เครืองมือการเรียนรู้ตลอดชีวิต : Dialouge


การสนทนาเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้
เครื่องมือการเรียนรู้ :Dialouge
Dialouge หรือการสนทนารับฟังซึ่งกันและกัน
โดยเรียกว่า สุนทรียสนทนา  ซึ่งมีสิ่งพ่วงกันอีกอันหนึ่งก็คือ
การฟังด้วยใจอย่างใคร่ครวญ

เครื่องมือนี้มีการใช้ในอารยธรรมของมนุษย์เนิ่นนานมาแล้ว
การตั้งคำถามและถกเถียงกันมีอยู่ก่อนและหลังยุคมืด
ในอารยธรรมตะวันตก จนถึงยุควิทยาศาสตร์
และดำเนินต่อไปถึงปัจจุบันคือยุคหลังสมัยใหม่
โดยภาพข้างบน แสดงถึงการสนทนากันของสำนัก        
academy ของ plato เป็นการถกเถียงถึงความจริง
เป็นแค่วัตถุหรือจิต

 

วัฒนธรรมตะวันออกมีการใช้เครื่องมือการเรียนรู้ชนิดหรือไม่  ในพระไตรปิฎกได้บอกวิธีการของพระพุทธเจ้าในการตอบคำถาม พยากรณ์ปัญหา โดยพระพุทธเจ้าบางครั้ง
จะไม่ได้บอกอะไรตรง ๆ แต่จะซักถามผู้นั้นให้ตอบคำถาม
ตามความเข้าใจของเขา และจะให้ผู้นั้นค้นพบด้วยตนเอง
เรียกวิธีนี้ว่า dialectic หรือวิภาษวิธีนั่นเอง ต่อมาเรื่องที่ต่อเนื่องก็คือการตอบคำถามของพยามิลินทร์ ซึ่งพระนาคเสนก็ได้ใช้วิภาษวิธีนี้ตอบคำถามพยามิลินทร์ชาวกรีก

ปัจจุบันก็มีการใช้วิธีการนี้ในการเรียนรู้ธรรมมะของพระชาวธิเบต จะมีการตั้งคำถามปุจฉาด้วยท่าทางรุนแรง และผู้ตอบธรรมมะนั่งลงตอบอย่างสงบ ผลัดเปลี่ยนกันไป

 

การเรียนรู้ชนิดนี้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอะไร หรือมีการเรียนรู้อะไรในการสนทนานี้  เป้าหมายต้องการความรู้แจ้ง
รู้ถึงความจริง โดยการใคร่ครวญในใจ ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงไปถึงสำนึก และจิตใต้สำนึก หรือการระเบิดออกจากข้างในนั่นเอง

ดังนั้นหากต้องการแสวงหาความรู้จากผู้อื่น ต้องสนทนาและตั้งคำถาม ซึ่งปัจจุบันชาวจิตปัญญาศึกษา ได้ตั้งวิธีการต่าง ๆ
เพื่อให้ได้สนทนากันอย่างสุนทรีย์ ให้เกิดการเรียนรู้ในใจอย่างใคร่ครวญ  โดยทุกสิ่งทุกอย่างเกี่ยวกับการเรียนรู้ตลอดชีวิตเกิดขึ้นจากข้างในคือจิตใจ ไม่ได้เกิดจากสิ่งภายนอกบีบบังคับให้เกิดแต่อย่างได
หมายเลขบันทึก: 409581เขียนเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2010 06:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 09:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท