การเข้าไปใช้ชีวิตอีกแบบ..ในชุมชน


อบรมวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม Paticipatory action research
1-5 พฤศจิกายน 2553
จากการที่น้องอุบลรัตน์ ต้อยมาเมือง  ชักชวนให้เราได้เข้าไปอบรมที่สถาบัน RDI มหาวิทยาลัยขอนแก่นจัดขึ้น ซึ่งมี ศ นพ สุทธพันธ์ จิตพิมลมาศ เป็นผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา โดยผู้เข้าร่วมอบรมจะต้องมีความรู้พื้นฐานการวิจัยมาก่อน มีคนสนใจ มีผู้ถูกคัดจำนวน 32 คน

..

 เรา แก้ว เกดและอุบลรัตน์ ได้เข้าร่วมอบรม แต่มีประเด็นที่เราจะต้องเข้าไปนอนในชุมชน 2 คืน 3 วัน ตอนแรกก็คิดพอสมควร เพราะช่วงนี้อากาศเริ่มหนาวเย็น และเราจะต้องไปนอนบ้านชาวบ้าน เราจะทำยังไงดี เราก็เตรียมผ้าห่มและหมอนไปด้วย เพราะกลัวหนาว แต่พอเราไปถึงจริงๆ ไม่เหมือนที่คิด ผู้ใหญ่บ้านจัดให้เรานอนบ้านหลังเดียวกัน 8 คน  มีที่นอนและผ้าห่มอย่างอบอุ่น ในการไปครั้งนี้เรายังมีโอกาสเรียนรู้ร่วมกับบุคลากรในมหาวิทยาลัยขอนแก่น ต่างสาขา ทั้งคณะศึกษาศาสตร์ สัตวศาสตร์ เทคนิคการแพทย์ สาธารณสุขศาสตร์ และคณะแพทยศาสตร์  วิศวกรรม
ทั้ง อ เติ้ยม ถนอมวัลย์  อ จ๋ม อ นก อ ชัชวาลย์ อ กล้วยน้ำว้า แก้ว เกด อุ และมีเจ้าหน้าที่จาก RDI คือ น้องนกและ อ สุ
..
หลังจากอบรมทฤษฎี Day 1&2 แล้ว เราก็เข้าชุมชน Day 3-5

 

Day 3
วันแรกไปถึงนายก อบต มาต้อนรับ จากนั้นก็แยกย้ายกันเข้าหมู่บ้าน พวกเราได้อยู่ในหมู่บ้านยางคำ หมู่ที่ 1 มีท่านผู้ใหญ่มัธยัสย์ เป็นผู้ใหญ่บ้าน รองผู้ใหญ่บ้าน คือ รองอ๋อย เป็นผู้หญิง คล่องแคล่ว ว่องไวและเก่งในการบริหารจัดการ ภรรยาผู้ใหญ่ฯ จะทำอาหารให้พวกเรากินอย่างเอร็ดอร่อยทุกมื้อ ส้มตำ ปลาทอด ไก่ทอด ต้มปลา หมกปลาซิว ดักแด้ ฯลฯ

ท่าน ส อบต มาต้อนรับ

 

บ้านพักของพวกเรา

 

เราไปถึงหมู่บ้าน เราก็แนะนำตัว ทำความรู้จักกัน ท่าน ส อบต เป็นผู้บอกเล่าเรื่องราวและแนะนำหมูบ้านให้เราฟังก่อน จากนั้นเราขอเริ่มเดินสำรวจหมู่บ้าน หมู่บ้านนี้ค่อนข้างทันสมัย มีการปลูกผัก สวนครัว ปลูกถั่วขอ ทำหน่อไม้ไว้กิน มีการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม มีประปาหมู่บ้าน 

 

 

 

เราสำรวจจนได้ข้อมูลพอสมควรแล้ว กลับมาทานอาหารกลางวัน อาหารพิเศษของเรามื้อแรกค่ะ

 

ส้มตำ

ดักแด้

 

Day 4

เราเดินสำรวจชุมชนอีก เพื่อเก็บข้อมูลและประเด็น สิ่งแวดล้อม

 

 

 

กล้วยร้อยหวี

 

 

เราก็ขอไปเยี่ยมโรงเรียนประถมบ้านยางคำด้วย แล้วมาวางแผนงานร่วมกับนักวิจัยชาวบ้าน 7 คน

นักวิจัยชุมชน ผู้ใหญ่มัธยัสย์ อสม ลุงจันทร์ ฯลฯ

 

 

เราพูดคุยกัน ...ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ  สุขภาพ การศึกษา ทรัพยากรสิ่งแวดล้อม สังคมวัฒนธรรม การเมือง การปกครองและเรื่องเด็กและเยาวชน

 

ตอนกลางคืน เราก็มาคุยกันต่อกับนักวิจัยชุมชน ถึงความสุข ความทุกข์ของชุมชนทั้งในอดีต ปัจจุบันและอนาคต

 

 

จากนั้นเราและนักวิจัยชุมชนว่า ช่วยกันเลือกประเด็นที่สำคัญ 3 ประเด็นที่จะนำมาพัฒนาก่อน
ชาวบ้านคิดว่า
ถ้าการศึกษาของเยาวชนดี จะทำให้การพัฒนาสิ่งอื่นๆตามมา ดังนั้นจึงอยากฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมดีดีในอดีตกลับคืนมาและการดูแลสิ่งแวดล้อมให่น่าอยู่

 

เราไปดูถังประปาหมู่บ้าน

ไป รพ คุยกับบุคลากร สาธารณสุข

 

จากปัญหาที่พบ คือเยาวชนบางส่วนดื้อ เด็กขับรถซิ่ง ตีกัน ตั้งครรภ์ในวัยเรียน จุดแข็งของหมู่บ้าน คือ มีปราชญ์พื้นบ้าน มีการร้องสรภัญญะ การมีจักสาน การทำผ้าไหม มีพื้นที่สวยงาม มีโรงเรียนมัธยมที่มีความสวยงาม มีสวนมุนไพร   จึงอยากให้โรงเรียนได้เรียนรู้ร่วมกับชุมชน อนุรักษ์ภูมิปัญญาชาวบ้าน ส่วนปัญหาสุขภาพคือ การป่วยด้วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง มะเร็งท่อน้ำดี มะเร็งลำไส้ และอื่นๆ

 

วันรุ่งขึ้น Day 4
เราจึงตามไปเยี่ยมโรงเรียนมัธยม เพื่อลองดูพื้นที่ และคุยกับผู้อำนวยการโรงเรียน พื้นที่โดยรอบกำลังพัฒนา ปรับพื้นที่เพื่อเตรียมปลูกไร่ทานตะวัน มองเห็นภูเขา บางส่วนมีโขดหินใหญ่

 

สวนสมุนไพร

พื้นที่ ที่จะปลูกไร่ทานตะวัน

จากนั้นกลับไปเยี่ยมโรงเรียนยางคำอีกครั้งเพื่อคุยกับเยาวชน
เด็กหลายคนฝันที่จะเป็นครู เพราะรักครูละออ บางคนอยากเป็นหมอ อยากเป็นแอร์โฮสเตต

 

 

 

ตอนกลางคืน เรามาวางแผนกิจกรรมร่วมกันอีกครั้ง

 

 

Day 5
จากโครงการ อสม น้อย เราจึงอยากคุยกับกลุ่ม อสมและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอีกครั้ง เราก็เชิญมาคุยกันในตอนเช้า
อสม มี 16 คน รับผิดชอบดูแลบ้าน 7-10 หลัง ได้ตอบแทนเดือนละ 600 บาท ทำงานมานานกว่า 10 ปี แล้ว รับผิดชอบดูแลและแนะนำเรื่องการกินให้ถูกสุขอนามัย วัดความดันโลหิต ตรวจน้ำตาลปลายนิ้ว คนป่วยเบาหวาน แนะนำหญิงหลังคลอด การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
การทำงานของบุคลากรสาธารณสุข ดูแลผู้ป่วยเรื้อรังในชุมชน มีการคัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิต มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก แต่การตายของชุมชน จะตายด้วยมะเร็งท่อน้ำดี แต่ยังไม่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินปลาร้าดิบได้ ชาวบ้านยังกิน 70% ส่วนที่กินสุก 30% ยังปรับเปลี่ยนยาก
คุณบุญถนอม คงอุ่น บอกเราว่า
คิดว่าอยากทำโครงการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังของมะเร็งทุกระบบ วัณโรค ข้อเสื่อม เบาหวานและความดัน เราจึงคิดว่าเป็นประเด็นที่น่าสนใจที่จะงานร่วมกัน

 

คุณบุญถนอม เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ที่มาคุยกับเรา

 

ได้ข้อมูลครบถ้วน เราทั้ง 4 หมู่บ้าน มาพบกันที่ อบต เพื่อนำเสนอก่อนกลับมาที่ RDI เพื่อสรุปประเมินผลและรับวุฒิบัตร
สิ่งที่ได้
  • การวิจัยแบบ PAR
  • การค้นหาประเด็นวิจัยในชุมชน
  • ความเอื้อเฟื้อ ความเป็นมิตรของชาวบ้าน ความเป็นผู้นำของผู้นำในชุมชน
  • ความเอื้อเฟื้อของแหล่งเรียนรู้ ความเข้าถึงง่าย ไม่มีพิธีรีตอง
  • การลงพื้นที่ การสัมภาษณ์

 

จบการอบรม

แก้ว บันทึก 6 พฤศจิกายน 2553

 

 

หมายเลขบันทึก: 406767เขียนเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2010 10:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 12:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

รับวุฒิบัตรการอบรม การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม Participatory Action Research จาก RDI

 

ดูภาพเพิ่มเติมได้ค่ะ

PAR

  • สวัสดีครับพี่แก้ว
  • มาติดตามเรียนรู้ กับพี่ๆ คนเก่งครับ
  • แต่ละชุมชนจะมีทั้งจุดอ่อน จุดแข็ง ของตน แต่ลักษณะเด่น ของชุมชนในเมืองไทยเราแทบทุกที่ คือ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ของผู้คน
  • ปัญหาชุมชนแก้ได้ สำคัญต้องเกิดจากการมีส่วนร่วมจากคนในชุมชน ซึ่งมองเห็นว่าปัญหานั้นต้องได้รับการแก้ไข บางครั้งก็ได้จากการลงไปทำประชาคม ร่วมกับสมาชิกในชุมชน เพราะผู้ที่รู้ปัญหาดีที่สุดคือ คนในชุมชนนั่นเองครับ

Ico32

น้องชำนาญ

พี่ๆทำงานใน รพ มานาน จนเกือบจะไม่รู้ประเด็นปัญหาของชุมชน

เรามีโอกาสเข้าไปเรียนรู้มากมายในครั้งนี้

ทำให้เราเข้าใจว่า ทำไมโรคร้ายๆยังเกิดขึ้นมากมาย ถ้าเราไม่ป้องกันโรค เราที่อยู่ใน รพ คงจะรับมือไม่ไหวค่ะ

สวัสดีวันหยุดค่ะIco32

  •  เมื่อเข้าไปสัมผัสจริงๆเราจะได้อะไรที่ ต้องคิดต่อ อีกเยอะค่ะพี่แก้ว
  •  สุขสันต์วันหยุดค่ะ
  •  ดูแลสุขภาพด้วยนะคะ
  • รักและห่วงใยค่ะ
  •  มาเรียนด้วยคนค่ะพี่แก้ว
  •  ขอบคุณในการแบ่งปัน หากขยายวงกว้างออกไป ชุมชนคงเข้มแข็งนะค่ะพี่แก้ว
  • ระลึกถึงพี่เสมอ

คุณยาย

พี่แก้วคิดต่อได้หลายเรื่อง อย่างน้อยก็ช่วยคนใกล้เคียงกับวิชาชีพเรา คือ ด้านสุขภาพ

อยากร่วมมือกับรพ ในชุมชน เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของชาวบ้านในบางสิ่งและคงไว้เรื่องการกินที่ถูกสุขอนามัยที่ดีของชุมชน

คุณอุ้มบุญคะ

ดีใจที่มาทักทายค่ะ

การทำ R2R ใน รพ แล้วเชื่อมโยงกับชุมชนในการวางแผนให้ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองที่บ้านได้ ก็จะลดการกลับเข้ามาใน รพ อีกก็ได้นะคะ

กลับเข้ามา  อ่านงานวิจัยแบบ PAR ครั้ง ✿อุ้มบุญ✿ สนใจ

แหมได้ไอเดียเลยนะค่ะพี่แก้ว

เชื่อแล้วค่ะว่าได้ฟังผู้รู้มีปัญญาเพียงเวลาแค่งูแลบลิ้น ก็ก่อให้เกิดปัญญาได้

ขอบพระคุณคำชี้แนะดีดี อีกครั้งค่ะพี่แก้ว

จะเริ่มแบบไหนดีค่ะพี่แก้ว....................

พี่แก้วครับ มาเชียร์ๆๆเลย ได้ลงชุมชน ได้เรียนรู้ รอดูพี่แก้วปลูกมันด้วยครับ ฮ่าๆๆ

Ico32

เราอาจวิเคราะห์ปัญหาในโรงพยาบาลนั่นแหละค่ะ ว่าปัญหาอะไรที่ทำให้ผู้ป่วยกลับเข้ารักษามากที่สุด แล้วเราก็ทำวิจัย PAR โดยให้คนไข้เรามีส่วนร่วมในการวางแผนการดูแลตนเองเมื่อกลับไปอยู่ที่บ้าน แล้วเขียนข้อควรปฏิบัติร่วมกัน จากนั้นเราไปติดตามดูที่บ้านเพื่อวางแผนว่า เขาจะทำได้ไหมตามบริบทที่คิดว่าจะทำค่ะ

พี่คิดไป เขียนไป พี่ก็ปิ๊งไปด้วยนะ

Ico32

รอดูหัวมันเทศพี่นะ ถ้าทากมันไม่มากินเสียก่อน

ชาวบ้านบอกให้พี่หาปูนขาวมาโรย

  • กลับมาเรียนเพิ่ม  เยี่ยมไปเลยค่ะพี่แก้ว  พอเข้าใจแล้วพี่  น่าสนุกนะคะ  ✿อุ้มบุญ✿ จะลองดู เชียร์น้องๆที่ Ward ทำ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท