เก็บประเด็น KM ที่ ศูนย์ฯ 10 ตอนที่ 4 Nursery ลดโลกร้อนได้ด้วย


 

เรื่องนี้มาเล่าโดย คุณวัชรา น้องพยาบาล จากงานทารกแรกเกิด ที่ดูแลทารกแรกเกิดระยะวิกฤต ประจำ และต้องใช้เครื่องมือในการช่วยประเมินทารก ที่ใช้ประจำ และใช้กับทารกทุกราย คือ เครื่องมือที่วัดค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในกระแสเลือด เรียกว่า pulse oximeter

เครื่่องมือนี้จะใช้วิธีติดตัว sensor ไว้บริเวณฝ่ามือ หรือฝ่าเท้าของทารก ตลอดเวลา และจะใช้เป็นเวลานาน ทำให้เกิดความชำรุดได้ง่าย โดยเฉพาะบริเวณข้อต่อระหว่างสายไฟ และตัว sensor เกิดการหักงอ ทำให้สายไฟด้านในขาดชำรุด ใช้งานไม่ได้ ซึ่งราคาสายไฟ และตัว sensor มีราคาค่อนข้างสูง ทำให้เห็นความสำคัญของปัญหา ร่วมกัน

จึงคิดที่ช่วยกัน ป้องกันการชำรุดของสายไฟ โดย

  • ตอนแรกมาช่วยกันระดมความคิดว่า จะทำอย่างไรดี เพราะแต่ละปี เราต้องซื้อสายเหล่านี้บ่อย และราคาแพง ถ้าทำได้ เราจะช่วยประหยัดงบประมาณด้วย
  • การแก้ไขครั้งแรก ที่ช่วยกันคิด ก็คือ ใช้ micropore พันที่บริเวณสาย เป็นการดามสายไม่ให้ขาด แต่ข้อเสีย คือ micropore ต้องใช้จำนวนเยอะ ราคาแพง และไม่ค่อยสวยงาม
  • จึงคิดกันใหม่ว่าทำอย่างไร ให้สวยงาม และคงทนมากกว่านี้
  • พี่ที่ปฏิบัติงานในหอบริบาลทารก เป็นพยาบาลเทคนิค มีไอเดียว่า ถ้าใช้สาย extension ที่ใช้ให้น้ำเกลือ เพราะบริเวณส่วนต่อสามารถเข้ากันได้ ลองดูกันไหม ใช้สายนี้เป็นตัวดาม
  • เราจึงทดลองใช้อุปกรณ์ คือ สาย extension และ micropore กัน
  • วิธีการทำ คือ ตัดสาย extension ให้เท่ากับจำนวนความยาวของ probe โดยกรีดปลาย extension เป็นแนวยาว และนำมาหุ้มสาย sensor อีกทีหนึ่ง ... พันด้านปลายด้วย micropore ทั้งสองด้าน

ผลการดำเนินการ พบว่า จากการนำวิธีการนี้มาใช้ ทำให้จำนวนการเบิก probe ลดลง สามารถยืดอายุการใช้งานของ probe sensor ช่วยลดค่าใช้จ่ายของหน่วยงาน และนวัตกรรมนี้ สามารถแบ่งปันความรู้ ไปใช้ทั้งใน รพ. คือ ward ที่มี pulse meter อยากใช้ sensor probe และ รพ. อื่นๆ ได้ด้วย

และทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เกิดความภาคภูมิใจให้กับหน่วยงาน มีการทำงานเป็นทีม และการนำของกลับมาใช้ใหม่ เป็นการลดภาวะโลกร้อนด้วย

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ ก็คือ มีการ ลปรร. เกิดการทำงานเป็นทีม ช่วยกันระดมสมอง หัวหน้าหน่วยงานให้การสนับสนุนดี ทีมงานมีความสามัคคี และเปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็น มีการลองผิดลองถูก เพื่อให้ได้สิ่งที่ดีที่สุด และบรรยากาศในการทำงานดี เอื้อต่อการคิดค้น เรียนรู้ และสร้างความรู้ใหม่ๆ ได้

ขอบคุณภาพจาก blog นี้ด้วยนะคะ ... มนัญญา ~ natachoei ( หน้าตาเฉย) ... อิอิ ขโมยเขามา

รวมเรื่อง เก็บประเด็น KM ที่ ศูนย์ฯ 10

 

หมายเลขบันทึก: 409070เขียนเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2010 23:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:36 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีครับคุณ หมอเพื่อนร่วมทาง

มาเรียนเก็บประเด็นครับ

  • Ico32
  • ได้เลยค่ะ ... เรื่องนี้ใช้ได้หลายงานเลยละค่ะ
  • ดีจังเลยครับแม่หมอ
  • ทีแรกก็งงงงว่าจะลดได้อย่างไร
  • เครื่่องมือนี้จะใช้วิธีติดตัว sensor ไว้บริเวณฝ่ามือ หรือฝ่าเท้าของทารก ตลอดเวลา และจะใช้เป็นเวลานาน ทำให้เกิดความชำรุดได้ง่าย โดยเฉพาะบริเวณข้อต่อระหว่างสายไฟ และตัว sensor เกิดการหักงอ ทำให้สายไฟด้านในขาดชำรุด ใช้งานไม่ได้ ซึ่งราคาสายไฟ และตัว sensor มีราคาค่อนข้างสูง
  • ช่วยกันคนละไม้คนละมือ
  • ลดโลกร้อน
  • Ico32
  • ตอนนี้ หลายฝ่ายร่วมด้วยช่วยกัน นำของที่ยังคงใช้ได้มา reuse กันละค่ะ
  • ตอนนี้พ่อลูกชายอยู่ที่ไหนคะ
  •  แปลก ใหม่ ง่าย และ เก๋
  •  คิดให้ง่ายๆ ใช้ได้จริงเยี่ยมมากครับ
  • คงต่อสู้กันเยอะเพราะกับเครื่องมือที่ใช้กับเด็กเล็กแบบนี้ไม่ค่อยมีใครกล้าแตะเท่าไหร่ ทำให้นึกถึงตอนที่พวกผมทำเรื่อง ปิดตารักษากายเมื่อหลายปีก่อน
  • Ico32
  • ชาวกรมอนามัยเนี่ยะ ช่างคิดกันทั้งน้านเลยนิ
  • ลองค้นดูสิ รับรองว่าจะเจออีกเยอะเลยละค่า
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท