SMEs Knowledge Center สัญจร จังหวัดบุรีรัมย์


SMEs - โลจิสติกส์กับเส้นทางสู่ตลาด ASEAN

        ด้วย มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ ได้รับมอบหมายจาก สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ให้จัดการสาระ ความรู้ สำหรับกิจกรรมศูนย์ข้อมูล SMEs Knowledge Center เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ของ สสว. เพื่อเป็นแหล่งศูนย์รวมเสริมสร้างความรู้ให้กับผู้ประกอบการ SMEs  ให้มีข้อมูลความรู้ที่สำคัญและจำเป็นเพื่อผู้ประกอบการ บุคลากร หรือผู้ที่สนใจโดยทั่วไปได้ศึกษา และนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาคุณภาพสินค้าหรือบริการเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน โดยเมื่อวันพุธที่ 17 พฤศจิกายน 2553 ที่ผ่านมา ได้มีกิจกรรมแถลงข่าวเปิดตัว SMEs Knowledge Center พร้อมทั้งจัดการเสวนา หัวข้อ มองการตลาดของ SMEs ในยุคที่โลกเปลี่ยน โดยได้รับเกียรติอย่างสูงจากศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ และเหล่าคอลัมนิสต์และนักธุรกิจ นักวิชาการชั้นนำร่วมเป็นวิทยากรและที่ปรึกษาของโครงการฯ

(ติดตามชมสาระความรู้และภาพบรรยากาศได้ที่..http://gotoknow.org/blog/chirasmes/408605)

       สำหรับกิจกรรม SMEs Knowledge Center สัญจร ที่จังหวัดบุรีรัมย์ในครั้งนี้ ได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ นำโดย รศ.โกวิท เชื่อมกลาง อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ ผ่านการประสานงานของอาจารย์พิสมัย ประชานันท์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาลูกศิษย์ปริญญาเอกของผมซึ่งต้องขอขอบคุณเป็นอย่างสูงมา ณ โอกาสนี้ด้วย สำหรับกำหนดการจัดงานดังกล่าวมีดังต่อไปนี้  

SMEs Knowledge Center สัญจรที่จังหวัดบุรีรัมย์

กำหนดการเสวนาทางวิชาการ

เรื่อง “SMEs - โลจิสติกส์กับเส้นทางสู่ตลาด ASEAN”

วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน 2553 เวลา 9.00 – 12.00 น.

ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

08.30 - 09.00 น.         

ลงทะเบียน

09.00 - 09.15 น.         

กิจกรรมSMEs Knowledge Center สัญจร..ภารกิจเพื่อสร้างศักยภาพของ SMEs ไทย ดำเนินรายการโดย..คุณสุภวัฒน์ วรมาลี

  • ความเป็นมาและวัตถุประสงค์หลักของโครงการความร่วมมือจัดกิจกรรม SMEs Knowledge Center สัญจรฯ  

      โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

            เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

  • บทบาทของมหาวิทยาลัยฯ ในการร่วมมือโครงการ SMEs Knowledge Center สัญจรฯ

       โดย รศ.โกวิท เชื่อมกลาง

             อธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

  • วิสัยทัศน์ พันธกิจของจังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อการส่งเสริมสนับสนุน SMEs ไทยสู่อาเซียน  

       โดย นายพีระศักดิ์   หินเมืองเก่า                                      

              ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์

10.00 - 10.15 น.         

พักรับประทานอาหารว่าง

10.15 - 11.45 น.         

การเสวนา

เรื่อง    “SMEs - โลจิสติกส์กับเส้นทางสู่ตลาด ASEAN”

โดย       นายรัชพล  ตระหนักยศ 

            ประธานหอการค้าจังหวัดบุรีรัมย์

            นายขวัญชัย  ติยะวานิช 

            นายกสมาคมผู้ประกอบการรถบรรทุกภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

            ศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

            เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

ดำเนินรายการโดย..คุณสุภวัฒน์ วรมาลี                         

11.45 -12.00 น.                      

ซักถาม-แลกเปลี่ยนความคิดเห็น 

...............................................................................

ภาพบรรยากาศของงาน

 

หมายเลขบันทึก: 410594เขียนเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2010 09:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 10:45 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

ถึงอาจารย์พิศมัย

         ผมต้องขอขอบคุณอย่างมากที่กรุณาจัดงานที่บุรีรัมย์ได้เรียนร้อยสมที่เป็นลูกศิษย์ของผม

         ฝากขอบคุณท่านอธิการบดี และตัวแทนของท่านผู้ว่าราชการจังหวัดที่ร่วมกันแสดงความคิดเห็นได้ดี

         จังหวัดบุรีรัมย์มีโอกาสทางธึรกิจมาก ควรจะทำงานให้เกิดผู้ประกอบการจากท้องถิ่นให้มากขึ้น

         ขอขอบคุณ

         จีระ หงส์ลดารมภ์

เรียนอาจารย์

ติดตามมาชมกิจกรรมดีๆ

พร้อมข้อเสนอแนะครับ

"สร้างเยาวชนจากแปลงนาข้าว สู่การพัฒนาประเทศ"

ญี่ปุ่นเป็นประเทศอุตสาหกรรม และการเกษตรที่ก้าวหน้า ส่วนหนึ่งก็คือการพัฒนามาจาก ความมีระเบียบวินัย ของคนในชาติ ที่ฝึกฝนกันตั้งแต่เด็กครับ

รวมถึงการจัดระเบียบการปลูกข้าว...เค้าสอน เด็กๆ กันตั้งแต่ในเเปลงนา

ประเทศไทย ทุกคนเติบโตกันมาด้วยข้าว แต่เด็กรุ่นใหม่ ทำนา ไม่ได้ เลอะ    โคลนไม่เป็น แต่กินเป็น แบบไม่รู้คุณค่า

  ไร้ระเบียบกันตั้งแต่เเปลงนา โตขึ้นมา จะมาจัดระเบียบก็ไม่ทัน ครับ

เรามีพื้นที่การเรียนรู้ ในนาข้าว "ถึง 60 ล้านไร่" เรามาสร้างพื้นที่การเรียนรู้ให้เด็กๆ ร่วมกันดี มั๊ย ครับ ดีกว่าโตมาในตำรา แต่ปลูกข้าวไม่ได้ เข้าแถวไม่เป็น

      "สร้างเด็กรุ่นใหม่ พร้อมกับสร้างคุณค่าข้าวไทยควบคู่กัน"

ขอบคุณครับ

นางสาวนันทวรรณ จรุวพันธ์

 ต้องอยู่ในลกอย่างยั่งยืน ( เดินทางสายกลาง )

 มีปัญญา

 เราจะเก่งไม่เก่งต้องมีความคิดสร้างสรรค์

 ต้องมีนวัตกรรม

 มีทุนทางปัญญา ต้องคิดอย่างเป็นระบบ

สิ่งสำคัญที่สุดของโลกปัจจุบัน คือ 1. เปิดการค้าเสรี WTO FTA ประชาคมว่าเซียน 2. เปิดเสรีทางการเงินและในการทำธุรกิจจะต้องคำนึงถึงองค์ประกอบเหล่านี้ คือ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส ความเสี่ยง

นายเอกชัย - นางสาววรรณพร

 ให้เราตื่นตัวในยุคของโลกาภิวัตน์ ทำให้กิการแข่งขันให้รู้จุดอ่อน จุดแข็ง ได้รู้ของโอกาสความเสี่ยง

 พยายามศึกษาภาษาของแต่ละประเทศให้ได้มากที่สุด

เดือน ทองขมิ้น - สุชาต เนียงตม

 การเปลี่ยนแปลงคุณภาพของคน การคิดวิเคราะห์ปรับตัวให้เป็นในยุคโลกาภิวัตน์ ของคนไทยในอนาคต

 ภาษาในการสื่อสาร ทัศนคติ มุมมองใหม่ๆของความคิด โครงสร้างพื้นฐานในการคิด การปรับตัว

ขนิษฐา ตราชู – จันทรา บัวทอง

 เรื่อง โลกาภิวัตน์ การเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก อุตสาหกรรม ปัญญา ความคิดสร้างสรรค์ ทุนทางปัญญา คิดเป็นระบบ

 ต้องมีการตื่นตัว และแข่งขันกับคู่แข่งตลอดเวลา ปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัยนั้นๆ

วาสนา เพียนอก – ศิรภัสสร เที่ยงธรรม

 ยุคโลกาภิวัฒน์ และการเปลี่ยนทางการค้าเสรี

 ปรับตัวให้เข้ากับยุคโลกาภิวัตน์ ควรมีการตื่นตัว

หฤทัย พลงาม – นภาพร ปุริโส

 โลกาภิวัตน์ กับผลกระทบต่อมนุษย์

 ยุคทางเกษตรสู่ยุคอุสาหกรรม

 เสรีทางการเงิน อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา

 ปรับตัวเข้าหาเศรษฐกิจ โดยใช้ของไทยกันอยู่อย่างไทยๆ เศรษฐกิจเมืองไทยจะดีขึ้นเริ่มจากตัวเราเอง

นภาภรณ์ ปุริโส – หฤทัย

 การที่ได้เรียนรู้เรื่องวิธีชีวิตของมนุษย์ และโลกาภิวัตน์ การพัฒนา และการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก

รู้สึกประทับใจดร.จีระ มาก ที่ได้มาให้ความรู้ในมหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ และอยากให้อาจารย์ได้มาให้ความรู้เป็นวิทยาทานที่

มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์อีกค่ะ

ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท