เรื่องเล่าจาก รพ.สต.ห้วยโพธิ์ ι กลยุทธ์สร้างดีกว่าซ่อม


เรื่องต่อเนื่องจากการไปเยี่ยม รพ.สต.ห้วยโพธิ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ของเขาดีจริงค่ะ เขียนได้มากมายอย่างน่าชื่นชม


กลยุทธ์สร้างดีกว่าซ่อม

 ศุภลักษณ์  พริ้งเพราะ........ผู้เขียน

ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ ๖ (ขอนแก่น)

                ในปัจจุบันเด็กเล็ก ๆ ในพื้นที่  รพ.สต.ห้วยโพธิ์เจ็บป่วยบ่อยมาก  ทางทีมงานจึงต้องหาสาเหตุว่าเกิดจากอะไร  ทำไมแนวโน้มถึงเป็นเช่นนี้  จากนั้นทางเจ้าหน้าที่ก็ได้พบว่าเด็กแรกเกิดไม่ค่อยได้ดื่มนมแม่  เนื่องจากว่าเมื่อคลอดลูกได้ไม่นานก็ต้องไปทำงาน  ตอนเย็นถึงมาให้ลูกดื่มนม  ถ้าเด็กได้ดื่มนมจากขวดแล้วก็จะไม่ไปดื่มนมแม่เพราะว่าการดูดนมแม่ดูดยากกว่า   สุดท้ายก็โตมาด้วยนมกระป๋อง    เมื่อพบสาเหตุแล้วพี่หมูและทีมเจ้า หน้าที่  รพ.สต. ห้วยโพธิ์  จึงได้นำร่องกับโรงงานเย็บผ้าเป็นแห่งแรก  เข้าไปคุยกับเจ้าของโรงงานว่าพนักงานที่ต้องให้นมลูกหน้าจะมีมุมให้เขาบีบน้ำนมเก็บไว้ให้ลูก      พอเจ้าของโรงงานได้ยินก็ไม่เห็นด้วย เพราะทำให้โรงงานเขาเสียผลประโยชน์อย่างมาก  จะต้องเสียเวลา   ทำให้งานเขาล้าช้า  สรุปง่าย  ๆ  เจ้าของโรงงานยังงัยก็ไม่ยอมรับ  แต่ทางเจ้าหน้าที่  รพ.สต.  ห้วยโพธิ์ก็ชี้แจงเหตุผลว่า  จริง  ๆ  แล้วไม่ได้เสียเวลามากมายอะไรก็แค่ประมาณ  5 -  10  นาที  เพราะถ้าไม่ทำอย่างนี้เวลาพักเที่ยงพนักงานกลับไปบ้านให้นมลูกกว่าจะกลับมาทำงานก็เลยเวลาทำงาน  ถ้าเป็นอย่างนี้ทุกวันทางโรงงานก็จะเสียผลประโยชน์ไป  แต่ถ้าให้มีมุมให้พนักงานบีบน้ำนมก็จะบีบนมวันหนึ่งก็  4  รอบ  เก้าโมงเช้า  เที่ยง  บ่าย  2  และก็บ่าย 4  โมงเย็น  เก็บใส่กระติกน้ำแข็งได้ทั้งหมด  4 ถุง  การที่เด็กได้ดื่มนมแม่จะทำให้มีภูมิต้านทานโรค  เมื่อมีภูมิก็จะไม่เจ็บไข้ได้ป่วยบ่อย  ถ้าลูกแข็งแรงดี  แม่ก็ไม่ได้ลางานบ่อย  เพราะพนักงานบอกว่าถ้าลูกป่วยบ่อยก็เป็นห่วงลูก  สุดท้าย 

“ลูกสำคัญที่สุด”

  ก็จะลาออกจากงานไป  ทางโรงงานก็จะต้องรับพนักงานใหม่ก็เริ่มสอนงานกันใหม่  กว่าพนักงานจะเรียนรู้และเป็นงานก็ต้องใช้เวลา  ดีไม่ดีฝีมืออาจจะไม่ดีเท่าคนที่ออกไป  ทำให้ส่งงานไม่ทัน  หรืองานไม่ดีก็ต้องกลับมาแก้ใหม่ทำให้เสียเวลามาก  ทางพนักงานเมื่อได้มีเวลาบีบนมแล้วตอนเที่ยงก็ไม่ต้องกลับไปให้นมลูกรอกลับเวลาเลิกงานทีเดียว ทางโรงงานน่าจะได้ประโยชน์มากกว่า  และทางโรงงานยังช่วยให้พนักงานไม่ต้องเสียเงินซื้อนม  ประ หยัดรายจ่าย  เด็กไม่เจ็บป่วย  พนักงานเมื่อกลับไปบ้านก็ให้ลูกดื่มนมทั้งคืนจนกระทั่งแปดโมงเช้าก่อนมาทำงานก็ให้กินจนอิ่ม  ช่วงที่แม่มาทำงานก็ให้นำนมที่บีบตอนเก้าโมงเช้าของเมื่อวานมาดื่มวันนี้โดยก่อนจะดื่มต้องทิ้งไว้ให้นมอยู่ในอุณหภูมิห้อง  ไม่ให้นำไปอุ่นโดยผ่านความร้อน  ทั้งวันเด็กก็จะได้ดื่มนมแม่ทั้งวัน  แม่ไปทำงานก็บีบนมเก็บใส่ถุงไว้เหมือนเดิม  ก็ทำเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ อย่างน้อยเด็กก็จะได้ดื่มนมแม่อย่างน้อย  6  เดือน  สุดท้ายเจ้าของโรงงานก็ยอมและจัดมุมให้พนักงานได้บีบนม  สุดท้ายก็ได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย 


เป็นกระบวนการดูแลแบบเข้าถึงวิถีชีวิตของมนุษย์จริง ๆค่ะ พี่หมูมีมุมมองที่เข้าอกเข้าใจ ทั้งสาวโรงงาน ทั้งเจ้าของโรงงานรวมถึงคนในครอบครัวได้ประโยชน์กันอย่างครบถ้วนทั่วหน้า ขอบคุณนะคะพี่หมู กระบวนการนี้ยอมเยี่ยมเรียบง่าย สุดยอดจริง ๆค่ะ ขอบคุณพี่อ้อที่เขียนเล่าเรื่องอย่างน่าสนใจ

หมายเลขบันทึก: 410429เขียนเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2010 11:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 21:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะอาจารย์

  • พี่มาส่งกำลังใจให้ค่ะ
  • มีความสุขกับการทำงานนะคะ

             

สวัสดีนะครับ

ดีใจที่ได้อ่านบันทึกดี ๆ ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท