ESR คืออะไร


สาระน่ารู้ของ ESR

 

Erythrocyte sedimentation rate- ESR มีหลักการอย่างไร มีข้อบ่งชี้อย่างไร แปลผลอย่างไร มีข้อควรพิจารณาอย่างไร

หลักการ: เมื่อมีการอักเสบในร่างกาย ตับจะเกิดปฏิกิริยาโดยการสร้างสารโปรตีนชนิดหนึ่งออกมาในเลือดมากขึ้น สารโปรตีนนี้จะมีผลทำให้เม็ดเลือดแดงเกิดการเกาะติดกันได้ง่าย หากเจาะเลือดของผู้ป่วยที่มีการอักเสบใส่หลอดที่มีสารป้องกันการแข็งตัว แล้วตั้งทิ้งไว้สักพัก ก็จะเห็นว่ามีการแยกชั้นของส่วนที่เป็นเลือดและส่วนที่เป็นน้ำเหลืองในเวลา ไม่นาน ทั้งนี้เพราะสารโปรตีนนี้จะทำให้เม็ดเลือดแดงเกิดเกาะติดกัน แล้วก็พากันไปตกตะกอนอยู่ที่ก้นหลอดนั่นเอง ค่าของ ESR ก็คือระยะทางเป็นมิลลิเมตรที่เม็ดเลือดแดงตกตะกอนลงมาอยู่ที่ก้นหลอดแก้วในเวลา 1 ชั่วโมง ยิ่งค่าของ ESR สูงก็ยิ่งแสดงว่ามีการอักเสบมาก


>>ใช้หลักการตกตะกอน โดยเลือดนั้นประกอบด้วย Plasma และ Cell, Cell มักมี RBC มาก โดย RBC มีพื้นผิวประจุเป็นลบ, ใน Plasma มี Fibrinogen และ อื่น ๆ [เดาว่า Fibrinogen และ อื่น ๆ(Acute phase Reactant) นั้น น่าจะมีประจุเป็นบวก] จึงทำให้ RBCs ทั้งหลายนั้นมาเกาะกันมากขึ้นเป็น rouleaux ทำให้ตกตะกอนง่ายขึ้นเพราะมวลมาก [ตกตะกอนเร็วค่า ESR มากเพราะ ESR มีหน่วยเป็น mm/hr]


ข้อบ่งชี้
>>จากหลักการดังกล่าว ESR จึงใช้วัดสิ่งที่เปลี่ยนแปลงในเลือด โดยเฉพาะ Plasma ซึ่งอาจจะมีสารบางอย่างเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม [เน้นว่าในด้านปริมาณ] ทำให้เลือดตกตะกอนเร็วขึ้น สารที่ว่านั้น หลัก ๆ คือ Fibrinogen และ Acute phase reactant อื่น ๆ (รวม ImmunoGlobulin ด้วย)ซึ่งสารพวกนี้เกิดขึ้นมาจาก กระบวนการ Inflammation นั่นเอง  ESR จึงใช้วัด อะไร ต่าง ๆ ที่ทำให้เกิด InFlammation ได้อย่างคร่าว ๆ

แพทย์ จึงใช้ค่า ESR ในการติดตามผลการรักษาว่าดีขึ้นหรือไม่ ค่า ESR มีการแปรผันมาก ค่าจะเปลี่ยนแปรไปตามอายุ เพศ ยาที่ใช้ และโรคประจำตัวที่เป็นอยู่ โดยทั่วไปค่าสูงสุดในคนปกติ
-ในชาย = อายุเป็นปี หารด้วย 2
-ในหญิง = อายุเป็นปี + 10 แล้วหารด้วย 2
นั่นคือค่า ESR ของผู้หญิงจะสูงกว่าของผู้ชายในวัยเดียวกันเล็กน้อย

แปลผล
>> ความแปรปรวนของ ESR มีหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการวัดค่าที่ได้ โดยเริ่มตั้งแต่
1. Cell โดยถ้า Cell[mainly RBCs] ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่จำนวน ขนาด รูปร่าง ก็มีผลต่อ ESR ทั้งนั้น เพราะ Net negative charge ของ RBCs เปลี่ยนไป
2. Plasma โดยถ้า มีการเปลี่ยนแปลงในระดับของ Fibrinogen, Acute phase Reactant, Ig ก็มีผลต่อ ESR เช่นเดียวกัน



ข้อบ่งชี้ในการส่งตรวจ :
1.) ตัวชี้วัด (Indicator) สำหรับ inflammatory diseases และ tissue injury
2.) เพื่อติดตามผลของการรักษาหรือการดำเนินโรคของ inflammatory diseases
ข้อควรพิจารณา
การ แปลผล ESR ควรทำด้วยความระมัดระวังเนื่องจากมีปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อการตกของเม็ดเลือดแดง เช่น อายุ เพศ ภาวะซีด ภาวะเลือดข้น เม็ดเลือดแดงมีขนาดหรือรูปร่างผิดปกติ การเกาะกลุ่มกันของเม็ดเลือดแดง (autoagglutination) การตั้งครรภ์ ระยะของรอบประจำเดือน การใช้ยาบางชนิด ฯลฯ
 - ESR เป็น Indirect measurement ต้องแปลผลร่วมกับ Clinical และอาจต้องวัด Acute phase reactant ตัวอื่น ร่วมด้วย เช่น CRP
 - ESR ที่สูงมาก[>100] มี DDX ไม่กี่โรค มักเกี่ยวกับโรค Autoimmune และ Chronic systemic inflamation, Ig disease ect.
 - ESR ในผู้หญิงค่าปกติสูงกว่าผู้ชายและสูงขึ้นตามอายุ ในคนท้อง ESR สูง คิดว่าน่าจะเกิดจาก RBCs mass เพิ่มมากขึ้น ??

                                                     สุดสวย lab

คำสำคัญ (Tags): #สุดสวย
หมายเลขบันทึก: 406244เขียนเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2010 14:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 22:37 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ยาวววววววววววววววววววววววววววววววววว จัง

และ ESR ก็ทำนานมั๊กมั๊กรอตั้ง 1 ชั่วโมง แต่ปัจจุบันนี้มีเครื่องอัตโนมัติแล้วนะใช้เวลาแค่ 15 นาทีเอง แต่ก็แพงอะนะ New Lab อิอิ

สีหวานๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
สงสารตาแ่ก่ๆ บ้างหนูแดงจ๋า/พี่ By Jan

นั่นนะซิ boss "สุดสวย Lab" คือใคร นิวมาทำ lab ทุกวัน ไม่เห็นเจอคนสวยสักที

ขออนุญาตเปลี่ยนอักษรให้ใหญ่ขึ้นค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท