แลกเปลี่ยนเรียนรู้ : การเพาะเมล็ดพันธุ์ข้าว (ตำบลนาบ่อคำ)


มีการจดบันทึกข้อมูลทั้งหมด ไว้เพื่อการเรียนรู้ของกลุ่มอย่างละเอียด

           ผมมีความก้าวหน้าของการปฏิบัติงาน ที่ได้นำกระบวนการวิจัย PAR มาปรับใช้ในกระบวนการส่งเสริมการเกษตร  วันนี้เป็นภาพกิจกรรมของกลุ่มฯบ้านหนองกอง ตำบลนาบ่อคำ อำเภอเมืองกำแพงเพชร  เป็นทีมนักวิจัยที่ได้ดำเนินการปฏิบัติตามแผนวิจัยที่ได้กำหนดไว้ 

                

 
ภาพการไปศึกษาดูงานจากคุณผดุง ที่อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร

 

          หลังการไปศึกษาดูงานที่จังหวัดพิจิตร เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน แล้ว    (ลิงค์อ่าน)   ก็ได้มาวางแผนและร่วมกันทำการนำความรู้ที่ได้รับมาปรับใช้ทันที่ ในวันที่ 20 มิถุนายน กลุ่มก็ได้ลงมือปฏิบัติ   แต่ได้คิดต่อเพื่อเปรียบเทียบการปฏิบัติ(สร้างองค์ความรู้ใหม่) แบ่งการทดสอบเพื่อการเรียนรู้ใว้ 3 วิธี คือ

  • แกะเมล็ดแล้วเพาะในกระถาง (ตามรูป)
  • ไม่แกะเมล็ดแล้วเพาะในกระถาง
  • แกะเมล็ดแล้วนำไปเพาะในแปลงนา

      ขณะนี้ข้าวมีอายุประมาณ 25 วัน และได้มีการจดบันทึกข้อมูลทั้งหมด ไว้เพื่อการเรียนรู้ของกลุ่มอย่างละเอียด ทั้งส่วนสูง การแตกกอ และการเจริญเติบโตโดยรวม ฯลฯ


กระถางการเพาะเมล็ดพันธุ์ข้าวของกลุ่มบ้านหนองกอง

          ความก้าวหน้าของการปฏิบัติตามแผนการวิจัยเป็นอย่างไร จะได้นำมาเสนอเพื่อการ ลปรร.ในบันทึกต่อๆ ไปนะครับ

วีรยุทธ  สมป่าสัก

หมายเลขบันทึก: 40764เขียนเมื่อ 25 กรกฎาคม 2006 11:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)
  • มีเทคนิคมากนะครับ ที่ข้าวขวัญก็ดี
  • ผมพบว่าชาวนาคือผู้ชำนาญมากที่สุด ตั้งใจว่าจะออกไปทำนาดีไหมครับ
  • ไม่อยากเป็นอาจารย์แล้วครับ
  • ระยะทางร้อยลี้ เริ่มต้นที่ก้าวแรก ครับ
  • รออ่านบันทึกการเปรียบเทียบต่อไปครับ
  • ขอบพระคุณมากครับ
  • ขอบพระคุณอาจารย์ขจิตด้วยครับ

                                  

  เป็นเทคนิคที่ดีมากเลยค่ะ

  ทำให้ชาวบ้านเป็นนักวิจัย

 

เรียน อาจารย์ขจิต

  • งานส่งเสริมการเกษตรหากเป็นไปในลักษณะของการ ลปรร.โดยเน้นการมีส่วนร่วมของเกษตรกร จะทำงานสนุกครับ
  • เป็นอาจารย์น่าจะสนุกนะครับ  แต่สำหรับพวกผมหากได้ทำงานในลักษณะนี้แล้วจะมีความสุขกว่าการทำงานตามสั่งครับ  เพราะเราได้มีส่วนในการออกแบบในการพัฒนาให้เหมาะสมกับบริบทของเราเอง

เรียน ผอ.บวร

     ขอบพระคุณมากครับที่คอยติดตาม  การนำPARมาใช้ในกระบวนการส่งเสริมการเกษตร เพิ่งเป็นจุดเริ่มต้น ก็ยังต้องพัฒนากันต่อไปทั้งตัวนักส่งเสริมฯและเกษตรกร เรียนนรู้ไปพร้อมกันครับ

เรียน คุณพิไล

     ขอบพระคุณมากครับ  ที่จริงชาวบ้านมีความสามารถเป็นนักวิจัยได้ และก็เป็นกันอยู่แล้ว เพียงแต่ยังไม่เชื่อมั่นเพราะคิดว่างานวิจัยนักวิชาการเท่านั้นที่จะทำได้  คงต้องค่อยๆ ติดอาวุธทางปัญญากันต่อไปนะครับ

  • งานสอนก็สนุกครับ
  • แต่ดูว่า งานพี่สิงห์ป่าสักสนุกกว่า ในสมัยที่อยู่เป็นครูที่ภาคเหนือกับการมาเป็นเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร แบบไหน สนุกกว่ากันครับ
           

เรียน อาจารย์ขจิต

  • งานครูอาสาก็สนุกครับผมชอบมาก ตอนนั้นยังไม่มีประสบการณ์ หากตอนนี้กลับไปทำคงทำอะไรได้มากๆ เลย
  • งานส่งเสริมการเกษตรเราได้ทำงานที่ท้าทายมากกว่า แม้จะทำตามภาระกิจ แต่ก็มีอิสระในทางความคิด(สร้างสรรค์)  เรียนรู้และเข้าใจสังคมมากขึ้นครับ

ดีมากๆ  เลยครับ เทคนิค PAR

เพราะว่าการส่งเสริมและพัฒนาจะติดกับชุมชนไม่เฉพาะตอนที่เราลงไปทำ แต่จะติดกับชุมชนตลอดไปครับ

เรียน  อาจารย์ปภังกร

  • PAR น่าจะเป็นกระบวนการหนึ่งที่เหมาะกับการนำมาปรับใช้ในงานส่งเสริมการเกษตร
  • จะเรียกว่า"ติดอาวุธทางปัญญา" น่าจะได้นะครับ ทั้งนักส่งเสริมและเกษตรกร

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท