หลักการและวัตถุประสงค์การจัดการศึกษา


หลักการจัดการศึกษา ให้ยึดหลักดังนี้
1) เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน
2) ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
3) การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
สำหรับเรื่องการจัดระบบ โครงสร้างและกระบวนการจัดการศึกษา ให้ยึดหลักดังนี้
1) มีเอกภาพด้านนโยบายและมีความหลากหลายในการปฏิบัติ
2) มีการกระจายอำนาจไปสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา และองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น
3) มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษาและจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาทุก ระดับและประเภท
4) มีหลักการส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพและการพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากร ทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
5) ระดมทรัพยากรจากแหล่งต่าง ๆ มาใช้ในการจัดการศึกษา
6) การมีส่วนร่วมของบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอก
ชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น

วัตถุประสงค์ของการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของชาติ

  สภาการศึกษา พิจารณาเสนอมาตรฐานการศึกษาของชาติ ต่อกระทรวงศึกษาธิการ โดยมีวัตถุประสงค์ของการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของชาติ ดังนี้
          2.1 เป็นเป้าหมาย และแนวทางพัฒนาการจัดการศึกษาของชาติระดับมหภาค ซึ่งมีเป้าหมายสำคัญที่การพัฒนาผู้เรียน
          2.2 เป็นหลักและเป็นแนวทาง สำหรับการกำหนดนโยบาย แผนการพัฒนาและจัดการศึกษา รวมทั้งมาตรฐานการศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับอาชีวศึกษา และระดับอุดมศึกษา
          2.3 เป็นพื้นฐานสำหรับการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของชาติในช่วงเวลาต่อไป
          2.4 เป็นเครื่องมือกำกับการตรวจราชการ การนิเทศ การติดตามและประเมินผล และการประกันคุณภาพ เพื่อให้ทราบสถานภาพและความก้าวหน้าในการจัดการศึกษาของชาติระดับมหภาค
          2.5 เป็นมาตรฐานสำหรับการประเมินคุณภาพภายนอกในระดับเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษา

 

หมายเลขบันทึก: 411945เขียนเมื่อ 4 ธันวาคม 2010 13:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 17:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท