ดร.อุทัย อันพิมพ์
ดร. อุทัย ดร.อุทัย อันพิมพ์ อันพิมพ์

“เกษตรกรรมยั่งยืน ใครเริ่มก่อนใคร?”


“เกษตรกรรมยั่งยืนเป็นอย่างไร” (sustainable agriculture)

เกษตรกรรมยั่งยืน ใครเริ่มก่อนใคร?”

            เกษตรกรรมยั่งยืนเป็นอย่างไร (sustainable agriculture) เมื่อพูดถึงเกษตรกรรมยั่งยืนแล้วผมอยากจะเรียนอย่างนี้ครับว่า เกษตรกรรมยั่งยืนเป็นเกษตรกรรมฐานรากที่เราผลิตเพื่ออยู่ เพื่อกิน เหลือกินก็ขายเพื่อนำรายได้เข้าสู่ครัวเรือนสำหรับแปรเปลี่ยนไปเป็นสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็น และในขณะเดียวกันในกระบวนการผลิตเราจะเน้นในเรื่องของการพึ่งพาตนเองเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยการผลิต เช่น ปุ๋ยอินทรีย์ น้ำหมักชีวภาพ และสารหมักอื่นๆ โดยเน้นกระบวนการผลิตแบบเกื้อกูล และจะไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม

  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal">อาชีพเกษตรกรรมกับคนไทย  เมื่อเราย้อนกลับไปมองอาชีพเกษตรกรรมของบ้านเราก็พบว่าอาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพที่อยู่คู่ฟ้าเมืองไทยมาโดยตลอด ตั้งแต่สมัยปู่ย่าตายาย ซึ่งในยุคนั้นเราเรียกการเกษตรแบบนี้ว่าการเกษตรแบบดั้งเดิม ซึ่งเป็นการประกอบอาชีพที่ควบคู่กับวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ไม่ได้มุ่งหวังผลกำไรเป็นตัวตั้ง เป็นการผลิตเพื่ออยู่เพื่อกิน เหลือกินก็แบ่งปัน เหลือแบ่งปันก็แลกเปลี่ยน ดังคำกล่าวที่ว่า พริกบ้านเหนือ เกลือบ้านใต้ ที่กล่าวขานกันมานานแสนนาน แล้วหลังจากที่นักเรียนไทยที่ไปเรียนต่างประเทศกลับมามากขึ้น จึงทำให้วิถีชีวิต และการทำการเกษตรในบ้านเราเปลี่ยนแปลงไป จากการผลิตแบบเดิมเป็นการผลิตเพื่อขายเป็นหลักหรือที่เรียกว่าการเกษตรแผนใหม่ เมื่อ 4 ทศวรรษที่ผ่านมา</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal">กระแสเกษตรกรรมยั่งยืน  จากสภาวะวิกฤติที่เกิดขึ้นกับสังคมไทยเมื่อปี 2540 ถือว่าเป็นความล้มเหลวทางเศรษฐกิจ จึงเสมือนว่าการดำเนินอาชีพการเกษตรตามแนวทางเกษตรแผนใหม่ก็ล้มเหลวไปด้วย ส่งผลให้เกษตรกรต้องย้อนกับไปหารูปแบบการเกษตรแบบดั้งเดิม จึงทำให้กระแสเกษตรกรรมยั่งยืนฟื้นกลับมาอีกรอบ ซึ่งมีความสอดคล้องกับบทความ ในเรื่องเกษตรกรรมยั่งยืน : การรุกคืบของภูมิปัญญาท้องถิ่นและการโต้กลับ ของอาจารย์อนุสรณ์   อุณโณ หลังจากอ่านบทความของอาจารย์แล้วยังทำให้ผมคลังแคลงใจเป็นอย่างมาก เสมือนว่าการทำและพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนเป็นการเริ่มต้นที่องค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) ซึ่งหน่วยงานของรัฐตามเข้ามาทำเพื่อปรับตัวเองให้มีความอยู่รอดในกระแสเท่านั้น ทำแบบไม่รู้และไม่มีความจริงใจ</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p>            แล้วใครล่ะเป็นคนเริ่มต้น จริงๆ แล้วการประกอบอาชีพการเกษตรหรือการทำเกษตรกรรมแบบยั่งยืนนั้นเป็นอาชีพที่ทำสืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษตามที่ผมได้เรียนให้ทราบในเบื้องต้น  แต่นักวิชาการเราก็ถกเถียงกันมาอย่างไม่สิ้นสุดเพื่อที่จะหาผู้ชนะ แต่นั่นผมมองว่าเป็นเรื่องที่ไม่สำคัญ มันสำคัญอยู่ที่ว่าจะทำอย่างไรให้เกษตรกรรมยั่งยืนอยู่ในกระแสหลัก ไม่เป็นสองรองใครในการพัฒนาประเทศ เพื่อจะทำให้ความเป็นอยู่ของพี่น้องเกษตรกรไทยได้มีอยู่มีกิน และมีความสุขอย่างยั่งยืน สำหรับคำถามที่ว่าใครล่ะเป็นคนเริ่มต้นในการทำการเกษตรกรรมยั่งยืนท่านสามารถหาคำตอบได้จากนักปราชญ์เกษตรกรรมยั่งยืน 2  ท่าน คือคุณพ่อมหาอยู่   สุนทรชัย แห่งจังหวัดสุรินทร์ และพ่อชาลี   มาระแสง แห่งจังหวัดอำนาจเจริญ ที่ท่านได้ทำมาตลอดชั่วอายุไขของท่าน ซึ่งถ้าหากนับอายุ 2 ท่านรวมกันก็ประมาณ 160 ปีเห็นจะได้</p><p>ขอบคุณครับ</p><p>อุทัย   อันพิมพ์</p><p>26 ก.ค.2549</p>

หมายเลขบันทึก: 40913เขียนเมื่อ 26 กรกฎาคม 2006 11:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 13:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

แล้วใครล่ะที่จะเป็นคนเริ่มต้นกระแสเกษตรกรรมแบบยั่งยืนในพื้นที่ที่คนในชุมชนหันไปสนใจอาชีพอื่นๆแล้ว

 

คงต้องเริ่มจากการพาไปดูจากของจริงที่อำนาจเจริญแล้วครับ เพราะเพียงแค่การกล่าวถึงเศรษฐกิจพอเพียง ก็มีผู้ที่เห็นด้วย  และยอมรับในแนวคิด แต่ตอนนี้ ขอเอาตัวให้รอด ตามเศรษฐกิจกระแสบริโภคนิยมให้ทันกันก่อน

 

เห็นภาพแล้ว อยากมีัโอกาสได้ทำอย่างที่เห็นในภาพบ้างครับ 

ผมไม่แน่ใจว่าคุณจะเปิดประเด็นเรื่องอะไร แต่คนที่ทำเรื่องนี้ ไม่ใช่พึ่งทำเมื่อไม่กี่ปีมานี้ แต่ทำเป็นเวลาหลายพันปีมาแล้ว อาจมีบันทึกหรือไม่มีก็แล้วแต่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสังคมในอดีตที่อยู่ได้เป็นพันปีหรือห้าพันปี อย่างกรณีของบ้านเชียง ต้องมีระบบที่ยั่งยืนถึงห้าพันปีอย่างแน่นอน แต่คำว่ายั่งยืน ต้องมีเงื่อนไขของเวลาไม่ใช่ยั่งยืนตลอดการณ์ อันนี้เป็นธรรมชาติของสรรพสิ่ง ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงเป็นธรรมดา ฉะนั้น ถ้าจะวิเคราะห์เรื่องนี้ ต้องมองลึกไปในหลักฐานโบราณคดี ว่าใครเป็นคนเริ่ม อาจเป็นมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ ก็เป็นไปได้ หรือคุณว่าอย่างไร
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท