ข้อควรระวังก่อนดื่มเครื่องดื่มกระตุ้น(ชู)กำลัง [EN]


สำนักข่าวรอยเตอร์ตีพิมพ์เรื่อง 'Doctors urge caution with popular energy drinks' = "หมอเตือนให้ระวังเครื่องดื่มกระตุ้นกำลัง", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ [ Reuters ]
.
.
อ.จอห์น ฮิกกินส์ จากวิทยาลัยแพทย์ มหาวิทยาลัยเท็กซัส ฮิวส์ทัน สหรัฐฯ กล่าวว่า เครื่องดื่มชู(กระตุ้น)กำลังในสหรัฐฯ มีกาเฟอีน 70-200 มิลลิกรัม/ขนาด 16 ออนซ์ (480 มิลลิลิตร = 0.48 ลิตร)
.
กาแฟ 8 ออนซ์ = 240 มิลลิลิตร = 1 กระป๋องเล็กมีกาเฟอีน 40-150 มิลลิกรัม ขึ้นกับวิธีการผลิต เช่น กาแฟสดมักจะมีกาเฟอีนสูงกว่ากาแฟสำเร็จรูป กาแฟแก้วใหญ่มีกาเฟอีนมากกว่าแก้วเล็ก ฯลฯ
.
.
อ.ฮิกกินส์ แนะนำว่า ข้อควรระวังคือ ถ้าดื่มเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีนมากเกิน เช่น ดื่มแล้วใจสั่น-มือสั่น นอนไม่หลับ ความดันเลือดสูง เครียดหรือตกใจง่าย ฯลฯ ควรลดปริมาณการดื่มลง
.
กรณีนอนไม่หลับ หรือหลับยาก ควรดื่มก่อนเที่ยงวัน หรือก่อนนอน 6-8 ชั่วโมงขึ้นไป
.
.
อ.ฮิกกินส์และคณะทำการทบทวนผลการศึกษาวิจัยในช่วงปี 1976-2010 หรือ พ.ศ. 2519-2553 พบว่า เครื่องดื่มเหล่านี้อาจเพิ่มความดันเลือด และชีพจร (อัตราการเต้นหัวใจ) ได้
.
คนที่ควรระวังมากหน่อย คือ คนที่อยู่ในภาวะขาดน้ำ (ภาวะขาดน้ำอาจทำให้เลือดหนืด ไหลเวียนยาก หัวใจทำงานหนักขึ้น หรือหลอดเลือดอุดตันได้ง่าย), คนที่ออกแรง-ออกกำลังอย่างหนัก เช่น นักกีฬา ฯลฯ
.
.
นอร์เวย์ เดนมาร์ก และฝรั่งเศส ห้ามขายเครื่องดื่ม "เรดบูลล์ (Red Bull = กระทิงแดง)" หลังมีผลการศึกษาในหนูว่า สารทอรีน (taurine = โปรตีนชนิดหนึ่ง) อาจทำให้สัตว์ทดลอง คือ หนูมีพฤติกรรมแปลกๆ รวมทั้งเครียดตื่นเต้น และทำร้ายร่างกายตนเอง
.
เรื่องนี้ยังไม่มีการศึกษาในคนที่ชัดเจน ทว่า... ถ้าเปรียบกับคนเราพฤติกรรมเหล่านี้อาจเทียบได้กับพฤติกรรมชอบเสี่ยง (high-risk behavior)
.
.
อ.ฮิกกินส์ แนะนำว่า ข้อควรระวังอย่างยิ่ง คือ ไม่ควรนำไปผสมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากอาจทำให้ฮึกเหิม หรือดื่มหนักได้
.
ยอดขายเครื่องดื่มกระตุ้น(ชู)กำลังในสหรัฐฯ อยู่ที่ $650m = 650 ล้านดอลล่าร์ฯ = 19,500 ล้านบาท/ปี (คิดที่ 30 บาท/$) ในปี 2548
.
.
ยอดขายทั่วโลกอยู่ที่ $5bn = 5 พันล้านดอลลาร์ฯ = 150,000 ล้านบาท
.
คำแนะนำทั่วไปได้แก่
.
(1). ผู้ที่ไม่ใช่นักกีฬา (non-athletes) ไม่ควรดื่มเกิน 1 กระป๋อง (ขวดเล็ก)/วัน ไม่ผสมกับแอลกอฮอล์ ดื่มน้ำมากๆ (ควรดื่มน้ำตามทันที และรีบบ้วนปากหลายๆ ครั้ง เนื่องจากเครื่องดื่มส่วนใหญ่มีฤทธิ์เป็นกรด ทำให้ฟันสึก)
.
(2). คนที่มีโรคความดันเลือดสูง ไม่ควรดื่ม และถ้าเป็นโรคหัวใจ... ควรปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนเสมอ
.
(3). คนที่มีโรคเบาหวาน ควรระวังเครื่องดื่มเหล่านี้ เนื่องจากมีน้ำตาลสูง
.
.
ท่านผู้อ่านจะดื่มหรือไม่อย่างไร... โปรดใช้วิจารณญาณ (ของท่านเอง) และโปรดอย่าลืมเรื่อง "เมาไม่ขับ-ง่วงไม่ขับ" ไว้เสมอ เพื่อให้ปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน
.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ 
.
.
ภาษาอังกฤษสบายๆ สไตล์เรา
.

ที่ มา                               

  • Thank [ Reuters ] & Mayo Clinic Proceedings, November 11, 2010. > Reuters linkage.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 14 พฤศจิกายน 2553.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อ การส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแล ท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.
หมายเลขบันทึก: 408419เขียนเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2010 22:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 17:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท