จับเข่าคุยกัน พัฒนาเกณฑ์ประเมินการจัดการความรู้ ตอนที่ 1 แลกเปลี่ยน - เรียนรู้


 

วันนี้ 1 ธันวาคม 2553 วันรวมตัวพวกเรา 3 กรมฯ ค่ะ ... มา ลปรร. กัน ในเรื่อง ประสบการณ์การประเมินการจัดการความรู้ในองค์กร + 1 องค์กร นั่นก็คือ กรมอนามัย กรมควบคุมโรค กรมสุขภาพจิต และสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม เพื่อเป้าหมายเดียวกัน ก็คือ ร่วมกันพัฒนาเกณฑ์ประเมินการจัดการความรู้ ที่นำไปสู่เป้าหมายของการพัฒนาคน พัฒนางาน และพัฒนาองค์กร อย่างเห็นเป็นรูปธรรม และไม่เป็นภาระ เราจะมาร่วมกันหาคนเก่ง คนดีกัน ... วันนี้เป็นวันแรก ของการมาจับเข่าคุยกัน ที่ ห้องประชุมสมบูรณ์ กรมอนามัย

อันมี ทีม สาว สาว สาว ... ก็คือ คุณศรีวิภา คุณฉัตรลดา คุณวิมล ทส. ของ อาจารย์ นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ ที่เริ่ม D-Day นำร่องการ ลปรร. ในครั้งนี้ค่ะ พร้อมด้วยไมตรี จาก สคส ... อาจารย์ประพนธ์ ที่ท่านมาด้วยใจอยากพบมิตรเก่า เจ้าเก่า ชาวสาธารณสุขทั้งสาม ด้วยใจที่เปิดรับฟังความคิด พร้อมที่จะเกิดการปิ๊งแว่บ จากประสบการณ์ที่จะได้รับในวันนี้ด้วย

ผู้เข้าร่วม ลปรร. ครั้งนี้ มีใครบ้าง นั่นก็คือ

  • ทีมกรมควบคุมโรค - คุณมณี + คุณหมอวรรณา
  • ทีมกรมสุขภาพจิต - คุณสมพร + คุณภัครพิน
  • ทีมกรมอนามัย - สำนักสนับสนุนการจัดการความรู้ (สาว สาว สาว - คุณฉัตรลดา คุณศรีวิภา คุณวิมล + อ.หมอสมศักดิ์) สำนักทันตสาธารณสุข (ดิฉีนเอง) กลุ่มพัฒนาระบบ (คุณลาวัณย์) ศูนย์อนามัยที่ 11 นครศรีธรรมราช (ผอ.ไกรวุฒิ ห้วนหิ้น และน้องอีก 2 ท่าน) กับ สาว สาว ที่เหลือ ผู้จัดการประชุมค่ะ

อ.หมอสมศักดิ์ นำร่องจุดประกายความคิดก่อน ด้วยประเด็นคำถามว่า

  • "ทำ KM แล้ว ได้ประโยชน์อะไร"
  • เรามาทำให้ง่าย และท้าทายด้วยการ push คำใหญ่ๆ
    ... คนมีความรู้มากขึ้น ?
    ... องค์กรมีความรู้มากขึ้น ?
    ... คนเก่งขึ้น ?

บทเรียน ... ประสบการณ์ การประยุกต์ใช้แนวคิด/เครื่องมือ KM ในกรมควบคุมโรค ... คุณมณีเล่าให้ฟังค่ะ

เมื่อปี 2549 สำนัก KM ได้ตั้งขึ้นมาเพื่อภารกิจ "การจัดการความรู้ด้านการป้องกันควบคุมโรค" ผู้บริหารจะมีคำโตๆ ที่ต้องการเห็น คนเก่งขึ้น งานดีขึ้น โดยให้ "การจัดการความรู้" เป็น "เครื่องมือสำคัญ" ของกรมฯ ทำควบคู่ไปกับภารกิจเดิม คือ "การบริหารจัดการพัฒนาระบบวิจัย ของกรมควบคุมโรค" ด้วย ... งาน KM จึงถือเป็นเป้าหมายหนึ่งของการพัฒนาองค์กร

กรมฯ ใช้เครื่องมือการจัดการความรู้ที่เป็น basic ทั่วๆ ไป อาทิ AAR, Reflection, ถอดบทเรียน, ลปรร. ตลาดนัด (เวทีใหญ่ และเวทีย่อยของหน่วยงาน) เพื่อการแลกเปลี่ยน ได้ผลลัพธ์ก็คือ

  • บรรยากาศของการเรียนรู้ที่ดี
  • มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มากขึ้น ที่ส่งผลให้นำกลับไปใช้ในการทำงาน
  • มีการทำคลังความรู้ จากการถอดบทเรียน การแลกเปลี่ยน วงความรู้

การสะท้อนความคิด จากการประเมินตนเองของผู้เข้าร่วมการ ลปรร. แต่ละครั้ง สะท้อนให้เห็นตัวบุคคลที่มาร่วมกระบวนการเรียนรู้ได้ว่า

  • ด้านความคิด - เกิดการคิดมากขึ้น มองงาน มองคนที่เกี่ยวข้องมากขึ้น
  • ด้านพฤติกรรม - เกิดทักษะในการฟัง ใจเย็น ฟังผู้อื่นมากขึ้น
  • ด้านจิตใจ - สะท้อนให้เห็นได้ว่า มีจิตใจที่อ่อนโยนมากขึ้น ฟังด้วยความเอื้อเฟื้อ

บทเรียน ... ประมวลการทำงานของกรมสุขภาพจิต ... คุณสมพรเล่าให้ฟังค่ะ

การประเมินไม่ได้ออกแบบมุ่งเน้น แต่จะเป็นกระบวนการทำงาน

ด้านการประเมินทรัพยากรบุคคล มีวิธีการคือ

  • ประเมินต้นทุนความรู้ การเรียนรู้ หรือความรู้ใหม่ โดย
    - คุณกิจประเมินตนเอง มีการเตรียมการเรื่องเล่า หรือพูดคุยภายใต้ประเด็นในการสนทนากลุ่ม
    - ใช้เครื่องมือ AAR จากกลุ่มผู้เข้าเรียนรู้ในเวที ได้รับทราบแนวคิด ค่านิยมที่เปลี่ยนไป และการให้คุณค่า
    - ผลลัพธ์ ทำให้เห็นภาพความรู้ที่เพิ่มขึ้น ของคุณกิจ
  • การบริหารจัดการโครงการ ... คุณกิจได้นำขั้นตอนของการดำเนินการไปใช้ต่อยอด ทำให้เห็นความมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
  • การประเมินการเรียนรู้ ความรู้ของทีม KM หน่วยงานย่อย โดยการสังเกตุจากการพูดคุย พบความเปลี่ยนแปลงด้านความเข้าใจกระบวนการ ที่เกี่ยวกับ KM และเห็นพื้นที่ที่มีความชัดเจน และพื้นที่ที่ต้องการการเข้าไปสนับสนุน
  • ความก้าวหน้าของการดำเนินงาน ที่เป็นข้อมูลจาก CKO ผ่านเวทีการสัมมนา CKO หน่วยงานย่อย รวมถึงการไปเยี่ยมให้กำลังใจ (Empower visit)
  • การประเมินระดับผลผลิตที่เกิดขึ้นในระดับหน่วยงาน ในลักษณะของ สินทรัพย์ความรุ้ กระบวนการที่เปลี่ยนแปลง พฤติกรรมที่เปลี่ยนของผู้อยู่หน้างาน และบรรยากาศ วัฒนธรรมของหน่วยงาน
  • การประเมินระดับ outcome ที่เกิดกับกลุ่มเป้าหมายรายทาง โดย กรมฯ ให้ใช้ KM ในการสรุปบทเรียน ถอดบทเรียน ในโครงการสำคัญ เชื่อมโยงกับ MOU และ KM เป็นตัวชี้วัดที่สำคัญในมิติที่ 4 ปี 2550 ทำให้เห็นความสำเร็จเชิงคุณภาพ ได้แก่ ความตระหนัก การมีส่วนร่วมของประชาชน คุณภาพของการทำงานร่วมกัน และมีการนำไปใช้ต่อยอดให้หลายๆ โครงการ
  • รวม output และ outcome โดยการใช้แบบสำรวจ ภายใต้วิธีการ ให้หน่วยงานได้ทบทวนความห้าวหน้า และความยั่งยืน

ด้านการประเมินองค์กรแห่งการเรียนรู้ ได้แก่

  • ระดับหน่วยงาน มี 3 ประเด็น คือ
    - ประกาศ นโยบาย เอา KM มาใช้ในการขับเคลื่อนไปสู่ LO โดยบรรจุไว้ในตัวชี้วัดที่สำคัญ และเป็น input
    - ภายใต้การดำเนินงานทุกปี ในปีที่ 4 เป็นภาพการขับเคลื่อน ด้วยการหา Best practice ในเรื่อง ระบบ/กลไกภายใน ความทั่วถึง กิจกรรม/ผลผลิต/สินทรัพย์/การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น (ด้วยการนำเสนอผลงาน/เวทีตลาดนัด) และพบความชัดเจนของหน่วยงานที่ไปสู่ LO
  • ระดับกรมฯ ด้วยการประมวลสินทรัพย์ที่เกิดขึ้น และนำเข้าสู่การจัดเก็บ

บทเรียน ... เครื่องมือประเมินตนเอง สู่การพัฒนาการจัดการความรู้ กรมอนามัย ... คุณฉัตรลดาเล่าให้ฟังค่ะ

  • กรมอนามัยเริ่มจากความต้องการการพัฒนาตนเองในแต่ละหน่วยงาน โดยมี CKO ของตัวเอง และมีการ ลปรร. กัน ปีละ 2-3 ครั้ง ผลลัพธ์ ได้เห็น Fa เพิ่มขึ้น
  • การนำ IC Mapping มาใช้ในหน่วยงาน เพื่อให้เห็นภาพการทำงานที่ชัดเจน ตั้งแต่ CEO/CKO/คนในองค์กร บางหน่วยมีการดัดแปลงเพิ่มเติม ระบุความชำนาญ ระบุงานที่ไปใช้มาก/น้อย เพิ่มการเชื่อมโยงการนำไปใช้ในกิจกรรมต่างๆ
  • การเยี่ยมเสริมพลังหน่วยงานย่อย โดยทีมกรรมการ KM โดยมี guideline สำหรับการเยี่ยม ครอบคลุม
    - คำถามปลายเปิด / IC Mapping / การประเมินตนเอง
    - ชวยคุย หา evidence ในการทำกิจกรรม
    - ปริมาณการใช้ มาก/น้อย อย่างไร
    - มุ่งหวังเพื่อการนำมาพัฒนา และปรับใช้ให้มากขึ้น
  • Basic Skill ที่นำไปใช้ในการดำเนินงานต่างๆ ได้แก่ BAR / AAR / ตลาดนัดความรู้ (การแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ การยกย่องเชิดชู เกิดการเห็นหน่วยงานที่ใช้ KM อย่างเป็นรูปธรรม)
  • ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
    - ทุกหน่วยงานให้ความสำคัญของการใช้ KM ในการทำงาน
    - มีกรรมการชัดเจน
    - มีผู้บริหารเข้าร่วมกิจกรรม และให้สิทธิในการทำงานอย่างเต็มที่
    - มีการเปลี่ยนแปลงการทำงานที่ดีขึ้น เช่น การพูดคุยมากขึ้น การทำงานข้ามแผนก การทำงานเป็นทีม การนำไปใช้ต่อยอดในงานของตนเอง

คน เก่ง ดี มีสุข ที่ศูนย์อนามัยที่ 11 นครศรีธรรมราช ... ผอ.ไกรวุฒิ เล่าให้ฟังค่ะ

บริบทการทำกิจกรรมนี้ก็เพื่อทำให้ คนของศูนย์อนามัยที่ 11 "เก่ง ดี มีสุข" ... อ.หมอไกรวุฒิเล่าว่า แรกๆ เราไม่ได้คิดว่า เราทำ KM หรอก ... แล้วยังไง

สำหรับระบบภายใน

  • เริ่มที่ เราตั้งความหวัง ให้คนของเราเป็นคนเก่ง เป็นคนดี และมีความสุข
    - ตั้งตัววัด "เก่ง" อยู่ที่ ทักษะ "สุ จิ ปุ ลิ"
    - "ดี" อยู่ที่ "ทัศนคติเชิงบวก"
    - "สุข" อยู่ที่ "รู้จักตัวเองอย่างมีเหตุผล"
  • สร้างเครื่องมือ เพื่อวัดแต่ละบุคคล เพื่อนำมาประเมินขั้น และทุกคนได้รู้ว่า สถานการณ์ของตนเองอยู่ที่ตรงไหน
  • เครื่องมือของเรา ไม่ได้เรียกว่า KM แต่มีแนวคิดว่า
    - สร้างช่องทางการตรวจวัด ว่าตัวเองอยู่ในสถานการณ์ไหน
    - สุ จิ ปุ ลิ ขยายความว่า เก่งอย่างเดียวไม่ได้ ต้อง share กับผู้อื่นด้วย
    - ใช้ software computer เพื่อการวัดคะแนน
    - กลุ่มงานดูแลกันเอง ในเรื่องประสิทธิผล ตามตัวชี้วัดของกลุ่ม
    - เป็นตัวสะท้อนว่า การได้รับการพิจารณาขั้นเงินเดือน

สำหรับระบบภายนอก ... สิ่งที่พบก็คือ

  • จากความเชื่อที่ว่า KM เป็นธรรมชาติของมนุษย์ เราเชื่อว่า ความเก่งของคนอยู่ที่พื้นที่
    ... หา best practice เชิงองค์กร / เชิงงบุคคลาสาธารณะ
    ... ศูนย์ฯ ไปดำเนินการกับภาคีเครือข่าย เพื่อให้เกิดความรู้ใหม่ และ การ ลปรร.
    ... หาคนที่มีความรู้ในพื้นที่ ทั้งภาครัฐ และเอกชน
  • เป็นที่ยอมรับในการทำงาน จากเครือข่ายทุกระดับ
  • ได้ความรู้เชิง How to เยอะ

อ.หมอไกรวุฒิ บอกไว้ว่า
"ถ้ามีทัศนคติบวกเมื่อไร
จะเกิดการจัดการความรู้
และกระบวนการจัดการความรู้ที่มีคุณภาพ"
................

ท่านเชื่อหรือไม่ ?????

บทเรียน ... การขับเคลื่อน กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ในชมรมผู้สูงอายุ ... โดยดิฉันเอง (ส่วนนี้อาจคลาดเคลื่อน เพราะว่าดิฉันเล่าเอง เลยไม่ได้บันทึก จึงอาจแอบเล่าเพิ่มจากที่เล่าจริงได้เหมือนกัน อิอิ)

  • การทำกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ให้กับชมรมผู้สูงอายุ นับว่าไม่เคยมีกิจกรรมจริงจังมาก่อน อาจมีก็ได้ แต่ไม่ทราบเป็นทางการ
  • การริเริ่มจึงเริ่มต้นที่ ไม่พ้น พื้นที่นำร่อง เมื่อปี 2549 โดยได้อาสาสมัครทำกิจกรรม จาก 5 จังหวัด 3 ศูนย์อนามัย ในพื้นที่ของ CUP/PCU 12 พื้นที่ (เริ่มแรกที่ ศูนย์ฯ 4, 5, 10 และตามด้วย ศูนย์ฯ 6 และ 7) ผ่านกระบวนการจัดการความรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ของผู้สูงอายุ และบุคลากรในพื้นที่ที่ทำกันในเรื่องส่งเสริมสุขภาพช่องปาก
  • เมื่อได้อาสาสมัคร จึงสร้างกระบวนการ ลปรร. กันในกลุ่มใหญ่ขึ้น จากพื้นที่นำร่อง กระจายเป็นพื้นที่รายศูนย์อนามัยที่นำร่อง เกิดวง ลปรร. เพิ่มขึ้น โดยอาศัย ศักยภาพการเป็น Fa และ Note ของทีมส่วนกลาง ศูนย์อนามัย และบุคลากรจากจังหวัด ที่ฉายแวว การเป็นนักฟัง และประมวลผลที่ดี
  • เครื่องมือการจัดการความรู้ได้ถูกนำมาใช้ ปะปนกัน นำมาใช้ในช่วงที่ต่างๆ กัน อาทิ BAR, AAR, AI, Empower visit, dialoque, สุนทรียสนทนา, สุนทรียปรัศนี, กลุ่มสัมพันธ์ แน่นอน ได้รับความร่วมมือกัลยาณมิตร ที่มีความสามารถในด้านต่างๆ หลายๆ ท่าน
  • จนปัจจุบัน ดิฉันค่อนข้างเชื่อว่า หลายท่านได้นำกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ไปขยายผลกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ในชมรมผู้สูงอายุ ในระดับพื้นที่อีกหลายๆ แห่ง
  • การจัดการความรู้ เพื่อให้เกิดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปาก นี้ เป็นการทำคู่ขนานไปกับ ยุทธศาสตร์ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์หลักของกรมอนามัยในช่วงหนึ่ง และต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ที่กลายเป็น โครงการฟันเทียมพระราชทาน และการส่งเสริมสุขภาพสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในพระชนมายุ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2554 นี้ พร้อมกับเป็นปีทองของการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ
  • เรื่องราวละเอียด อ่านได้จากที่นี่ค่ะ ... http://gotoknow.org/blog/km-dental-nonta/toc

การใช้ KM ที่ กพร. ... คุณลาวัณย์เล่าให้ฟัง

เป็นเรื่องการนำ KM มาช่วยการทำงานของบุคลากร กพร. ที่ประกอบด้วยน้องใหม่ค่อนข้างมาก ... เรียกว่า พี่ลาวัณย์ รุ่นเก๋าที่สุดแล้ว ว่างั้นเหอะ

  • ที่ กพร. ใช้กระบวนการการ สอนงานให้น้อง จาก
    - การให้มีการ ลปรร. ในหน่วยงาน
    - การจัดทำคู่มือการทำงาน
  • มีหลักการว่า สิ่งที่ข้าราชการรู้ น้องๆ ต้องรู้
    - เริ่มจากงานประจำ มีการพูดคุยแลกเปลี่ยน 1 เดือน 1 ครั้ง
    - สรุปบทเรียน หลังจากการประชุมแต่ละครั้ง ร่วมกัน
    - น้องๆ หัดเขียน
    - กำหนดเรื่องเพื่อการเรียนรู้ นำมาเล่าในเวทีเพื่อการ ลปรร. เพื่อให้ทุกคนได้ฝึกทักษะการสรุปเรื่องราว การนำเสนอ การเล่าสู่กันฟัง

 

หมายเลขบันทึก: 411409เขียนเมื่อ 1 ธันวาคม 2010 14:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2012 09:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

แอบเข้ามาอ่านอย่างตั้งใจ

เพื่อจะเก็บเอาไปเทียบเคียงกับที่ศูนย์ 10 ค่ะ

ขอบคุณนะคะ

  • Ico32
  • คนอ่านต้องเก่งมากเลย
  • เพราะคนบันทึก ชอบบันทึกยาว ... ไปหน่อย ... อิอิ
  • ขอบคุณเช่นกันค่ะ
  • กลม(กรมฯ)เดียวก็เมาแล้วครับ
  • นี่ตั้ง  3  กรมฯ 555
  • ตามมาเรียนรู้ต่อครับ
  • คำถาม "ถ้ามีทัศนคติบวกเมื่อไร จะเกิดการจัดการความรู้
    และกระบวนการจัดการความรู้ที่มีคุณภาพ"...เชื่อหรือไม่ ???
  • ...ก็มันยากตรงที่จะทำให้คนคิดเชิงบวก(ได้เอง)นี้แหละครับ เพราะมันเป็นเรื่องภายใน
  • หากทำได้  ก็เพิ่มองค์ประกอบสำคัญของกระบวนการพัฒนาได้มากโขเลยล่ะ
  • ...บวกเมื่อไร  ก็ต่อยอดและยกระดับได้  งานจะเข้ามามากอย่างไรก็สนุกครับ
  • ขอบคุณมากครับ
  • Ico32
  • น่านนะซี
  • มันจึงต้องประกอบด้วยบรรยากาศที่เอื้อไงคะ
  • กับคนคอเดียวกัน อิอิ
  • ตามมาเรียนรู้เพิ่มเติมค่ะ
  • ไปอ่านตอนที่สองก่อนนะค่ะ
  • Ico32
  • หวัดดีจ้า
  • ดีใจที่ได้ไปรับรู้เรื่องดีดี เลยอดไม่ได้ที่มาเล่าสู่กันฟังต่อค่ะ
  • ทำ km แล้วได้อะไร วูบแรกที่ตอบได้เลย คือ ได้ความสุขค่ะ มันเหมือนการได้ปล่อยของ เราอยากบอก แล้วเราก็อยากฟังว่าคนอื่นเค้าคิดเห็นอย่างไร "
  • ตอนนี้การขยายผล KM สู่การเขียนเริ่มเข้มข้นขึ้นที่ ศูนย์ฯ8 ค่ะ เพราะท่านอธิบดีมาให้คำแนะนำ ชี้แนะไว้หลายประเด็นเมื่องานกีฬา 3 ศูนย์ค่ะ ก็เลยรอหมอก้องสอนการสกัดความรู้กันอยู่ค่ะ

 

  • Ico32
  • อิอิ สำนวนดี "ได้ปล่อยของ" ...
  • เขียนเข้มข้นขึ้นที่ไหนกันคะ จะได้ตามไปชม
  • และบอกให้ชาว ศูนย์ฯ 8 มาปล่อยของที่ G2K กันเยอะๆ ด้วยนะคะ
  • ปีนี้คงมีเรื่องราวมาแบ่งปันกันอีกหลายเรื่องค่ะ
  • เพราะคุณหมอก้องนำเสนอเข้าสู่นโยบายของศูนย์ฯ โดยที่ท่าน ผอ.ก็เห็นด้วยว่าบรรจุ KM ลงใน แบบประเมินมอบหมายงานเลย 5 % แต่กลุ่มการพยาบาลขอ 10 % เลยค่ะ
  • แล้วท่าน CKO ก็ให้หนังสือ "จัดการความรู้ด้วยการเยี่ยมเสริมพลัง..ผลิดอกออกผล" ของสำนักงานสนับสนุนฯ ให้ทีมงานคนละ 1 เล่มค่ะ
  • ศูนย์ฯ 8 เป็นศูนย์แนวหน้า ในการใช้ KM จริงๆ นะ ขอบอก

สวัสดีค่ะ

กรมอนามัย ถือว่าเป็นหน่วยงานต้นแบบด้าน KM

กรมบัญชีกลาง ขอเรียนเชิญมาแลกเปลี่ยนฯ ด้าน KM ได้นะค๊ะ

  • Ico48
  • ถ้ามีโอกาส ก็อยากไปร่วม ลปรร. ด้วยสักครั้งนะคะ
  • ขอบคุณค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท