พะติ จอนิ โอโดเชา ครูภูมิปัญญาไทย กับองค์ความรู้ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ


พะติ เป็นคำเรียกนำหน้าชื่อ มีความหมายว่า ลุง หรือลุงจอนิ
พะติจอนิ โอโดเชา เป็นชาวกะเหรี่ยง อยู่บ้านหนองเต่า ดอยแม่วาง
จังหวัดเชียงใหม่ ผมรู้จักเขาครั้งแรกสมัยเรียนปริญญาโท อาจารย์เชิญ
เขามาบรรยาย จากคำแนะนำของอาจารย์นั้นพบว่าเขานั้นได้รับเชิญ
ไปสอนปริญญาโท ปริญญาเอก หลายมหาวิทยาลัย ตอนนี้นึกต่อต้าน
อยู่ในใจว่า ทำไมเอาชาวบ้านที่จบแค่การศึกษาผู้ใหญ่มาสอนและด้วย
รูปลักษณ์ที่ใส่เสื้อชนเผ่า ดูโทรม ๆ มอซอ แต่เืมื่อได้ฟังเขาบรรยายแล้ว
องค์ความรู้ด้านการจัดการทรัพยากรนั้นพรั่งพรูออกมา ทำให้เกิดขนลุก
ว่ามีความลุ่มลึกเป็นอย่างมากแตกต่างจากรูปลักษณ์ภายนอก หลังจากที่
ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้การวิเคราะห์สังคม ทำให้รู้สึกนับถือท่านเป็นอย่างมาก   
และคิดว่าในประเทศไทยคนที่มีองค์ความรู้ลุ่มลึกและจบการศึกษา
พออ่านออกเขียนได้ แต่มีการศึกษาตลอดชีวิต อัดแน่นด้วยภูมิปัญญา
นั้นมีอยู่มากมาย

ประวัติของพะตีจอนิ โอโดเชา
เกิด 2 สิงหาคม 2489 ที่บ้านหนองเต่า ดอยแม่วาง
การศึกษา ไม่ได้รับการศึกษาในระบบ เรียนกศน.ระดับต้น
ผลงาน 
เริ่มอนุรักษ์ป่าตั้งแต่ปี 2516 ทำงานพัฒนาสังคมไปด้วย ทำธนาคารข้าว
สร้างกลุ่มอาชีพ จากงานที่ำทำ ทำให้เกิดการและเปลี่ยนเรียนรู้ และเริ่ม
ก่อรูปขององค์ความรู้ และมีโลกทัศน์ที่กว้างขึ้น ต่อมาได้รวบรวมเครือข่าย
ชาวไทยภูเขา 13 เผ่า ร่วมจัดทำแผนพัฒนาเพื่อดูแลรักษาป่าไม้ ทำเกษตร
เชิงอนุรักษ์ บวชป่า 50 ล้านต้น  จัดตั้งธนาคารข้าวร่วมกับเครือข่ายเกษตรกร
ภาคเหนือ 100 องค์กร ร่วมแก้ไขปัญหาที่ดินทำกิน จัดตั้งเครือข่ายอนุรักษ์
ลุ่มแม่น้ำวาง ร่วมกับโรงเรียนสร้างหลักสูตรท้องถิ่นเรียนรู้วิถีชีวิืตและภูมิปัญญา
ของชาวกะเหรี่ยง จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาไทย มีวิถีชีวิตเรียบง่ายทำเกษตร
แบบคนขี้เกียจ ได้รับรางวัลลูกโลกสีเขียว และครูภูมิปัญญาไทยรุ่นที่ 1

ส่วนการวิพากษ์การศึกษา เขาวิพากษ์นิ่ม ๆ ว่า

ระบบการศึกษาทำให้เด็กกะเหรี่ยงสูญเสียเอกลักษณ์ของตนเอง ไม่ภูมิใจ
ในตนเอง ครูเองก็ดูถูกภูมิปัญญาของกะเหรี่ยง เด็กจึงไม่ภูมิใจในตนเอง
พยายามจะหาทางออก ไปจากหมู่บ้าน ไปเรียนต่อสูง ๆ ไปหางานทำไม่ให้
ใครดูถูก แทนที่จะหาวิธีอยู่กับบ้าน และทำให้วิถีชีวิตของผู้คนดีขึ้นด้วยกัน

 

หมายเลขบันทึก: 407489เขียนเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2010 05:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 17:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

สวัสดีครับอาจารย์

เห็นชื่อพะตีจอนิจึงแวะเข้ามาอ่าน

อ่านไปอ่านมาจึงพบว่าเป็นศิษย์สำนักเดียวกันที่ กศน.มช.

แต่ไม่ทราบว่าใครเป็นศิษย์ผู้พี่ ศิษย์ผู้น้อง

ผมเรียนรหัส ๔๐ ภาคปกติครับ

แหะ แหะ ใช้เวลาเรียน ๕ ปี กะอีกหนึ่งซัมเมอร์ครับ...

ยินดีที่ได้พบในนี้ครับ

ชอบอ่านเรื่องพ่อหลวงพะตีจอนิ โอโดเชา นานมาแล้วครับ ชอบทุกเรื่องเกี่ยวกับชนเผ่า พอดีศึกษาเรื่อง ปกากะญอ เลยได้พบข้อมูล ขอบคุณครับที่เอามาฝาก

ครูภาทิพเคยติดตามเรื่องของเขาจากปราชญ์เดินดิน หรือคนค้นคน  ไม่แน่ใจนัก

 ทุกถ้อยที่แถลง  เขาคือปราชญ์จริง ๆ

ภูมิปัญญาท้องถิ่นคือครูที่ควรยกย่อง

หลายๆคน มีภูมิความรู้ที่น่าสนใจมากมาย

แต่หลายพื้นที่ไม่ได้เวทีให้ท่านทั้งหลาย

 

เคยดูเรื่องราวจากรายการ คนค้นคน นานมาแล้ว ประทับใจมาก คนที่ผ่านการทำงานมา ย่อมรู้งาน

มีปรัชญามากมายในวจีที่ท่านเอ่ย นี่คือ คนจริงๆครับ

พาตี จอนิ สู้สู้

นะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท