หยาดน้ำตาในสรวงสวรรค์ กับ การสูญเสียและความเศร้า


หยาดน้ำตาในสรวงสวรรค์ หรือ Tears in Heaven เป็นบทเพลงที่ใครอายุเกิน ๓๐ ปีน่าจะเคยได้ยิน

ผมใช้เพลงนี้เปิดการบรรยายหัวข้อ Grief & Bereavement ให้กับทีม palliative care ของภาควิชากุมารเวชศาสตร์ ม. สงขลานครินทร์ ที่มี น้องพรพรรณ..พญ.พรพรรณ ศรีพรสวรรค์ เป็นหัวเรือใหญ่ที่เข้มแข็งมาก


ผมเลือกเพลงนี้เพราะ

- ใช้รอคนมาเข้าประชุม เพราะเล่นเริ่มบรรยายกันตั้งแต่แปดโมงครึ่งตอนเช้า

- ใช้แบ่งอายุผู้เข้าฟังการบรรยาย โดยถามว่า ใครเคยได้ยินเพลงนี้บ้าง หลังจากเปิดคลิปข้างล่างนี้ให้ดูแล้ว

http://www.youtube.com/watch?v=gKlcuEdtGVo
คลิปนี้ดีมาก เพราะมีเนื้อเพลงให้ด้วย และเขาเร่ิมจากภาพขาวดำดูเศร้าๆ ก่อนค่อยๆเติมสีสันให้ทีละน้อย ตรงกับความต้องการของผมที่จะสื่อให้เห็นถึงการปรับมุมมองของคนเราต่อเรื่อง การสูญเสียและความเศร้า

มีหลายคนที่เข้าฟังการบรรยายหลงกลผม ยกมือว่าเคยฟังเพลงนี้มาก่อน ยิ่งถ้าบอกว่ารู้สึกอินกับเพลงมาก นั่นก็หมายถึงเข้าข่ายผู้สูงวัยเหมือนผู้บรรยาย

- เหตุผลข้อสุดท้ายที่สำคัญที่สุด คือ ที่มาของเพลงนี้

เพลงนี้ Eric Clapton ร้องไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ.​๒๕๓๕ แล้วดังเป็นพลุแตก ไต่ขึ้นเพลงอันดับหนึ่งในตารางของสหรัฐอเมริกา แล้วคว้า ๓ รางวัลแกรมมี่ในปีถัดมา

แต่เบื้องหลังของความสำเร็จของนักดนตรีชื่อดังคนนี้ คือ การสูญเสียและความเศร้าโศกของผู้เป็นพ่อคน

เพลงนี้ Eric แต่งให้กับลูกชายวัย ๔​ ขวบ ที่ประสบอุบัติเหตุตกจากหน้าต่างห้องพักชั้น ๕๓ ลงมาเสียชีวิตทันที ในปีก่อนหน้านั้น

การสูญเสียบุตรในวัยน่ารักก่อนวัยอันควร ก่อให้เกิดความเศร้าอย่างรุนแรง แต่ Eric กลับใช้ความเศร้านี้เป็นแรงบันดาลใจ สร้างผลงานที่ตนเองถนัด ฝากเป็นบทเพลงบันลือโลกได้อีกหนึ่งชิ้น

ผลงานของมนุษย์ที่โด่งดังหลายชิ้น ก็ได้แรงบันดาลใจจากความเศร้า จากการสูญเสีย การจากพราก ไม่ว่าจะเป็นนิราศลึกซึ้งกินใจ ไปจนถึงทัชมาฮาลอันมหัศจรรย์


ในปี พ.ศ. ๒๕๔๘ สิบกว่าปีหลังจากการสูญเสีย Eric ประกาศเลิกร้องเพลงนี้อีก โดยให้เหตุผลว่า เขาไม่รู้สึกสูญเสียอีกแล้ว และไม่อยากจะกลับไปคิดถึงมันอีก ชีวิตเขาเปลี่ยนไปแล้ว

"I didn't feel the loss anymore, which is so much a part of performing those songs.  I really have to connect with the feelings that were there when I wrote them. They're kind of gone and I really don't want them to come back, particularly. My life is different now. They probably just need a rest and maybe I'll introduce them for a much more detached point of view."

ประเด็นนี้แหละที่ผมเอามาถามผู้เข้าฟังการบรรยายว่า คิดว่าความเศร้าของ Eric จัดเป็นความเศร้าปกติ (normal grief) หรือเป็นความเศร้าที่มีปมปัญหา (complicated grief) ซึ่งเป็นเรื่องที่เราต้องประเมินเป็นประเด็นแรก เวลาให้ความช่วยเหลือครอบครัวที่ต้องเผชิญกับความสูญเสีย โดยเฉพาะพ่อแม่ที่เสียลูกก่อนวัยอันควรอย่าง Eric

ลองให้เหตุผลกันดูนะครับว่า normal หรือ complicated

ผมปิดท้ายการบรรยายด้วยเพลงๆเดิมแต่คนละแนว คลิบนี้ร้องโดยนักร้องประสานเสียงเด็กชาวอังกฤษ The Choir Boys

http://www.youtube.com/watch?v=jRWMvj-oimk

อยากให้เปรียบเทียบความรูู้สึกของตนเอง ระหว่างฟังเพลง ๒ เวอชั่นนี้ด้วยนะครับ


Tears in Heaven

Would you know my name
If I saw you in heaven?
Would you feel the same
If I saw you in heaven?
I must be strong and carry on
'Cause I know I don't belong here in heaven

Would you hold my hand
If I saw you in heaven?
Would you help me stand
If I saw you in heaven?
I'll find my way through night and day
'Cause I know I just can't stay here in heaven

Time can bring you down, time can bend your knees
Time can break your heart, have you begging please, beggin please
Beyond the door there's peace I'm sure
And I know there'll be no more tears in heaven

หยาดน้ำตาในสรวงสวรรค์

ลูกจะจำพ่อได้ไหม หากเห็นพ่อบนสรวงสวรรค์
ทุกอย่างจะเหมือนเดิมไหม ถ้าเราพบกันบนนั้น
พ่อจะเข้มแข็งและก้าวต่อไป
เพราะพ่อรู้ว่า พ่อคงไม่ได้ไปอยู่ที่นั่น

ลูกจะกุมมือพ่อไว้ไหม หากเห็นพ่อบนสรวงสวรรค์
ลูกจะเข้ามาช่วยพยุงพ่อไหม ถ้าเราพบกันบนนั้น
พ่อจะพยายามมีชีวิตอยู่ต่อไปให้ได้
เพราะพ่อรู้ดีว่า พ่อไม่สามารถไปอยู่ที่นั่นกับลูกได้

กาลเวลาอาจทำให้ลูกรู้สึกแย่ อาจทำให้ลูกต้องคุกเข่าลง
มันอาจทำให้ลูกเศร้าโศก และอาจทำให้ลูกต้องอ้อนวอน
หลังประตูแห่งสวรรค์นั้น พ่อแน่ใจว่าจะมีแต่ความสงบสุข
และพ่อก็รู้ว่า จะไม่มีน้ำตาบนนั้นอีก

หมายเลขบันทึก: 409752เขียนเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2010 21:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 10:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (29)
  • ใช้เพลงระงับความโศกเศร้าได้เลย
  • แต่ไม่เคยฟังเพลงนี้
  • Tears in Heaven
  • สงสัยอายุไม่ถึง
  • ฮ่าๆๆ
  • ใช้มือถ่าย
  • วันที่คุณหมอมาที่เกษตรศาสตร์ครับ

Ico32

  • มีคุณป้าวัยน่าจะเกิน ๖๐ ปีที่เข้ามาฟังผมบรรยาย ก็ยกมือว่าไม่เคยได้ยินเพลงนี้ครับ
  • สงกะสัยว่าอาจารย์ขจิตจะอยู่ในกลุ่มเดียวกับคุณป้าคนนั้น
  • ต้องเชิญอาจารย์สอนอังกฤษตรวจการบ้านการแปลเนื้อเพลงของผมด้วยขะรับ
  • ขอขอบพระคุณอาจารย์ออกอากาศ สำหรับผลไม้ที่นำไปถวายหลวงพี่และบรรดาลูกศิษย์ผู้หิวโหยอย่างผมที่แสนปาล์ม กำแพงแสน วันนั้นด้วยครับ
  • ไม่ใช่ของผมคนเดียวครับ
  • น้องดาวฝากไปด้วย

มี CD un-plug ชุดนี้ ตอนนั้นก็จำได้ว่าเศร้ามาก เพราะได้ยินเรื่องราวเบื้องหลังมาด้วยเหมือนกัน การสะท้อนของศิลปินนี่ยากน่าดูเหมือนกันนะครับ Channel ในการแสดงออกมันลึกล้ำมาก่อนแล้ว

ที่น่าสนใจคือบท reconciliation ภายหลัง ต้องขอเวลาไปย่อยดูก่อน น่าสนใจมากๆอะ

สวัสดีค่ะ

พี่คิมอายุถึงค่ะ  มีเพื่อนนักเรียนชายคนหนึ่ง เรียนภาษาระดับแย่มาก ๆ แต่เขากลับร้องเพลงนี้ได้ดี  เพราะชีวิตเขาเหมือนลูกในเพลงค่ะ

อ้อ...ลืมยกมือค่ะ "พี่คิมเลยวัยอีกต่างหาก" ฮา ๆ ๆ

ชอบเพลงนี้ค่ะอาจารย์ ฟังเพลงต้นฉบับแล้วอินและซาบซึ้ง กับความรักของพ่อที่มีต่อลูกอย่างลึกซึ้งค่ะ แต่เวอร์ชั่นเด็กร้อง นี่เสียงชวนเศร้าจริง ๆ ค่ะ

ฟังเพลงนี้ตอนแรกคิดว่าความเศร้าของ eric เป็นเรื่องปกติที่สมควรต้องโศกเศร้า แต่ในเชิงวิชาการไม่แน่ใจ รอเฉลยนะคะ :)

Ico32

  • reconciliation คืออะไรครับ เหมือน reconcile ยาของคนไข้ที่มีอยู่หรือเปล่า

Ico32

  • พี่คิมคงอยู่กลุ่มเดียวกับอาจารย์ขจิตนะครับ อยากให้ลงวิเคราะห์ว่าเศร้า ปกติ หรือ มีปม ด้วยครับพี่

Ico32

  • สงสัยน้องปูเกิดไม่ทัน แต่ถ้าชอบคุณตา Lobo ก็น่าจะไม่เมินคุณลุง Eric นะครับ
  • ย่อหน้าแรกก็..รู้สึก..ไม่เหมือนผมแล้ว
  • แต่ย่อนหน้าที่สองนี่ ขอยังไม่เฉลยนะครับ

reconcile กับ reality ได้ครับ คือสามารถคืนดีกับสิ่งที่เป็นอยู่ ณ here and now ได้อีกครั้งหนึ่ง

แว้บ แอบมาดู เฉลย แต่รอได้ค่ะ แถมได้ความรู้ใหม่ รีคอนไซล์ ณ ที่นี่ และขณะนี้ หลาว .. ทำให้นึกถึงหนังสือเล่มนี้ชื่อ now ขอบพระคุณค่ะ :)

อีกหนึ่ง หยาดน้ำตาจากสรวงสวรรค์ อันพิสุทธิ์ใส ...

บรรรณาการผ่านความระลึกถึง รอเกาะติดไปล่องท่องเหนือค่ะ :)

Ico32

  • ตอนนี้ต้องระวัง ฟ้าน้ำตาไหลโฮ นะครับ 
  • น้ำจะท่วมเอา

ขอโทษค่ะ ขอรบกวนสอบถาม ไม่ทราบรู้จัก ผู้หญิงชื่อ พรศรี  พึ่งรัศมี ไหมค่ะ

เห็นมีเหมือนนามสกุลของเพื่อนเก่าสมัยเรียนค่ะ  ขอบคุณค่ะ

ตอนนี้อยู่สุวรรณภูมิแล้ว พรุ่งนี้เรามีรถไปสวนดอกไหมครับ ออกกี่โมง

เรื่องนี้ยิ่งยากกว่าเรื่องของปู่ซิวอีก

น่าจะ normal นะค่ะ เพราะเขาสามารถทำ

ในสิ่งที่เป็นปกติได้คือการแต่งเพลงและเมื่อเขาได้ร้องเพลง

ก็เป็นการได้ระบายความเศร้าด้วย และเหมือนกับการได้พูดคุยกับลูกของเขา

สรุปจากสิ่งที่เห็นและข้อมูลที่ได้รับ เพราะไม่ได้คุยและสังเกตเหมือนเดิม

สนุกดีค่ะ อาจารย์เหมือนทำการบ้านส่งครู

วันนี้น้องฟ้าร่ำไห้โฮ ตั้งแต่เช้าจนขณะนี้เลยค่ะ .. ส่งการบ้านไปแล้ว มารอดูคะแนนค่ะอ. หมอ รอนานมากๆ ๕ ๕ แต่รอได้ เพราะเป็นไกด์กิติมศักดิ์ .. ปูจะไปเหนือก่อนแล้วนะคะ 

เบญจมาส

  • ผมก็คิดอย่างนั้น จนกระทั่งมาสะดุดอีตรง เขาประกาศเลิกร้องเพลงนี่แหละ ครับ

ผมคิดว่าที่ประกาศเลิกร้องเพลงนี้ก็อาจจะพอ make sense นะครับ

ตอนที่ Elton John แต่ง version Candle in the Wind ที่ใช้ร้องสดในงานศพเจ้าหญิง Diana (Good-bye, English Rose) แล้วก็บอกว่าจะไม่ขอร้องเพลงนี้อีก ไม่ว่าจะในวาระใดๆทั้งสิ้น ผมก็รู้สึกว่ามี "นัยยะสัญญลักษณ์" แฝงอยู่เยอะ

ส่วนหนึ่งคือ "เพลงนี้ไม่ธรรมดา" นั่นคืิอมี "บริบท" พ่วงติด สำหรับเราๆคนฟังเพลง ก็อาจจะเป็นเนื้อร้อง ทำนอง แต่สำหรับคนที่เป็นทั้งคนเขียนเพลง ร้องเองด้วย มันจะมีเรื่องของ "ที่มา" ของเพลงผนวกตามติดมาด้วยทุกครั้ง

ฉะนั้นการได้แต่ง ได้ร้อง ก็เสมือนการ "หยิบยก" วาระนี้มา honor ความสัมพันธ์ ความคิดถึง และความสำคัญของคนๆนั้นขึ้นมา

และในที่สุดเราก็ "วางลง" หลังจากหยิบขึ้น

ก็เพื่อที่เราจะได้ move on เดินต่อไปในชีวิตของเรา ตามความหมายใหม่ที่เราปราศจากคนๆนี้ในสมการปัจจุบันนี้อีกต่อไป (นั่นคือ mature grief and bereavement) ซึ่งสัญญลักษณ์ "วางลง" ก็เพียงตนเองจะไม่ร้องอีก แต่ผมยังคิดว่าไม่ได้หมายความว่าจะ "ไม่ฟังเพลงนี้อีก" ซึ่งการที่เราคิดถึงกลับมาเป็นครั้งคราว เป็นการแสดงความสำคัญของ relationship ไม่ได้แปลว่าเรา "ติด" กับอดีตแต่อย่างใด

อากัปกิริยา "ยกขึ้น" และ "วางลง" ทั้งสองตอนมีความลึกซึ้ง สวยงาม และข้อสำคัญ "เป็นการให้ความหมาย" โดยเขาเอง นั่นคือความหมายที่ลึกซึ้งของสัญญลักษณ์ ถูกกำหนดเองโดยเขา คนอื่นเข้าใจหรือไม่เข้าใจไม่สำคัญสักเท่าไร เหมือนกับบางคนผูกโบว์ที่นิ้วกันลืม ลืมอะไรก็ตนเองเท่านั้นที่ทราบ จะเอาโบว์ออก ก็หมายความถึงอะไรที่ตนเองเท่านั้นที่ทราบ

เพียงขอแสดงออกเป็น​ "พิธีกรรม" ซึ่งมันเชื่อมโยงมนุษย์ต่อจิตวิญญาณมาแต่ไหนแต่ไร

พระเจ้าตากทุบหม้อข้าวก่อนบุกจันทบุรี ก็เป็นพิธีกรรม ไม่ได้แค่ทำลายอุปกรณ์ทำกับข้าวเฉยๆ แต่ปลุกปลอบใจทหารว่า "คืนนี้เราจะเข้าไปกินข้าวในเมืองจันท์" ให้ได้

my two cents

Ico32

  • แต่ละคนมี รหัส ของตนเอง
  • อยู่ที่ว่า คนดูแลจะรับ รหัส นั้นได้หรืิอเปล่านะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท