สถานการณ์ปัญหาเด็กติดเกม


ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมของนักเรียน

จากสำรวจสถานการณ์ปัญหาเด็กติดเกมออนไลน์ในกรุงเทพฯ (จุฬาสัมพันธ์ ปีที่ 53 ฉบับที่ 35วันจันทร์ที่ 4 ตุลาคม 2553) เกือบ 30% เข้าข่ายเสพติด ส่งผลเสียต่อการเรียนและสุขภาพ  "อินเทอร์เน็ต" เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่มีการเชื่อมโยงกันไปทั่วโลก ปัจจุบันมีนำมาประยุกต์ใช้ประโยชน์อย่างหลากหลายและกว้างขวาง อาทิ ไปรษณีย์ อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) การสืบค้นข้อมูล การซื้อขายสินค้าออนไลน์ การเล่นเกม คอมพิวเตอร์ออนไลน์ การประชุมทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ต (Video Conference) ฯลฯ แต่ในขณะเดียวกันอินเทอร์เน็ตก็สามารถก่อให้เกิดปัญหาได้เช่นกัน หากมีการนำไปใช้ ในทางที่ผิดหรือใช้อย่างไม่เหมาะสม อาทิ ปัญหาการล่อลวงทางอินเทอร์เน็ต ปัญหาเด็กและ เยาวชนลอกเลียนพฤติกรรมจากเกมออนไลน์ ปัญหาการเสพติดเกมออนไลน์ เป็นต้น  ผู้เสพติดเกมส่วนใหญ่จะเล่น 5 - 7 วันต่อสัปดาห์ โดยในช่วงปิดเทอมมีถึงร้อยละ 82.4 และช่วงเปิดเทอม มีร้อยละ 70.2 โดยเหตุผลในการเล่นเกมของผู้เสพติดส่วนใหญ่ร้อยละ 56.6 เล่นเพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลิน ร้อยละ 17.3 เพื่อ คลายเครียดจากการเรียน รองลงมาคือเพื่อแก้เหงา ต้องการรู้จักเพื่อนใหม่ เพื่อพัฒนาทักษะทางคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ได้รับการยอมรับ เล่นการพนัน และอื่นๆ สำหรับผลกระทบในด้านลบที่เกิดจากการเล่นเกมออนไลน์ ได้แก่ ไม่มีเวลาทบทวนบทเรียน ผลการเรียนลดลง สุขภาพ เสื่อมโทรม มีปัญหาทางสายตาเนื่องจากใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน มีอารมณ์ก้าวร้าวรุนแรงมากขึ้น และมีการพูดโกหก เป็นต้น ส่วนผลในด้านบวกคือ ช่วยให้สามารถพิมพ์คอมพิวเตอร์ได้เร็วขึ้น รู้ศัพท์ภาษาอังกฤษมากขึ้น ได้รู้จักเพื่อนใหม่ และทำให้คลายเหงา เป็นต้น

             จากที่ได้อ่านรายงานข้างต้นแล้ว ข้าพเจ้าเห็นว่า การติดเกมออนไลน์ ไม่มีเฉพาะในกรุงเทพฯหรือเขตปริมณฑลเท่านั้น ในต่างจังหวัด ก็ไม่น้อยหน้าเช่น กันที่เห็นชัดเจนก็จะเป็นในหมู่ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ฯ ซึ่งส่งผลกระทบต่อทั้งพฤติกรรมของนักเรียน ปัญหาครอบครัวของนักเรียน และปัญหาในสังคมโรงเรียนด้วย เนื่องจากการที่นักเรียนหนีเรียนไปอยู่ที่ร้านเกมปัญหาการลักขโมยเงินของผู้ปกครองเพื่อไปเล่น และปัญหาสุขภาพสุขภาพจิต ดังนั้นผู้มีส่วนได้เสียทั้งหลาย ทั้งพ่อแม่ผู้ปกครอง ครูอาจารย์ และชุมชน ควรมีการกำกับดูแลนักเรียนเหล่านี้ อย่างใกล้ชิด อย่าให้ขาดความอบอุ่น และใช้เวลาว่างไปในทางที่ไม่ถูกไม่ควร.

 

หมายเลขบันทึก: 406592เขียนเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2010 07:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 23:58 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ตามติด ตามแก้มาหลายปี แก้ไม่ทันสักที น่าเหนื่อยเน๊าะ

โลกออนไลน์ ยิ่งก้าวไกล หากทุกแขนงไม่ร่วมมือแก้ไข สถานการณ์ก็คงเลวร้าย ในส่วนที่ผมมีเกี่ยวข้องก็คอยกำกับดูแล สอนคอมพิวเตอร์ ควบคุมการเล่นบ้าง

จริง ๆ แล้ว ก็คือ การให้ความสำคัญกับเด็กในความรับผิดชอบ ถ้าอยู่ที่โรงเรียนก็เป็นหน้าที่ของครู ถ้าเป็นที่บ้านก็เป็นหน้าที่ของพ่อแม่ผู้ปกครอง สิ่งแวดล้อม เพื่อนมีอิทธิผลต่อเด็กตามช่วงวัย ในความเห็นของข้าพเจ้าคิดว่า การอบรมเลี้ยงดู เอาใจใส่ตามบทบาทและหน้าที่ของแต่ละคน ไม่น่าทำให้เด็กมีพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ได้ ถึงมีก็เป็นตามช่วงวัยและพัฒนาการ ถ้าได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างถูกวิธีแก้ได้ ยกเว้นว่าผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหลายผลักภาระการดูแลเรื่องนี้ไปให้เป็นความผิดของเด็ก เด็กก็คือเด็กเมื่อเด็กปัญหา นั่นแหละคือหน้าที่ของผู้ใหญ่ต้องช่วยกันแก้ไข..อย่าปล่อยทิ้งไว้ในเป็นปัญหาสังคมเลยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท