เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ


รายงานวิจัย

ชื่อเรื่อง                รายงานการวิจัยการพัฒนาแบบฝึกทักษะเรื่อง การแต่งกลอนสุภาพ

                         วิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

ชื่อผู้วิจัย              นางลัดดา  ศิริพรหม

สถานที่วิจัย          โรงเรียนพรหมคีรีพิทยาคม  อำเภอพรหมคีรี  จังหวัดนครศรีธรรมราช

ปีการศึกษา           2553

 

บทคัดย่อ

 

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะ เรื่อง การแต่งกลอนสุภาพ วิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80  2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้แบบฝึกทักษะเรื่อง การแต่งกลอนสุภาพ วิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  3) เพื่อศึกษาเจตคติของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะเรื่อง การแต่งกลอนสุภาพ วิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

          กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2552  จำนวน 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบฝึกทักษะ เรื่อง การแต่งกลอนสุภาพ วิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ และแบบสอบถามวัดเจตคติของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะ เรื่อง การแต่งกลอนสุภาพ วิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 10 ข้อ  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การหาประสิทธิภาพนวัตกรรม (E1 /E2) การทดสอบค่าที (t-test) แบบไม่อิสระ  ค่าเฉลี่ย ( )  และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)

ผลการวิจัย  พบว่า

         1. ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะ เรื่อง การแต่งกลอนสุภาพ วิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ  82.37/81.10                        

         2.  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง การแต่งกลอนสุภาพ วิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สูงกว่าก่อนการใช้เอกสารอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

         3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีเจตคติที่ดีต่อแบบฝึกทักษะ เรื่อง การแต่ง

กลอนสุภาพ วิชาภาษาไทย

คำสำคัญ (Tags): #รายงานการวิจัย
หมายเลขบันทึก: 408464เขียนเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2010 11:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 13:24 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ครูท่านใดสอนภาษาไทยก็ลองเข้าไปอ่านดูนะค่ะ

ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านโดยใช้โครงงานร่วมกับกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์และจิตวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1ผู้วิจัย ซารานี หะยีเจะเฮงหน่วยงาน โรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านบาเละฮิเล) ปีที่วิจัย ปีการศึกษา 2562

บทคัดย่อการวิจัย เรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน โดยใช้โครงงานร่วมกับกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านบาเละฮิเล) นี้เป็นลักษณะการวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D) ผสมผสานร่วมกับการออกแบบการจัดการเรียนรู้เชิงระบบ (System Approach) “ADDIE Model” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐาน พัฒนารูปแบบ ทดลองใช้ ประเมินและปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านโดยใช้โครงงานร่วมกับกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านบาเละฮิเล) จำนวน 78 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ นักเรียนที่กำลังเรียนอยู่ชั้นมัธยมปีที่ 1/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านบาเละฮิเล) จำนวน 40 คน ด้วยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) จำนวน 1 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน โดยใช้โครงงานร่วมกับกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่พัฒนาขึ้นผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ คู่มือการใช้แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ แบบทดสอบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านโดยใช้โครงงานร่วมกับกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูล สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที (t-test Dependent Samples) ผลการวิจัย พบว่า 1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านโดยใช้โครงงานร่วมกับกระบวนการการสืบเสาะหาความรู้ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หรือที่เรียกว่า “6S Model” มีองค์ประกอบที่สำคัญ 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1. หลักการ คือ การที่ผู้เรียนเป็นผู้คิดวิเคราะห์ แก้ปัญหาอย่างมีระบบ โดยอาศัยการแสวงหาความรู้ด้วยการสืบเสาะหาความรู้ 2. วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ความสามารถในการคิดวิเคราะห์และจิตวิทยาศาสตร์ 3.กระบวนการจัดการเรียนรู้ 1. Information Service ขั้นบริการข้อมูลสารสนเทศ 2. Stimulation ขั้นกระตุ้นความสนใจ 3. Survey ขั้นสำรวจและค้นหา 4. Solve ขั้นออกแบบและแก้ปัญหา 5. Share ขั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 6. Summarize ขั้นสรุปความคิดรวบยอด 2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านโดยใช้โครงงานร่วมกับกระบวนการการสืบเสาะหาความรู้ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่สร้างขึ้น มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.56/83.78 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ 3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านโดยใช้โครงงานร่วมกับกระบวนการการสืบเสาะหาความรู้ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านโดยใช้โครงงานร่วมกับกระบวนการการสืบเสาะหาความรู้ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5. จิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านโดยใช้โครงงานร่วมกับกระบวนการการสืบเสาะหาความรู้ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 6. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านโดยใช้โครงงานร่วมกับกระบวนการการสืบเสาะหาความรู้ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 อยู่ในระดับมาก

ชื่อเรื่อง การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ “ตารีเรอบานา”กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (นาฏศิลป์เพิ่มเติม) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1ผู้วิจัย นางสาธนี ไกรราษฎร์ปีการศึกษา 2563

บทคัดย่อ

	การพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการพัฒนาการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ “ตารีเรอบานา”กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (นาฏศิลป์เพิ่มเติม) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 1.1) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ “ตารีเรอบานา”กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (นาฏศิลป์เพิ่มเติม) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 1.2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนก่อนและหลังการใช้รูปแบบการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ “ตารีเรอบานา”กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (นาฏศิลป์เพิ่มเติม) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 1.3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อรูปแบบการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ “ตารีเรอบานา”กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (นาฏศิลป์เพิ่มเติม) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) เพื่อขยายผลการใช้รูปแบบการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ “ตารีเรอบานา”กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (นาฏศิลป์เพิ่มเติม) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2.1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนก่อนและหลังการใช้รูปแบบการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ “ตารีเรอบานา”กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (นาฏศิลป์เพิ่มเติม) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในกลุ่มขยายผล 2.2) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อรูปแบบการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ “ตารีเรอบานา”กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (นาฏศิลป์เพิ่มเติม) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในกลุ่มขยายผล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านบาเละฮิเล) ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) มีจานวนนักเรียนทั้งสิ้น 30 คนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการขยายผลการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาล ๒ ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยรูปแบบการจัดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่แบบไม่อิสระและการวิเคราะห์เนื้อหา	ผลการวิจัย พบว่า 	1. รูปแบบการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ “ตารีเรอบานา”กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (นาฏศิลป์เพิ่มเติม) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบเชิงหลักการและวัตถุประสงค์ องค์ประกอบเชิงกระบวนการและองค์ประกอบเชิงเงื่อนไขการนารูปแบบไปใช้ กระบวนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 ขั้นนาเข้าสู่บทเรียน  ขั้นที่ 2 ขั้นสอน  ขั้นที่ 3 ฝึกฝนนักเรียน  ขั้นที่ 4 สรุปความรู้  ขั้นที่ 5 การนำไปใช้ผลการตรวจสอบคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญ 5 คน ได้ค่าความเหมาะสม/สอดคล้องมีค่าเฉลี่ย ( x ) ตั้งแต่ 4.53– 4.87 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ตั้งแต่ 0.15 – 0.49 ซึ่งแสดงว่าการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ “ตารีเรอบานา”กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (นาฏศิลป์เพิ่มเติม) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (นาฏศิลป์เพิ่มเติม) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสม/สอดคล้องเชิงโครงสร้าง สามารถนาไปทดลองใช้ได้และผลการหาประสิทธิภาพ (E1/E2) โดยการทดลองภาคสนาม พบว่า ประสิทธิภาพของรูปแบบการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ “ตารีเรอบานา”กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (นาฏศิลป์เพิ่มเติม) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เท่ากับ 84.24 / 85.56 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 	2. ประสิทธิผลของรูปแบบการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ “ตารีเรอบานา”กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (นาฏศิลป์เพิ่มเติม) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีดังต่อไปนี้ 			2.1 หลังการจัดการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ “ตารีเรอบานา”กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (นาฏศิลป์เพิ่มเติม) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยภาพอยู่ในระดับสูงมากและสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 	2.2 ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อรูปแบบการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ “ตารีเรอบานา”กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (นาฏศิลป์เพิ่มเติม) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ในภาพรวมผู้เรียนมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด ( x = 4.67,S.D. = 0.15) 	3. ผลการขยายผลหลังการเรียนการสอน โดยใช้รูปแบบการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ “ตารีเรอบานา”กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (นาฏศิลป์เพิ่มเติม) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ พบว่า 	3.1 ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับสูงมาก และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3.2 ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ในภาพรวม ผู้เรียนมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด ( x = 4.66, S.D. = 0.51)

ชื่อรายงาน รายงานการนิเทศด้วยรูปแบบการชี้แนะ (Coaching) ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนในชุมชนแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดน่าน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานชื่อผู้รายงาน นางสาวพิมพ์วลัญช์ ชัยชนะ ศึกษานิเทศก์ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดน่านปีที่รายงาน ปีการศึกษา 2565บทคัดย่อรายงานการนิเทศด้วยรูปแบบการชี้แนะ (Coaching) ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนในชุมชนแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดน่าน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อหาคุณภาพของคู่มือครูการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนในชุมชนแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดน่าน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) เพื่อศึกษาความสามารถของครูผู้สอนที่เป็นผลจากการได้รับการนิเทศด้วยรูปแบบการชี้แนะ (Coaching) ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนในชุมชนแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดน่าน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของครูผู้สอนมีต่อการนิเทศด้วยรูปแบบการชี้แนะ (Coaching) ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนในชุมชนแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดน่าน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้อำนวยการโรงเรียนที่มีต่อการนิเทศครูผู้สอนด้วยรูปแบบการชี้แนะ (Coaching) ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนในชุมชนแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดน่าน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยมีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ครูผู้สอนภาษาอังกฤษชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 25 คน และ ผู้อำนวยการโรงเรียนของครูผู้สอนภาษาอังกฤษชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 25 คน จากโรงเรียนในชุมชนแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดน่าน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อดำเนินการศึกษา จำแนกออกเป็น 2 ลักษณะ คือ1) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินคุณภาพของคู่มือครู และ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการนิเทศซึ่งประกอบด้วย แบบประเมินคุณภาพของคู่มือครูการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนในชุมชนแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดน่าน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน แบบนิเทศ ติดตามครูผู้สอน ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนในชุมชนแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดน่าน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและแบบสอบถามความพึงพอใจของครูผู้สอนและผู้อำนวยการโรงเรียนที่มีต่อการนิเทศด้วยรูปแบบการชี้แนะ (Coaching) ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนในชุมชนแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดน่าน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง X-bar และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการศึกษาพบว่า 1) คู่มือครูการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนในชุมชนแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดน่านระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ด้านคำชี้แจงในการใช้คู่มือครูฯด้านเนื้อหาด้านภาษาด้านคุณค่าของเอกสารมีคุณภาพในระดับมากที่สุดทุกด้าน 2) ความสามารถของครูผู้สอนที่เป็นผลจากการได้รับการนิเทศด้วยรูปแบบการชี้แนะ (Coaching) ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1โรงเรียนในชุมชนแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดน่าน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่าความสามารถของครูผู้สอนในด้านความรู้ ความเข้าใจในคู่มือครูฯ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และด้านการวัดและประเมินผล มีคุณภาพในระดับมากทุกด้าน 3) ความพึงพอใจของครูผู้สอน ที่มีต่อการนิเทศด้วยรูปแบบการชี้แนะ (Coaching) ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนในชุมชนแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดน่าน (Coaching) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่าด้านความพึงพอใจต่อกระบวนการนิเทศด้านความพึงพอใจต่อคณะผู้ให้การนิเทศ และด้านความพึงพอใจต่อประโยชน์ที่ได้รับมีคุณภาพในระดับมากทุกด้าน 4) ความพึงพอใจของผู้อำนวยการโรงเรียน ที่มีต่อการนิเทศครูผู้สอนด้วยรูปแบบการชี้แนะ (Coaching) ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3โรงเรียนในชุมชนแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดน่าน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่าด้านความพึงพอใจต่อกระบวนการนิเทศ ด้านความพึงพอใจต่อคณะผู้ให้การนิเทศ และด้านความพึงพอใจต่อประโยชน์ที่ได้รับ มีคุณภาพในระดับมากทุกด้าน

ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารการศึกษาเพื่อสร้างความอบอุ่นและเป็นเลิศ

(Best Power Model) สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำเภอ

โรงเรียนคำแสนวิทยาสรรค์ อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู

ผู้วิจัย นายธารา พิลาแสง

ปีที่พิมพ์ 2565

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการบริหารการศึกษาเพื่อสร้างความอบอุ่น และเป็นเลิศ (Best Power Model) สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำเภอ โรงเรียนคำแสนวิทยาสรรค์ อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู 2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารเพื่อสร้างความอบอุ่นและเป็นเลิศ (Best Power Model) สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำเภอ โรงเรียนคำแสนวิทยาสรรค์ อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีต่อรูปแบบการบริหารการศึกษาเพื่อสร้างความอบอุ่นและเป็นเลิศ (Best Power Model) สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำเภอ โรงเรียนคำแสนวิทยาสรรค์ อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนา สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนคำแสนวิทยาสรรค์ อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู ระยะเวลาในการวิจัย ระหว่าง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 - ปีการศึกษา 2564

ผลการวิจัย พบว่า

  1. รูปแบบการบริหารการศึกษาเพื่อสร้างความอบอุ่นและเป็นเลิศ (Best Power Model) สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำเภอ โรงเรียนคำแสนวิทยาสรรค์ อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู พบว่า มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้มากที่สุด ประกอบด้วย 1) การสร้างศรัทธา (Believe) 2) การสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ (Environment) 3) การสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคม (Social Immunity) 4) การสร้างทีมงาน (Team Work) 5) การบริหารแบบมีส่วนร่วม (Participation) 6) การสร้างโอกาส (Opportunity) 7) การศึกษาเพื่อสร้างความอบอุ่น (Warm Education) 8) การศึกษาเพื่อสร้างความเป็นเลิศ (Excellent Education) 9) การปรับแต่งให้ประณีต (Refinement)

  2. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารเพื่อสร้างความอบอุ่นและเป็นเลิศ (Best Power Model) สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำเภอ สรุปได้ดังนี้

2.1 ผลจากการดำเนินโครงการตามรูปแบบการบริหารเพื่อสร้างความอบอุ่นและ

เป็นเลิศ (Best Power Model) สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำเภอ โรงเรียนคำแสนวิทยาสรรค์ อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู อยู่ในระดับ ดีมาก ทุกโครงการ

2.2 การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ปีการศึกษา 2563 และ

ปีการศึกษา 2564 พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ปีการศึกษา 2564 เพิ่มขึ้นจาก ปีการศึกษา 2563 ในทุกกลุ่มสาระ เฉลี่ยร้อยละ 13.68

2.3 การเปรียบเทียบคะแนนการทดสอบการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O – NET) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2563 และ ปีการศึกษา 2564 พบว่า คะแนนการทดสอบการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O – NET) ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2564 เพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา 2563 คิดเป็นร้อยละ 3.00 และ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ของนักเรียน ปีการศึกษา 2564 ลดลงจากปีการศึกษา 2563 คิดเป็นร้อยละ 0.64

2.4 การเปรียบเทียบสถิติการสำเร็จการศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 พบว่า สถิติการสำเร็จการศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2564 เพิ่มขึ้นจาก ปีการศึกษา 2563 คิดเป็นร้อยละ 2.69 และ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2564 เพิ่มขึ้นจาก ปีการศึกษา 2563 คิดเป็นร้อยละ 6.29

2.5 การเปรียบเทียบสถิตินักเรียนที่มีปัญหาผลการเรียน พบว่า ลดลงในทุกระดับ และมีนักเรียนมีปัญหาผลการเรียนไม่เกินร้อยละ 5 ของนักเรียนทั้งหมด

2.6 การเปรียบเทียบสถิตินักเรียนที่มีปัญหาด้านคะแนนความประพฤติ พบว่า ลดลงในทุกระดับ และมีนักเรียนมีปัญหาด้านพฤติกรรมไม่เหมาะสม ไม่เกินร้อยละ 5 ของนักเรียนทั้งหมด

2.7 การเปรียบเทียบสถิติการสอบแข่งขันเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในมหาวิทยาลัยหรือคณะที่แข่งขันสูง ปีการศึกษา 2564 เพิ่มขึ้นจาก

ปีการศึกษา 2563 คิดเป็นร้อยละ 17.65 และ 20.00 ตามลำดับ

  1. การศึกษาความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การพัฒนารูปแบบการบริหารการศึกษาเพื่อสร้างความอบอุ่นและเป็นเลิศ (Best Power Model) สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำเภอ โรงเรียนคำแสนวิทยาสรรค์ อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู พบว่า อยู่ในระดับ มากที่สุด ในทุกด้าน

Title The Development of Administrative Educational Model to Promote Warm

and Excellent Model (BEST POWER Model) for the Students of Khamsaen

Wittayasan School, Naklang District, Nong Bua Lam Phu Province

Author Thara Pilasaeng

Publishing Year 2022

Abstract

The purposes of this research were; 1) to develop the administrative educational model to promote Warm and Excellent Model (BEST POWER Model) for the students of Khamsaen Wittayasan School, Naklang District, Nong Bua Lum Phu Province, 2) to study the implementation results of the development of Warm and Excellent Model (BEST POWER Model) for the students of Khamsaen Wittayasan School, Naklang District, Nong Bua Lum Phu Province, and 3) to study the satisfaction of the stakeholders towards the development of Warm and Excellent Model (BEST POWER Model) for the students of Khamsaen Wittayasan School, Naklang District, Nong Bua Lum Phu Province. The development of this research used a designed tool which the data were analyzed by mean, standard deviation and content analysis. The sample groups of the research were the students of Khamsaen Wittayasan School, Naklang District, Nong Bua Lum Phu Province during the second (2nd) semester of academic year 2020 to academic year 2021.

The findings of this study revealed as the following:

The development of the administrative educational model to promote Warm and Excellent Model (BEST POWER Model) for the students of Khamsaen Wittayasan School, Naklang District, Nong Bua Lum Phu Province displayed its being suitable and feasible at the highest level. The model aspects were; 1) believe

2) environment 3) social immunity 4) team work 5) participation 6) opportunity 7) warm education 8) excellent education 9) refinement

  1. The implementation results of the development of Warm and Excellent Model (BEST POWER Model) for the students of Khamsaen Wittayasan School, Naklang District, Nong Bua Lum Phu Province which summarized as the following:

2.1 The implementation results of the development of Warm and Excellent Model (BEST POWER Model) for the students of Khamsaen Wittayasan School, Naklang District, Nong Bua Lum Phu Province in all projects were found at the highest level.

2.2 The students’ learning achievement increased in academic year 2020 and 2021. It showed that the achievement in academic year 2021 was obviously higher in all subjects than the academic year 2020 in average of 13.68.

2.3 In comparison of basic education test scores (O - NET) of Mathayomsuksa 3 and 6 students in academic year 2020 and 2021. It showed that their O- NET test scores of Mathayomsuksa 3 in academic year 2021. It increased more than the academic year of 2020 in percentage of 0.64.

2.4 The comparison of statistic performance achievement of Mathayomsuksa 3 and 6 students were found at the statistic achievement of Mathayomsuksa 3 in academic year of 2021. It was higher than the academic year of 2020 in percentage of 2.29 and the performance achievement of Mathayomsuksa 6 students in academic year of 2021 were still higher than the academic year of 2020 in percentage of 6.29.

2.5 The comparison of the academic study problems statistic of students found that all the academic study problems were decreasing not over 5 in percentage.

2.6 The comparison of misbehavior problems statistic of students found that misbehavior problems were decreasing not over than 5 in percentage.

2.7 The comparison of the competitive rate of statistic in studying a higher university level of Mathayomsuksa 6 students in academic year 2022 were higher than the academic year 2021 in percentage of 17.65 and 20.20 respectively.

  1. The assessment results of the study showed that the satisfaction of the stakeholders towards the development of Warm and Excellent Model (BEST POWER Model) for the students of Khamsaen Wittayasan School, Naklang District, Nong Bua Lum Phu Province were at the highest level in all areas.

ชื่อเรื่อง การพัฒนาแนวทางส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศึกษาปฐมวัย ของผู้ปกครองนักเรียน โรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านโพธิ์กลาง) สังกัดเทศบาล เมืองพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานีผู้วิจัย นางนภา อรุณศรี ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ รองผู้อำนวยการชำนาญการ โรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านโพธิ์กลาง) สังกัดเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานีปีที่วิจัย 2565

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศึกษาปฐมวัยของผู้ปกครองนักเรียน โรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านโพธิ์กลาง) และพัฒนาแนวทางส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศึกษาปฐมวัยของผู้ปกครองนักเรียน โรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านโพธิ์กลาง) สังกัดเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 161 คน และกลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน ครูชั้นอนุบาลปีที่ 1-3 คณะ กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1-3 รวมจำนวน 39 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แบบสรุปผลการประชุมเชิงปฏิบัติการ และแบบสอบถามความเหมาะสม สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการวิจัย พบว่า 1. สภาพการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศึกษาปฐมวัยของผู้ปกครองนักเรียน โรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านโพธิ์กลาง) สังกัดเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี 5 ด้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับ ปานกลาง เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อยคือ ด้านการสร้างเสริมประสบการณ์การเรียนรู้ที่บ้าน ด้านการจัด สภาพแวดล้อม ด้านการติดต่อสื่อสาร ด้านการจัดประสบการณ์ การเรียนรู้ และด้านการตัดสินใจ 2. การพัฒนาแนวทางส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศึกษาปฐมวัยของผู้ปกครองนักเรียน โรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านโพธิ์กลาง) สังกัดเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี สังเคราะห์ได้ 4 ประเด็นหลัก ได้แก่ การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ จำนวน 3 ข้อ การมีส่วนร่วมในการดำเนินการ จำนวน 25 ข้อ การมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ จำนวน 3 ข้อ และการมีส่วนร่วมในการประเมินผล จำนวน 3 ข้อ มีความเหมาะสมและสามารถนำไปใช้ได้จริง โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท