ตรวจผลงานทางวิชาการเพื่อเลื่อนวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ


หนึ่งชีวิตที่ฉันมี......หนึ่งนาที......ที่รู้สึก............อย่าตัดสินชีวิตคนอื่นจากความไม่รู้ของตัวเอง

            ฉันรู้สึกขำและตลกที่สุด 555555555  เมื่อได้มีโอกาสได้อ่านข้อสังเกตบางประการของคุณครูท่านหนึ่ง  ที่อ่านแล้วเข้าใจอย่างคร่าวๆว่า งานที่นำเสนอไม่ถือว่าเป็นผลงานทางวิชาการหรือนวัตกรรม  ซึ่งทำให้ฉันสับสนมาก และคิดว่าทำไมผู้ประเมินถึงไม่สามารถแยกแยะได้ออกเลยหรือระหว่างคำว่า "ผลงานทางวิชาการ" กับ "นวัตกรรม" พร้อมทั้งชี้แจงให้ผู้ขอเข้าใจว่าประเภทผลงานทางวิชาการที่สามารถส่งเพื่อเลื่อนวิทยฐานะมีดังนี้
1. หนังสือ  2.ตำรา 3. เอกสารประกอบการสอน 4.เอกสารคำสอน 5.บทความทางวิชาการ 6.ผลงานวิจัย 7.รายงานการศึกษาค้นคว้า 8.สื่อการเรียนการสอน 9.รายงานโครงการต่างๆ  ฉันรู้สึกใจหายที่ผลงานทางวิชาการอีกมากมายหลายชิ้นมิได้ถูกกล่าวถึง เช่น นวัตกรรมการเรียนการสอน แบบฝึกประกอบการสอน  บทเรียนสำเร็จรูป  ชุดการสอน การศึกษาเด็กรายการณี การประเมินโครงการ เป็นต้น ซึ่งสิ่งที่กล่าวถึงทั้งหมดนี้ล้วนแต่มีองค์ประกอบและลักษณะเฉพาะในการจัดทำเป็นผลงานวิชาการทั้งสิ้น 
            และคำว่านวัตกรรมที่ผู้ประมินกล่าวอ้างโดยใช้คำพูดที่ว่า "นวัตกรรมที่ผู้ขอนำเสนอมา ควรจะเป็นแบบฝึก"  นี่คือภูมิรู้ของผู้ประเมิน  ส่วนตัวฉันมีความรู้ว่านวัตกรรมเป็นแค่เพียงผลงานทางวิชาการตัวหนึ่งเท่านั้น ซึ่งในรูปแบบของการสร้างหรือพัฒนานวัตกรรมก็มีองค์ประกอบและลักษณะเฉพาะของนวัตกรรมอยู่แล้ว ก็ไม่ต่างอะไรจากแบบฝึกที่มีองค์ประกอบและลักษณะเฉพาะเช่นกัน แต่ในความเหมือนกันของนวัตกรรมกับแบบฝึกก็คือทั้งสองอย่างคือผลงานทางวิชาการมิใช่หรือ  แต่แบบฝึกมิใช่นวัตกรรม และนวัตกรรมก็ไม่ใช่แบบฝึก  หรือว่าฉันกำลังเข้าใจผิดอย่างแรง
             หากผู้ประเมินตีความหมายของผลงานทางวิชาการไม่ออก และขาดความรอบรู้ถึงประเภทของผลงานทางวิชาการแล้ว ผู้ประเมินก็ไม่สามารถพิจารณาได้ว่าผลงานที่ครูผู้ขอนำเสนอมาคือชิ้นงานประเภทไหนแล้วมาตัดสินคุณค่าของผลงานชิ้นนั้นจากความเบาบางของข้อมูลความรู้ที่ได้สั่งสมไว้ในสมองนั้นด้วยคำว่า "ไม่ผ่าน" หรือ "ไม่รู้" กันแน่

            เฮ่อ.....!!!!!!  พอฉันอ่านข้อสังเกตบางประการจบทำให้สารแห่งความสุขในร่างกายของฉันทำงานทันที  เพราะฉันรู้สึกดีใจเป็นอย่างมากที่ยังมีอีกสามคนที่ยังไม่สามารถเข้าใจความหมายของคำว่า"ผลงานทางวิชาการ" กับ "นวัตกรรม" 

           สุดท้ายขอขอบพระคุณผู้ประเมินที่ทำให้ฉันรู้วิธีการ ไม่หาเขาใส่หัวได้อย่างชัดเจน และฉันก็จะไม่ทำอะไรอย่าง เขา เขา ลงไปแน่นอน...........!!!!!

           ทิ้งท้าย  ผลงานทาวิชาการ  หมายถึง  เอกสารหรือหลักฐานที่จัดทำขึ้นจากความรู้  ความสามารถ ทักษะและประสบการณ์ของผู้จัดทำ โดยการศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์  สังเคราะห์ วิจัย และได้นำไปใช้ในการแก้ปัญหา หรือพัฒนางานในหน้าที่จนเกิดผลดีต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและเป็นประโยชน์ต่อความก้าวหน้าทางวิชาการ

          นวัตกรรม  นวัตกรรมการศึกษา คือ แนวความคิดใหม่ วิธีการใหม่ รูปแบบแนวทางใหม่ ผลผลิตใหม่ ที่ได้รับการปรับเปลี่ยน ประยุกต์ พัฒนาหรือสร้างสรรค์ เมื่อนำมาใช้แล้วเกิดประโยชน์ต่อการศึกษา
                         นวัตกรรมการเรียนการสอน  แตกต่างจากนวัตกรรมการศึกษาเพียงนิดเดียวคือ เป็นวิธีการสอนใหม่ รูปแบบการสอนใหม่ และเมื่อนำมาใช้แล้วจะส่งผลให้การจัดการเรียนการสอนเกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
                    
 แหล่งความรู้ การพัฒนาผลงานทางวิชาการสู่การเลื่อนวิทยฐานะ  ดร.สุวิทย์ มูลคำ 
น. 14 , น. 37

หมายเลขบันทึก: 405085เขียนเมื่อ 28 ตุลาคม 2010 09:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 เมษายน 2012 20:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ได้อ่านข้อความของลูกสาวคนเล็กแล้วให้เกิดสะท้อนใจ หนาวอย่างจับขั้วหัวใจ ยิ่งกว่าอากาศในฤดูหนาวเสียอีก พระเจ้าช่วย !นี่มันอะไรกันหรือ ผู้ที่ได้รับการคัดกรองอย่างดีว่าเป็นผู้มีภูมิรู้ มีความสามารถ สามารถตรวจผลงานทางวิชการของผู้อื่น และชี้เป็นชี้ตายในผลงานได้ ถึงมองได้แค่ว่า ประเภทผลงานทางวิชาการที่สามารถส่งเพื่อเลื่อนวิทยฐานะมีดังนี้ 1. หนังสือ 2.ตำรา 3. เอกสารประกอบการสอน 4.เอกสารคำสอน 5.บทความทางวิชาการ 6.ผลงานวิจัย 7.รายงานการศึกษาค้นคว้า 8.สื่อการเรียนการสอน 9.รายงานโครงการต่างๆ   แต่ที่ศึกษามามีมากกว่านี้นะที่สามารถเป็นผลงานทางวิชาการได้  หรือว่าเราเข้าใจผิดกันล่ะนี่  แล้วนี่วงการศึกษาไทยจะได้นวัตกรรมอะไรที่แปลกใหม่ได้ล่ะนอกจากแบบฝึกที่มีอยู่มากมาย   อนิจจา! แล้วจะหาคำว่า ความคิดสร้างสรรค์ได้จากไหนกันเล่าหนอ   เหนื่อยใจมาก ๆจ้า 

ถ้าผู้ตรวจอ่านงานด้วยความไม่ใส่ใจ.......เขาก็จะย่ำอยู่กับที่จนสังคมจะเป็นสิ่งที่กลืนคนเหล่านี้ให้หมดไป แต่.....ไม่รู้ว่าใช้เวลานานสักเท่าไหร่ที่คนเหล่านั้นจะหมดไป สุดท้ายขอให่เรามีใจให้แข็งแรง ก็เป็นพอ....ให้กำลังใจกันต่อไปค่ะ

ให้กำลังใจคุณครูของหนูต่อไปและคุณครูท่านอื่นๆ เช่นกันนะคะ หนูเชื่อว่าครูหนูจะมาหาเขาใส่หัว แต่จะถอดเขาออกจากหัวของผู้ประเมิน

ที่ภูมิรู้น้อย ผ่านบทความนี้ :)

ห่างหายไปนาน...มีเวลาแล้ว กลับมาหวัดดีอีกครั้งค่ะ

เรามีความรู้สึกอย่างเดียวกันกับคุณลูกสาวคนเล็ก ถ้าผู้ตรวจผลงาน ไม่รู้หรือแยกไม่ออกว่าผลงานทางวิชาการมีอะไรบ้าง มันน่าขำตรงที่ว่าผู้ประเมิน ได้ให้ข้อสังเกตของผลงานทางวิชาการว่า รายงานการประเมินโครงการที่เกี่ยวกับการแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียน ไม่เป็นรูปแบบของนวัตกรรมทางการศึกษาที่แก้ปัญหาการเรียนการสอนทั้ง ๆ ที่ผลงานดังกล่าวได้นำไปเสนอในระดับเขตพื้นที่การศึกษาและได้รับรางวัลยอดเยี่ยมมาแล้ว ก่อนที่ผู้ประเมินจะตรวจผลงานเสร็จ มันน่าเศร้าใจตรงที่ว่าแยกไม่ออกว่านวัตกรรมคืออะไร รายงานการประเมินโครงการคืออะไร ไม่รู้ว่ารายงานการประเมินโครงการเป็นผลงานทางวิชาการที่สามารถส่งเพื่อขอเลื่อนวิทยะฐานะได้ สงสัยมีเขาอยู่บนหัวจริง ๆ ครั้งแรกที่ได้อ่านข้อสังเกตเกี่ยวกับผลงานทางวิชาการดิฉันตัวสั่น ใจสั่นด้วยความตกใจ รันทดใจ เศร้าใจ นี่หรือผู้ประเมิน ถ้าฉันเป็นผู้ประเมินดิฉันไม่กล้าเขียนข้อสังเกตอย่างที่ว่าลงไป เพราะนั่นมันหมายถึงตัวชี้วัดคุณภาพ ความรู้ ความสามารถของผู้ประเมินที่การันตีตัวเองว่าฉันเป็นผู้ประเมินฉันรู้จริง บอกได้อย่างไรว่ารายงานการประเมินโครงการไม่ใช่ผลงานทางวิชาการ ผลงานทางวิชาการคือการพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา นี่หรือวงการศึกษาของประเทศเรา

ในสภาพจริงการตรวจผลงานทางวิชาการปัจจุบีนในบางพื้นที่ได้กลายเป็นแหล่งธุรกิจ การเลือกผู้ตรวจก็คำนึงถึงพวกพ้องมากกว่าภูมิความรู้..จึงไม่แปลกเลยที่ครูมีวิทยฐานะเพิ่มขึ้นแต่ตรงกันข้ามเด็กมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนลดลงอย่างชัดเจน..คงถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยต้องปฏิรูปทั้งระบบ...สร้างเด้กรุ่นใหม่ให้มีจิตวิญญาณความเป็นครู..ครูรุ่นเก่าก็ต้องติดตามคุณภาพด้วย โดยเฉพาะผู้ที่ได้เลื่อนวิทยฐานะแล้ว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท