วิเคราะห์ subject และ object เปรียบเทียบระหว่างการศึกษาทั่วไป กับการศึกษาตลอดชีวิต


การศึกษาตลอดชีวิต ให้อำนาจผู้เรียนเป็น subjective knowledge

subject และ object ที่จะวิเคราะห์ต่อไปนี้เป็นแนวคิด
มาจากแนวคิดของการวิเคราะห์อำนาจของความรู้โดย
foucault โดย subject หมายถึง การเป็นองค์ประธาน
ในการสร้างความรู้ เป็นผู้รู้ กูรู เป็นผู้กระทำในความรู้
ส่วน object นั้นหมายถึง เป็นแค่วัตถุ หรือผู้ถูกกระทำ
โดยความรู้ เป็นผู้ถูกกำหนด ผู้ถูกกีดกันไปสู่ชายขอบ
โดยวาทกรรมเหล่านี้มีรากฐานของความคิดมาจาก
ความเป็นสากล และตัวตนที่ทรงภูมิปัญญา ตามแบบ
การครอบครองความเป็นเ้จ้าตามแนวของยุคคลาสสิค
ทันสมัย

เมื่อวิเคราะห์ถึงการศึกษาโดยทั่ว ๆ ไปจะพบว่าการเป็น
subject ของระบบการศึกษาอยู่ที่ไหน คำตอบก็คืออำนาจ
ในการสร้างความรู้อยู่ที่ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการศึกษา
ยุคคลาสสิค เพราะเขาเหล่านั้นมีอำนาจ มีสิทธิที่จะพูด
เขียน และกระทำอย่างได อย่างหนึ่ง อย่างชอบธรรม โดย
เฉพาะการตัดสิน โง่/ฉลาด ได้มาตรฐาน/ไม่ได้มาตรฐาน
คุณภาพ/ไร้คุณภาพ ส่วน object ที่ถูกกีดกันไปสู่ชายขอบ
โดยได้แกุ่ชุมชนท้องถิ่น ผู้เรียนรู้ที่มีความหลากหลาย

ส่วนการศึกษาตลอดชีวิต เปิดโอกาสให้ผู้เรียน ชุมชนท้องถิ่น
ได้เป็น subject ในการสร้างองค์ความรู้ต่าง ๆ ด้วยตนเอง
เพื่อสร้างความรู้ในแนวทางที่แตกต่างกัน อย่างหลากหลาย
ผ่านแหล่งเีรียนรู้ที่หลากหลาย แม้ว่าจะเป็นชาวบ้านธรรมดา
ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ ก็สามารถสร้างความรู้ได้ตลอดชีวิต 

ดังนั้นความแตกต่างของการศึกษาสองระบบนั้นแยกขาดจากกัน
จะเชื่อมต่อได้ก็เพียงแต่ post education ก็คือ การเีรียนรู้หลังจาก
ห้องเรียน ที่มีคำถามที่น่าสนใจเรียนรู้ คำถามสำคัญก็คือ คุณคิดว่า
อย่างไร จะทำอะไรต่อไป ดังนั้น post education จึงสำคัญกว่า
การท่องจำองค์ความรู้ตามปกติ และเป็นการต่อยอดทางญาณวิทยา
ที่ทำให้ ผู้เรียนรู้เป็นองค์ประธานหรือ subject ได้ และลองคิดดู
หากมีผู้ที่สนใจเรียนรู้ด้วยตนเอง เราก็จะเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้
อย่างแท้จริง การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ก็จะก้าวหน้าในอัตราเร่ง

 

หมายเลขบันทึก: 406390เขียนเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2010 06:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 14:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

อรุณสวัสดิ์ค่ะท่านผอ. มาอ่านความรู้ เรียนรุ้นอกห้องเรียน ทุกองค์ความรู้ล้วนมีคุณค่า อย่าไปยึดติดแค่เพียงใบปริญญา ขอบพระคุณค่ะ

มนุษย์ เป็นทุนที่เรามีอยู่ เราช่วยกันพัฒนามนุษย์ เพื่อความเจริญในภาคส่วนต่อไป

ครูอ้อย ไปดูงานที่ต่างประเทส พบว่า พลเมืองของเขามีวินัย ขยัน ซื่อสัตย์ เขาจึงก้าวหน้า ใช่ไหมคะ

เคยเป็นครูประจำกลุ่ม กศน.ก็มีแนวคิดคล้ายๆกับท่านครับ

โรงเรียนพยายามที่จะให้เป็นแต่ผู้สอนก็ยังเน้น ตัวที่สองครับ

ระบบการศึกษาทั่วโลกยังอยู่ที่การรวมศูนย์จากหลักสูตร ซึ่งการเรียนอะไรก็ตามมันเป็นการกำหนดมาจากผู้ผลิตองค์ความรู้นั่นคือสถาบันการศึกษา แต่ถ้าเรามองดูดีๆแล้วสถาบันก็ทำหน้าที่เป็นยุ้งฉางความรู้ที่รวมเอาความรู้ไว้แล้วอย่างมีระบบ สามารถผลิตซ้ำ ส่งต่อ ได้อย่างเหมือนเดิมจากเวลาหนึ่งสู่เวลาหนึ่ง หรือคนรุ่นหนึ่งสู่รุ่นหนึ่ง และในขณะเดียวกันก็ยังมีความรู้ใหม่ๆที่สถาบันเก็บไม่ทัน หรือ บางสาขาที่ไม่สามารถตอบโจทย์ปัญหาได้อย่างตรงประเด็น จึงเป็นการชะงักงันทางการเรียนรู้ ผู้คนจำต้องแสวงหาตวามรู้จากชุมชนที่ไม่ได้เป็นสถาบันการศึกษา

ผมชอบในแนวคิดที่ว่า post education คือการเรียนรู้หลังจากห้องเรียน เพราะว่าหลักสูตรที่จบออกไปจะเป็นดั่งเครื่องมือตอบปัญหาทางความต้องการ จึงต้องมาเข้าสถาบัน แต่ใช่ว่าสถาบันจะสามารถป้อนทุกอย่างได้ครบ การนำเอาเครื่องมือมาทดสอบความรู้หลังจบแล้วก็เป็นการย้อนกลับว่า สิ่งที่เราเรียนมาได้เรื่องได้ราวขนาดไหน

สัญชัย

ผมว่า Subject กับ Object  ค่อนข้างจะแยกออกจากกันลำบากครับ สำหรับวัฒนธรรมไทย   โดยเฉพาะ "ระบบราชการ"

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท