ข้อแนะนำในการทำผลงานทางวิชาการ


ใครที่กำลังแก้ผลงาน หรือจะส่งผลงานเร็ว ๆ นี้ อาจจะลองตรวจสอบผลงานของตนเองโดยอ่านเอกสารที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้นี้ครับ

ผมเพิ่งแนะนำพรรคพวกไป เห็นว่า ส่วนใหญ่มักจะทำไม่ชัดเจนเหมือน ๆ กัน เลย ขอแลกเปลี่ยนความรู้ด้วยครับ มันค่อนข้างยาว 8 หน้า คิดว่าน่าจะ Print ออกมาอ่าน

ข้อแนะนำปรับปรุงผลงาน

                ผลงานของทุกคน ส่วนใหญ่มีข้อควรแก้ไขเหมือน ๆ กัน ดังนี้(ขอให้ตรวจสอบด้วยตนเองและแก้ไขด้วย สำหรับของใครไม่เป็นอย่างที่ว่า ก็ไม่ต้องแก้ไข) ขอให้ระวังเรื่องการคัดลอกทุกเรื่องจากต้นฉบับที่อบรมมา ถ้าเหมือนกันกับคนอื่นไม่ดี บางวิชาให้ตกไปเลย ควรค้นคว้าเอง หาเองจะดี ดูตัวอย่างได้ แต่อย่าคัดลอก

รายงานผลการปฏิบัติหน้าที่(วฐ.2/1)

     ขอให้อ่านแนวการให้คะแนนที่ถ่ายเอกสารให้(จากคู่มือประเมินด้านที่ 3) แต่ละหัวข้อ ให้เขียนว่าทำงานอะไรบ้าง แต่ละงานทำอย่างไร ได้ผลอย่างไร เช่น ได้กี่แผนการจัดการเรียนรู้ ได้งานวิจัยกี่เรื่อง ได้สื่อกี่ชิ้น ฯลฯ ข้อสุดท้ายเป็นผลที่เกิดกับนักเรียน 7 ข้อเท่านั้น สำหรับขอครูชำนาญการพิเศษ แต่ละข้อต้องบอกให้เป็นรูปธรรม เช่น มีนักเรียนที่รับผิดชอบร้อยละเท่าไร ที่เป็นอย่างที่บรรยายแต่ละข้อ

นวัตกรรม

  1. ควรแยกเล่มเป็นเรื่อง ๆ หรือหน่วย ๆ
  2. ต้องมีหัวข้อสอดคล้องกับส่วนประกอบของนวัตกรรมที่เขียนไว้ในบทที่ 2 ด้วย
  3. จุดประสงค์ต้องเป็นจุดประสงค์ของเอกสาร จะเป็นด้านความรู้ ไม่มีด้านคุณธรรม จริยธรรม ซึ่งด้านนี้ จะเป็นจุดประสงค์ในแผนการสอน
  4. ข้อสอบก่อนและหลัง ต้องมีคำถามที่ครบและครอบคลุมทุกจุดประสงค์
  5. สร้างเอกสารประกอบนวัตกรรมสำหรับครู และสำหรับนักเรียน ใช้หลักวิชาการใด ควรมีในบทที่ 2 ของรายงานด้วย
  6. นวัตกรรมทุกเล่ม ต้องตรวจสอบ IOC(ใช้ 5 Scales 5 สอดคล้อมมากที่สุด 1 สอดคล้องน้อยที่สุด) ส่วนความเหมาะสมจะหาหรือไม่ก็ได้ เพราะส่วนใหญ่ที่ทำ รายการถามเป็นความเหมาะสม ไม่ใช่ IOC ถ้า IOC ต้องนำหัวข้อของเอกสารมาเป็นรายการถาม ของครูที่มีใบงาน ใบความรู้ ใบงาน ต้องตรวจสอบ IOC ด้วย โดยนำหัวข้อของเอกสารมาเป็นรายการประเมิน และแสดงผลการตรวจสอบในบทที่ 3 และแสดงรายละเอียดในภาคผนวก
  7. การหา E1 /E2  ต้องทดลองกับนักเรียนโรงเรียน/กลุ่มอื่น ไม่ใช่เด็กที่เราจะพัฒนา 
  8. เนื้อหาของเอกสารควรให้มีมากพอที่จะให้นักเรียนมีความรู้ตามจุดประสงค์
  9. ทุกเล่ม ทุกใบความรู้ ต้องมีบรรณานุกรมด้วย
  10. ภาพที่เอามาจากที่อื่น ไม่ได้จัดทำเอง ควรเขียนที่มาด้วย การเขียนที่มา เขียนว่า ที่มา: ชื่อผู้แต่ง, พ.ศ.: เลขหน้า (แล้วอย่าลืมเอาไปเขียนในบรรณานุกรมด้วย)
  11. กิจกรรมที่ให้นักเรียนทำ ต้องครบ ครอบคลุมตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้
  12. การจัดลำดับเนื้อหาในเอกสารต้องจัดให้เบ็ดเสร็จทีละหน่วย หรือทีละเรื่อง มีบางคน เอาใบงานไว้ที่หนึ่ง ใบความรู้ไว้ที่หนึ่ง เอาเนื้อหา(ใบความรู้)ไว้อีกที่หนึ่ง ไม่เป็นกลุ่ม ไม่เป็นลำดับ

คู่มือการใช้นวัตกรรม

        ถ้าเป็นบทเรียนสำเร็จรูป แบบฝึก ที่นักเรียนนำไปเรียนรู้ด้วยตนเองได้ ต้องมีคู่มือการใช้นวัตกรรมแต่ถ้าเป็นนวัตกรรมที่ครูต้องใช้ประกอบการเรียนการสอน(ไม่มีครูนักเรียนจะเรียนโดยใช้นวัตกรรมนั้นไม่รู้เรื่อง) คู่มือการใช้นวัตกรรม ต้องมีหลักวิชา Back up ว่ามีองค์ประกอบอะไรบ้าง(ยืนยันในบทที่ 2 รายงาน) ด้วย

แผนการจัดการเรียนรู้

  1. ทุกคนต้องส่งแผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้นวัตกรรมด้วย
  2. แผนการจัดการเรียนรู้ที่บอกว่าใช้สื่ออะไรบ้าง เช่น ใบงาน ควรระบุด้วยว่าเป็นใบงานเรื่องอะไร ถ้าใช้นวัตกรรม ควรระบุด้วยว่านวัตกรรมหน่วยอะไร เรื่องอะไร ในขั้นตอนการสอน และหัวข้อสื่อ อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
  3. สาระการเรียนรู้ ต้องตรงและสอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้
  4. ขั้นตอนการสอน ต้องมีกิจกรรมให้นักเรียนทำเพื่อให้มีความรู้ ทักษะ และคุณธรรมจริยธรรม ครบตามจุดประสงค์การเรียนรู้
  5. การวัดผลการเรียนรู้ ต้องวัดให้ครบตามจุดประสงค์การเรียนรู้ โดยเฉพาะการวัดทักษะการปฏิบัติ ซึ่งจะมี Rubrics ประเมินทักษะ Rubrics ของทุกงานต้องหา IOC และหาค่าความเชื่อมั่นโดยใช้วิธี Spearman Rank Correlation)(วิชาที่มีการปฏิบัติ จะวัดความรู้เพียงอย่างเดียวเป็นผลสัมฤทธิ์ไม่ได้) โดยแสดงรายละเอียดในบทที่ 3 เล่มรายงาน
  6. ถ้ามีใบความรู้ ต้องมีบรรณานุกรมด้วย
  7. ทุกแผนการจัดการเรียนรู้ ต้องตรวจสอบความเหมาะสม ส่วนใบความรู้ตรวจสอบความตรง(IOC) 5 Scales ถ้าตรวจสอบความตรง ต้องนำหัวข้อของเอกสารมาเป็นรายการประเมิน

เล่มรายงาน

        1.ชื่อของรายงานควรเป็น การพัฒนาผลสัมฤทธิ์วิชา............................... เรื่อง........................ ของนักเรียนชั้น......................................โดยใช้........(นวัตกรรม)....... (ส่วนใหญ่เขียนชื่อว่า การพัฒนา.....(นวัตกรรม)......... ถ้าเขียนอย่างนี้ จะไม่สื่อ ไม่ครบตามความหมายของผลงานทางวิชาการ เนื่องจากไม่ได้มีการพัฒนานักเรียนที่รับผิดชอบ

      2.วัตถุประสงค์ส่วนมากมี 3 ข้อ ข้อ 1 เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพ.......(นวัตกรรม)... ตามเกณฑ์ 80/80 (ถ้าของใครไม่มีเกณฑ์ ต้องกำหนดไว้ที่วัตถุประสงค์ด้วย) ข้อ 2 เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์วิชาปฏิบัติ(เช่น วิชาการงานอาชีพ และเทคโนโลยี(งาน....) เรื่อง.......... (ผลสัมฤทธิ์นี้ ต้องเอาคะแนนความรู้(จากข้อสอบ Post) มารวมกับคะแนนทักษะปฏิบัติ(เนื่องจากเป็นวิชาปฏิบัติ) และอาจจะมีคะแนนคุณธรรม จริยธรรมหรือไม่ก็แล้วแต่ เอาคะแนนมารวมกัน แล้วนำไปเทียบกับเกณฑ์(เช่น อาจจะกำหนดไว้ ร้อยละ 70 หรือ 75 หรือ 80 ของคะแนนเต็ม)มาตอบในบทที่ 4(ในบทที่ 1 ต้องให้นิยามศัพท์ สำหรับผลสัมฤทธิ์ให้ครอบคลุมตามที่บอกนี้) ข้อ 3 เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้...(นวัตกรรม)...

     3.ในบทที่ 4 การตอบวัตถุประสงค์ข้อ 1 ต้องแสดงขั้นตอนการสร้างนวัตกรรมโดยสรุป และแสดงค่า E1 /E2 รายเล่ม และค่าเฉลี่ยในภาพรวม(ต้องเป็นค่าตัวเลขที่ได้จากการทดลองนวัตกรรมกับนักเรียนกลุ่มอื่น(30 คน) ไม่ใช่นักเรียนที่จะพัฒนา แล้วเอาตัวเลขมาใส่ ถ้าบทที่ 1 มีสมมติฐาน ต้องสรุปผลการวิเคราะห์ตอบสมมติฐานด้วยในตอนท้ายของการอธิบายตารางด้วย(รายละเอียดของคะแนน เช่น คะแนนรายบุคคล ให้เอาไปไว้ในภาคผนวก)(คะแนน Post จะนำมาใช้ในการหาค่า E1 /E2 เท่านั้น ไม่เกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ในภาพรวม(สำหรับวิชาปฏิบัติ)

     4.ในบทที่ 4 การตอบวัตถุประสงค์ข้อ 2 ให้สรุปคะแนน Post รวมกับ คะแนนปฏิบัติ และคะแนนคุณธรรมจริยธรรม(คิดเป็นค่าเฉลี่ย และคิดเป็นร้อยละของคะแนนเต็ม) แล้วนำไปเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ถ้า คะแนนของนักเรียนสูงกว่าเกณฑ์ ก็ถือว่า นักเรียนได้รับการพัฒนาผลสัมฤทธิ์แล้ว ไม่ต้องมีสถิติอะไรอีก ถ้ามีสมมติฐานในบทที่ 1 ต้องสรุปผลการวิเคราะห์ตอบสมมติฐานด้วยในตอนท้ายของการอธิบายตารางด้วย

     5.ในบทที่ 4 การตอบวัตถุประสงค์ข้อ 3 ถ้ามีสมมติฐานในบทที่ 1 ต้องสรุปผลการวิเคราะห์ตอบสมมติฐานด้วยในตอนท้ายของการอธิบายตารางด้วย

     6.บทคัดย่อ ต้องเขียนให้ตรงกับในเล่มด้วย เช่น วัตถุประสงค์ในบทที่ 1 มักเขียนไม่ตรงกัน

      7.บทที่ 1 มีข้อบกพร่อง/ข้อแนะนำ ดังนี้

      7.1ไม่แสดงที่มาของปัญหา คือไม่แสดงคะแนนที่นักเรียนทำได้ 2 ปีที่ผ่านมา โดยแสดงแต่ละเรื่องที่เรียน ได้แต่แสดงภาพรวมคะแนนทั้งวิชา มันไม่ชัด ไม่แสดงให้เห็นว่า ทำไมจึงทำ เช่น เรื่อง การขยายพันธุ์พืช หรือ การทดลองสารอาหาร หรือ การประดิษฐดอกไม้ ฯลฯ และปัญหาต่าง ๆ ที่บอก เช่น ครูไม่มีสื่อ ฯลฯ ไม่ควรพูดลอย ๆ ควรแสดงวิธีการค้นพบปัญหาดังกล่าวให้ชัดเจน และแสดงค่าตัวเลขสำหรับปัญหาต่าง ๆ

      7.2ควรอ้างงานวิจัยเกี่ยวกับนวัตกรรมที่สร้าง 3-4 งานวิจัย เพื่อแสดงให้เห็นว่า นวัตกรรมดังกล่าว สามารถแก้ปัญหาด้านผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนได้

     7.3นิยามศัพท์เฉพาะ ยังเขียนไม่เป็นความหมาย แต่เขียนเป็นขอบเขตว่าหมายถึงอะไร ไม่ได้อธิบายว่าสิ่งที่นำมาให้ความหมายคืออะไร เนื้อหาสาระในบทที่ 2 จะช่วยให้เขียนความหมายได้ ถ้าเป็นตัวแปรตาม หลังจากบอกว่าคืออะไรแล้ว ควรต่อด้วยว่า ได้จากการใช้เครื่องมืออะไรเก็บข้อมูล และคำนวณอย่างไร เพื่อให้ได้คำตอบ ตอบวัตถุประสงค์

     7.4ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ให้เขียนให้ชัดว่า เมื่องานนี้เสร็จแล้วจะเกิดประโยชน์แก่ใครบ้าง เกิดประโยชน์อย่างไร

   8.บทที่ 2 มีข้อบกพร่อง/ข้อแนะนำ ดังนี้(ส่วนใหญ่คัดลอกมาจากต้นฉบับเดียวกัน เพียงแต่ย้ายลำดับการนำเสนอ ควรระวังด้วย ต้องพยายามหาเอง อย่าคัดลอกจากต้นฉบับที่ได้รับ)

       8.1ค้นหัวข้อมาไม่ครบตัวแปรที่ทำงาน และแต่ละหัวข้อมีเนื้อหาน้อยเกินไป เช่น นวัตกรรม ถ้าเป็นนวัตกรรมที่นักเรียนเรียนเองได้ ครูไม่ต้องยุ่ง ไม่ค้นคว้าและนำเสนอ การจัดทำคู่มือการใช้ ว่ามีรายละเอียดอย่างไร ไม่นำเสนอกระบวนการตรวจสอบคุณภาพของนวัตกรรม ไม่ค้นคว้าเรื่องการประเมินภาคปฏิบัติ หรือการประเมินผลการเรียนรู้วิชาเกษตร ค้นมาไม่ครอบคลุมตัวแปรนั้น ๆ จึงทำให้ท่านไม่ความเข้าใจในงานที่ทำ เลยทำสะเปะสะปะ ไม่เป็นระบบ ไม่ถูกหลักวิชาการ และแต่ละเรื่อง มักจะค้นมาจากคน ๆ เดียว ไม่ดี ถือว่าความรู้แคบเกินไป

       8.2ทุกหัวข้อ เมื่อค้นมาจากหลายคนแล้ว(ต้องทำความเข้าใจแล้วเขียนด้วยสำนวนของตนเอง) ทุกหัวข้อต้องสังเคราะห์เนื้อหาที่ค้นมา แล้วสรุปเป็นองค์ความรู้ใหม่ โดยมีเนื้อหาสาระครบจากเรื่องที่ค้นคว้ามา(ใช้ความรู้วิชาย่อความ)

       8.3งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ต้องเป็นงานวิจัยที่ตรงกับงานที่ทำจริง ๆ งานวิจัยที่ไม่เกี่ยวข้องไม่ต้องเอามานำเสนอ และต้องสรุปด้วย

       8.4สุดท้ายของบทที่ 2 ควรนำเสนอกรอบการทำงาน และอาจจะเสนอรายละเอียดว่านวัตกรรมที่จัดทำ ใช้องค์ประกอบของใคร มีกี่หัวข้อ อะไรบ้าง

    9.บทที่ 3 มีข้อบกพร่อง/ข้อแนะนำดังนี้

      9.1บอกเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนไม่หมด เช่น ไม่บอกว่าใช้แผนการจัดการเรียนรู้ ไม่บอกว่ามีการประเมินการปฏิบัติ มีการใช้แบบประเมินทักษะ(ที่เป็น Rubrics) มีคู่มือการใช้ ฯลฯ

      9.2ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือทุกชนิดไม่ครบตามกระบวนการ เครื่องมือที่ใช้ทุกชนิด ต้องตรวจสอบความตรง(IOC) และความเชื่อมั่น ถ้าเป็นแบบทดสอบ ต้องหาค่าอำนาจจำแนก ค่าความยากง่าย และความเชื่อมั่นด้วย

      9.3บอกขั้นตอนการตรวจสอบเครื่องมือไม่ชัด บอกข้ามขั้นตอนบ้างก็มี บอกไม่ครบกระบวนการตรวจสอบเครื่องมือก็มี

      9.4การหาค่าความตรง(Validity) โดยใช้ IOC ของนวัตกรรม หรือเอกสารอื่น ๆ เช่น คู่มือการใช้นวัตกรรม ต้องใช้ 5 Scales และนำหัวข้อของนวัตกรรมมาเป็นรายการประเมิน แล้วหาค่าเฉลี่ย ต้องไม่ต่ำกว่า 2.50 จึงจะใช้ได้ ถ้าเป็นเครื่องมือวัดจึงจะใช้วิธีหาค่า IOC ที่เป็น +1, 0, -1

     9.5ไม่แสดงผลการตรวจสอบเครื่องมือ เช่น ค่า IOC  ค่าอำนาจจำแนก ค่าความยากง่าย และค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือตามขั้นตอนที่ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ ต้องแสดงผลแยกเป็นแผนการสอนแต่ละแผน แยกนวัตกรรมเป็นเรื่อง ๆ เช่น ถ้ามี 8 แผน ต้องมีค่าความเหมาะสม 8 ค่า ถ้ามีนวัตกรรม 8 เรื่อง ต้องมีค่าคุณภาพต่าง ๆ เรื่องละ 1 ชุดของค่าคุณภาพต่าง ๆ

     9.6ค่า IOC ค่าอำนาจจำแนก ค่าความยากง่าย ต้องบอกเป็นช่วงคะแนนต่ำสุด – สูงสุด ไม่ควรบอกเป็นค่าเฉลี่ยทั้งฉบับ เพราะเป็นค่ารายข้อ

     9.7ต้องหาคุณภาพ(IOC ค่าอำนาจจำแนก ค่าความยากง่าย ความเชื่อมั่น)ข้อสอบในนวัตกรรมแต่ละเรื่องด้วย และนำเสนอผลแยกเป็นรายเรื่อง

     9.8ต้องหาคุณภาพ(IOC ความเชื่อมั่น)ของเครื่องมือวัดทักษะปฏิบัติแต่เรื่องที่วัดด้วย

     9.9ต้องแสดงวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลแยกเป็นรายวัตถุประสงค์ว่า นำข้อมูลอะไรที่ได้ ไปวิเคราะห์(คำนวณ)อย่างไร นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างไร และใช้เกณฑ์ในการอธิบายผลการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างไร

     9.10ต้องแสดงสูตรสถิติที่ใช้ให้ครบ ตั้งแต่หาคุณภาพของเครื่องมือ และสถิติที่ใช้แต่ละวัตถุประสงค์ และสูตรแต่ละสูตรที่ใช้ถ้าอ้างอิงได้จะดี

   10.บทที่ 4 มีข้อบกพร่อง/ข้อแนะนำ ดังนี้

     10.1ต้องนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นภาพรวม เพื่อตอบวัตถุประสงค์ ไม่แสดงรายละเอียด เช่น คะแนนเป็นรายบุคคล รายละเอียดขอให้เอาไปใช้ในภาคผนวก

     10.2ต้องนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลตอบให้ครบตามวัตถุประสงค์

     10.3ตัวอย่างตารางการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล E1 /E2 

บทเรียนสำเร็จรูปเรื่อง

ร้อยละของคะแนนเฉลี่ยระหว่างเรียน

ร้อยละของคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน

ค่าประสิทธิภาพ              (E1 /E2)

 

 

 

....../.......

 

 

 

....../.......

 

 

 

....../.......

เฉลี่ย

 

 

....../.......

    10.4ตัวอย่างตารางการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลการพัฒนาผลสัมฤทธิ์

 

คะแนนเฉลี่ย

รายการ

คะแนนเต็ม

คะแนนที่ได้

ร้อยละของคะแนนที่ได้

เกณฑ์

ความแตกต่าง

ความรู้

20

18

 

91.11

ร้อยละ 75 ของคะแนนเต็ม

 

+16.11

ทักษะปฏิบัติ

50

45

คุณธรรม จริยธรรม

20

19

รวม

90

82

(หลังจากเรียนเรื่อง.......โดยใช้..(นวัตกรรม)....นักเรียนได้คะแนนด้านความรู้ ด้านทักษะปฏิบัติ และด้านคุณธรรม จริยธรรม รวมร้อยละ 91.11 ของคะแนนเต็ม เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดคือร้อยละ 75 ของคะแนนเต็ม พบว่ามีคะแนนแตกต่างกัน +16.11 คือ หลังจากเรียนโดยใช้...(นวัตกรรม).....นักเรียนทำคะแนนได้ สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด)

    10.5ตัวอย่างตารางการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจ

รายการ

 ค่าเฉลี่ย

ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 

แปลผล

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เฉลี่ย/รวม

 

 

 

   11.บทที่ 5 มีข้อบกพร่อง/ข้อแนะนำ ดังนี้

    11.1นำเสนอวัตถุประสงค์ สรุปประชากร เครื่องมือที่ใช้(พัฒนานักเรียน) สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล(พัฒนานักเรียน) สรุปนำเสนอเป็นความเรียง อาจจะย่อหน้าแต่ละหัวข้อก็ได้

    11.2ผลการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ นำเสนอสรุป ไม่ต้องนำเสนอตัวเลขหรือนำเสนอตัวเลขด้วยก็ได้ อย่าลืมสรุปตอบสมมติฐานด้วย

    11.3การอภิปรายผล อภิปรายตามวัตถุประสงค์ ถ้าอภิปรายว่าสอดคล้องกับงานวิจัยของใคร ต้องอธิบายด้วยว่าสอดคล้องกันอย่างไร เช่น วัตถุประสงค์ข้อ 1 แสดงให้เห็นว่ากระบวนการสร้างนวัตกรรมของเรา กับของงานวิจัยเป็นไปในทำนองเดียวกัน(แสดงรายละเอียดขั้นตอนการสร้างด้วย) แล้วจึงบอกว่าผลประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์เหมือนกัน อย่าบอกว่าผลสูงสอดคล้องกันเพียงอย่างเดียว

    11.4เมื่อพบว่านวัตกรรมที่สร้างขึ้น สามารถทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์สูงขึ้น จะให้ข้อเสนอแนะแก่ผู้เกี่ยวข้องตั้งแต่เพื่อนครู จนถึง สพฐ.ว่าอย่างไรเรื่องอื่น เช่น จะใช้นวัตกรรม ครูต้องเตรียมอย่างไร หรือนักเรียนต้องทำอย่างไร เหล่านี้ไม่ได้วิจัย หรือไม่ใช่ข้อค้นพบจากงานนี้ จะนำมาให้ข้อเสนอแนะไม่ได้

    12.บรรณานุกรม ต้องตรวจสอบว่าเอกสารที่เขียนในบรรณานุกรมทุกเล่ม ต้องมีอ้างในบทที่ 1-5 ครบ

    13.ภาคผนวก ต้องแสดงรายละเอียด ค่าตัวเลขการวิเคราะห์เครื่องมือทั้งหมดเป็นรายข้อ รายคน แสดงรายละเอียดการวิเคราะห์ข้อมูลการพัฒนานักเรียนทุกเรื่อง แสดงตัวอย่างเครื่องมือที่ใช้ทั้งหมด และอาจจะมีภาพการจัดการเรียนรู้ และผลงานของนักเรียนบ้างก็ดี จัดกลุ่ม จัดลำดับการนำเสนอให้ดี ที่ไม่ทำให้ผู้อ่านสับสน

ของแถมทึ่ถูกต้องตามหลักวิชาการ(เขียนรายละเอียดให้เป็นของตนเองว่าปฏิบัติอย่างไร)

ขั้นตอนการหาคุณภาพนวัตกรรม

  1. ศึกษาเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ
  2. ออกแบบนวัตกรรม
  3. สร้างนวัตกรรม
  4. ให้ผู้เชี่ยวชาญ 3 หรือ 5 คน ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา(Content Validity) โดยใช้ IOC 5 ระดับความคิดเห็น ของนวัตกรรม(บอกผลค่า IOCที่ได้แต่ละเล่มด้วย)(ปรับปรุงจนกว่าจะดีผ่านเกณฑ์หมด)
  5. นำไปทดลอง 1:1:1 (3 หรือ 6 หรือ 9 คน)(นักเรียนเก่ง ปานกลาง อ่อน)กับนักเรียนกลุ่มอื่น(บอกด้วยว่า ร.ร.อะไร) เพื่อตรวจสอบภาษา การสื่อสาร แล้วแก้ไข
  6. นำไปทดลองภาคสนามกับนักเรียน 20-30 คน(กลุ่มอื่น) เพื่อหาประสิทธิภาพ(เอาค่า E1 /E2  ไปตอบในบทที่ 4)
  7. นำไปใช้พัฒนานักเรียนกลุ่มประชากรต่อไป(นักเรียนที่รับผิดชอบ)

การหาคุณภาพแบบทดสอบปรนัยเลือกตอบ

  1. ศึกษาเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ
  2. ตรวจสอบจุดประสงค์การเรียนรู้
  3. ออกแบบจำนวนข้อสอบ(มากกว่าที่ต้องการสัก 50 %) และระดับของข้อสอบ(ความรู้ความจำ ความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การประเมินค่า)
  4. สร้างข้อสอบตามที่ออกแบบไว้
  5. ให้ผู้เชี่ยวชาญ 3 หรือ 5 คน ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา(Content Validity) โดยใช้ IOC  ระดับความคิดเห็น(+1, 0, -1) (แสดงผล IOC ด้วย คัดเลือกข้ออะไรออกบ้าง กรณีค่า IOC ไม่อยู่ในเกณฑ์)
  6. นำข้อสอบไปทดลองหาค่าอำนาจจำแนก ค่าความยากง่าย และค่าความเชื่อมั่น กับนักเรียนกลุ่มอื่น 30 คนขึ้นไป
  7. นำผลการสอบมาวิเคราะห์ค่าอำนาจจำแนก ค่าความยากง่าย และค่าความเชื่อมั่น(แสดงผลด้วย ตัดข้ออะไรบ้าง ที่ไม่มีคุณภาพตามเกณฑ์ เพื่อให้ได้ข้อสอบที่ต้องการ)(ความเชื่อมั่นใช้วิธีของ Kuder Richardson หรือ Lovett)
  8. จัดพิมพ์ไว้ใช้กับนักเรียนกลุ่มประชากรต่อไป

การหาคุณภาพข้อสอบแบบเติมคำ จับคู่ ถูกผิด(ข้อสอบที่ไม่มีตัวเลือก) (มักมีอยู่ในนวัตกรรม)

  1. ศึกษาเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ
  2. ตรวจสอบจุดประสงค์การเรียนรู้
  3. ออกแบบจำนวนข้อสอบ(มากกว่าที่ต้องการสัก 50 %) และระดับของข้อสอบ(ความรู้ความจำ ความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การประเมินค่า)
  4. สร้างข้อสอบตามที่ออกแบบไว้
  5. ให้ผู้เชี่ยวชาญ 3 หรือ 5 คน ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา(Content Validity) โดยใช้ IOC  ระดับความคิดเห็น(+1, 0, -1) (แสดงผล IOC ด้วย คัดเลือกข้ออะไรออกบ้าง กรณีค่า IOC ไม่อยู่ในเกณฑ์)
  6. นำข้อสอบไปทดลองหาค่าอำนาจจำแนก ค่าความยากง่าย และค่าความเชื่อมั่น กับนักเรียนกลุ่มอื่น 30 คนขึ้นไป
  7. นำผลการสอบมาวิเคราะห์ค่าอำนาจจำแนก ค่าความยากง่าย และค่าความเชื่อมั่น(แสดงผลด้วย ตัดข้ออะไรบ้าง ที่ไม่มีคุณภาพตามเกณฑ์ เพื่อให้ได้ข้อสอบที่ต้องการ)(ความเชื่อมั่นใช้วิธี Split-half Method)
  8. จัดพิมพ์ไว้ใช้กับนักเรียนกลุ่มประชากรต่อไป

การหาคุณภาพแบบทดสอบอัตนัย(มักมีอยู่ในนวัตกรรม) 

  1. ศึกษาเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ
  2. ตรวจสอบจุดประสงค์การเรียนรู้
  3. ออกแบบจำนวนข้อสอบ(อาจจะมากกว่าจำนวนที่ต้องการเล็กน้อย) และระดับของข้อสอบ(ความรู้ความจำ ความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การประเมินค่า)
  4. สร้างข้อสอบตามที่ออกแบบไว้
  5. ให้ผู้เชี่ยวชาญ 3 หรือ 5 คน ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา(Content Validity) โดยใช้ IOC  ระดับความคิดเห็น(+1, 0, -1) (แสดงผล IOC ด้วย คัดเลือกข้ออะไรออกบ้าง กรณีค่า IOC ไม่อยู่ในเกณฑ์)
  6. นำข้อสอบไปทดลองหาค่าอำนาจจำแนก ค่าความยากง่าย และค่าความเชื่อมั่น กับนักเรียนกลุ่มอื่น 30 คนขึ้นไป
  7. นำผลการสอบมาวิเคราะห์ค่าอำนาจจำแนกและค่าความยากง่าย และค่าความเชื่อมั่น(แสดงผลด้วย ตัดข้ออะไรบ้าง ที่ไม่มีคุณภาพตามเกณฑ์ เพื่อให้ได้ข้อสอบที่ต้องการ)(ความเชื่อมั่นใช้วิธีวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า( Alpha Coefficient) (ใช้สูตรเดียวกับการหาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม)
  8. จัดพิมพ์ไว้ใช้กับนักเรียนกลุ่มประชากรต่อไป

การหาคุณภาพของแบบสอบถาม(ใช้โปรแกรม B-Index ได้)

  1. ศึกษาเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ
  2. เขียนคำถามตามเรื่องที่ต้องการถาม
  3. ให้ผู้เชี่ยวชาญ 3 หรือ 5 คน ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา(Content Validity) โดยใช้ IOC  ระดับความคิดเห็น(+1, 0, -1) (แสดงผล IOC ด้วย คัดเลือกข้ออะไรออกบ้าง กรณีค่า IOC ไม่อยู่ในเกณฑ์)
  4. นำแบบสอบถามไปทดลองกับนักเรียนกลุ่มอื่น 30 คนขึ้นไป
  5. นำแบบสอบถามที่ตอบแล้วมาวิเคราะห์หาค่าอำนาจจำแนก t และวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า( Alpha Coefficient)(ความเชื่อมั่น) (แสดงผลด้วย)
  6. จัดพิมพ์เพื่อนำไปใช้กับกลุ่มประชากรต่อไป
หมายเลขบันทึก: 411842เขียนเมื่อ 3 ธันวาคม 2010 16:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 04:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท