วิเคราะห์และแก้ไขฟิล์มเสียจากภาพรังสีวินิจฉัยทั่วไป


จากมุมมองของนักรังสีเทคนิคหลายคน อาจคิดว่าการวิเคราะห์ฟิล์มเสียอาจดูเหมือนเป็นกระกระทำที่วุ่นวายแต่เมื่อได้ทำแล้วจะพบว่าอะไรเป็นสาเหตุหลักของฟิล์มเสียอย่างแท้จริง นำไปสู่การแก้ไขที่ถูกวิธีสามารถลดจำนวนฟิล์มของภาพรังสีที่ไม่เป็นที่ยอมรับได้

วันนี้ kunrapee ภูมิใจนำเสนอผลงานคุณภาพของงานรังสี (ประกวดผลงานคุณภาพด้านระบบ อันดับ 1 ของรพ.สูงเนิน) ดูผลการประกวดได้จากที่นี่ค่ะhttp://gotoknow.org/blog/kunrapee/407156

ที่ผ่านมา งานรังสีเก็บข้อมูลฟิล์มเสีย เพราะเป็น "ตัวชี้วัด" ของหน่วยงาน ค่าที่ยอมรับได้คือไม่เกิน 5% สรุปข้อมูลดูเอง บันทึกเอง ไม่มีระบบมากนัก จนกระทั่งสิ้นเดือน ก.ค. 52 พบฟิล์มเสียมาก เกือบถึง 5% ส่งผลให้เกิดความสิ้นเปลืองมากขึ้นจากการถ่ายฟิล์มซ้ำ และผู้ป่วยต้องได้รับรังสีมากขึ้น

หน่วยงานรังสีจึงได้จัดทำโปรแกรม เพื่อค้นหาสาเหตุของฟิล์มเสียขึ้น เป็นการออกแบบโปรแกรมวิเคราะห์ฟิล์มเสียจากภาพรังสีวินิจฉัยทั่วไป และดำเนินการแก้ไข จากผลการวิเคราะห์ฟิล์มเสีย ช่วงตุลาคม 2552 ถึง มิถุนายน 2553 ใช้จำนวนฟิล์มใช้งานทั้งหมด 6,733 แผ่น พบว่ามีฟิล์มเสีย 316 แผ่น(4.69%)

สาเหตุหลักเกิดจาก movement และ Exposureไม่เหมาะสม ทีมได้ดำเนินการพัฒนาเครื่องมือเพื่อช่วยในการแก้ไข ได้แก่

1. สร้างอุปกรณ์ “Sungnoen Chest Stand” ใช้ถ่ายภาพเอกซเรย์ปอดแบบ non-grid

2. สร้าง “Sungnoen Hospital Program” ใช้คำนวณหาค่า Exposure ที่เหมาะสม

พัฒนาโปรแกรม access โปรแกรมช่วยคำนวณหาค่า Exposure ที่เหมาะสม 

ร้อยละ reject ตามสาเหตุ คิดจากจำนวนฟิล์มที่ใช้ทั้งหมด

 

movement

artifact

Exposure

Position

รวม reject

ก่อนวิเคราะห์

2.85

0.48

1.29

0.07

4.69

หลังวิเคราะห์

0.23

0.34

0.17

0.23

0.96

หลังการใช้งานเครื่องมือ

พบว่ามีฟิล์มเสีย จาก Movement ลดลงจาก 2.85% เหลือ 0.23%

ฟิล์มเสียจาก exposure ไม่เหมาะสมลดลงจาก 1.29% เหลือ 0.17% 

หมายเลขบันทึก: 411098เขียนเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2010 20:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 19:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

ยอดเยี่ยมเลยค่ะ  งานรังสี

แก้ไขปัญหาหน้างานได้อย่างมีคุณภาพและคนทำมีความสุข

ต้องบอกต่องานรังสี รพ.แก่งคอยบ้างแล้วค่ะ

ขอบคุณ "sha-รพ.แก่งคอย"มากนะคะ

แล้วจะบอกต่อ..ให้ทีมงานรังสีทราบค่ะ

ว่ามีคนชมว่ายอดเยี่ยม

บันทึกสั้นๆแต่มองเห็นที่มาของปัญหา และแนวทางแก้ไขชัดเจน

ต้องขอบคุณ "คุณระพี" ที่ช่วยนำมาเล่าสู่กันฟัง

ยินดีค่ะ "ครูอ้อย"

เป็นงานคุณภาพของโรง'บาลต้องขอ..นำเสนอ..ซะหน่อย

หุหุ

พี่ครับผมอยู่ร.พ.ชุมชล 30เตียง ไม่มีเจ้าพนังงานรังสีผมทำงานคนเดียวคับเป็นลูกจ้างนะคับ ผมก็เหือนพี่นะคับที่เก็บอัตรฟิล์เสียเป็นตัวชี้วัดแต่ไม่เคยวิเคราะเลยว่าสาเหตุมันคืออาไร ผมอยากได้โปรแกรมนะคับ พี่ช่วยผมได้ใหมคับ จะขอบคุณมากคับ

ติดต่อ ผมที่ เมล์ก็แล้วกัน

mail "อาจารย์ปู่" x-ray man ของรพ.สูงเนินค่ะ ติดต่อไปได้เลยนะค๊า [email protected]

เข้ามาเยี่ยม ขอชื่นชมค่ะ

เยี่ยมครับ เป็นการพัฒนางานอย่างแท้จริง

ขอบคุณมากค่ะคุณ nantawan และคุณ teerawat 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท