safety first


หลักการและเหตุผล

             จากนโยบายของโรงพยาบาลที่ได้มุ่งเน้นความปลอดภัยของผู้ป่วย (Patient   safety )เป็นหลักสำคัญในการให้บริการผู้ป่วย  ยาความเสี่ยงสูงเป็นประเด็นสำคัญ ประเด็นหนึ่งที่จะต้องปฎิบัติให้ได้ตามมาตรฐานที่โรงพยาบาลกำหนดไว้  เพื่อให้ผู้รับบริการปลอดภัยจากการใช้ยา   หอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย1  ได้ให้การดูแลผู้ป่วยในระยะวิกฤต ที่มีการให้ยาหลากหลายชนิด  รวมถึง      ยาความเสี่ยงสูง (High   Alert  Drug) ด้วย   ซึ่งปัจจุบันมีแนวโน้มการใช้ยาเพิ่มขึ้นทั้งชนิด   จำนวน   และขนาด  จากอุบัติการณ์การเกิดความคลาดเคลื่อนทางยา พบว่ามีความคลาดเคลื่อนการให้ยาผิดชนิด  ผิดความแรงและผิดอัตราเร็ว  และเกิดความคลาดเคลื่อนหลังการให้ยา ในเรื่องการติดตามผล หรืออาการผิดปกติ ไม่ครอบคลุมตามแนวทางที่กำหนดไว้ จึงได้วิเคราะห์สาเหตุ พบว่าพยาบาลไม่ปฎิบัติตามแนวทางที่กำหนด เนื่องจากปฎิบัติไประยะหนึ่งเกิดความเคยชินจนไม่ให้ความสำคัญ และขาดการรับรู้และทำความเข้าใจในพยาบาลใหม่  อีกทั้งไม่สะดวกกับการใช้แบบบันทึกการเฝ้าระวังผู้ป่วยที่ได้รับยา  ที่กลุ่มงานเภสัชกรรมได้จัดทำขึ้น  เนื่องจากเข้าใจยาก  ไม่ครอบคลุมการติดตาม   เฝ้าระวังในส่วนบทบาทของพยาบาล   มีไม่ครบทุกรายการยาที่จะใช้   และไม่สะดวกในการนำมาใช้ในใบบันทึกทางการพยาบาล เพื่อจะลดภาระงานในการเขียนวินิจฉัยทางการพยาบาล จากมีรูปแบบไม่เหมือนกัน

               ดังนั้นหอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย1  จึงได้พัฒนาแบบบันทึกการเฝ้าระวังผู้ป่วยที่ได้รับยาให้ครอบคลุมในบทบาทของพยาบาล  ให้สามารถนำมาใช้ได้ในส่วนวินิจฉัยทางการพยาบาล(ลดภาระงาน) และให้มีการติดตาม  เฝ้าระวัง ผู้ป่วยหลังได้รับยาและจัดทำเครื่องมือในการตรวจสอบซ้ำ เพื่อลดความคลาดเคลื่อนทางยาที่อาจเกิดขึ้นได้

 

 

การวางแผนและดำเนินการแก้ไข / ปรับปรุง

       1.ทบทวนรายการยาความเสี่ยงสูง ของPCT  Med และโรงพยาบาล มี  10 รายการได้แก่ NTP,  NTG,  SK, Cordarone , Digoxin  , Lidocaine , 10% Calcium gluconate, Adrenalin , Dopamin และ KCL

      2.ให้ความรู้การใช้ยาความเสี่ยงสูงให้กับพยาบาลใหม่และเก่า   ในเรื่องการออกฤทธิ์  การเฝ้าระวัง และ  อาการผิดปกติที่ต้องรายงานแพทย์

      3.ปรับแบบบันทึกการเฝ้าระวังผู้ป่วยที่ได้รับยาที่เภสัชกรจัดทำ  ปรับเป็นแผนการพยาบาลในการติดตาม  เฝ้าระวังผู้ป่วยที่ได้รับยา

      4.ทบทวนการปฎิบัติตามระบบที่กำหนดไว้  ในเรื่องของการตรวจสอบซ้ำ

             4.1จัดทำตรายางการให้ยา High Alert Drug เพื่อตรวจสอบก่อนให้ยา

 

            4.2 ตรวจสอบการสั่งยาในใบOrder จัดเตรียมยาและขนาดยาให้ถูกต้อง

            4.3 ตรวจสอบซ้ำถึงความถูกต้องของชนิดยา ขนาดยา ในขณะเตรียมยาและนำไปให้ผู้ป่วยโดยใช้ พยาบาลอีกคน  และลงบันทึกชื่อผู้ตรวจสอบ โดยใช้ตรายาง ประทับในใบบันทึกทางการพยาบาล

       5.ใช้เครื่อง Infusion pump ควบคุมจำนวนหยดสารน้ำทุกครั้งที่ให้ยาความเสี่ยงสูง และตรวจสอบความ ถูกต้องของจำนวนหยดของสารน้ำ

       6.ให้ข้อมูลผู้ป่วยและญาติเกี่ยวกับฤทธิ์ของยา   อาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น การปฏิบัติตัว    และอาการผิดปกติที่ต้องแจ้งให้พยาบาลทราบ เพื่อให้การดูแลช่วยเหลือ

       7.ติดตามผล หรือเฝ้าระวังอาการผิดปกติ  และ นำใบบันทึก การเฝ้าระวังผู้ป่วยที่ได้รับยา ที่เขียนเป็นแผนการพยาบาลติดในใบบันทึกทางการพยาบาลในเวรที่ให้ทันที(เพื่อลดภาระงานในการเขียนแผนการพยาบาลและติดตามผลตามที่กำหนดไว้)

       8.บันทึกการประเมินติดตามผล หรืออาการผิดปกติ ลงในบันทึกทางการพยาบาลให้สอดคล้องกับแผนการพยาบาลที่ติดไว้

       9.ส่งเวรต่อเมื่อเปลี่ยนเวร  เพื่อให้ติดตามผล หรืออาการผิดปกติ

       10.ตรวจสอบการปฏิบัติตามแนวทางการใช้ยาความเสี่ยงสูง ในผู้ป่วยที่ได้รับยาความเสี่ยงสูง

       11.สร้างความตระหนักกับพยาบาล โดยติดตามอุบัติการณ์จากการใช้ยาความเสี่ยงสูง  นำข้อมูลทบทวนหาแนวทางแก้ไขร่วมกัน

       12.    นิเทศ ควบคุม กำกับ ให้คำปรึกษาและข้อคิดเห็น

 

 

ประโยชน์ที่ได้รับ

         1. ผู้ป่วยได้รับยาความเสี่ยงสูงครบถ้วน ถูกต้องตามแผนการรักษา และ ปลอดภัย                                              
         2. ลดภาระงานในการเขียนวินิจฉัยทางการพยาบาล

         3. แบบบันทึกเข้าใจง่ายและสะดวกในการใช้งาน

         4.ไม่เกิดการฟ้องร้อง / ร้องเรียน

หมายเลขบันทึก: 404071เขียนเมื่อ 22 ตุลาคม 2010 14:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 11:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท