กฏหมายอิสลาม ตอน 3


กฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัว เรียกในภาษาอาหรับว่า "أَحْكَامُ الأُسْرَةِ " หมายถึง บรรดาหลักการที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ของมนุษย์กับครอบครัว โดยเริ่มต้นจากการสมรส (اَلنِّكَاحُ) และสิ้นสุดด้วยการแบ่งมรดก นักกฎหมายอิสลามร่วมสมัยเรียกกฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดกว่า "اَلأَحْوَالُ الشَّخْصِيَّةُ "

บทที่  3

ครอบครัวและมรดก

                กฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัว  เรียกในภาษาอาหรับว่า  "أَحْكَامُ الأُسْرَةِ " หมายถึง  บรรดาหลักการที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ของมนุษย์กับครอบครัว โดยเริ่มต้นจากการสมรส  (اَلنِّكَاحُ)  และสิ้นสุดด้วยการแบ่งมรดก  นักกฎหมายอิสลามร่วมสมัยเรียกกฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดกว่า    "اَلأَحْوَالُ الشَّخْصِيَّةُ "

 

การนิกาหฺ

นิกาหฺ  (النِّكَاحُ) ตามหลักภาษาหมายถึง  การรวม  การมีเพศสัมพันธ์  หรือการทำข้อตกลง

นิกาหฺ  ตามหลักกฎหมายอิสลาม  หมายถึง  การผูกนิติสัมพันธ์สมรสระหว่างชายหญิง  เพื่อเป็นสามีภรรยาโดยพิธีนิกาหฺ 

นักนิติศาสตร์มูลฐานและนักภาษาศาสตร์ให้ความหมายนิกาหฺตามความหมายที่แท้จริง  (حَقِيْقِيّ)  คือ  การมีเพศสัมพันธ์ และความหมายเชิงโวหาร  (مَجَازِيّ)  คือการทำข้อตกลง  ส่วนทัศนะของนักกฎหมายอิสลามในมัซฮับทั้งสี่  คำว่า  นิกาหฺ  มีความหมายแท้จริงคือการทำข้อตกลง  และความหมายเชิงโวหารคือการมีเพศสัมพันธ์ 

ศาสนาอิสลามส่งเสริมให้มีการนิกาหฺเพื่อสืบเผ่าพันธุ์มนุษยชาติ  และสร้างความบริสุทธิ์ให้แก่คู่สามีภรรยาจากการฝ่าฝืนบัญญัติที่ศาสนาห้ามไว้  ตลอดจนเป็นการสร้างครอบครัวให้มีความสมบูรณ์ด้วยครอบครัวที่ยึดหลักคำสอนของศาสนาและศีลธรรมอันดีเป็นสิ่งควบคุมพฤติกรรมของสมาชิกในครอบครัว

การนิกาหฺเป็นบัญญัติตามหลักการของศาสนาโดยมีหลักฐานจากตัวบทของอัล-กุรฺอาน  อัล-หะดีษ  และอิจญฺมาอฺ

หลักฐานจากอัล-กุรฺอาน  ดังปรากฏ ว่า

(#qßsÅ3R$$sù $tB z>$sÛ Nä3s9 z`ÏiB Ïä!$|¡ÏiY9$# 4Óo_÷WtB y]»n=èOur yì»t/â‘ur (

÷bÎ*sù óOçFøÿÅz žwr& (#qä9ω÷ès? ¸oy‰Ïnºuqsù ......... ÇÌÈ

               ความว่า  “ดังนั้นสูเจ้าทั้งหลายจงสมรสกับสตรีที่เป็นที่พึงพอใจสำหรับสูเจ้าทั้งหลาย  สองคน  สามคน  และสี่คน  ดังนั้นหากสูเจ้าทั้งหลายเกรงว่าจะไม่สามารถให้ความเป็นธรรม  (ระหว่างพวกนางได้)  ก็จงสมรสกับสตรีคนเดียว”

(สูเราะฮฺอัน-นิสาอฺ  อายะฮฺที่  3)

                หลักฐานจากอัล-หะดีษ  ได้แก่รายงานจากท่านอับดุลลอฮฺ  อิบนุ  มัสอูด    ดังที่ปรากฎ ว่า 

"  يَامَعْشَرَالشَّبَابِ ،  مَنِ اسْتَطَاعَ مِنْكُمُ الْبَاءَةَ فَلَيْتَزَوَّجْ  ،  فَإنَّه أَغَضُّ لِلْبَصَرِ وَأَحْصَنُ لِلْفَرْجِ  ،  وَمَنْ لَمْ يَسْتَطِعْ  فَعَلَيْهِ بِالصَّوْم  فَإنَّه لَه وِجَاءٌ  "   متفق عليه

                ความว่า “โอ้บรรดาคนหนุ่มทั้งหลาย  ผู้ใดจากพวกท่านมีความสามารถในค่าใช้จ่ายของการสมรส  ผู้นั้นจงสมรสเถิด เพราะการสมรสเป็นสิ่งทำให้สายตานั้นลดต่ำลงเป็นที่สุด  และเป็นการป้องกันอวัยวะเพศได้ดีที่สุด  และผู้ใดไม่มีความสามารถ  ก็ให้ผู้นั้นถือศีลอดเถิด  เพราะการถือศีลอดคือการลดทอนกำหนัดสำหรับผู้นั้น” 

(รายงานพ้องกันโดยบุคอรีและมุสลิม)

                และประชาชาติมุสลิมต่างก็เห็นพ้องเป็นมติเอกฉันท์ว่าการสมรสเป็นสิ่งที่ถูกบัญญัติตามหลักการของศาสนา 

                อย่างไรก็ตาม  นักกฎหมายอิสลามได้พิจารณาถึงข้อชี้ขาดของการสมรสซึ่งอาจจะมีความแตกต่างกันไปตามสถานภาพและสภาวะของบุคคล  ดังนี้

(1)    เป็นสิ่งจำเป็น  (فَرْضٌ)  ในกรณีที่บุคคลมั่นใจว่าตนจะประพฤติผิดประเวณี  (اَلزِّنَا)     หากไม่ทำการนิกาหฺ และบุคคลผู้นั้นมีความสามารถในการจ่ายมะฮัรและค่าเลี้ยงดูภรรยา ตลอดจนดำรงสิทธิและหน้าที่ตามที่ศาสนากำหนดไว้

(2)    เป็นสิ่งต้องห้าม  (حَرَامٌ)  ในกรณีที่บุคคลมั่นใจว่าตนจะอธรรมต่อสตรีและประทุษร้ายต่อนางเมื่อเขาได้นิกาหฺกับนาง  โดยบุคคลผู้นั้นไม่สามารถรับภาระในค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องและผูกพันกับการนิกาหฺ

(3)    เป็นสิ่งที่น่ารังเกียจ  (مَكْرُوْهٌ)  ในกรณีที่เกรงว่าบุคคลนั้นคิดว่าจะมีพฤติกรรมดังข้อที่  2  แต่ไม่ถึงขั้นแน่นอนว่าจะต้องเป็นเช่นนั้น  หรือบุคคลผู้นั้นมีข้อบกพร่อง  เช่น  ชราภาพ  มีโรคเรื้อรัง  เป็นต้น

(4)    เป็นสิ่งที่ส่งเสริม  (مُسْتَحَبٌّ)  ในกรณีที่บุคคลไม่มีสภาพหรือพฤติกรรมดังที่กล่าวมาใน  3  ข้อแรก  แต่นักวิชาการสังกัดมัซฮับชาฟิอียฺ  มีทัศนะว่าการนิกาหฺในกรณีนี้เป็นสิ่งที่อนุญาต  (مُبَاحٌ)  คือ  บุคคลนั้นมีสิทธิที่จะเลือกได้ระหว่างการนิกาหฺหรือไม่นิกาหฺ    และกรณีที่ไม่นิกาหฺแล้วใช้เวลาไปในการประกอบศาสนกิจและแสวงหาความรู้ก็ย่อมถือว่าดีกว่าการสมรส 

  

การสู่ขอหรือการหมั้น  (اَلْخِطْبَةُ)

การสู่ขอหรือการหมั้น  ในภาษาอาหรับเรียกว่า   " اَلْخِطْبَةُ "หมายถึง  การแสดงความจำนงในการนิกาหฺกับสตรีที่หมั้นหมาย  โดยแจ้งให้สตรีหรือผู้ปกครอง وَلِيٌّ))  ของนางทราบถึงสิ่งดังกล่าว  ซึ่งการแจ้งให้ทราบนี้อาจจะเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์โดยตรงจากฝ่ายชายผู้สู่ขอ หรือผ่านคนกลางก็ได้  ดังนั้นหากสตรีผู้ถูกสู่ขอหรือครอบครัวของนางตอบตกลง  การสู่ขอหรือการหมั้นระหว่างบุคคลทั้งสอง  (คือฝ่ายชายและฝ่ายหญิง)  มีผลสมบูรณ์  ซึ่งจะมีผลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับหลักการศาสนาตามมา

 

คุณสมบัติของสตรีที่ควรได้รับการสู่ขอ  (اَلْمَخْطُوْبَةُ)

(1)  เป็นสตรีที่เคร่งครัดในศาสนา

(2)  เป็นสตรีที่ให้กำเนิดบุตรได้หลายคน

(3)  เป็นสตรีโสดที่ไม่เคยผ่านการนิกาหฺมาก่อน

(4)  เป็นสตรีมาจากครอบครัวที่เป็นที่ทราบกันว่าเคร่งครัดในศาสนาและมีความพอเพียงในการดำเนินชีวิต

(5)  มีชาติตระกูลที่ดี

(6)  มีรูปโฉมงดงาม

(7)  เป็นสตรีอื่นที่มิใช่ญาติใกล้ชิด

(8)  มีความเหมาะสมกัน

 

เงื่อนไขที่อนุญาตให้ทำการสู่ขอมี  2  ประการ  คือ 

(1) สตรีที่ถูกสู่ขอไม่เป็นที่ต้องห้ามตามศาสนบัญญัติ  กล่าวคือ  สตรีผู้ถูกสู่ขอต้องมิใช่สตรีที่ห้ามฝ่ายชายสมรสด้วยไม่ว่าจะเป็นการห้ามตลอดไป  (مُؤَبَّدٌ)  เช่น  พี่สาว,  น้องสาว,  ป้า  หรือ  น้าสาว  เป็นต้น  หรือเป็นการห้ามชั่วคราว  (مُؤَقَّتٌ)  อาทิเช่น  พี่สาวหรือน้องสาวของภรรยา,  ภรรยาของชายอื่น,  สตรีที่ยังคงอยู่ในช่วงเวลาครองตน  (عِدَّةٌ)  จากการหย่าของสามีที่สามารถคืนดี  (رَجْعَةٌ)  ได้  เป็นต้น

(2)  สตรีที่ถูกสู่ขอนั้นจะต้องไม่เป็นสตรีที่ถูกสู่ขอมาก่อน  กล่าวคือ  ไม่อนุญาตให้สู่ขอสตรีที่ถูกสู่ขออยู่ก่อนแล้ว   ซึ่งเรียกว่า    การสู่ขอทับซ้อน  (اَلْخِطْبَةُ عَلَى الْخِطْبَةِ)  ทั้งนี้เมื่อมีการตอบรับการสู่ขออย่างชัดเจนแก่ชายผู้สู่ขอก่อนแล้ว  ยกเว้นด้วยการอนุญาตของชายผู้สู่ขอก่อนหรือชายผู้สู่ขอก่อนไม่ถูกตอบรับการสู่ขอ  การสู่ขอในกรณีนี้ไม่เป็นที่ต้องห้าม  ซึ่งการเป็นที่ต้องห้ามในที่นี้หมายถึง  มีบาป  มิได้หมายความว่าการสมรสที่เกิดขึ้นจากการสู่ขอทับซ้อนของชายผู้สู่ขอคนที่สองนั้นเป็นโมฆะแต่อย่างใดตามทัศนะของปวงปราชญ์ 

 

สำนวนในการสู่ขอแบ่งเป็น  2  ชนิด  คือ

(1)  สำนวนที่ชัดเจน  (اَلتَّصْرِيْحُ)  หมายถึง  การใช้ถ้อยคำที่ชัดเจนในการบ่งถึงความจำนงในการนิกาหฺ  เช่น  “ฉันต้องการจะนิกาหฺกับเธอ”    “เมื่อช่วงเวลาการครองตน  (عِدَّةٌ)  ของเธอสิ้นสุดลง  ฉันจะนิกาหฺกับเธอ”  เป็นต้น

(2)  สำนวนที่กำกวม  (اَلتَّعْرِيضُ)  หมายถึง  การใช้ถ้อยคำที่สามารถตีความได้ว่ามีความจำนงในการนิกาหฺหรือไม่นิกาหฺก็ได้  เช่น  กล่าวกับสตรีที่อยู่ในช่วงเวลาครองตน   ว่า  “เธอเป็นคนสวย”  หรือ  “บางทีอาจมีคนสนใจเธอน่ะ”  เป็นต้น

ตามหลักการของศาสนา  อนุญาตให้ใช้สำนวนทั้ง  2 ชนิดได้  เมื่อปรากฏว่า  สตรีผู้ถูกสู่ขอปลอดจากการสมรสและช่วงเวลาการครองตน    ตลอดจนไม่เป็นบุคคลต้องห้ามในการสมรสด้วย  ส่วนในกรณีที่สตรีผู้นั้นเป็นสตรีที่อยู่ในช่วงการครองตนเนื่องจากสามีเสียชีวิต  หรือการหย่าแบบบาอินไม่ว่าบาอินเล็กหรือบาอินใหญ่  อนุญาตให้สู่ขอด้วยสำนวนที่กำกวมได้เท่านั้นตามทัศนะของปวงปราชญ์  ส่วนในกรณีที่สตรีผู้นั้นเป็นภรรยาของชายอื่น  หรือเป็นสตรีที่ห้ามสมรสด้วย  หรือเป็นสตรีที่ยังคงอยู่ในช่วงการครองตน    เนื่องจากการหย่าแบบที่สามีสามารถคืนดี    ได้  ถือว่าเป็นที่ต้องห้ามในการสู่ขอนางไม่ว่าจะใช้สำนวนชนิดใดก็ตาม  

อนึ่งตามศาสนบัญญัติอนุญาตให้ทำความรู้จักกับสตรีที่จะถูกสู่ขอจากสองแนวทางเท่านั้น  คือ

(1)  โดยการส่งสตรีที่ผู้สู่ขอมีความวางในใจตัวนางให้ไปดูตัวสตรีที่จะถูกสู่ขอ  แล้วสตรีผู้นั้นบอกเล่าถึงคุณลักษณะของสตรีที่จะถูกสู่ขอให้ชายผู้สู่ขอทราบและฝ่ายหญิงก็สามารถกระทำเช่นเดียวกันได้ด้วยการส่งชายผู้หนึ่งไปดูตัวฝ่ายชาย

(2)  ฝ่ายชายผู้สู่ขอมองดูสตรีที่จะถูกสู่ขอโดยตรง  เพื่อรู้ถึงสภาพความงามและความสมบูรณ์ของร่างกาย  โดยให้ฝ่ายชายมองดูใบหน้า  ฝ่ามือทั้งสองและส่วนสูงของฝ่ายหญิง  ทั้งนี้ใบหน้าจะบ่งถึงความงาม  สองฝ่ามือจะบ่งถึงความสมบูรณ์ของร่างกายหรือความบอบบางและส่วนสูงจะบ่งว่านางเป็นคนสูงหรือเป็นคนเตี้ย  นักวิชาการสังกัดมัซฮับชาฟิอียฺระบุว่า  :  การมองดูของฝ่ายชายผู้สู่ขอยังสตรีนั้นสมควรเกิดขึ้นก่อนหน้าการสู่ขอ  และการมองดูนั้นควรเป็นไปอย่างลับ ๆ โดยที่ฝ่ายหญิงหรือครอบครัวของนางไม่รู้  ทั้งนี้เพื่อเป็นการรักษาเกียรติของฝ่ายหญิงและครอบครัวของนาง  ดังนั้นเมื่อฝ่ายหญิงเป็นที่พึงพอใจสำหรับฝ่ายชายก็ให้ฝ่ายชายทำการสู่ขอโดยไม่สร้างความลำบากใจให้แก่นางและครอบครัวของนาง  ซึ่งการมองดูสตรีที่จะถูกสู่ขอนี้จะเป็นไปด้วยความยินยอมของนางหรือไม่ก็ตาม 

 

ผลสืบเนื่องจากการสู่ขอ

การสู่ขอหรือการหมั้นมิใช่การนิกาหฺ  แต่เป็นเพียงข้อสัญญาว่าจะมีการนิกาหฺ  จึงไม่มีผลใด ๆ จากหลักการนิกาหฺเกิดขึ้นตามมา  ไม่ว่าจะเป็นการอยู่สองต่อสองกับสตรีผู้ถูกสู่ขอ  หรือการไปไหนมาไหนกันสองต่อสอง  ทั้งนี้เพราะสตรีผู้ถูกสู่ขอยังคงเป็นหญิงอื่นที่ศาสนาห้ามจากการกระทำสิ่งข้างต้น

 

การยกเลิกการสู่ขอ

นักวิชาการส่วนใหญ่มีทัศนะว่าอนุญาตให้ฝ่ายชายผู้สู่ขอ  หรือฝ่ายหญิงที่ถูกสู่ขอ  ยกเลิกการสู่ขอหรือการหมั้นได้  ในกรณีที่มีความจำเป็น  ส่วนในกรณีที่มีการมอบของขวัญหรือของกำนัลให้แก่ฝ่ายหญิงที่ถูกสู่ขอ  หากมีการยกเลิกการหมั้นในภายหลัง  ฝ่ายชายไม่มีสิทธิในการขอคืนสิ่งดังกล่าว  ทั้งนี้เพราะของขวัญหรือของกำนัล  (هَدِيَّةٌ)  มีข้อชี้ขาดเช่นเดียวกับฮิบะฮฺนั่นเอง 

 

องค์ประกอบหลักของการทำข้อตกลงนิกาหฺ

การทำข้อตกลงนิกาหฺ    มีองค์ประกอบหลัก  5  ประการ  คือ

1)  ฝ่ายชาย  (เจ้าบ่าว)

2)  ฝ่ายหญิง  (เจ้าสาว)

3)  ผู้ปกครองฝ่ายหญิง  (وَلِيٌّ)

4)  พยาน  2  คน

5)  การกล่าวคำเสนอ  (إِيْجَابٌ)  และคำสนองรับ  (قَبُوْلٌ)

หมายเลขบันทึก: 411003เขียนเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2010 10:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มิถุนายน 2012 10:00 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
นาย ชรินทร์ ช่างเรือ เลขที่ 11 นาย ธีรพงษ์ ทองประดิษฐ์ เลขที่1 นาย ร็อบใบ หมัยหมาด เลขที่ 24 นาย อามีน หมาดสกุล เลขที่ 25 ม.5/1

การเลือกคู่ครองควรพิจารณา ดังนี้

1) เป็นสตรีที่เคร่งครัดในศาสนา

(2) เป็นสตรีที่ให้กำเนิดบุตรได้หลายคน

(3) เป็นสตรีโสดที่ไม่เคยผ่านการนิกาหฺมาก่อน

(4) เป็นสตรีมาจากครอบครัวที่เป็นที่ทราบกันว่าเคร่งครัดในศาสนาและมีความพอเพียงในการดำเนินชีวิต

(5) มีชาติตระกูลที่ดี

(6) มีรูปโฉมงดงาม

(7) เป็นสตรีอื่นที่มิใช่ญาติใกล้ชิด

(8) มีความเหมาะสมกัน

ณัฐธิดา สมานแก้ว นัสรีน หวังมานะ ชนกานต์ ชูเลิศ แพรวโพยม วริศราภูริชา ม.5/1 เลขที่ 28,29,3,12

การเลือกคู่หรอก ควรพิจารณาดังนี้

1.มีอีหม่าน

2.เป็นผู้นำ

3.ให้กำเนิดบุตรได้

4.เลี้ยงดูครอบครัวได้

นายณัฐดนัย มังกะลัง นายนิติพร วราชิต นายพัชรพล นิภา นายบัยฮากี นารีเปน

การเลือกคู่ครองควรพิจารณาดังนี้

(1) เป็นสตรีที่เคร่งครัดในศาสนา

(2) เป็นสตรีที่ให้กำเนิดบุตรได้หลายคน

(3) เป็นสตรีโสดที่ไม่เคยผ่านการนิกาหฺมาก่อน

(4) เป็นสตรีมาจากครอบครัวที่เป็นที่ทราบกันว่าเคร่งครัดในศาสนาและมีความพอเพียงในการดำเนินชีวิต

(5) มีชาติตระกูลที่ดี

(6) มีรูปโฉมงดงาม

(7) เป็นสตรีอื่นที่มิใช่ญาติใกล้ชิด

(8) มีความเหมาะสมกัน

นาย บัยฮากี นารีเปน เลขที่ 19

การเลือกคู่ครองควรพิจารณา ดังนี้

1) เป็นสตรีที่เคร่งครัดในศาสนา

(2) เป็นสตรีที่ให้กำเนิดบุตรได้หลายคน

(3) เป็นสตรีโสดที่ไม่เคยผ่านการนิกาหฺมาก่อน

(4) เป็นสตรีมาจากครอบครัวที่เป็นที่ทราบกันว่าเคร่งครัดในศาสนาและมีความพอเพียงในการดำเนินชีวิต

(5) มีชาติตระกูลที่ดี

(6) มีรูปโฉมงดงาม

(7) เป็นสตรีอื่นที่มิใช่ญาติใกล้ชิด

(8) มีความเหมาะสมกัน

ร็อบใบ มัยหมาดเลขที่ 23 สิริกัญญา หญ้าปรัง เลขที่ 27 อริสรา ประทาน เลขที่ 14 ปรียาพร วงษ์มะเซาะ เลขที่ 30

การเลือกคู่ครองควรพิจารณาดังนี้

1) เป็นคนที่เคร่งครัดในศาสนา

(2) สามารถให้กำเนิดบุตรได้

(3) เป็นผู้ที่ไม่เคยผ่านการนิกาหฺมาก่อน

(4) เป็นผู้ที่มาจากครอบครัวที่เป็นที่ทราบกันว่าเคร่งครัดในศาสนาและมีความพอเพียงในการดำเนินชีวิต

(5) มีชาติตระกูลที่ดี

(6) มีรูปร่างหน้าตาดี

(7) เป็นคนอื่นที่มิใช่ญาติใกล้ชิด

(8) มีความเหมาะสมกัน

ม.5/1

ฟารีดา หะยีอาลี เลขที่ 31 มาเรียม อัลรุไดนี เลขที่ 16

การเลือกคู่ครองควรพิจารณาดังนี้

(1) เคร่งครัดในศาสนา

(2) ให้กำเนิดบุตรได้

(3) ที่ไม่เคยผ่านการนิกาหฺมาก่อน

(4) มีชาติตระกูลที่ดี

(5)มิใช่ญาติใกล้ชิด

(6) มีความเหมาะสมกัน

ม.5/1

นิติพร วราชิต ม.5/1 เลขทื่ 18 นายณัฐดนัย มังกะลัง ม.5/1 เลขที่ 7 นาย พัชรพล นิภา เลขที่ 8

การเลือกคู่ครองควรพิจารณาดังนี้

(1) เคร่งครัดในศาสนา

(2) ให้กำเนิดบุตรได้

(3) ที่ไม่เคยผ่านการนิกาหฺมาก่อน

(4) มีชาติตระกูลที่ดี

(5)มิใช่ญาติใกล้ชิด

(6) มีความเหมาะสมกัน

นาย พีระพงศ์ อบทอง เลขที่ 20 นส.อริสรา ประทาน เลขที่ 14 นาย นพดล หมัดอาดัม เลขที่ 17 นาย อัชอารีย์ บิลละเตะ เลขที่ 24

การเลือกคู่ครองควรพิจารณาดังนี้

(1) เคร่งครัดในศาสนา

(2) ให้กำเนิดบุตรได้

(3) ที่ไม่เคยผ่านการนิกาหฺมาก่อน

(4) มีชาติตระกูลที่ดี

(5)มิใช่ญาติใกล้ชิด

(6) มีความเหมาะสมกัน

นาย พีระพงศ์ อบทอง เลขที่ 20 นส.อริสรา ประทาน เลขที่ 14 นาย นพดล หมัดอาดัม เลขที่ 17 นาย อัชอารีย์ บิลละเตะ เลขที่ 24 ม 5/1

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท