ทิศทางวิชาการด้านยาเสพติด (ประมวลจากการประชุม)


ทิศทางวิชาการยาเสพติด

 

ทิศทางที่น่าจะเป็นไปของการพัฒนาวิชาการด้านยาเสพติด : ฉบับประมวลข้อคิดจากการประชุม[๑]

 

˜ ยุทธศาสตร์การพัฒนางานวิชาการและองค์ความรู้ด้านยาเสพติด 

          ยุทธศาสตร์หลัก :  การพัฒนาชุดโครงการที่มีลักษณะข้ามหน่วยงาน  เป็นสหวิชาชีพ โดยการพัฒนาชุดโครงการที่มีส่วนร่วมระหว่างหลายหน่วยงาน และมีส่วนร่วมระหว่างหน่วยงานในระดับส่วนกลางและระดับพื้นที่ ทั้งนี้ให้เป็นไปตามความพร้อมของแต่ละหน่วยงานและพื้นที่

 

˜ กลยุทธ์ :

๑.  การพัฒนางานวิชาการฯ โดยให้น้ำหนัก/ความสำคัญอยู่ที่ประชาชน โดยใช้การวิจัย

ประยุกต์  และการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม

๒.  ส่งเสริมให้บุคลากร/สมาชิกชุมชนเป็นนักวิจัย (เชิงปฏิบัติการ) โดยมีหน่วยงานภาครัฐ

เป็นพี่เลี้ยง

๓.  การพัฒนาผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานให้เป็นนักวิชาการ นักวิจัย เน้นการพัฒนางาน

วิชาการในรูปงานวิจัยจากงานประจำ (Routine to Research : R2R) และงานวิจัยเพื่อชุมชน (Research  to Community)

                   ๔.  การส่งเสริมให้นักวิชาการ นักวิจัยศึกษาวิจัยร่วมกับผู้ปฏิบัติงานเพื่อเสริมจุดแข็งระหว่างกัน

                   ๕.  การพัฒนาระบบข้อมมูลวิชาการที่สนับสนุนการดำเนินงานของผู้เกี่ยวข้องทั้งในระดับหน่วยงาน พื้นที่ และนักวิชาการ โดย สำนักงาน ปปส.ภาค หรือพื้นที่สามารถบริหารจัดการและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้ รวมถึงผู้ปฏิบัติงานต่างๆ สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้

 

˜ ทิศทางยุทธศาสตร์ด้านการแก้ไขปัญหาผู้เสพ/ผู้ติด

                   สถานะการดำเนินงานและองค์ความรู้ในปัจจุบัน : บทวิพากษ์จากหน่วยงานภาคี

จากทบทวนนโยบาย ยุทธศาสตร์ ด้านการบำบัดรักษาเห็นได้ว่าประเทศไทยดำเนินงานตาม

แนวทางของตะวันตกมาโดยตลอด  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  สหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศหลักที่ทำวิจัยด้านยาเสพติด  แม้กระทั่งเรื่องรูปแบบการบำบัด และแนวคิดใหม่ๆ เช่น การลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติด (harm reduction)  ซึ่งมีเป้าหมายให้ผู้เสพ/ผู้ติดหยุดการใช้ยา  เป้าหมายในการทำงานของไทยกับสหรัฐอเมริกานั้นเหมือนกัน  แต่วิธีการยังแตกต่างกัน  โดยประเทศไทยนำหลักการของต่างประเทศมาใช้แบบรวบรัด  ตามความเร่งรัดของนโยบาย การใช้วิธีการเกณฑ์คนเข้ารับการบำบัด  ไม่มีการเตรียมการที่แท้จริง ไม่มีการเตรียมพร้อมผู้ป่วย  ผู้ป่วยไม่มองเห็นโทษของการเสพยาจึงไม่ต้องการบำบัด  ผู้ป่วยเข้าสู่ระบบต้องดำเนินการตามสถานบำบัดกำหนด  แต่สถานบำบัดยังขาดการจูงใจให้ผู้ป่วยอยู่ในระบบ ทัศนคติของ         ผู้ให้บริการยังมีการปฏิเสธคนไข้ ยังขาดการเข้าถึง เข้าใจผู้ป่วย ผู้ป่วยจึงไม่อยู่ในระบบ ทำอย่างไรผู้ป่วยจึงเข้าสู่ระบบ และไม่หยุดการรักษาก่อนเวลา (drop out)  

                   แนวทางการแก้ไขปัญหาด้วยองค์ความรู้ พิจารณาตามกรอบแนวคิดของการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด[๒] ประกอบด้วย

                   ๑. การนำผู้ป่วยยาเสพติดเข้าสู่ระบบบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ  

-การพัฒนางานวิจัยเพื่อเป็นฐานข้อมูลบ่งชี้ผลเสียที่เกิดจากผู้ป่วยยาเสพติดไม่เข้ารับการ

บำบัดรักษา เช่น ผลเสียที่เกิดจากปัญหาอาชญากรรม มูลค่าเงินที่สูญเสียไป การสูญเสียของระบบการดูแลสุขภาพ ทรัพย์สมบัติ กรเสียทรัพย์สินสาธารณะ เป็นต้น

 

๒. การพัฒนาตัวชี้วัดเชิงระบบสุขภาพ เพื่อกำหนดและวัดความพร้อมของสถานบริการเพื่อ

รองรับการบำบัด /การสร้างแรงจูงใจของสถานบริการเพื่อให้คนเข้ารับการบำบัด  และพัฒนาการทำงานเพื่อ ให้บรรลุตัวชี้วัด

                   -การพัฒนานวัตกรรมในการเพิ่มคนเข้าสู่ระบบบำบัด เช่น

0 มิติของรายบุคคล :

-การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมให้ผู้รับบริการเข้ารับการบำบัดโดยการแนะนำบทบาทของ

ผู้ให้การบำบัดและผู้ป่วยเมื่อเข้าสู่กระบวนการบำบัด การเตรียมการโดยให้เหตุผลการรักษา การสอบถามและกำหนดความคาดหวัง การสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้การบำบัดกับผู้ป่วย การให้ประสบการณ์ตรงเรื่องการบำบัดแก่ผู้ป่วย  เช่น การนำเสนอตัวอย่างขั้นตอนการบำบัดโดยใช้ตัวอย่างขั้นตอนการรักษาที่เป็นจริง การจัดให้ผู้ป่วยมีประสบการณ์ตรงด้วยการทดลองทำกิจกรรมบางอย่างที่ปรากฏในกระบวนการบำบัด เป็นต้น

 

0มิติด้านครอบครัว :

-การพัฒนากิจกรรมการช่วยเหลือที่บุคลากรสาธารณสุขเพิ่มความเต็มใจในการเข้า

รับการบำบัดของผู้ป่วย เช่น การโทรศัพท์เตือนให้เข้าร่วมโปรแกรม การให้โปรแกรมการบำบัดแบบย่อ (Brief Intervention) มีการคุยกันเรื่องปัญหาอุปสรรคต่างๆ การเพิ่มความเต็มใจของครอบครัวให้เข้ารับการบำบัดตามแนวคิดว่าแรงต้านการเข้าร่วมโปรแกรมเป็นเรื่องปกติ ที่ต้องหยิบยกมาพูดในครั้งแรกที่ครอบครัวเข้ารับบำบัด ต้องค้นหาแรงต้าน การเจรจาต่อรองและจัดการปัญหาเพื่อสร้างความคาดหวัง การให้ค่าตอบแทนในการอยู่บำบัด การจัดกิจกรรมกลุ่มมากขึ้น ช่วยสนับสนุนครอบครัวในเรื่องต่างๆ นอกจากเรื่องปัญหายาเสพติด การใช้เพิ่มแรงจูงใจสัมภาษณ์ Ethnographic ความคาดหวังผู้รับบริการ เสนอทางเลือก การรักษารายกรณี เป็นต้น

0มิติขององค์กรสถานบำบัด :

-โมเดลการพัฒนาคุณภาพการบริการ  และขับเคลื่อนให้หน่วยบำบัดต่างๆ นำรุปแบบการ

บำบัดไปขยายผล การพัฒนานวัตกรรมเทียบเคียง (การศึกษาเปรียบเทียบ/benchmark ระหว่างนวัตกรรมและรูปแบบการบำบัดแบบเดิม) แบบประเมินความพร้อมองค์กร (ดูในเชิงระบบขององค์กรเพื่อพัฒนาระบบ การประเมินความพร้อมของผู้รับบริการ การบูรณาการระบบบำบัดรักษายาเสพติดเข้าสู่การป้องกันระดับปฐมภูมิ เช่น ส่งเสริมสนับสนุนให้โรงพยาบาลชุมชน หรือสถานีอนามัยมีศักยภาพด้านการค้นหาผู้ป่วย เป็นต้น

 

๓.     การพัฒนาระบบบำบัดรักษาฯ และวิธีการทำงานเพื่อให้ผู้ป่วยเต็มใจอยู่บำบัดรักษาใน

สถานบริการ โดยการขับเคลื่อนงานพร้อมกันในหลายมิติ เช่น

-มิติสถานบำบัด

การสนับสนุนให้หน่วยงานด้านการบำบัดรักษายาเสพติดบริหารองค์กรเพื่อการพัฒนา โดย

ใช้เทคนิคต่างๆ เช่น การนำกระบวนการพัฒนาคุณภาพไปใช้ เช่น HA  การค้นหาปัจจัยที่นำสู่การเปลี่ยนแปลงองค์กร เช่น กรอบแนวคิดด้านการสื่อสารที่ได้ผลสูง โมเดลการพัฒนา (ขับเคลื่อนให้องค์กรนำความรู้ไปใช้) กรอบแนวคิด หลักการการแก้ไขปัญหานำองค์กรไปสู่การเปลี่ยนแปลง การทำความเข้าใจผู้รับบริการ การให้ผู้รับบริการมีส่วนร่วม หาความคิดใหม่ๆ ภายนอกองค์กร/สาขามาใช้  ใช้ความรวดเร็วการประเมินผลองค์กร  การหาจุดอ่อน-จุดแข็งในการบริการ การหาความคิดใหม่จากภายนอกโดยจัดประชุมผู้เชี่ยวชาญอยู่เป็นระยะเพื่อหาแนวปฏิบัติที่เด่น ที่นำสู่การเปลี่ยนแปลง และหารูปแบบมาทดลองใช้ หากดำเนินการแล้วประสบความสำเร็จควรนำมาจัดหมวดหมู่ เช่น ลดระยะเวลาในการรอ เป็นต้น มีการจัดถอดบทเรียน ดูงาน ประเมินประสิทธิผลโครงการ มีการสร้างนวัตกรรมเทียบเคียง  มีแนวปฏิบัติในการแก้ไขปัญหา การประเมินความพร้อมองค์กรและผู้รับบริการ  

ตัวอย่างนวัตกรรมจากต่างประเทศเพื่อพัฒนาระบบบำบัด เช่น  การอบรม พัฒนา เพิ่มการ

เข้าถึงการบริการ การให้บริการชุมชน ให้ความรู้เรื่องมิติสังคมวัฒนธรรม ฝึกสร้างสัมพันธภาพ ทักษะการคัดกรองผู้เสพผู้ติด  การวิเคราะห์ว่ารูปแบบการบำบัดนั้นมีความสอดคล้องด้านวัฒนธรรมหรือไม่ การศึกษาความรุนแรงที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้ยาเสพติดที่ไม่ได้รับการดูแล  การขาดศักยภาพของบุคลากรในการทำให้ผู้ป่วยเข้าสู่ระบบ

-มิติสถาบันการศึกษา

การดึงทีมงานจากมหาวิทยาลัยมาพัฒนาประสิทธิภาพ เช่น การทำข้อเสนอเชิงยุทธศาสตร์

ระดับชาติเกี่ยวกับการฝึกอบรม การสร้างคณะในมหาวิทยาลัยให้คณาจารย์ในคณะต่างๆ ด้านสุขภาพมาทำวิจัยด้านยาเสพติดนี้มากขึ้น การพัฒนาการอบรม การพัฒนาเว็บไซต์เพื่อสื่อสารระหว่างผู้เกี่ยวข้องโดยตรง   มี module ต่างๆ ในการแก้ไขปัญหาและฝึกอบรม การส่งเสริมให้มีนักศึกษาศาสตร์ด้านสุขภาพในสหวิชาชีพด้านสุขภาพ เช่น ทันตแพทย์ พยาบาลเวชปฏิบัติ อาชีวบำบัด เภสัชกร นักกายภาพบำบัด แพทย์ ผู้ช่วยแพทย์  

-มิติของชุมชน

พัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในการสร้างการมีส่วนร่วมชุมชน มีเครื่องมือกระตุ้น

ชุมชน มีการใช้สื่อเพื่อเปลี่ยนความคิดชุมชน

-มิติของสังคมและสิ่งแวดล้อม

การพัฒนาฉันทามติระดับชาติเรื่องข้อเสนอคุณภาพการบำบัด อันประกอบด้วย ยุทธศาสตร์

ดูแลผู้ป่วยโรคร่วมนักวิชาการสร้างข้อเสนอเชิงนโยบายใช้แนวฉันทามติร่วมกับหลักฐานเชิงประจักษ์ ตั้งคณะทำงานด้านต่างๆ เช่น คณะทำงานเพื่อปิดช่องว่างที่พบในการบำบัดฯ การได้รับการบำบัดอย่างสมศักดิ์ศรี ไม่มีตราบาป  สร้างความคิดร่วมเรื่องการใช้สารเสพติดเป็นปัญหาด้านสาธารณสุข สังคมต้องจัดบริการที่มีคุณภาพสูง การบำบัดเป็นศาสตร์สาขาที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะ การบำบัดควรมีระยะเวลาที่เหมาะสม เป็นต้น

-มิติผสมผสาน

การพัฒนาระบบการดูแลที่สมบูรณ์แบบ ความต้องการภาษาที่สื่อสารเพื่อให้เกิดความเข้าใจ

ตรงกัน

๔.  การพัฒนาตัวชี้วัดที่บ่งชี้การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และอยู่ครบกำหนดการบำบัด 

๕.  การติดตามผลการบำบัด

 

 

 

 

˜ ข้อเสนอการบริหารการวิจัย/รูปแบบ และกลไก (ด้านการบำบัดรักษา)

          ด้านนโยบาย/ยุทธศาสตร์

๑. ทบทวนนโยบาย ยุทธศาสตร์ที่ดำเนินการแล้วว่าเหมาะสมหรือไม่  ทบทวนในส่วนที่เป็นอุปสรรค และ ยังไม่สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างประสบผลตามเป้าหมาย

 

รูปแบบ/วิธีการบำบัด

๑. การพัฒนาองค์ความรู้  การพัฒนากลุ่มสกัดองค์ความรู้จากการดำเนินของแต่ละสถานบำบัดโดยดำเนินการเน้นเชิงคุณภาพ

๒. ทบทวนความเข้มข้นของระบบบริการ  ประเด็นที่ต้องพัฒนา  และการพัฒนาบุคลากร ที่เน้น   องค์ความรู้เพื่อไปใช้ประโยชน์ในระดับอำเภอ (สาธารณสุขอำเภอ และระดับชุมชน)  การกำหนดจุดยืนการทำงาน และรูปแบบการบำบัดที่สอดคล้องกับแต่ละบริบทของพื้นที่

๓.  การทบทวนรูปแบบบำบัดโรคร่วมจิตเวช

๔.  การพัฒนาวิชาการเพื่อพัฒนาประสิทธิผลของกระบวนการบำบัด  เพื่อแก้ไขปัญหาการเสพซ้ำ   เน้นที่กลุ่มของผู้ใช้ยาในกลุ่มที่ใช้เพื่อความบันเทิง (club drug) และยาเสพติดที่ไม่ผิดกฎหมายทั้งแอลกอฮอล์และบุหรี่อันเป็นปัจจัยเริ่มต้นของการเสพ การวิจัยเน้นตัวผู้ป่วย และกลุ่มครอบครัว รวมถึงรูปแบบการบำบัดเพื่อการลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติด  harm reduction การบำบัดโดยให้เมธาโดนทดแทน  

๕.  การศึกษารูปแบบการดูแลผู้เสพผู้ติดยาเสพติดในพื้นที่ โดยศึกษาและพัฒนาวิธีการดูแลที่เหมาะสมกับคนในพื้นที่กรุงเทพมหานครแบบครบวงจร (ค้นหา ดูแล ส่งต่อ) โดยที่ชุมชนมีศักยภาพดำเนินการได้ทั้งระบบ

๖.  การศึกษาความเหมาะสมและการเข้าถึงระบบการให้การบำบัดรักษาฯ เปรียบเทียบกับการดำเนินงานในต่างประเทศ เช่น หลายประเทศเน้นการบำบัดในสถานพยาบาล  และมีจำนวนน้อยที่ใช้การบำบัดในรูปแบบค่ายหรือค่ายทหาร 

๗.  การพัฒนากระบวนการจำแนก แยกแยะ วินิจฉัยก่อนการนำผู้ป่วยเข้าสู่ระบบบำบัด  

๘.  การพัฒนาองค์ความรู้สนับสนุนการดำเนินงานของผู้ให้การบำบัด 

๙.  การวัดประสิทธิผลการบำบัด โดยการกำหนดเกณฑ์ของความสำเร็จ ที่ชัดเจน และผู้เกี่ยวข้อง  มีความเข้าใจตรงกัน เช่น การคัดเลือกกรอบคิดใดกรอบคิดหนึ่ง ให้สถานบำบัดตกลงร่วมกันถึงเกณฑ์ที่จัดว่าเป็นการบำบัดที่ดี  และเมื่อตกลงใช้รูปแบบร่วมกัน  ต้องมีการพัฒนาระบบบำบัด และเตรียมความพร้อมของบุคลากรที่มีมาตรฐานเดียวกัน เช่น เริ่มจากการคัดกรอง ชักจูงคนเข้าระบบ และการติดตามดูแล เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อการประเมินผลและวิเคราะห์คุณภาพการบำบัดที่มีประสิทธิภาพ

 

การบริหารจัดการ

๑. การพัฒนาฐานข้อมูลตามระบบ บสต. ที่มีคุณภาพ

๒. การพัฒนาระบบ โครงสร้าง โดยการแต่งตั้งเป็นคณะทำงาน (บูรณาการระหว่างหน่วยงาน) ที่สอดรับกับการนำองค์ความรู้ไปแก้ปัญหาในทางปฏิบัติแต่ละด้าน แต่ละคณะกำหนดวิสัยทัศน์ของตนที่สอดรับกับยุทธศาสตร์ชาติ และพัฒนาองค์ความรู้เพื่อการพัฒนากระบวนการบำบัดฯ

๓.  การพัฒนามิติด้านครอบครัวในกระบวนการบำบัดตามบริบทของสังคมไทย  

๔. การพัฒนาตัวชี้วัดตามบทเรียนของต่างประเทศ  ซึ่งมีตัวชี้วัดที่ครอบคลุม  สำหรับประเทศไทยการประเมินตัวชี้วัดต่างๆ ต้องมีเวทีหารือกันเพื่อกำหนดตัวชี้วัดต่างๆ เช่น ประเด็นความสัมพันธ์ ผลกระทบเชิงระบบกรณีผู้ป่วยไม่เข้าสู่กระบวนการบำบัด เพื่อให้เห็นชัด และแก้ปัญหาได้ชัดเจนขึ้น  การศึกษาและพัฒนาเจตคติของผู้กำหนดนโยบาย และผู้ให้การบำบัดรักษา  

๕. การตั้งคณะทำงานกำกับการดำเนินงานตามนโยบาย    

          ๖. การเน้นให้เกิดวิจัยในรูปชุดโครงการ ซึ่งควรมีการหารือการทำงานในลักษณะข้ามกระทรวง และข้ามระบบการบำบัดเพื่อแก้ไขปัญหาเชิงระบบได้ชัดเจนขึ้น มีการทำงานเชื่อมโยงกันระหว่างกระทรวง และผลักดันการทำงานในพื้นที่ในรูปการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (action research)  เช่น พัฒนารูปแบบการดำเนินงานของจังหวัดนำร่องด้านการบำบัดทุกระบบ  การร่วมมือกันระหว่างนักวิชาการและนักบำบัดซึ่งมีจุดเด่นคนละด้าน เพื่อการเชื่อมต่อระหว่างนักวิจัยและนักบำบัดให้มีมากขึ้น  เสริมจุดแข็งระหว่างกัน     

          ๗.  การร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อเชื่อมโยงการพัฒนาวิชาการ วิจัย และนำผลงานไปใช้ประโยชน์ 

๘.  พัฒนานักปฏิบัติงานให้พัฒนาวิชาการมากขึ้น มีการเชื่อมต่อระหว่างนักวิจัยและนักปฏิบัติ เน้น R2R เพื่อการพัฒนางาน งานวิจัยที่เน้นการติดตาม ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญที่ป้องกันการเสพซ้ำ พัฒนาโปรแกรมให้คนไม่กลับไปเสพซ้ำเมื่อกลับบ้านแล้ว

๙.  ศึกษาตัวยาที่ใช้บำบัดคนไข้ได้ผล และไม่เป็นปัญหาทางจิตเวช รวมทั้งกลุ่มสุรา และสารระเหย ๑๐.  การพัฒนาหลักสูตรนักศึกษาพยาบาลในวิทยาลัยพยาบาลพระบรมราชชนก โดยสอดแทรก

เรื่องยาเสพติด ทั้งภาคทฤษฎี และปฏิบัติ รวมถึงการฝึกงานเรื่องยาเสพติดด้วย 

๑๑.  การพัฒนาเครือข่ายมหาวิทยาลัยต่างๆ เพื่อการพัฒนาหลักสูตรร่วมกัน   

๑๒.  การพัฒนาชุดตัวชี้วัด ที่วัดผลสำเร็จของการบำบัด ปัจจุบันที่ใช้ดำเนินการอยู่ยังไม่ครอบคลุม เช่น วัดอัตราการไม่กลับไปเสพซ้ำ ซึ่งยังวัดเฉพาะกลุ่มผู้ผ่านการบำบัดรับการบำบัดครบกำหนดและติดตามได้ ยังขาดส่วนที่บำบัดไม่ครบตามกำหนดและติดตามไม่ได้  หากสามารถมองภาพรวมได้จะเห็นปัญหาที่เป็นจริง

          ๑๓.  การศึกษาพฤติกรรมการเสพติด/การติดซ้ำ  

 

๑๔. การพัฒนาชุดคู่มือผลกระทบที่บุคลากรด้านการบำบัดรักษาจะต้องเผชิญเมื่อพบและดูแลรักษา

ผู้ป่วยยาเสพติด  และชุดคำตอบและคำแนะนำที่บุคลากรต้องให้กับผู้ป่วย   

 

 

˜ ทิศทางเชิงยุทธศาสตร์ของพื้นที่ภาคเหนือ

๑.   การศึกษาและพัฒนาชุดโครงการที่ใช้ชุมชนเป็นฐาน (Community

Based Program) โดยเน้นชุมชนเป็นศูนย์กลางทางวิชาการ ทั้งนี้ต้องสร้างคำจำกัดความ ของคำว่า “ชุมชน” เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน  อย่างไรก็ตามยังคงไม่ละทิ้งงานวิจัยที่มีลักษณะเป็น “โครงการ” แต่เน้นโครงการด้านชุมชน ซึ่งต้องกำหนดองค์ประกอบให้ชัดเจนว่า ชุมชน/พื้นที่แต่ละแห่งต้องการองค์ความรู้ในการสนับสนุนการทำงานในประเด็นใด เช่น ด้านการให้คำปรึกษา เป็นต้น

๒.  การศึกษาและพัฒนาชุดโครงการที่ใช้สถาบันเป็นฐาน (Institution

Based Program) โดยการพัฒนาองค์ความรู้ร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในประเด็นหรือกลุ่มเป้าหมายร่วมกัน

๓.     การศึกษาและพัฒนาองค์ความรู้ในการดูแล “กลุ่มเสี่ยง” ที่ยั่งยืน  โดยการบูรณาการ

ด้านสุขภาพ และการทำงานฐานชุมชน  เช่น  บูรณาการกับกลไกที่สอดคล้องกับกลไกภารกิจตามระบบงานสาธารณสุขของภาครัฐ  รวมถึงพัฒนางานรณรงค์ที่เป็นชุดรณรงค์ผ่านสื่อมวลชน (Air War) และการปฏิบัติการในพื้นที่ (Ground War)  

๔. การพัฒนาระบบฐานข้อมูล

 

 

˜ โจทย์ ประเด็นวิจัย ในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ๒๕๕๖  

พื้นที่ภาคเหนือ

 

› มิติด้านการปราบปรามยาเสพติด

0 การศึกษาด้านการสกัดกั้นตามแนวชายแดน      

0การศึกษาเกี่ยวกับกลุ่มชนเผ่าและผู้พ้นโทษ

0การศึกษาด้านตัวยา

-การเฝ้าระวังตัวยาที่ยังเป็นความต้องการของพื้นที่ โดยการพัฒนา drug profile

-พืชเสพติด : ฝิ่น กระท่อม

-การจัดการความรู้ด้วยการสังเคราะห์ ไอซ์ สูโดอีฟรีดีน ยาที่ถูกกฎหมาย

-สารระเหย :  สถานการณ์สารระเหยบนพื้นที่สูง การแก้ไขปัญหาสารระเหยเชิงบริหารจัดการ เช่น

ปัญหาเรื่องการควบคุมตัวผู้เสพผู้ติดตามระบบบังคับบำบัด การตรวจพิสูจน์  การพัฒนาองค์ความรู้ทางวิชาการเพื่อกำหนดแนวทางการปรับระบบบริการ และแนวทางการแก้ไขเชิงนโยบาย   แนวทางการบำบัด/ดูแลที่เหมาะสม (ที่ลึกซึ้งกว่าระดับจิตสังคม  ไปจนถึงการดูแลโดยจิตแพทย์)  การแก้ไขปัญหาในชนกลุ่มชนเผ่าในภาคเหนือ ได้แก่ ม้ง และมูเซอแดงที่สูดดมสารระเหย  

-ไอซ์  :  

*การติดตามปัญหาไอซ์ ที่ไทยยังตามไม่ทัน  โดยติดตามครบวงจรทั้งด้านการศึกษาสถานการณ์ไอซ์

นอกประเทศการเสพ/กลุ่มผู้เสพ รูปแบบ/วิธีการเสพแบบผสมผสานตัวยา  การปรุง(ยา)  ผลกระทบต่อสุขภาพ การศึกษาด้านการค้า การตลาด การค้ารายย่อย  ทิศทางการที่ไอซ์ทดแทนตลาดยาบ้า และการขยายตลาดรายใหม่ การศึกษาวงจรนำเข้า - ส่งออกไอซ์  การติดตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงเร็ว และแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ ตลอดจนการศึกษาด้านพิษวิทยา  และผลกระทบต่อสุขภาพที่ชัดเจนของการเสพไอซ์

*การพัฒนากลไกการจัดการปัญหาที่ชัดเจน เนื่องจากพื้นที่ภาคเหนือเกิดการแพร่ระบาดมาก ซึ่งมี

ความจำเป็นต้องเข้าใจบริบท ของการเสพ การค้า  การพัฒนาของไอซ์จากยาเสพติดเพื่อความบันเทิงกลายเป็นยาเสพติดทั่วไป การเจาะตลาดชนบท การขายคู่ยาบ้า การใฝ่ฝันของผู้เสพยาบ้าที่ต้องการพัฒนาไปเสพไอซ์

          *การพัฒนาระบบข้อมูลเรื่องไอซ์ที่แยกออกจากฐานข้อมูลยาบ้าหรือเมทแอมเฟตามีนอื่นๆ  ประกอบด้วยการพัฒนา แบบฟอร์ม/การกรอกข้อมูลต่างๆ  รวมถึงฐาน drug profile

*การเฝ้าระวังการเผยแพร่วิธีการผลิต (kitchen lab) ผ่านอินเทอร์เน็ต การเฝ้าระวังการจัดซื้อเครื่องมือผลิต  

*การศึกษาบทเรียนการจัดการปัญหาและประสิทธิภาพของสื่อ/สื่อสารมวลชนที่ประสบผลสำเร็จของ

ประเทศอื่นๆ ในการควบคุมปัญหา เช่น  สหรัฐอเมริกา  ออสเตรเลีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีแหล่งผลิตรอบประเทศ  โดยต้องศึกษาความสอดคล้องถึงพื้นฐานความคิดของประเทศตัวอย่างและไทย   โดยวิเคราะห์บริบทของไทย ตลอดจนการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการผลิตไอซ์ซึ่งดำเนินการในต่างประเทศให้กับบุคลากรของไทย เช่น ตำรวจ เพื่อประโยชน์ในการเท่าทันสถานการณ์และรูปแบบการแพร่ระบาดในประเทศไทย

 

0 การศึกษาด้านกฎหมาย โดยการศึกษาเกี่ยวกับ

-ยุติธรรมชุมชน/ทางเลือก

-การบังคับบำบัด

-ยาที่ถูกกฎหมาย

-กฎหมายเกี่ยวข้องกับเยาวชน/สิทธิมนุษยชน

-องค์กรปกครองท้องถิ่น

› มิติด้านการป้องกัน

-การส่งเสริมท้องถิ่น/ชุมชนเข้มแข็ง เช่น ศึกษาการแบ่งสีในสังคมไทย โดยเฉพาะพื้นที่ภาคเหนือกับการทำงานด้านยาเสพติด  การเมืองท้องถิ่นกับการกระจายอำนาจ และงานยุติธรรมชุมชน

-การสร้างกระแสปรองดองโดยใช้การแก้ไขปัญหายาเสพติดเป็นหลักในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน และการศึกษาเปรียบเทียบการดำเนินงานด้านยาเสพติดในพื้นที่สีเหลืองและสีแดง)  

› มิติด้านการบำบัด

-การบำบัดตามภูมิปัญญาชาวบ้าน

-การบูรณาการงานยาเสพติดกับระบบบริการเรื่องสุขภาพ (การมองยาเสพติดในภาพรวมของระบบบริการสุขภาพ) การตั้งหน่วย one stop service ในชุมชน ร่วมกับการแก้ไขปัญหาสุขภาพอื่น เพื่อพัฒนาและทดสอบรูปแบบการดำเนินงานเพื่อเพิ่มจำนวนผู้เข้ารับการบำบัดสมัครใจ

› มิติด้านการบริหารจัดการ

-การสังเคราะห์งานวิจัย การจัดทำแผนที่ความรู้ และการจัดตั้ง Knowledge clearing house

 

˜ ข้อเสนอการบริหารการวิจัย/รูปแบบ และกลไก

-การพัฒนางานวิจัย

-การสนับสนุนให้เกิดผู้วิจัย

-การพัฒนาศักยภาพผู้วิจัย

-การสนับสนุนให้ผู้ปฏิบัติงานเข้าร่วมการวิจัย เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ และนำความรู้ไปใช้ในการให้คำปรึกษากับชุมชน/บุคคลที่เกี่ยวข้องในวงจรยาเสพติดได้

-การพัฒนางานวิชาการจากงานประจำ (R2R)หรือ การพัฒนางานวิจัยเพื่อชุมชน (Research to Community:R2C)  โดยการลงชุมชนด้วยจิตอาสาของนักวิจัย เพื่อให้เกิดเครื่องมือ กลไก วิธีการ ทักษะในการควบคุมปัญหาได้ และเพื่อให้เกิด นโยบายที่เกิดจากข้อมูลเชิงวิชาการที่เชื่อถือได้ (evidence policy) ที่แท้จริง รวมถึงงาน/ระบบเฝ้าระวังในชุมชนโดยสมาชิกชุมชน และระบบหนุนเสริมจากภาครัฐ เช่น ระบบข้อมูลภาครัฐ 

-การวิเคราะห์คุณภาพผลงานวิจัย ที่จะนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์  ให้ประชาชนเป็นศูนย์กลาง

เช่น การบำบัดโดยค่ายทหารกับความเหมาะสมในการบำบัดยาเสพติด

          -ระบบสนับสนุน/งบประมาณ

-การจัดสรรงบประมาณ เงินอุดหนุนด้านวิชาการ การเปิดกรอบเงินอุดหนุนภาคประชาชนด้านวิจัยเชิงปฏิบัติการ / R2R ให้ชุมชนเข้าถึงได้ (โดยไม่เน้นด้านระเบียบวิธีวิจัย) เพื่อให้ผู้ที่เข้าร่วมดำเนินงานเกิดความมั่นใจ            

-การบูรณาการงบประมาณพัฒนาวิชาการร่วมกับงบประมาณกองทุนแม่ของแผ่นดิน การสนับสนุนการดำเนินงานพร้อมพี่เลี้ยง ให้ชุมชนเรียนรู้และสามารถใช้งบประมาณร่วมในกองทุนแม่ของแผ่นดินของชุมชน

-การดำเนินงานบนระบบข้อมูล อย่างไรก็ตามปัจจุบันยังไม่มีฐานข้อมูลจากส่วนกลางที่เชื่อมโยงถึงระดับภาค ยังไม่มีการผ่องถ่ายข้อมูลที่ภาคสามารถใช้และบริหารข้อมูลได้  และรวมถึงยังไม่สามารถส่งเสริมให้นักวิจัยสามารถเข้าถึงฐานข้อมูลเพื่อวิเคราะห์ และใช้งานได้ (ปัจจุบันยังผูกขาดที่ส่วนกลาง)

          -การผนวกงานยาเสพติดกับงานสุขภาวะด้านสุขภาพ เช่น การสร้างเครือข่ายสถานีอนามัย เพิ่มศักยภาพของสถานีอนามัย การมีพยาบาลเข้าถึงผู้ป่วยที่บ้าน (ลักษณะเดียวกับการดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง มะเร็ง ผู้สูงอายุ)   อย่างไรก็ตามในหมู่บ้านแต่ละแห่งมีผู้มีอิทธิพล ซึ่งนักวิจัยและนักพัฒนาต้องเข้าถึง เช่น  ผู้ใหญ่ที่ชาวบ้านเกรงใจ ส่วนใหญ่จะเป็นครู และพระสงฆ์

-โครงการนักสื่อสารสุขภาพ (เช่น มีการฝึกอบรมพรสงฆ์ให้ทราบถึงปัญหาต่าง ๆ ซึ่งพระสงฆ์สามารถนำไปแทรกความรู้เทศนาให้ชาวบ้าน)

-พัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชน  ฝึกอบรมให้อาสาสมัครสาธารณสุขสามารถดูแลงานด้านยาเสพติด มีการสนับสนุนงบประมาณจัดกิจกรรม และพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยเพื่องานยาเสพติด  

-กรณีหมู่บ้านที่ยังไม่เข้มแข็งอาจใช้ อสม. ดูแลตามคุ้มบ้าน

-การสร้าง/พัฒนาหลักสูตรในการเสริมสร้างศักยภาพกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ในลักษณะที่เป็นหลักสูตรระยะยาว (ที่ผ่านมาเน้นหลักสูตรระยะสั้น ซึ่งไม่มีประสิทธิภาพ)  และนำหลักสูตรนั้นๆ ลงสู่ชุมชน ซึ่งต้องเป็นชุดองค์ความรู้ที่ง่าย ช่วยคนทำงานระดับชุมชนให้ทำงานได้ด้วยการมีส่วนร่วม มีกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน เช่น อาสาสมัครในชุมชน บูรณาการทุกชุมชน โดยการทำเครื่องมือต่างๆ ให้ง่าย  มีคู่มือที่นำไปใช้ได้ง่าย ระบุให้ชัดเจนว่าการดำเนินงานใดที่บุคลากรระดับใดสามารถดำเนินการได้เอง และระดับใดจำเป็นต้องส่งต่อ      -มีการตัวชี้วัดของชุมชน เช่น ตัวชี้วัดความสุข การวัดต้นทุนชีวิต (ซึ่งพัฒนาโดย นพ.สุริยเดว ทรีปาตี)  โดยโดยการนำ รูปแบบการดำเนินงานที่พัฒนาขึ้นแล้วในบริบทอื่นมาปรับใช้ให้เข้ากับบริบทของแต่ละพื้นที่ในภาคเหนือ เช่น กลุ่มชาวเขา  

-การระบุพื้นที่/ชุมชน เป้าหมาย ทั้ง area  base /community base ใช้ฐานข้อมูลที่มีบ่งชี้เป้าหมาย โดยการค้นหาศักยภาพที่มีอยู่แต่เดิม และพัฒนาต่อยอด การกำหนดการดำเนินงานที่แตกต่างกันระหว่างพื้นที่ เช่น สถานการณ์ปัญหา ศักยภาพของชุมชน ซึ่งต้องการชุดเครื่องมือที่แตกต่างกัน ชุดความรู้ที่จะให้สำหรับผู้ทำงานด้านป้องกันเด็ก เช่น ชุดความรู้ด้านครอบครัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งครอบครัวเสี่ยง

-การฝึกอบรมให้ผู้เกี่ยวข้องในกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ต้องมีชุดภาษาที่สามารถสื่อสารเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้จริง เช่น เด็กกลุ่มเสี่ยง ซึ่งหากการสื่อสารผิดกลุ่มเป้าหมายจะไม่เชื่อถือ กลไกเหล่านี้ (นักวิจัย/นักปฏิบัติ) ในพื้นที่ต้องค้นหาคนที่มีใจ ซึ่งเป็นเรื่องยาก และต้องมีพี่เลี้ยงสนับสนุน  

-การพัฒนาระบบที่ยั่งยืน และบุคลากรที่อยู่ยาวนานพอ ซึ่งระบบรัฐยังไม่เกื้อหนุนเนื่องจากใช้หลักการโยกย้าย การสรรหาต้องหาแกนนำธรรมชาติ และระบบอาสาสมัครในชุมชนที่มีอยู่ และภาครัฐเป็นผู้ประเมินความสนใจของแกนนำนั้นๆ  และเสริมองค์ความรู้  รวมทั้งต้องสร้างความร่วมมือและระบบแรงจูงใจที่ชัดเจน  

          -การมี team mobile เพื่อจัดสันทนาการ วิทยากรกระบวนการ  เพื่อเริ่มต้นสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน

-การพัฒนาเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้แก้ไขปัญหาในชุมชน สมาชิกชุมชนควรเข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่การพัฒนาเครื่องมือเพื่อการวิเคราะห์ เข้าใจปัญหาที่เกิดจากสมาชิกชุมชนจริงๆ  โดยดูสมรรถนะของชุมชนว่าพร้อมเข้าร่วมในระดับใด (ตามทฤษฎีหลักการมีส่วนร่วม ๕ ขั้นตอน)

 

˜ โจทย์ ประเด็นวิจัย ในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ๒๕๕๖

พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

 

› มิติด้านการปราบปราม

-ผลงานวิชาการที่สะท้อนการจัดการปัญหา  เช่น  ความสมดุลของการจัดการกับนักค้ารายสำคัญ กับนักค้ารายย่อย

-การศึกษาเพื่อพัฒนาและลดข้อปัญหาในด้านความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อจัดการปัญหาชายแดน (นโยบาย/กฎหมายที่สอดคล้องกันระหว่างประเทศไทย และประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ความรุนแรงด้านโทษฐานครอบครอง ยาเสพติดของไทยและลาว ตัวอย่างกรณีกัญชา

-การศึกษาระบบการนำเข้า (แม่น้ำเป็นส่วนมาก....) การเคลื่อนย้ายและการตลาดสารเสพติดที่แพร่หลายในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น ยาบ้า กัญชา สารระเหย และยาบันเทิง เป็นต้น ทั้งนี้ ควรศึกษาครอบคลุมไปถึงความสัมพันธ์ระหว่างอุปทานของสารเสพติดแต่ละชนิดด้วย

-ศึกษาระบบการจำหน่ายแก่ผู้ใช้กลุ่มต่างๆ เช่น กลุ่มเยาวชน กลุ่มแรงงาน กลุ่มเคลื่อนย้าย กลุ่มข้ามชาติเป็นต้น รวมทั้งบริบทและการเข้าถึงสารเสพติด  เพื่อพัฒนามาตรการป้องกันและแก้ไข

-ศึกษาองค์ประกอบของสารเสพติด และราคาจำหน่าย ทั้งค้าส่ง และปลีกอย่างเป็นระบบตามพื้นที่ต่างๆ  เพื่อได้ความรู้ความเข้า

หมายเลขบันทึก: 407962เขียนเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2010 14:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 11:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท