ทำไมต้อง PAR


การวิจัยแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) หรือที่มักเรียกกันสั้น ๆ ว่า PAR นั้น เกิดและมีขึ้นเพราะเราต่างคนต่างศรัทธาต่อ "ความรู้ฝังลึก (Tacit knowledge)" ของกันและกัน ดังนั้น เราจึงเชิญผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง "ทุกส่วน" เข้ามา "มีส่วนร่วม" ร่วมคิด ร่วมพูด ร่วมทำ ตาม Tacit knowledge ของแต่ละภาคแต่ละส่วน

แต่ปัญหาของ PAR ในปัจจุบัน คือ เราไม่ค่อยศรัทธาต่อความรู้ของผู้อื่นนั้นประการที่หนึ่ง และสองเราศรัทธาหรือเชื่อมั่นต่อความรู้ของตนเองนั้นมากเกินไปเป็นประการที่สอง หรืออาจจะจำกัดความสั้น ๆ ว่า I'm ok You're not ok...

นักวิชาการซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยก็มักจะมองตัวเองว่ามีการศึกษาสูงกว่าทุกภาคส่วนที่เข้าไปทำงานด้วยกันทั้งหมดนัน จึงมักจะสมมติว่าตนเองเป็น "ผู้นำ" และกระทำการทั้งหมดด้วย "ตนเอง..."

เมื่อผู้นำมี "อัตตา" มีทิฏฐิ มีมานะ การมีส่วนร่วมก็เกิดขึ้นไม่ได้ เพราะต่างฝ่าย โดยเฉพาะฝ่ายผู้นำสร้าง "ความเหลื่อมล้ำทางความรู้"

ขอย้อนกลับไปที่หัวใจของ PAR...

PAR การทำงานที่ศรัทธาต่อ Tacit Knowledge

อาจารย์ในมหาวิทยาลัยมี Knowledge ทางด้านเอกสาร ตำราทางวิชาการ แต่ประสบการณ์ก็ต้องยอมรับต่อคนในพื้นที่

หลาย ๆ ครั้งอาจารย์นำเอกสาร นำตำราไปกดทับประสบการณ์

นำ Explicit knowledge ไปกดทับ Tacit knowledge กดด้วยปริญญาและกดด้วยคำนำหน้านาม

งาน PAR มิใช่งานที่มีไว้เพื่อสร้างผลงานทางวิชาการให้กับผู้ใดหรือผู้หนึ่ง

งาน PAR เป็นงานที่สร้างผลงานทางด้านการมีส่วนร่วม ร่วมรับผิด ร่วมรับชอบ ร่วมรับประโยชน์ ร่วมรับโทษ

การทำ PAR จะปฏิเสธไม่ได้สำหรับการมีหน่วยงานหลัก หรืออาจจะเรียกได้ว่าเป็น "ผู้นำ" แต่ผู้นำต้องไม่หลงในการนำ ต้องเข้าใจบทบาทของผู้นำอย่างถ่องแท้ว่ามีหน้าที่หลักในการเป็นข้อต้อ เป็นตัวเชื่อมประสาน หรืออาจะเรียกง่าย ๆ ว่าเป็น "ผู้จับแพะชนแกะ"

ในชุมชน ในสังคมเรา ต่างฝ่าย ต่างทำงาน การที่นำหลักการของ PAR เข้าไปที่ใด คือ การทำในแต่ละฝ่ายที่เคยหันหลังใสกันนั้นกลับมา "หันหน้าชนกัน"

อาจารย์ มหาวิทยาลัย เป็นฝ่ายวิชาการ และฝ่ายปฏิบัติการก็มีอยู่แล้วในพื้นที่

อาจารย์มีทฤษฎี PAR อยู่ในมือ ก็มีหน้าที่นำทฤษฎีนั้นไปจูงมือฝ่ายปฏิบัติการแต่ละภาค แต่ละส่วนมา "ทำงานร่วมกัน"

ในที่นี่ถ้ามองสูงขึ้นไปในระดับการบริหารของภาครัฐ หรือสำนักงานการวิจัยส่วนกลาง ที่ส่งเสริมการทำ PAR ก็เพราะต้องการที่จะให้อาจารย์ซึ่งเก่งทางด้านวิชาการ ได้มีโอกาสเปิดใจทำงานกับผู้มีประสบการณ์ทางด้านปฏิบัติ

อาจารย์ซึ่งเรียนจบสูง เรียนเร็ว เรียนไว บางครั้งไม่มีโอกาสได้ทำงานจริง ก็จะได้มีโอกาสเปิดหู เปิดตากับการทงานจริง ๆ บ้าง และในทางกลับกันคนที่ทำงานไว ไม่มีโอกาสได้เรียน ก็จะได้มีโอกาสได้รู้ ได้เห็น ทฤษฎีแปลก ๆ ใหม่ ที่อาจารย์ไทยทั้งหลายได้ใช้เงินภาษีของชาติไปร่ำเรียนมา

PAR จึงมีลักษณะของการ "ร่วมเรียนรู้" มิใช่ลอกความรู้

บางครั้งนักวิชาการที่ลงไปก็ยัดเยียดทฤษฎีต่างชาติทั้งชุด ที่คิดว่าดีแล้วเข้าไปทับถม "ภูมิปัญญาชุมชน"

อาจารย์มีหน้าที่ลงไปเรียนรู้ภูมิปัญญาชุมชน เพื่อมาประสมประสานกับทฤษฎีทางวิชาการ แล้วกลั่นออกมาเป็นองค์ความรู้ใหม่ "วิชาการแบบไทย ๆ"

องค์ความรู้ใหม่จะเกิดขึ้นได้ ต้องได้รับการพิสูจน์แล้วนักผู้ที่เคยปฏิบัติ และการเรียนลัดนั้นก็คือไปเรียนรู้กับผู้ที่เคยปฏิบัติจริง

ในโลกปัจจุบัน ถ้าเราจะเรียนรู้เรื่องข้าว เราก็ไม่จำเป็นต้องไปปลูกข้าวแล้วรอให้ครบฤดูกาลถึงจะได้เรียนรู้เรื่องข้าวนั้น

เพียงแต่เราลดมานะ ละทิฏฐิ วางปริญญาไว้ที่บ้าน ถอดหัวโขนไว้ที่ที่ทำงาน จากนั้นจึงอ่อนน้อมถ่อมตนเข้าไป "เรียนรู้"

การอ่อนน้อมถ่อมตน เป็นการเอียงแก้วที่มีน้ำชาอยู่เต็มถ้วยออกบ้าง เพื่อที่จะเปิดที่กว้างต่อ "การเรียนรู้"

จุดประสงค์หลักของ PAR คือ ทำให้ทุกคน ทุกภาคส่วนที่ลงไปทำงานได้รับ "ผลประโยชน์" ร่วมกัน อันเป็นผลประโยชน์ที่เที่ยงแท้

ประโยชน์ที่เที่ยงแท้ของอาจารย์ คือ มีองค์ความรู้ที่จะกลับมาสอนนักศึกษา

ประโยชน์ที่เที่ยงแท้ของฝ่ายปฏิบัติการชุมชน คือ สามารถทำงานกับชุมชนได้ดีขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น

PAR ไม่ใช่ทฤษฎีที่จะทำให้คนไปก้าวก่ายหน้าที่การงานซึ่งกันและกัน

PAR เป็นทฤษฎีที่ชูจุดยืนในเรื่องของสิทธิและเสรีภาพในการทำงาน

คนที่ไปทำงาน PAR ควรที่จะเคารพสิทธิและหน้าที่ของผู้อื่นให้มาก ๆ

PAR จึงเป็นเครื่องมือที่นำพาคนที่มีหน้าที่โดยตรงทั้งภาครัฐ ภาคสังคม ภาคชุมชนลงไปทำงาน

แล้วคนที่มีหน้าที่โดยตรงนั้นเองจักเป็นผู้ที่ขับเคลื่อนชุมชน โดยชุมชน เพื่อ "ชุมชน"

หมายเลขบันทึก: 409584เขียนเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2010 09:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 14:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

Puma shoes online buy (Retail and Wholesale New Puma Shoes Online.) Top NFL Player Jerseys nfl jerseys wholesale Men's sunglasses and polarized sunglasses oakley sunglasses. <a href="http://www.loveinapparel.com">Puma shoes online buy</a>, <a href="http://www.loveinapparel.com">nfl jerseys wholesale</a>, <a href="http://www.loveinapparel.com">oakley sunglasses</a>, <a href="http://www.loveinapparel.com">Gucci Shoes Manufacturer</a>, <a href="http://www.loveinapparel.com">Juicy Lady Handbag Sale</a>

PAR เป็นเครื่องวัดทิฏฐิมานะของนักวิชาการ

นักวิชาการที่มีทิฏฐิมานะมาก ก็ไปชี้นำชุมชน ไปสอนชุมชน ไปกดขี่ภูมิปัญญาของท้องถิ่น

ถ้าคิดจะทำ PAR สิ่งแรกที่นักวิชาการพึงกระทำคือ สำรวจ วิเคราะห์ วิจัย อัตตาและตัวตนของตนเองเสียก่อน

มิฉะนั้น การทำ PAR ก็ได้เพียงแต่ชื่อ เป็น PAR ที่พากันลงหุบ ลงเหว

นักวิชาการก็ได้อัตตาตัวตนมากขึ้น ชุมชนก็หลงชื่นชมกับทฤษฎีและหลักการที่นักวิชาการพาเข้าไป

พึงวางหัวโขนไว้ที่บ้าน เพื่อที่จะก้าวเดินอย่างหน้าชื่นตาบานกับ PAR ในท้องถิ่นไทย...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท