สิทธ
นาย สิทธิชัย สิทธ ช่วยสงค์

การทัศนศึกษางานด้านยางพารา


การแปรรูปยางพารา

การทัศนศึกษาดูงาน 

หลักสูตร การแปรรูป และการซื้อขาย ผลผลิตยางพารา

วันอังคาร ที่ 14 กันยายน 2553 

ณ ศูนย์เรียนรู้และพัฒนาเกษตรกร ด้านยางพาราครบวงจร 

องค์การสวนยางพารา   กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 

...................................................

            ด้วยสำนักงานเกษตรจังหวัดสุราษฎร์ธานี  ได้ดำเนินการทัศนศึกษาดูงาน  หลักสูตร การแปรรูป และการซื้อ – ขาย ผลผลิตยางพารา   ณ ณ ศูนย์เรียนรู้และพัฒนาเกษตรกร ด้านยางพาราครบวงจร   องค์การสวนยางพารา   กระทรวงเกษตรและสหกรณ์  โดยมีเป้าหมาย 17 อำเภอ ๆ ละ2 -3 คน (ยกเว้น อ.เกาะสมุย  และเกาะพงัน)   

            สำนักงานเกษตรอำเภอกาญจนดิษฐ์  ได้เข้าร่วมทัศนศึกษาดูงาน  จำนวน 2  ราย ดังนี้ 

1. นายสิทธิชัย  ช่วยสงค์  นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ  (ผู้รับผิดชอบงานยางพารา) 

2. นายเชษฐ์  กันทะงิ่น  ตัวแทนกลุ่มผู้ผลิตยางพาราตำบลกรูด   อ.กาญจนดิษฐ์

เวลา 08.00 น.  เริ่มออกเดินทางจากสำนักงานเกษตรจังหวัดสุราษฏร์ธานี ไปยัง

ศูนย์เรียนรู้และพัฒนาเกษตรกร ด้านยางพาราครบวงจร อ.ช้างกลาง จ.นครศรีธรรมราช

ข้อมูลเบื้องต้น 

พื้นที่ องค์การสวนยางพารา (อสย.) 

     องค์การสวนยาพาราได้รับที่ดินเพื่อทำประโยชน์ จำนวน  41,800  ไร่  ได้แก่

  • ที่ดินอยู่ในหมู่ที่ 16 ต.ช้างกลาง อ.ช้างกลาง จ.นครศรีธรรมราช  จำนวน 10,200 ไร่  เป็นที่ดินตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดินในท้องที่   ต.ช้างกลาง อ.ช้างกลาง จ.นครศรีธรรมราช  พ.ศ. 2484
  • ที่ดินในตำบลกรุงยัน อ.ทุ่งใหญ่  จ.นครศรีธรรมราช  จำนวน 31,600 ไร่  เป็นที่ดินกรมป่าไม้มอบให้ทำประโยชน์ ตามมติคณะรัฐมนตรี

ผู้เข้าร่วมทัศนศึกษาดูงาน  เข้ารับการบรรยาย

สำนักงานและที่ตั้ง 

  • สำนักงานใหญ่  ตั้งอยู่หมู่ที่ 16  ต.ช้างกลาง อ.ช้างกลาง จ.นครศรีธรรมราช  โทรศัพท์ 0-7549-1570-2  โทรสาร 0-7549-1339, 0-7549-1343
  • สำนักงานกรุงเทพมหานคร  ตั้งอยู่ที่ 124/113  ถนนบางกอกน้อย – ตลิ่งชัน  กรุงเทพฯ โทรศัพท์ 0-2424-4259  โทรสาร 0-2433-6595
  • สำนักงานฝ่ายโรงงาน 2  และสำนักงานฝ่ายสวน 2,3  ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 3 ต.กรุงหยัน  อ.ทุ่งใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช

- ฝ่ายโรงงาน 2  โทรศัพท์ 0-7548-1470-3  โทรสาร  0-7548-1475

- ฝ่ายสวน 2, 3   โทรศัพท์ 0-7548-1474

ภารกิจหลักของสถานที่ดูงาน 

  1. ประกอบเกษตรกรรม  ซึ่งมีการทำสวนยางพารา เป็นสำคัญรวมทั้งการสร้างแปลงเพาะ และแปลงขยายพันธุ์ยางพารา
  2. ผลิตยางแผ่นรมควัน  ยางเครป  น้ำยางข้น  ยางผง  ยางแท่ง  ยางชนิดอื่นๆ และสารประกอบของยางพารา
  3. ประดิษฐ์หรือผลิตวัตถุจากยางพารา
  4. ประกอบการค้าและธุรกิจเกี่ยวกับผลิตผล  ผลิตภัณฑ์ และวัตถุพลอยได้ที่เกิดจากกิจการตาม ข้อ 1, 2, 3 และ 4 และเครื่องมือเครื่องใช้ เครื่องจักกล  และอุปกรณ์เกษตรกรรม
  5. อำนวยการบริการแก่รัฐ และประชาชนเกี่ยวกับยางพารา

วิสัยทัศน์ (Vision)

            องค์การสวนยางเป็นผู้นำด้านการผลิต และด้านธุรกิจยาง  ทำหน้าที่เป็นกลไกภาครัฐร่วมกับเครือข่ายเกษตรกร ในการรักษาเสถียรภาพการผลิตและราคายาง  และเพิ่มมูลค่ายางของประเทศ

ภารกิจ (Mission)

  1. ดำเนินการผลิตและธุรกิจยางพารา  และปัจจัยการผลิตเพื่อสร้างรายได้ให้กับองค์กร มีกำไรและส่งรายได้ให้รัฐ
  2. บริการแก่รัฐและประชาชนเกี่ยวกับยางพารา  และเป็นศูนย์กลางสร้างเครือข่ายถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับเกษตรกร
  3. ตั้งบริษัทเพื่อประกอบธุรกิจ

ยุทธศาสตร์ 

      ยุทธศาสตร์ที่ 1  เพิ่มวัตถุดิบ

- การพัฒนาสวนยางของ อ.ส.ย. ให้มีผลผลิตสูง

- การซื้อขายวัตถุดิบจากเกษตรกร  สถาบันเกษตรกร  ภาครัฐ  และเอกชน

- การขยายพื้นที่สวนยาง

      ยุทธศาสตร์ที่ 2   ตลาดเชิงรุก

- ขยายตลาดยางของ อ.ส.ย.

- จำหน่ายปัจจัยการผลิตทางการเกษตร

- ศึกษาวิจัย และพัฒนาการตลาด

      ยุทธศาสตร์ที่ 3   เพิ่มกำลังผลิตการแปรรูปยางเบื้องต้น  และลดต้นทุนการผลิต

- ปรับปรุงขบวนการผลิตยางให้มีประสิทธิภาพ

- ลงทุนก่อสร้างโรงงานใหม่

- ขยายผลงานวิจัยยางพาราสู่ภาคอุตสาหกรรมในเชิงพานิชย์

      ยุทธศาสตร์ที่ 4   เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ

- ปรับโครงสร้างอัตรากำลัง  กฎหมาย  ข้อบังคับ  ระเบียบ  ให้สอดคล้องกับภารกิจ

- พัฒนาระบบบริหารการจัดการ

การบริหารจัดการ

            การดำเนินงานด้านสวนยาง  (ฝ่ายสวน 1  ,  ฝ่ายสวน 2 , ฝ่ายสวน 3)

- ฝ่ายสวน 1  พื้นที่  10,200  ไร่

- ฝ่ายสวน 2  พื้นที่  16,600  ไร่

- ฝ่ายสวน 3  พื้นที่  15,000  ไร่

รวมพื้นที่  41,800  ไร่

            ปี 2553  สวนยางกรีดได้ 26,659 ไร่  แยกเป็น

- ฝ่ายสวน 1  พื้นที่    5,783  ไร่

- ฝ่ายสวน 2  พื้นที่    9,429  ไร่

- ฝ่ายสวน 3  พื้นที่  11,447  ไร่

            ปี 2553  สวนยางปลูกแทน 8,872 ไร่ 

- พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน    444  ไร่

- พื้นที่สำนักงาน  อาคาร  บ้านพัก  พื้นที่ว่างเปล่า  ภูเขา  ลำห้วย  แอ่งน้ำ  5,660  ไร่

แปลงขยายพันธุ์ยาง 165 ไร่

- ผลิตกิ่งตาพันธุ์  RRIM  600    RRIT 251  จำนวน  1,200,000  กิ่ง

- ต้นยางชำถุงพันธุ์  RRIM  600    RRIT 251  จำนวน  300,000  ต้น

- ต้นตอตาเขียวพันธุ์  RRIM  600    RRIT 251  จำนวน  360,000  ต้น

มอบของที่ระลึก

การดำเนินงานด้านโรงงาน  (ฝ่ายโรงาน 1  ,  ฝ่ายโรงงาน 2 , โรงานผลิตยางแผ่นรมควัน , การผลิตยาง STR 20 , การผลิตยาง STR 5L  ,  การผลิตยางเครป ,  การผลิตน้ำยางข้น)

ฝ่ายโรงงาน 1 

            ตั้งอยู่หมู่ที่ 16  ต.ช้างกลาง อ.ช้างกลาง จ.นครศรีธรรมราช   ได้ก่อสร้างเมื่อปี 2496 ทำการผลิตยางแผ่นรมควันในปี 2505  ทำการผลิตยางเครปน้ำตาล ในปี 2508  ทำการผลิตยางเครปขาว ในปี 2511  ทำการผลิตยางแท่งในปี 2525   ทำการผลิตยางแผ่นอบแห้งในปี 2531   ได้ปรับปรุงขบวนการผลิตยางแท่ง STR 5L ในปี 2536   ได้ก่อสร้างโรงงานผลิตยางแท่ง STR 20 ใหม่  โดยดำเนินการผลิตได้ในปี 2538  ปัจจุบันฝ่ายโรงงาน 1 ทำการผลิตยางเครปขาว ยางแท่ง STR 5L และยางแท่ง STR 20

 กระบวนการผลิตยางแท่ง STR 20

  1. นำวัตถุ  เศษยางก้อน และแผ่นยางดิบ มาผสมรวมกันตามอัตราส่วนที่กำหนด จากนั้นส่งเก็บบ่อพักเพื่อสเปรย์น้ำ และล้างสิ่งสกปรก
  2. นำเข้าผ่านการรีดยาง  และตัดย่อยยาง  ด้วยเครื่องจักรรีดยางให้มีขนาด ลักษณะเม็ดพริก และฝอย
  3. นำบรรจุลงในตะกองเพื่อเข้าเตาอบแห้งด้วยอุณหภูมิที่ 115 - 130 องศาเซลเซียส ใช้เวลาอบแห้งประมาณ 3 – 35 ชั่วโมง
  4. นำยางที่ผ่านการอบแล้ว  ชั่งน้ำหนัก 35 กก. ต่อก้อน  การนำไปอัดแท่งให้มีขนาดตามมาตรฐาน กำหนดชั่ง ทุกๆ 10 แท่ง จะมีการตัดตัวอย่าง 1 ตัวอย่าง นำไปทดสอบที่ห้องตรวจสอบคุณภาพยาง ของฝ่ายโรงงาน 1
  5. บรรจุหีบห่อด้วยถุงพลาสติก  และนำเข้าเก็บในพาเลทที่จัดเตรียมไว้ จากนั้นนำส่งมอบโกดัง  เพื่อรอการจัดสรรจำหน่ายต่อไป

ผลิตภัณฑ์ของยาง ได้แก่ ล้อรถยนต์  สายพานต่างๆ  ยางรองพื้น  ยางรองคอสะพาน  และยางกันกระแทก

ผลิตภัณฑ์ยางแท่ง

กระบวนการผลิตยางแท่ง STR 5L

  1. รวบรวมน้ำยางสดเข้าสู่โรงงาน  โดยรักษาสภาพน้ำยางด้วยสารละลายโซเดียมซัลไฟด์
  2. ปรับเปอร์เซ็นต์  เนื้อยางแห้งให้ได้ตามมาตรฐาน และเก็บสารละลายโซเดียมเมตตะไบซัลไฟต์  เพื่อช่วยป้องกันยางมีสีคล้ำ
  3. ทำให้ยางจับตัวด้วยสารละลายกรอฟอร์มิก  เก็บไว้ประมาณ 12 – 16 ชั่วโมง
  4. นำยางที่จับตัวแล้ว  ผ่านกระบวนการรีด  และตัดย่อยยางให้มีขนาดเล็กและฝอย ล้างยางด้วยน้ำสะอาด
  5. นำบรรจุลงในตะกง เพื่อเข้าเตาอบแห้งด้วยอุณหภูมิที่ 115 – 130 องศาเซลเซียส ใช้เวลาประมาณ 3 - 3. 5  ชั่วโมง
  6. นำยางที่ผ่านการอบแล้ว  ชั่งน้ำหนัก 33.33 กก. จึงนำมาอัดแท่งให้มีขนาดตามมาตรฐาน กำหนดทุกๆ 10 แท่ง จะมีการตัดตัวอย่าง 1 ตัวอย่าง เพื่อนำไปทดสอบที่ห้องตรวจสอบคุณภาพยางของฝ่ายโรงงาน 1
  7. บรรจุหีบห่อด้วยถุงพลาสติก  นำเก็บในพาเลทเหล็กที่จัดเตรียมไว้ จากนั้นนำส่งมอบโกดัง  เพื่อรอการจัดสรรจำหน่ายต่อไป

ผลิตภัณฑ์ของยาง ได้แก่ ล้อเครื่องบิน  ล้อยางเรเดียมทุกชนิด   พื้นรองเท้า   ยางรัดของ  ลูกกอล์ฟ

ห้องตรวจสอลคุณภาพยางพารา

กระบวนการผลิตยางเครป

  1. รวบรวมน้ำยางสดเข้าส่งโรงงาน  ด้วยการรักษาสภาพน้ำยางโดยสารโซเดียมซัลไฟต์
  2. ปรับเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้งให้ได้มาตรฐาน  และเติมสารละลายโซเดียมเมตตะไบซัลไฟต์  เพื่อช่วยป้องกันยางมีสีคล้ำ
  3. เติมสารเคมีเพื่อฟอกสี (ในกรณีที่ผลิตยางเครป  ยางฟอกสี)
  4. ทำให้ยางจับตัวด้วยสารละลายกรดฟอร์มิก  เก็บไว้ประมาณ 12 -1 6 ชั่วโมง
  5. นำมาผ่านกระบวนการรีดด้วยเครื่องจักร ชุดต่างๆ ประมาณ 18 – 20 ครั้ง การรีดครั้งสุดท้าย แผ่นยางมีความหนาประมาณ 1.12  มิลลิเมตร
  6. นำแผ่นยางเข้าห้องอบ โดยอุณหภูมิไม่เกิน 35 – 45 องศาเซลเซียส  ใช้เวลา 4 – 5 วัน
  7. นำแผ่นยางที่ผ่านการอบแห้งแล้ว มาคัดเลือกเกรดยาง  จึงนำไปชั่งน้ำหนัก 33.3  กก. และอัดแท่งให้มีขนาดมาตรฐานที่กำหนด ซึ่งทุกๆ 10 แท่ง จะมีการตัดตัวอย่าง 1 ตัวอย่าง เพื่อนำไปทดสอบที่ห้องตรวจสอบคุณภาพยางของฝ่ายโรงงาน 1
  8. บรรจุหีบห่อด้วยถุงพลาสติก จากนั้นนำเก็บโกดังเพื่อรอจัดสรร และจำหน่าย

ผลิตภัณฑ์ของยาง ได้แก่ กาว   พื้นรองเท้า   จุกขวด   พลาสเตอร์ยา  ผ้าก๊อต

 

ฝ่ายโรงงาน 2

            ตั้งอยู่หมู่ที่ 2  ต.กรุงยัน  อ.ทุ่งใหญ่  จ.นครศรีธรรมราช   ได้ก่อสร้างเมื่อปี 2515 – 2516

ทำการผลิตยางแท่งในปี 2523  ได้สร้างโรงงานผลิตน้ำยางข้น และขยายการผลิตน้ำยางข้น  โดยเพิ่มเครื่องจักรและอุปกรณ์ ในปี 2530  และ 2539  ปัจจุบันทำการผลิตน้ำยางข้น และยางแท่งสกิม

            กระบวนการผลิตน้ำยางข้น

  1. รวบรวมน้ำยางสดเข้าสู่โรงงาน  โดยรักษาสภาพน้ำยางด้วยสารละลายแอมโมเนียม หรือร่วมด้วยสารเคมีประเภทอื่น เช่น Zno/TMTD
  2. ปรับคุณสมบัติต่างๆ ของน้ำยางสดให้ได้ตามมาตรฐานที่โรงงานกำหนด
  3. ปั่นแยกน้ำยางสด  โดยใช้เครื่องปั่นน้ำยางข้น (เซนตริฟิวจ์)
  4. น้ำยางข้นที่ได้ จะมีเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้งประมาณ 60% ปรับคุณสมบัติต่างๆ ของน้ำยางข้นให้ได้ตามาตรฐาน  และรักษาสภาพด้วยแอมโมเนีย หรือ Secondary Preservative
  5. น้ำยางข้นที่ได้ คือ HA Latex (High  Ammonia Latex) และ LA (Low  Ammonia Latex)
  6. จำหน่ายโดยบรรจุถังขนาด 200  ลิตร  หรือ Bulk หรือถุงยางในตู้คอนเทรนเนอร์

ผลิตภัณฑ์ของยาง ได้แก่ ถุงมือ  ลูกโป่ง  ถุงยางอนามัย  ที่นอนฟองน้ำ  เครื่องมือทางการแพทย์

 

ถังเก็บน้ำยาง

โรงงานยางแผ่นรมควัน

            ตั้งอยู่หมู่ที่ 9  ต.ช้างกลาง อ.ช้างกลาง จ.นครศรีธรรมราช   ได้ก่อสร้างตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2540  โรงงานยางแผ่นรมควันมีขนาดกำลังผลิต 30,000 ตัน/ปี  เพื่อผลิตยางแผ่นรมควันจากยางแผ่นดิบที่ซื้อจากเกษตรกรชาวสวนยาง เป็นการสนองนโยบายของรัฐในการแก้ไขปัญหาราคายางตกต่ำในระยะสั้นและระยะยาว  โดยสามารถเปิดดำเนินการผลิต เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์  2542 ที่ผ่านมา และขณะนี้อยู่ระหว่างปรับปรุงเตาอบ  และอุปกรณ์  และเริ่มดำเนินการผลิตยางแผ่นรมควันตั้งแต่ปีงบประมาณ 2552  เป็นต้นมา

 

ประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษาดูงานครั้งนี้

  1. มีความรู้เพิ่มขึ้นในเรื่อง การแปรรูป  และการซื้อ – ขาย ผลผลิตยางพารา
  2. เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่และเครือข่ายกลุ่มเกษตรกรยางพารา
  3. ทำให้ทราบสถานการณ์ยางพาราในปัจจุบัน
  4. ทำให้ทราบบทบาทขององค์การสวนยางด้านยางพารา
  5. เป็นแหล่งข้อมูลความรู้ ด้านยางพารา เป็นอย่างดี  เป็นประโยชน์ต่อเจ้าหน้าที่ และเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา  และผู้สนใจ เป็นอย่างดี

 

ข้อเสนอแนะ

  1. ควรมีการกำหนดระยะเวลาศึกษาดูงานให้เหมาะสม (เช่น เพิ่มหลักสูตร 2 วัน)
  2. ควรมีการศึกษาดูงานให้ครบทั้งกระบวนการผลิต  และการแปรรูป ยางพารา ให้ครบถ้วน
  3. ผู้รับผิดชอบควรมีการสรุปผลการศึกษาดูงาน เพื่อมอบให้ผู้เข้าร่วมทุกคน โดยเฉพาะเกษตรกร  เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์โครงการ ดังกล่าว
  4. ควรมีการสนับสนุนงบประมาณให้มากกว่านี้
  5. อยากให้มีการทัศนศึกษาดูงานอีก  เพราะจะได้รับความรู้ในกระบวนการต่างๆ ของยางพารา เป็นอย่างดี

 

เดินทางกลับถึงสำนักงานเกษตรจังหวัดสุราษฏร์ธานี  วันที่ 14 กันยายน 2553 

เวลา 20.00 น.  ก่อนแยกย้ายกันกลับบ้านพัก......กัน

 

 

นายสิทธิชัย  ช่วยสงค์

     นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ

 สำนักงานเกษตรอำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฏร์ธานี

    โทร. 08-9963-3078, 0-7737-901

24 ตุลาคม 2553

 

หมายเลขบันทึก: 404337เขียนเมื่อ 24 ตุลาคม 2010 13:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 00:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
  • สวัสดีครับ
  • ที่กำแพงเพชรเกษตรกรกำลังเริ่มปลูกครับ
  • อีกหน่อยเกษตรกรก็คงต้องไปดูงานแถวๆ ภาคใต้
  • ไม่ค่อยได้เจอกันเลยนะครับ
สิทธิชัย ช่วยสงค์

* จังหวัดสุราษฏร์ธานี ยินดีต้อนรับ... ครับ

* หวังว่า ยางพาราที่กำแพงเพชร คงจะเจริญเติบโตดี.. เป้นกำลังใจให้นะครับ

นำเสนอได้สุดยอดเลยครับ

มีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม อยากให้

ทุกๆ อำเภอที่ไป ได้สรุปความรู้ที่

ได้รับ ด้วยน่าจะดี

ด้วยคน นำเสนอได้ดีสมแล้วที่เป็นนักส่งเสริมการเกษตรที่เกษตรกรไว้วางใจ แล้วงานหน้าอย่าลืมเอามาลงเร็วๆนะจ๊ะ รอดูฝีมืออยู่จ้า

สวัสดีค่ะ รบกวนสอบถามหน่อยนะคะ คือว่า ดิฉันต้องการซื้อยางผงเพื่อใช้เป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมอาหาร ใช้เดือนละประมาณ 20 ตัน ไม่ทราบว่าจะไปหาซื้อได้ที่ไหนบ้างคะ

  • เสียดายมาก ตอนนั้น ต้องเดินทางไป กรมฯ พอดี จึงพลาดโอกาส ที่จะได้เรียนรู้
  • ขอบคุณที่ยังได้อ่านคับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท