หลักปรัชญา


หลักปรัชญา

หลักปรัชญา

            มีคำกล่าวของนักวิพากษ์วิจารณ์คนหนึ่งกล่าวว่า  Philosophy bakes no bread. (ปรัชญากินไม่ได้) คำตอบของวิชาปรัชญาต่อคำกล่าวนั้นมีอยู่ว่า ที่มนุษย์กินอยู่ทุกวันนี้ ควรถามตนเองด้วยว่า “กิน” ไปเพื่ออะไร ถ้าตอบว่ากินเพื่อความอยู่รอด ก็ต้องถามต่อไปอีกว่า “จะอยู่ไปเพื่ออะไร”

              คำถามข้างต้นสะท้อนวิถีแห่งปรัชญา เพราะเกี่ยวข้องกับการดำรงอยู่ของมนุษย์ ตลอดจนความเข้าใจว่าชีวิตเป็นอย่างไร และชีวิตที่ดีคืออะไรด้วย แม้ปรัชญาจะ “กิน” ไม่ได้ แต่ปรัชญาช่วยให้มนุษย์ได้ตริตรองถึง ชีวิตของตนเองและผู้อื่น เพื่อให้เข้าใจว่า จะกินไปเพื่ออะไร และ อาจส่งผลต่อแนวทางการดำรงชีวิต ซึ่งหมายถึงจะ “กิน” อย่างไรด้วย

             ปรัชญา คือ กิจกรรมทางปัญญาหรือการสร้างระบบความคิด เพื่อการแสวงหาคำอธิบายให้กับคำถามที่เป็นพื้นฐานที่สุดของชีวิต เช่น จุดประสงค์ของชีวิตคืออะไร พระเจ้ามีอยู่จริงหรือไม่ เราจะแยก “ถูก” กับ “ผิด” ออกจากกันได้อย่างไร สิ่งที่เรากระทำเป็นไปโดยอิสระของตัวเอง หรือเป็นเพราะโชคชะตาลิขิต เป็นต้น

           ปรัชญาเป็นกิจกรรมที่เป็นการคิดเพื่อยกระดับจิตใจ เพื่อขึ้นสู่มิติของความรู้แท้ ดังนั้น ปรัชญาจึงแตกต่างจากวิชาการอื่น ๆ ที่เต็มไปด้วยทฤษฎีและสูตรต่าง ๆ แม้ว่านักปรัชญาจะเขียนหรือแสดงทัศนะของตนออกมาในรูปหนังสือ ตำรา หรือทฤษฎี แต่ก็ถือเป็นเพียงผลผลิตของความคิด หรือผลผลิตของปรัชญา มิใช่ตัวปรัชญา สิ่งที่เรียกว่าปรัชญาแท้ ๆ ก็คือ กิจกรรมการคิดเพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ และความเข้าใจที่ถูกต้องตามความเป็นจริง การศึกษาผลงาน ความคิด ทฤษฎีของนักปรัชญา จึงไม่ใช่เพื่อการจดจำชื่อและคารมความคิดของคนเหล่านั้นเท่านั้น เพราะจะเป็นการลอกเลียนความคิดของผู้อื่น ทำตามผู้อื่น แสดงถึงความไม่เป็นอิสระของตน

หมายเลขบันทึก: 411707เขียนเมื่อ 2 ธันวาคม 2010 21:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 17:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท