ่งการนั่งเทียนจะไปสู้การออกไปสำเรจตรวจตราบริบทรอบข้าง ในสถานที่จริงก่อนแล้วมาออกแบบเขียนแบบไม่ได้ มันคนละเรื่องครับ ที่นี้ปัญหาคืออะไรหรือครับ การที่หน้างานทำตามแบบจริงไม่ได้นั้น คนตรวจรับงานก็เกิดความเสี่ยงเข้ากรงขังเพราะผู้รับเหมาไม่ได้ทำตามแบบ ผู้รับเหมาก็ฟันธงว่าการเปลี่ยนแปลงไม่ได้ทำให้ราชการเสียหาย เสียประโยชน์ ทีนี้ข้อวินิจฉัยที่ว่า "ไม่ทำให้ราชการเสียประโยชน์" มันต้องวิเคราะห์ออกมาเป็นข้อมูลเชิงปริมาณ ราคาวัสดุ ปัญหาคือใครทำ ทำแล้วเชื่อได้ไหมว่าถูกต้อง ใครรับรองข้อมูล นั่นต้องมีเอกสารเชิงประจักษ์ประกอบการตรวจรับแล้วซิครับ

ประเทศอเมริกาชอบทำ spacial study วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก เชิงสถิติ site by site บริบทของที่นั้นๆ เวลาเจอปัญหาหน้างาน หรือการปฏิบัติไม่ตรงกับในทฤษฎี เค้าจะวิจัยออกมาให้จบ ก่อนที่จะให้ประชาชนทั่วไปได้ใช้ประโยชน์โดยปลอดภัย ถ้าอย่างนี้ก็จะยอม รับไว้ใช้ในราชการ เพราะมันทำถึงที่สุดแล้วมีข้อจำกัดแบบนี้ (Recommendation = ENDOVER = To try harding )ไม่ใช่ทำก็ได้ไม่ทำก็ได้...ทำก็ดี แต่ "พยายามทำทุกวิถีทางเท่าที่โอกาสตลอดจนเทคโนโลยีต่างๆจะอำนวยให้สามารถทำตามข้อกำหนดได้" หลังจากนั้นถ้ามีข้อจำกัดในการใช้งานใดหลงเหลืออยู่ ช่วย" ตะโกนหรือส่งสัญญาณบอกคนที่มาใช้บริการคนอื่นด้วย" ครับว่าระวังสิ่งนี้นะ สิ่งนี้ปกติแล้วทำได้แต่ที่นี่ทำไม่ได้หรือทำได้แค่นี้นะ เพียงแค่นั้นก็สามารถทำให้ ตรวจรับงาน และใช้งานร่วมกันได้อย่างปลอดภัย งานที่ดำเนินการมาระยะหนึ่งแล้ว ตลอดจนอุปกรณ์เครื่องมือ Facilities ต่างๆที่ดำเนินงานติดตั้งแล้วก็ไม่ต้องไปยกเลิกกลางคัน หรือรื้อถอนออกให้เสียงบประมาณเสียหน้าตา(เสียฟอร์ม) เพียงแต่ขอให้บอก "ข้อมูลข้อจำกัดในการใช้เพิ่มเติม" ตลอดจน"คำเตือน" ในการใช้งานให้เพียงพอ ให้คนใช้งานทราบก่อนใช้ (Read Before Use) ความปลอดภัย และสดวกในการใช้งานสิ่งนั้นก็จะเกิดครับ อย่างหลังนี่เค้าเรียกว่า "ปฏิเวธ"ที่จะได้กล่าวต่อไปครับ

1.2.ส่วนความเข้าใจที่ลึกซึ้งซึ่งเรียกว่า"การรู้แจ้งแทงตลอด" (ปฏิเวธ) หมายถึงมองเห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ตามสภาวะที่แท้จริง รู้อย่างถ่องแท้โดยอาศัยการคิดวิเคราะห์แบบ Cross Check มองบริบทหลายๆด้าน รู้แบบนี้สามารถอธิบายเรื่องหนึ่งเรื่องใดได้เป็นฉากๆอย่างเกี่ยวข้องกันเป็นเหตุเป็นผลกันตามเนื้อเรื่องตั้งแต่ต้นจนจบ แต่จิตต้องปราศจากอาสวะทั้งหลาย นั่นคือความไม่รู้จริง คือความคิดเก่าๆที่เราเคยได้รับมาอย่างไม่ถูกหรือ ศึกษามาไม่หมดทุกด้าน เพราะบางเรื่องเราเรียนรู้มาไม่ถูก ...จะรู้ว่าไม่ถูกหรือเข้าใจมาคลาดเคลื่อน ก็ต่อเมื่อเราได้เปิดใจ.....ฟังไปเรื่อยๆๆๆ ให้ความคิดแรกที่ต่อต้านมันคลายลง.....แล้วเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับกูรู (Expert Level) ในเรื่องนั้นๆ และยอมรับความเห็นต่างด้วยปัญญาหรือยอมรับเพราะตรงกับทฤษฎีที่น่าเชื่อถือ มีบุคคลหรือองค์กรค์ให้การยอมรับทฎษฎีนั้นอย่างแวดกว้าง

2.ดำริชอบ (สัมมาสังกัปปะ) (ปัญญา) ความปรารถาอันดีที่จะพูดเพราะๆกับเค้า เกิดจากบารมีหรือความดีที่เค้ามีต่อเรา ทำให้เรามีความรู้สึกที่ดีต่อเค้า ประณีประนอมต่อเค้า เพราะคิดว่าจะไม่พูดอะไรไม่ทำอะไร ให้เค้าลำบากใจเพราะเค้าเป็นคนดีไงครับ เมื่อความคิดบวก คิดในแง่ดี คิดในทางสร้างสรรค์ เค้าเรียกว่า "ความตรึกที่เป็นกุศล" นั่นคือความนึกคิดที่ดีงาม เรามามองสาเหตุของการคิดไม่ดี คิดลบ คิดต่ำ เนื่องจากอะไรบ้าง (กุศลวิตก 3) ประกอบด้วย

2.1.ความตรึกปลอดจากกาม ไม่อยากได้มักมากในกาม เห็นแล้วความคิดแรกจิตใต้สำนึกมันเกิดวูบวาบ สายตาเหล่ตาม มองตามดึงดูดสายตา เหมือนราวกับว่าเพศตรงข้าม เป็นแม่เหล็กคนละขั้วกัน ต้องทำให้เราเข้าไปใกล้ชิด นั่นเพราะความอยากพิศมัยในรูปงาม รส-กลิ่น รสชาติลมปากหอมตัวหอม เสียงเล็กเสียงน้อยเหมือนนกสาริกา สัมผัสในสิ่งที่เราไม่มี ความแตกต่างของสรีระตลอดจนอวัยวะของชาย-หญิง การออกแบบทางธรรมชาติให้ผู้ชายแข็งแรง หญิงบอบบางละมุนละไมในเรื่องต่างๆ ล้วนดึงดูดกันและกันทางธรรมชาติ ส่วนต่างๆที่ไม่เหมือนกันของ ชายและหญิง สามารถดึงดูดใจให้อยากเข้าใกล้ อยากกอด อยากสัมผัสให้ใกล้ชิดแนบเนื้อ อยากเป็นส่วนหนึ่งของกันและกัน ประพฤติผิดในกาม

ให้แก้ได้ด้วยการ นึกคิดในทางเสียสละถ้าจิตในสำนึกมาปุ๊ปให้คิดถึงการเสียสละคือตรงข้ามกันทันที ความอยากมากๆเราแก้โดยการ "ให้มากๆบ่อยๆให้จนไม่อยากได้อะไรของใครมา"อย่างนี้ต้องฝึก คล้ายกับที่เราทำใจได้ตอนของเราหายนั่นเองครับ อย่างผมใช้วิธีให้ความรักให้ความรู้แก่เขา.... สบายใจไม่ยึดติด ......

จะยกเรื่องเทคนิคเฉพาะตัว สักเรื่องหนึ่งที่มีประสบการ์ณมาก็คือ เรื่องการให้ต้องให้อย่างไม่หวังผลตอบแทน ครูสอนนักเรียนก็อยากจะให้เข้าใจสอบผ่านสอบไม่ผ่านก็เสียใจ คิดว่าสอนเค้าได้ไม่ดี อย่างนี้เคยเป็น บางทีกลุ่มเป้าหมายเราพื้นฐานความรู้ตลอดจนประสบการ์ณในเรื่องนั้น ต่างๆกันสอนเหมือนกันด้วยวิธีการสอนแบบเดียวกัน มันซึมซับรับรู้กันได้ไม่เท่ากันครับ วิธีแก้ของผมก็พยายามใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย พูดอังกฤษมีคำไทยต่อท้ายทุกคำ บางคำเช่นศัพท์เฉพาะไม่ต้องพูดคำนั้นบ่อยให้พูดนิยามความหมายของมันร่ายไปเรย จะทำให้ผู้ฟังเข้าใจได้ทันทีที่พูดจบ เพราะถ้าใช้คำเฉพาะผู้ที่ไม่คุ้นเคยฟังเข้า สมองคนฟังก็จะสั่งให้ไปแปลในใจก่อนเสียเวลา ถ้าแปลผิดก็จะไปกันใหญ่ พูดง่ายๆคือ อ่านนิยามให้ฟัง ดีกว่าถามว่า คำๆนี้ แปลว่าอะไร

2.2 ความตรึกปลอดจากพยาบาท ความนึกคิดที่ประกอบด้วยเมตตา ไม่ขัดเคือง หรือ เพ่งมองในแง่ร้าย เคยโกรธกันมาต้องรู้จักให้อภัยกัน ต้องพยายามใจเย็นๆ นิ่งๆ หาสาเหตุ หาโจทย์ พิจารณาว่า อะไรเป็นเหตุให้เค้าคิดแบบนั้น เขาคิดบนพื้นฐานแบบใด หลักการ วิชาการ ศาสตร์ใดหรือที่เขาใช้ในการตัดสินเรื่องนั้นๆ ตลอดจนอะไร เป็นสิ่งเร้าให้เค้ามีการกระทำแบบนี้กับเรา

ผมได้เคยอ่านหนังสือของท่านหลวงวิจิตรวาทการ ท่านได้แบ่ง บุคคลิกลักษณะของมนุษย์เป็น 5 รูปแบบโดยเปรียบเทียบเป็นแม่น้ำ 5 สาย 5 บุคคลิก ซึ่งท่านเชื่อว่าสิ่งเร้าที่ต่างกันตั้งแต่วัยเด็ก ทำให้บุคคลมีวิธีคิดและความถนัดที่ต่างกันในวัยทำงาน ทฤษฎีคือพ่อแม่และสื่งแวดล้อมในอดีตที่เราพบเจอนั้น เป็นตัวกำหนดวิธีคิด ความถนัด การเรียนรู้จนถึงการประกอบอาชีพเราในปัจจุบัน นั่นเอง มีประเด็นที่สำคัญคือ สิ่งเร้า ที่มีผลกระทบต่อเรา มีองค์ประกอบย่อย 5 องค์ประกอบได้แก่ 1. การมอบความรักความอบอุ่นของพ่อแม่ที่มีต่อเรา 2.ความรู้สึกอบอุ่นและปลอดภัยที่เได้รับจากพ่อแม่ 3. การแสดงความขัดแย้งทะเลาะกันของพ่อแม่ที่ทำให้ลูกสับสนในใจ 4. การแสดงออกเพื่อระบายความอึดอัดคับข้องใจในทางบวก 5.การแสดงออกเพื่อระบายสิ่งที่คับข้องใจในทางลบ

สิ่งเร้า 5 องค์ประกอบที่ว่ามาซึ่งเป็นตัวกำหนด ความใคร่อยากรู้ ความเข้าใจ ความรู้สึกต่างกัน 5 แบบ หรือเป็นที่เข้าใจว่า "พื้นฐานทางครอบครัว" หลายคนมองว่าคือความรวยความจนซึ่งไม่ใช่ แต่เป็นความรักความอบอุ่นความเข้าใจ ต่างหากที่เปลี่ยนบุคคลิกลักษณะเรา ในแต่ละคน งั้นแสดงว่าคนเราจะทำความคิดใดๆ วิธีการใดๆ ด้วยแรงบันดาลใจในวัยเด็ก

ตรงกับทฤษฎี่ที่ ว่าเราจะทำตามความรู้สึกมากกว่าเหตุผล นักบินถึงได้ไม่ค่อยเปลี่ยนแบบเครื่อง ในการบินบ่อยๆ เพราะเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน พบว่านักบินจะกระทำการต่างๆในแบบที่ตนทำบ่อยทำครั้งสุดท้ายได้ดีได้ไวกว่าแบบอื่นๆ เช่นเราขับรถญี่ปุ่นใช้มือขวายกเลี้ยว พอต้องมาขับรถยุโรปเพียงชั่วครั้งชั่วคราว โอกาสในการยกเลี้ยวโดยใช้มือขวายกก้านไฟสูงบ่อยกว่า ซึ่งรถยุโรปก้านเลี้ยวอยู่ที่มือซ้าย เพราะเรามักจะทำตามความเคยชิน ก่อนนั่นเอง นักบินถึงได้ถูกเคี่ยวเข็ญให้ไม่ทำตามความเคยชิน ให้คิดก่อนทำโดยพูดความคิดออกมาเรยให้นักบินผู้ช่วยได้ยินและตรวจสอบอีกครั้งหนึ่งว่าทำดีไหม ควรทำไหม นั่นคือการ Cross Check จากนักบินผู้ช่วยนั่นเอง

เพื่อเพิ่มความเข้าใจของท่านผู้อ่าน จะได้ยกตัวอย่างบุคคลิก 1 ใน 5 แบบให้เห็นชัดเจนมากขึ้น เช่น เมื่อวัยเด็กคนที่ได้รับความอุ่น ความเข้าใจต่อการรักที่มีต่อเขาได้ดี การสอนแบบมีเหตุมีผล ไม่ใช่ว่าให้กลัว แต่ให้ระมัดระวังสิ่งต่างๆ โดยทำให้เข้าใจว่าถ้าทำอย่างนั้นผลไม่ดีจะเกิดอย่างไร อันตรายจะเกิดอย่างไร เขาใจก็จะเย็น เป็นคนมีเหตุมีผล มีเวลาพินิจพิเคราะห์สิ่งใดๆได้อย่างไม่รีบร้อน มีความคิดเป็นนักวิทยาศาสตร์ มีการตัดสินใจในพื้นฐานแห่งความเป็นจริง เพราะเชื่อว่าทุกอย่างเกิดจากการเรียนรู้ และมีความรักซึ่งเกิดจากความเข้าใจ จึงพยายามทำความเข้าใจโจทย์ ที่ตนเองเจอ ลองสู้ด้วยตัวเองก่อน อย่างนี้ ทำให้เมื่อเป็นผู้ใหญ่ เขาจะมีวิธีคิดเป็นเหตุเป็นผล เชื่อมั่นในตนเอง ในความรู้ที่ตนมี โตขึ้นก็มักจะถนัดหรือได้ทำงานในวงการวิชาการ วงการราชการ ทหาร ตำรวจ นิติกร ทนายความ แพทย์ วิศวกร นักวิทยาศาสตร์ อะไรประมาณนี้ซึ่งท่านหลวงวิจิตรฯได้ทำคำถามเป็นร้อยๆข้อให้แต่ละท่านตอบ แล้วจัดคำถาม ที่เกี่ยวของกันไว้เป็นหมวดหมู่ ซึ่งเมื่อท่านตอบคำถามในท้ายที่สุดแล้ว คำถามจะนำท่านไปจัดให้เข้าหมวดหมู่ ในทั้งหมด 5 แบบนั่นเอง

แล้วเราต่างกัน 5 แบบมาร่วมใช้ชีวิต ชอบพอแต่งงานกันแล้วจะทำความเข้าใจกันอย่างไร ของท่านหลวงเมื่อคนสองคนมาปฏิสัมพันธ์กันเริ่มมีการติดต่อสื่อสาร เริ่มมีการวิเคราะห์ในสิ่งเดียวกัน จึงสามารถวิเคราะห์หรือมองกันได้แตกต่างกัน พูดง่ายๆคนที่จบการศึกษามีวิธีคิดแบบวิศวกร กัยคนที่จบสถาปนิก ล้วนมองอรรถประโยช์ในสิ่งต่างๆได้แตกต่างกัน วิศวกรมองความคงทนเสถียรภาพในการใช้งานยาวนาน สถาปนิกมองถึงความสะดวกในการใช้งานเป็นหลัก ซึ่งต้องค่อยๆพบกันครึ่งทาง ให้ได้ดีที่สุดในทั้งสองด้าน หรือไม่เอียงไปทางหนึ่งทางใด นี่คือตัวอย่างง่ายๆว่า แต่ละบุคคลจะมีวิธีคิดอยู่บนพื้นฐานความรู้ที่ตัวเองถนัด แต่เอามาผสมกลมกลืนกันไปได้ อย่างนี้ชีวิตมีรสชาด และมีสีสรร ลงเอยด้วยความเข้าใจ เป็นที่สุดของการอยู่ร่วมกันเรยนะครับ

ยกตัวอย่างอีกสักแบบแพทย์อยู่กับแพทย์มีวิธีคิดคล้ายๆกัน มีการตัดสินใจอยู่ในพื้นฐานเดียวกัน อย่างที่ Tune กันตรงได้ง่าย อย่าลืมว่าถ้าเฉพาะทางก็ต้องฟังเค้าก่อนเพราะเรารู้แต่ก็ไม่ได้ลึกแบบ Expert Level เชี่ยวชาญ หรือทรงคุณวุฒิ ศาสตราจารย์ ก็ต้อง Tune กันเล็กๆน้อยๆ ปรับกันไปอย่างนี้ครองชีวิตร่วมกันได้อยู่แล้ว แต่อาจจะขาดสีสรรหน่อยตรงที่ ไม่ค่อยมีอะไรแตกต่าง หวือหวา เข้ามาผัสสะเพราะทั้งคู่เจอมาเห็นมา ด้วยประสบการณ์ที่คล้ายกันไปหมดครับ

ทุกแบบล้วนมีจุดสำคัญร่วมกันอยู่อย่าหนึ่งคือ กาละเทศะ รู้อารมณ์ รู้พูด รู้ฟัง รู้อ่านใจ เคยมั้ยเวลาอยู่กับคนๆหนึ่งแล้วบางทีไม่ต้องพูดอะไรกันมาก มองตาก็รู้ใจ ยังไม่ทันจะเอ่ยปากสิ่งที่ต้องการก็เอามาให้อยู่จะฉกหน้าแล้ว นี่อะไรที่กล่าวมาก็สู้รูปแบบนี้ไม่ได้หรอกครับ เพราะทฤษฎีความคิดมันอยู่ในหัว แต่การกระทำเป็นการแสดงให้เกิดความรู้สึกมากกว่าอย่างเราเคยโกรธใครมากๆ พอเขารู้ตัวมาขอโทษ หรือทำดีกับเรานานๆ เวลาก็ช่วยทำให้ใจอ่อน แต่ไม่ใช่อ่อนแอยอม แต่เป็นการนิ่งมีสติ คิไตร่ตรองเรื่องที่เกิดแล้วเปิดใจยอมรับ เรามักจะยกโทษให้เขา เข้าใจในความแตกต่าง ยอมรับในความแตกต่างถ้าหากหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งอาจต้องใช้เวลา รอให้ใจเย็นลงจะทำให้เราเรียบเรียงความคิดให้เป็นระบบมากขึ้น ใช้อารมณ์ลดลง ความคิดในภายหลังแลดูเป็นเหตุเป็นผลมากขึ้น

เพราะว่าตัวเองรู้สึกตอบสนองต่อวิธีคิดแบบนี้มาตั้งแต่เด็กแล้ว แต่ละบุคคลจึงมีวิธีการคิดที่ต่างกัน สรุปว่าทุกแบบใช้วิธี Tune ปรับตัวปรับวิธีคิด ลองเอาวิธีคิดของเค้ามาคิดต่อ อ้อก็เข้าท่านี่นา เพราะมันช่วยให้......แบบนี้ ทำให้ เข้า ใ จ ว่า หัว ใจ เค้า คิดอะไร อย่างนี้เป็นการปรับที่ลงตัวและสมเหตุสมผลครับ เหมือนเพลงคาราบาวที่ร้องว่า เอาดวงใจของเขาใส่ดวงใจของเรา แล้วจะรู้ว่าเขา คิดกับเรายังไง นั่นเองครับ

เรื่องความน่าจะเป็น หรือโอกาสที่คนที่มีบุคคลิกลักษณะที่แตกต่างกัน 5 แบบ(สมมติ A1-A5 , B1-B5) มาเจอกัน 2 คน(นายAนางฺB) นั้น วิธีการที่คนสองคนจะคิดตรงกัน นั้นเป็นไปได้

ทั้งหมด A1 A2 A3 A4 A5 เจอกับ B! B2 B3 B4 B5 ผมลองจับคู่ดูนะ A1B1 A1B2 A1B3 A1B4 A1B5 รวม 5 แบบ แล้ว B1A2 B1A3 B1A4 B1A5 รวม 10 แบบ B2A2 B2A3 B2A4 B2A5 รวม 14 แบบ B3A2 B3A3 B3A4 B3A5 รวม 18 แบบ B4A2 B4A3 B4A4 B4A5 รวม 22 แบบ B5A2 B5A3 B5A4 B5A5 รวม 26 แบบ นั่นคือ 1n ยกกำลังr = 1+5^ยกกำลัง2 = 1+25 = 26 วิธีที่เป็นไปได้ที่จะแตกต่างกันครับ เมื่อเป็นไปได้ 26 รูปแบบ ถ้าอย่างนั้น โอกาสที่จะเจอคนที่คิดเหมือนกันมีแค่ A1B1 A2B2 A3B3 A4B4 A5B5

5 แบบในทั้งหมด 26 รูปแบบ คิดเป็นแค่ 5/26 = 25% เอง อย่างเพื่อนร่วมรุ่นเรา 50 คนๆที่จะคิดเหมือนเรา แค่ 13 คน เป็นเพศเดียวกันไปแล้ว 2 เหลือ 11 คนราศีชงกันอีก 4 เหลือ7 มีแฟนแล้ว 5 เหลือ 2 ใจร้อนไปหน่อยอีก 1 เหลือ 1 ดันรสนิยมด้านอาหารไม่เหมือนกัน หมดตัวเลือกเราพอดี เฮ้อ!!!

รู้แบบนี้ เราก็ไม่ต้องไปหา ใครที่จะต้องสนองตอบความรักความเข้าใจ เราทั้งหมดทั้งใจสิแล้วครับนะ ไปต่อกันเรยครับ Click...

http://www.gotoknow.org/blogs/posts/466564

หมายเลขบันทึก: 412546เขียนเมื่อ 8 ธันวาคม 2010 02:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 เมษายน 2016 23:48 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

อ่านแล้วโดนใจ หรือถูกใจ มีความเห็นแตกต่าง

มีคำถามเพิ่มเติม บอกเล่าสู่กันฟัง

เพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองเรียนรู้วิธีคิด กันนะครับ......นะ

ข้อเขียนยาวไปบ้าง แต่อ่านแล้วชวนติดตามและเป็นประโยชน์ดีครับ

ขอบคุณครับครูหยุย

จะลองเขียนให้กระชับดูนะครับ

ที่ชอบ "พรรณา...โวหาร" คงเพราะผมชอบเล่นคำ

แยกคำ สมาธ ออกมาให้เข้าใจภาษาไทยได้ชัด

เป็นคำๆมากขึ้น.....เพราะเห็นว่าบางทีเรามักใช้คำแบบติดปากคือพูดบ่อยจนชิน

ทำให้บ่อยครั้ง มักจะมองข้ามความหมายดีดี ลึกซึ้ง ตรึงใจ ของมันไป

ทำบ่อยๆจะติดแล้วละครับครู

ขอเวลา...นิดครับ...ไปเลิกก่อนนะครับ

เยี่ยมไปเลยค่ะพี่แม๊กซ์....แอนอ่านแล้วรู้สึกว่า...ตัวเองโชคดีกว่าใครๆมากมาย...แต่ในตอนที่เราคิดว่าเราทุกข์(แสนสาหัสแล้วนั่นหน่ะ)...เมื่อเราถอดตัวเองออกไปมองคนอื่นๆ...เราก็จะเห็นได้ว่าจริงๆแล้วเราหน่ะโชดดีมากแล้ว....และที่สำคัญเราโชคดีที่ได้มีโอกาสพบเจอกับโชคร้ายค่ะ....

อ่านบทความของพี่แม็กซ์แล้วรู้สึกเข้มแข็งขึ้นมาก...เรายังทำประโยชน์ให้สังคมได้อีกมาก....ทำความดีถวายพ่อหลวงได้อีกเยอะ.......จริงๆแล้วแอนก็คิดเห็นอย่างนี้มาตลอดหล่ะค่ะ..แต่ในหลายๆครั้งเมื่อเราหมกมุ่นกับตัวเองมากๆ...(เราอย่างนั้น...เราอย่างโน้น...ทำไม่อย่างนั้น...ทำไมอย่างโน้น...) เราก็ลืมเงยหน้ามองคนอื่นๆรอบตัว....สุดท้ายก็ทำให้เราเกิดทุกข์...บทความของพี่แม๊กซ์ช่วยกระตุ้นให้แอนได้เงยหน้าเปิดตามองออกไปที่คนอื่นอีกครั้ง...ขอบคุณสักล้านครั้งค่ะ...เชื่อว่าในชั่วชีวิตของคนๆหนึ่งต้องมีเผลอมองแต่ตัวเองหลายครั้ง...ซึ่งนั่นคือสาเหตุแห่งทุกข์ค่ะ....

ปล.ครูหยุยได้อ่านบทความของพี่แม๊กซ์ด้วย...ภูมิใจจังค่ะ...ครูหยุยคือต้นแบบในการทำความดีของแอนเลยนะคะ...(แอนเคยฝึกงานที่มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก ที่บ้านสร้างฯ ตั้งแต่ปี 2540 แหน่ะค่ะ)

Visutthapho Phikku คนเรามักจะไม่ค่อยยอมรับความผิดของตัวเองสักเท่าไหร่ใครเตือนก้อไม่ค่อยจะฟังเพราะว่าเขายังมีทิฏฐิอยู่ฉะนั้นการอบรมพระนวกะของวัดนั้นจะใช้วิธีอบรมแบบเตือนว่ากันโดยชี้ขุมทรัพย์ให้กันนั่นคือในเมื่อเรารู้ข้อบกพร่องของอีกคนเราก็จะเตือนเขาโดยแนะนำเขาว่ามีจุดบกพร่องข้อเสียอย่างไรนั่นคือการชี้ขุมทรัพย์โดยเราไม่ได้ไปจับผิดเขานะเราจะต้องจับดีและชี้ขุมทรัพย์ให้ความอดทนก้อเป็นส่วนหนึ่งที่เราจะต้องรับแรงกดดันจากหลายๆฝ่ายที่มีปัญหาแล้วนำปัญหานั้นมาให้เราได้แก้ทุกๆวันดังนั้นก้อไม่ต่างอะไรกับพระพุทธเจ้าที่ท่านทรงบำเพ็ญตบะมาอย่างยาวนาน20อสงไขยกับแสนมหากัปและสามารถถ่ายถอดคำสอนต่างๆให้ผู้อื่นรู้ตามได้ฉะนั้นการทำงานก้ออยากให้เราใช้หลักปฏิบัติเช่นเดียวกับพระพุทธเจ้ามาใช้ว่าท่านได้สอนอะไรอะไรควรอะไรไม่ควรและนำมาปรับแก้ในชีวิตประจำวันเราจะต้องใช้ธรรมะควบคู่ไปกับชีวิตประจำวันรวมไปถึงการทำงานด้วยเพื่อให้อยู่ดำรงครองธรรมและฝึกสมาธิเพื่อให้จิตใจสงบมีสมาธิแก้ไขปัญหาต่างๆในการทำงานได้ฉะนั้นแล้วจงเตือนด้วยความนอบน้อมชี้ขุมทรัพย์อย่าจับผิดให้เราจับดีเขา7 ชั่วโมงที่แล้ว · เฉยๆถูกใจ · 1

กำลังใจแบบนี้แหละครับที่คนเขียนเรื่องราวเพื่อแบ่งปันความสุขให้ผู้อื่น ปรารถนาจะได้ยินมากกว่าสิ่งใด และทำให้ผู้เขียนผู้เล่ามีกำลังใจมากมายที่จะถ่ายทอดเคล็ดวิชาด้านอื่นๆอีกต่อไปครับ

ศ.ศียวน พระมหากิติศักดิ์  จินตนาการกว้างไกล...สามารถผสมผสานพุทธศาสน์..วิทยาศาสตร์เข้าด้วยกันอย่างกลมกลืน..เขียนได้ครอบคลุมหมดทั้งจักรวาล...เป็นแนวให้พลังไฟให้แก่คน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท