ความสัมพันธ์ระหว่างตัวเลข 13 กับ 19 และสัดส่วนทอง


แทง 13 ถึง 19 ผ่านสัดส่วนทอง ทะลุไปโดน dna

ความสัมพันธ์ระหว่างเลข 13 กับเลข 19 และสัดส่วนทอง phi

ตัวเลข 13 ถือเป็นเลขนำโชคร้ายสำหรับผู้นับถือศาสนาคริสต์เป็นอย่างยิ่ง ทุกๆ กิจกรรมจะพยายามหลีกเลี่ยงไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับเลขนี้ แต่สำหรับชาวซิกข์จะให้ความสำคัญกับตัวเลขนี้มาก ความหมายโดยทั่วไปๆ ของเลข 13 น่าจะหมายถึงการเปลี่ยนผ่านของวัยหนึ่งไปสู่อีกวัยหนึ่ง เช่น ก้าวจากวัยเด็กเข้าสู่วัยรุ่น  หรือความเชื่อโบราณของไทยที่เด็กจะมีแม่ซื้อคอยดูแลจนอายุครบสิบสองขวบ เป็นต้น

ส่วนเลข 19 คือเลขที่ผู้เชี่ยวชาญทางคัมภีร์กุรอานบอกว่าเป็นเลขพื้นฐานที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์เสมอๆ  

เป็นความบังเอิญหรือไม่เมื่อเรานำ 1.3x1.9 = 2.47  = 1.5716x1.5716 แล้วนำ 1.5716x2 = 3.1432  ซึ่งใกล้เคียงกับค่าพาย 3.14159….

เป็นความบังเอิญหรือไม่เมื่อเรานำ  13x13x13 = 2197 แล้วนำ 2x1x9x7 = 126  จากนั้นนำ 19x19x19 = 6859 แล้วนำ 6x8x5x9 = 2160 จะพบว่าผลบวกของตัวเลขในแต่ละคำตอบจะเท่ากันคือ 9  

หรือเมื่อเรานำ  2160x7 = 15120 = 126x120 แล้วนำ 15120/840 = 18 หรือ 9  เป็นตัวเลข 9 ที่เป็นส่วนหนึ่งของวงกลม 108 ส่วนนั่นเอง

เป็นความบังเอิญหรือไม่เมื่อ

                > นำ 13 x phi 1.618 เพื่อจัดลำดับฟีโบนาชีซักห้าลำดับเพิ่มขึ้น จะได้  

                             13 - 21 - 34 - 55 - 89

                > นำ 19x4 = 76 แล้วนำ 89-76 จะได้เท่ากับ 13

เป็นความบังเอิญหรือไม่เมื่อ

                > นำ 76 / phi 1.618 เพื่อจัดลำดับฟีโบนาชีห้าลำดับลดลง จะได้

                             11 - 18 - 29 - 47 - 76

                > นำชุดลำดับ 13 และ 76 มาตั้งเป็นสองแถวแล้วลบกันแบบนี้

                             76 - 55 = 21          

                             47 - 34 = 13

                             29 - 21 = 8

                             18 - 13 = 5

                > จะเห็นว่าเกิดชุดลำดับฟีโบนาชีของตัวเลข 13 ซ้ำขึ้นมาอีกแถวหนึ่งโดยเหลื่อมกันอยู่สองแถวไปเรื่อยๆ ดังนี้

                             89      34

                             55      21

                             34      13                                           

                             21      8                

                             13      5

เป็นความบังเอิญหรือไม่ว่ารูปแบบช่างคล้ายกับการพันเกลียวกันของ b-dna ซึ่งเรารู้กันว่าพันเกลียวกันแบบสัดส่วนทองโดยมีความยาวของหนึ่งเกลียวเท่ากับ 34  ส่วน major groove เท่ากับ 21 และ minor groove เท่ากับ 13 

ถ้าเราใช้รูปแบบของการเข้าคู่และหักลบกันของชุดตัวเลข 13 และ 76 ดังข้างต้นก็จะได้รูปแบบการซิกแซกกลับไปกลับมาของ 13 – 21 – 34 เป็นสายเรื่อยๆ

เป็นความบังเอิญหรือไม่ว่าการไล่ชุดตัวเลข 13 ไปทางมากขึ้นเพื่อให้ได้ตัวเลข 89 จึงสามารถที่จะลบกับ 76 แล้วเท่ากับ 13 ซึ่งจะประกอบไปด้วยตัวเลขเท่ากับห้าจำนวนคือ 13-21-34-55-89 หรือเท่ากับจำนวนครึ่งหนึ่งของคู่เบสในหนึ่งเกลียวของ b-dna

และเป็นความบังเอิญหรือไม่ว่าต้องคูณ 19 ด้วย 4 เพื่อให้ได้ 76 ในขณะที่ 4 เท่ากับจำนวนเบสทั้งสี่ตัวที่ประกอบกันเป็น dna  

สุดท้ายใช่หรือไม่ว่าความรู้และเข้าใจเรื่องราวเหล่านี้ได้มีมานานแล้ว ไม่ได้พึ่งจะเกิดการค้นพบโดยคนสมัยใหม่ พวกเราเพียงแต่อาจค้นเจอหนังสือเก่าเล่มหนึ่งเท่านั้น

 

สุพัฒน์  เจริญสรรพพืช

วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน  2553

คำสำคัญ (Tags): #13#19#dna#phi
หมายเลขบันทึก: 406318เขียนเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2010 19:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2014 15:42 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท