เตือนภาคใต้ระวังพายุ


เตือนภัย

ประธานมูลนิธิสภาสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ เตือน พื้นที่ภาคใต้ระวังพายุเดือนธ.ค.นี้
วันนี้ 23 พ.ย.ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ดร.สมิทธ ธรรมสโรช ประธานมูลนิธิสภาสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ เปิดเผย ในระหว่างการเดินทางลงพื้นที่ จ.ระนองเพื่อเข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการการเตรียมการซ้อมแผนรับมือ พิบัติภัยทางน้ำในวันที่ 24 พ.ย. 2553 นี้ว่า แม้ว่าประเทศไทยจะเกิดพิบัติภัยรุนแรงมาแล้วในทั่วทุกภาคก่อนหน้านี้ แต่จากข้อมูล และสถิติต่างๆ พบว่าในช่วงเดือน ธ.ค.ที่จะถึงนี้ยังเป็นช่วงเดือนที่ยังจะต้องเฝ้าระวังอันตรายพิบัติภัยต่อ ไป โดยเฉพาะภัยจากพายุ

เนื่องจากยังคงได้อิทธิพลของปรากฏการณ์ลานินญา ที่จะส่งผลให้เกิดพายุในเขตพื้นที่มหาสมุทรแปซิฟิค โดยจากสถิติที่มีการจัดเก็บย้อนหลังไป 59 ปีคือช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2494-2552) ในเขตพื้นที่มหาสมุทรแปซิฟิค จะมีพายุเกิดขึ้นอีกไม่ต่ำกว่า 9 ลูก ดังนั้นทั้ง 9 ลูกยังไม่สามารถระบุได้ว่าจะมีพายุลูกใดบ้างที่พัดเข้ามายังประเทศไทย หากโชคดีอาจจะไม่มี แต่หากโชคร้ายอาจจะมีเพียงแค่ 1-2 ลูกก็แย่แล้ว อย่างเช่นปรากฏการณ์ล่าสุดที่พายุพัดถล่มภาคใต้แค่เพียงลูกเดียวก็สร้างความ เสียหายอย่างใหญ่หลวง

"สาเหตุที่ทำให้ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนเสียหายมากในช่วงที่ผ่านมาคือ ปัญหาของระบบการเตือนภัย ที่ทุกฝ่ายต่างหันไปโทษที่อุปกรณ์ที่ไม่พร้อม แต่ตนมองว่าเกิดปัญหาที่คน และเป็นความผิดพลาดของมนุษย์ที่ไม่มีการแจ้งเตือนภัยได้อย่างทันท่วงทีเมื่อ เกิดเหตุการณ์พิบัติภัยทั้งที่ระบบการเตือนภัยมีมากมากทั้งระบบหลักและระบบ สำรองอาทิการใช้โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ,การแจ้งผ่านสถานีวิทนยุกระจายเสียง แห่งประเทศไทย,การแจ้งผ่านระบบสัญญาณมือถือ,การแจ้งผ่านเว็ปไซด์,การแจ้ง ผ่านหอเตือนภัย แต่ที่ผ่านมาปรากฏว่าไม่มีการแจ้งเตือนแต่ประการใดทำให้ประชาชนไม่ได้รับ ข้อมูลที่ชัดเจน และไม่สามารถเตรียมตัวได้ทันเมื่อเกิดเหตุการณ์พิบัติภัยเกิดขึ้น"

ดร.สมิทธ กล่าวต่อถึง กรณีที่มีกระแสข่าวการเกิดสึนามิในเขตพื้นที่ภาคใต้ โดยเฉพาะทางฝั่งทะเลอันดามันในช่วงปลายปีนี้ว่า ตนพูดมาเสมอว่าไม่มีเทคโนโลยีใดที่ระบุวันเวลาการเกิดสึนามิได้อย่างชัดเจน แต่ถามว่ามีความเป็นไปได้หรือไม่ที่พื้นที่ภาคใต้รวมถึง จ.ระนองจะเกิดสึนามิอีกครั้ง ต้องบอกว่ามีความเป็นไปได้อย่างแน่นอน ทั้งยังมีความเสี่ยงสูงที่จะประสบความเสียหายระลอกใหม่ โดยสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์และนักธรณีสิทยา เป็นห่วงมากคือรอยเลื่อนของแผ่นเปลือกโลกในแนวของรอยเลื่อนระนอง และรอยเลื่อนคลองมะรุยที่พาดผ่าน จ.สุราษฏร์และนครศรีธรรมราช ที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดการเลื่อนอีกครั้งเนื่องจากในปี 2547 ที่เกิดเหตุการณ์สึนามิรอยเลื่อนแนวดังกล่าวมีการเลื่อนเพียงครึ่งเดียวจาก เกาะนิโคบาถึงเกาะสุมาตร แต่ส่วนที่พาดผ่านมาถึงประเทศไทยในพื้นที่ภาคใต้ยังไม่มีการเลื่อน

รวมถึงปัจจัยการระเบิดของภูเขาไฟในอินโดนีเซีย ก็มีผลต่อการสั่นสะเทือนของแผ่นเปลือกโลกที่อาจส่งผลกระทบต่อแนวรอยเลื่อน จนนำมาซึ่งการเกิดคลื่นยักษ์สึนามิได้อีกครั้ง ส่วนจะเกิดขึ้นช้าหรือเร็วอย่างไรนั้นไม่มีใครสามารถระบุวัน เวลาที่ชัดเจนได้ แต่ขณะนี้นักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเรื่องดังกล่าวทั้งของไอซ?แลนด์,ญี่ปุ่น ต่างมีความเห็นตรงกันว่ามีความเป็นไปได้และมีโอกาสเกิดขึ้นอย่างแน่นอน และหากเกิดระดับความรุนแรงจะสูงกว่าครั้งที่ผ่านมาเนื่องจากจุดที่เกิดตรง แนวรอยเลื่อนเข้ามาใกล้และติดกับชายฝั่งทะเลอันดามันของไทย ซึ่งน่ากลัวมากหากเกิดการเลื่อนไหลของแผ่นเปลือกโลกเกิดขึ้น

"จากเหตุการณ์ และบทเรียนที่ผ่านมาขณะนี้ถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลจะต้องลงมาดำเนินการในเรื่อง ดังกล่าวอย่างจริงจังโดยเฉพาะการพัฒนาระบบการเตือนภัยที่ปัจจุบันยังมีปัญหา ทั้งอุปกรณ์,บุคคลากร และโครงสร้างการทำงาน แต่หากระบบไม่พร้อมทางแก้อย่างหนึ่งที่ทำได้คือการใช้วิธีการแบบชาวเลคือการ สังเกตความผิดปกติของแผ่นดินหากเกิดการสั่นสะเทือนที่รู้สึกได้ และเห็นน้ำทะเลลดลงผิดปกติจากน้ำขึ้นน้ำลง ก็ให้รีบหนีขึ้นที่สูงทันทีก็จะสามารถเอาชีวิตให้ปลอดภัยจากพิบัติภัยที่ เกิดขึ้นได้"

หมายเลขบันทึก: 410684เขียนเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2010 14:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 17:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท