ข้าวหอมไชยา : ความจดจำที่ไม่มีวันลืม


ข้วหอมไชยา ความภูมิใจของชาวไชยา

     ผู้เขียนเป็นลูกชาวนา ที่รู้จักการทำนาในทุกขั้นตอน พูดง่ายๆว่าเป็นลูกชาวนาที่ทำนาเป็น ในวัยเด็กต้องเรียนไปด้วยและช่วยพ่อแม่ทำนาไปด้วย รู้ซึ้งว่าทั้งยากทั้งเหนื่อยกว่าจะได้ข้าวมากิน  หลังสู้ฟ้า หน้าสู้ดิน และในขณะเดียวกันก็รู้จักพันธุ์ข้าวหลายชนิด โดยถามไถ่จากแม่นั่นเอง

     ในอำเภอไชยาปลูกข้าวหลายชนิด เช่น ข้าวกันตัง (พันธุ์ข้าวขาวสุราษฎร์ฯ) ข้าวหยุดช้าง (รวงข้าวจะมีสีดำ รวงหนัก ลู่ลงสวยงามมาก ถามแม่ว่าทำไมชื่อหยุดช้าง แม่บอกว่า ข้าวสวย แปลก สีดำ คนขี่ช้างมาต้องหยุดช้างดูข้าว) ข้าวเหนียวตาล ข้าวเหนียวดำ (ชาวไชยาจะปลูกข้าวเหนียวไว้ในนาแปลงเล็กๆเพื่อใช้ทำขนมในงานบุญต่างๆ หรืองานแต่งงาน) และข้าวหอมไชยา

     ชาวไชยาจะปลูกข้าวหอมไชยากันทุกบ้าน แบ่งนาบางแปลงปลูกข้าวหอม แต่จะปลูกน้อยกว่าข้าวกันตัง ข้าวทุกข้าวก่อนชาวนาจะกินจะต้องหุงข้าวใส่บาตรพระก่อนถึงจะกินได้ สำหรับข้าวหอมไชยา คนไชยาจะไม่ใช้กินตลอดปี เพราะเป็นข้าวที่หุงแล้วไม่ค่อยขึ้นหม้อ กินแล้วเปลือง แต่คุณสมบัติของข้าวหอมไชยาคือหุงแล้วส่งกลิ่นหอมคลุ้งไปทั้งบ้าน หุงในครัวก็หอมออกมาถึงหน้าบ้าน นอกบ้าน บ้านไหนหุงข้าวหอมไชยา แขกที่เข้ามาบ้านก็จะรู้กันทั่วจากกลิ่นหอมกระจายเข้าจมูก 

    ข้าวหอมไชยา ถ้าเป็นข้าวใหม่ก็หุงค่อนข้างยาก คนไม่เข้าใจจะหุงข้าวสวยแล้วจะกลายเป็นข้าวเปียก ข้าวใหม่ต้องใส่น้ำน้อยๆ คนหุงข้าวเขาจะต้องรู้ว่าเป็นข้าวหอมเก่าหรือข้าวหอมใหม่  คนที่หุงข้าวเปียกแฉะก็เปลี่ยนเป็นข้าวต้มก็หอมอร่อยน่ารับประทาน

   คนไชยานิยมส่งลูกหลานเรียนหนังสือกันมาตั้งแต่โบราณ บางครั้งต้องไปเรียนต่อที่จังหวัดอื่น เด็กไชยาต้องไปพักกับญาติๆ ก็จะเอาข้าวหอมไชยาไปให้ญาติด้วย ข้าวไชยาจึงมีชื่อเสียงโด่งดังออกไป แต่ในที่สุดก็เกือบสูญพันธุ์ 

    ข้าวหอมไชยา จะมีลักษณะเป็นเม็ดป้อมๆ สั้นและเปลือกลาย ชาวไชยาปลูกข้าวหอมน้อยลงเมื่อเจ้าหน้าที่เกษตรนำข้าว กข. 11 มาให้ชาวนาปลูก ชาวไชยาเรียกข้าวสามเดือน ผลผลิตสูงและปลูกได้สองครั้ง ซึ่งปลูกได้มากกว่าข้าวหอม ชาวไชยาจึงไม่ค่อยปลูกข้าวหอม และในที่สุดก็ไม่ปลูก และในที่สุดก็หมดพันธุ์ จนกองการข้าวมาฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ ชาวไชยาก็อยากจะให้มันมีขึ้นมาใหม่ แต่ไม่รู้จะเอาพันธุ์มาจากไหน ขณะนี้ทราบว่าก็มีคนปลูกข้าวหอมไชยาอยู่บ้าง แต่ไม่ทราบว่า ยังหอมเหมือนเดิมหรือกลายพันธุ์ไปแล้ว ผู้เขียนได้เห็นตั้งแต่มันดำรงอยู่และหายไป มันเป็นบทเรียนที่ต้องจดจำในฐานะลูกชาวนา ก็ไม่ได้ให้ใครมารับผิดชอบเรื่องนี้ แต่สำหรับผู้เขียนที่เป็นคนไชยา ข้าวหอมไชยาเป็นอดีตที่เคยภาคภูมิใจ

   

 

หมายเลขบันทึก: 408350เขียนเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2010 15:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 09:57 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

ขอบคุณค่ะ..มาเยี่ยมคนเก่งลูกชาวนาผู้มีพระคุณต่อผู้บริโภค..ร่วมภูมิใจในคุณภาพของข้าวหอมไชยา + ไข่เค็ม+ผ้าไหมสวยงามนะคะ..

มีดอกชบา บานยามเช้าที่บ้านมาฝากค่ะ..

สวัสดีครับอาจารย์ นำพันธ์ข้าวพัทลุงมาแลกกับข้าวหอมไชยาครัย

http://gotoknow.org/blog/bangheem/179287

สวัสดีค่ะคุณนงนาท

.ขอบคุณดอกไม้สวยๆค่ะ ได้ดูดอกไม้แล้วชื่นใจ

.ไชยายังมีผ้าไหมพุมเรียง และไข่เค็มไชยา และแหล่งธรรมะ ปราชญ์โลก ท่านพุทธทาสภิกขุด้วยค่ะ

.คุณนงนาทคงสบายดีนะคะ

สวัสดีค่ะคุณ วอญ่า-ผู้เฒ่า-natachoei--

.คงสบายดีนะคะ ทราบว่าโดนพายุ เป็นห่วงพี่น้องชาวพัทลุงค่ะ สำหรับสุราษฎร์ไม่ได้โดนเต็มที่แต่ก็ท่วม และเสียหายมากเหมือนกันค่ะ

.บางครั้งก็กินข้าวสังข์หยดของพัทลุงด้วยเหมือนกันนะคะ เพื่อนๆชาวพัทลุงเอามาฝากค่ะ

.ขอบคุณมากๆที่เข้ามาเยี่ยมเยียนกัน

ขอขอบคุณมิตรภาพและบันทึกดีๆที่ได้รับมาตลอดปีนี้ และขอส่งความสุขสำหรับปีใหม่ที่กำลังจะมาถึงค่ะ..

(บัตรอวยพร ดอกม่วงเทพรัตน์ ของมูลนิธิรามาธิบดีฯ ) คลิ๊กที่:

http://gotoknow.org/blog/nongnarts3/348844

สวัสดีปีใหม่ค่ะคุณนงนาท

.ปีใหม่นี้ ขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสากลโลก จงดลบันดาลให้คุณนงนาทมีความสุข สวัสดีตลอดไปค่ะ

สวัสดีปีใหม่ค่ะพี่ภาทิพ

.พรใดเลิศ พรใดประเสริฐยิ่งในโลกนี้ ขอให้พรดังกล่าวจงเป็ของพี่ตลอดปีนี้และตลอดไป

สวัสดีปีใหม่ค่ะคุณธนิตย์ สุวรรณเจริญ

.ปีใหท่นี้ขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในสากลโลก จงดลบันดาลให้คุณธนิตประสบความสุข ความเจริญตลอดไป

สวัสดีปีใหม่ค่ะคุณ Preeda

ปีใหม่นี้ขอให้คุณสุขกาย สุขใจตลอดปีใหม่ด้วยเทอญ

ครูแป๊ว กัลยาณี

สวัสดีปีใหม่ ปีกระต่ายค่ะ

.ปีใหม่นี้ขอความสุข สวัสดี จงเกิดขึ้นแก่คุณครูแป๊วตลอดไปค่ะ

ที่ศูนย์ข้าวบ้านนาหลวงมีการฟื้นฟูพันธ์ข้าวกันมาประมาณ4ปีแล้ว ลักษณะทางกายภาพเริ่มพอมีให้เห็นบ้างแล้วแต่กลิ่นหอมยังไม่มากผมว่าสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไปมากทำให้ข้าวมีการปรับตัวเองเพื่อความอยู่รอดอาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ปรับปรุงพันธืข้าวยากขึ้นอีกประเด็นหนึ่งที่น่าหนักใจคือคนรุ่นใหม่บ้านเราไม่ค่อยใส่ใจที่จะทำนาซึ่งความจริงแล้วเรามีอัตตลักษณ์ของตัวเองในเรื่องของพันธ์ข้าวอยู่แล้วซึ่งเป็นมรดกที่มีค่ามากๆซึ่งบรรพบุรุษได้สร้างไว้ให้ ผมมองว่าถ้าภาครัฐลงมาจัดการเรื่องน้ำ การตลาด สิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อการปลูกข้าว มีการเอาจริงเอาจังมากกว่าที่เป็นอยู่ หนทางที่จะสำเร็จมีแน่นอน

สวัสดีค่ะคุณประสิทธิ์ นกบิน

 ที่บ้านนาหลวงมีการปรับปรุงพันธุ์แล้ว แต่ไม่มีกลิ่นหอม บางคนจะปลูกข้าวหอมแต่สุกไม่พร้อมคนอื่น เก็บเกี่ยวลำบาก รถเกี่ยวจะไม่เข้ามา จึงทำกันน้อยและอีกอย่างดิฉันว่าภาครัฐไม่จริงจัง ที่นาเลยกลายเป็นสวนปาล์มซึ่งไม่ควรจะเป็นอย่างนั้น ขอบคุณคุณประสิทธิ์ที่เข้ามาทักทายแสดงความคิดเห็นค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท