การเพิ่มมูลค่าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หรือข้าวโพดไร่


ข้าวโพดไร่ การเพิ่มมูลค่า จังหวัดลพบุรี

                    จังหวัดลพบุรีมีพืชเศรษฐกิจที่มีพื้นที่ในการปลูกและส่งออก ได้แก่ ข้าวโพด แหล่งการปลูกข้าวโพดในส่วนมากอยู่ที่จังหวัดลพบุรีและสระบุรี (สำนักงานพาณิชย์จังหวัดลพบุรี, 2552) ในจังหวัดลพบุรีเองมีพื้นที่การปลูกทุกอำเภอยกเว้นอำเภอท่าวุ้ง ซึ่งภาวะการตลาดที่มีแนวโน้มสูงขึ้นจากปีที่ผ่านมาเนื่องจากเกษตรกรลด พื้นที่การปลูกข้าวโพดไปปลูกพืชอื่นทดแทน เช่น อ้อยและมันสำปะหลัง โดยราคารับซื้อหน้าโรงงานอาหารสัตว์ข้าวโพดเบอร์ 2 ความชื้น 14.5 % เฉลี่ย กิโลกรัมละ 6.0 บาท เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่าน มาร้อยละ 16.76 (สำนักงานเกษตรจังหวัดลพบุรี, 2552) แนวโน้มงานวิจัยในประเทศไทยได้มีการแปรรูป ข้าวโพดในอุตสาหกรรม เช่น น้ำมันข้าวโพด เป็นน้ำมันที่สกัดจากเมล็ดข้าวโพดที่แก่และแห้งแล้วประกอบด้วยกรดไขมันไม่อิ่มตัวและมีกรดไขมันที่จำเป็น คือกรดไลโนเลอิกอยู่มาก  น้ำเชื่อมข้าวโพด (corn syrup) ได้จากการย่อยสลายแป้งข้าวโพดใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องดื่มและขนมหวานต่าง ๆ รวมถึงข้าวโพดฝักอ่อน บรรจุกระป๋อง ซึ่งมีหลายประเทศในยุโรป สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และฮ่องกง ที่ซื้อข้าวโพดอ่อนบรรจุกระป๋องจากประเทศไทยเป็นสินค้าส่งออกอีกชนิดหนึ่งที่สร้างรายได้ให้แก่ประเทศ โดยมีการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมและมีการลงทุนสูง ซึ่งทำให้ได้คุณภาพผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรฐาน

     

                 แต่การแปรรูปในข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เนื่องจากข้าวโพดเยงสัตว์มีเมล็ดที่แข็งและไม่หวาน ในส่วนอาหารของมนุษย์ยังมีอยู่น้อย เช่น การทุบเมล็ดให้แตกแล้วหุงต้มรับประทานหรือใช้แป้งข้าวโพดทำเป็นขนมปังโรตี แต่ยังไม่ได้มีการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยวมากนัก เพราะการแปรรูปจะอยู่ระดับภาคอุตสาหกรรมต้องใช้เงินลงทุนสูง ดังนั้นถ้าหากสามารถนำเทคโนโลยีที่มีอยู่ในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษา ซึ่งได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ขึ้นให้เหมาะสมกับเกษตรกร สามารถควบคุมการผลิตให้ได้มาตรฐานที่สม่ำเสมอได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลิตภัณฑ์ OTOP และพร้อมที่จะนำไปปฏิบัติ และลงทุนได้ในจังหวัดลพบุรี  ก็จะสามารถช่วยยกระดับมาตรฐานของสินค้า  และแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรได้

           ข้อมูลดังกล่าวจะเห็นว่าข้าวโพดสามารถแปรรูปได้ ซึ่งการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากข้าวโพดเป็นการเพิ่มมูลค่าให้แก่ข้าวโพดในจังหวัดลพบุรี โดยนำมาแปรรูปและใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการผลิต  เพื่อเพิ่มทางเลือกในการบริโภคให้แก่ผู้บริโภค ดังนั้นงานวิจัยนี้จะเป็นต้นแบบการสร้างผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายให้แก่เกษตรกร การใช้ประโยชน์ พร้อมรูปแบบการผลิต และแปรรูปที่เหมาะสม ส่งเสริมให้เกษตรกรใช้ในการประกอบอาชีพสู่เชิงพาณิชย์ต่อไป

         "หากเรากลับมามองดูการแปรรูปโดยนำข้าโพดเลี้ยงสัตว์หรือข้าวโพดไร่มาทำเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร เราสามารถ ทำได้ ติดตามตอนต่อไปค่ะ"         

                                        

  

 

 

หมายเลขบันทึก: 404671เขียนเมื่อ 26 ตุลาคม 2010 15:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 17:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

โอโห น้องหายไปนานมากๆๆ ที่บ้านจะเอาข้าวโพดไปเลี้ยงไก่ ประหยัดข้าวได้ดีทีเดียวครับ สอนยุ่งไหมครับเนี่ย...

สวัสดีคะ อาจารย์ ขจิต เปิดเทอมมางานก็ เยอะมากเลยคะ

ต้องขออภัยด้วยค่ะ ตอบช้าไปมาก คะ อาจารย์ สบายดีไหมคะ

 

ที่บ้านผมก็ปลูกข้าวโพด ปลูกเอง ตำเอง เอาไว้เลี้ยงไก่ครับ  

 

สวัสดีคะ คุณต้นกล้า น่าสนใจคะ แบบนี้ไข่ไก่คงสีสวยมาก

ผมเพิ่งมาลองทำข้าวโพดเลี้องสัตว์เมื่อ1ปี ที่ผ่านมาตอนแรกคิคว่าไม่มีอะไรยาก เหมือนการทำโรงงานแต่เมื่อลงมาสัมผัสแล้วทำไปไม่มีกำไร เพราะหัวสี(พ่อค้าคนกลางซื้อข้าวโพดแล้วนำมาสีเอาแต่เม็ด) มาขายในราคาสูง เมื่อไซโลจะไปขายโรงงานอาหารสัตว์ ก็จะถูกกดราคาไว้ ตัวที่กดราคาไม่ใช่ใคร เจ้าของทฤษฏี 2 สูง ที่รวยที่สุดในประเทศไง ค่าขนส่งก็สูง ตอนนี้อยากแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าแต่ไม่รู้จะทำไง ใครรู้ช่วยบอกที ขอบคุณ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท