วิธีใช้เงินให้ผอม (ลดการใช้บัตรเครดิต)


สำนักข่าว 'Dailymail.co.uk' หรือ 'Mailonline' ตีพิมพ์เรื่อง 'How to stay thin: Pay by cash and avoid your cards at the shops' เขียนโดยท่านอาจารย์แคลร์ เบทส์

แปลว่า "วิธีทำให้ (รักษาความ) ผอม: จ่ายสด และหลีกเลี่ยงการใช้บัตร (เครดิต) ที่ร้าน", หรือ "วิธีใช้เงินให้ผอม (ลดความอ้วน)", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ [ Dailymail.co.uk ]

...

เป็นที่ทราบ กันดีว่า ภาวะแทรกซ้อนอย่างหนึ่งของการมี หรือพกพาบัตรเครดิต (จริงๆ คือ "ใบหนี้พกพาได้") คือ การใช้จ่ายเงินเกินตัว ยกเว้นท่านที่มีจิตใจแข็งแกร่งดุจหินผา อาจจะใช้บัตรนี้อย่างระมัดระวังได้ (มักจะเป็นกรณียกเว้นหรือ 'exception')

คณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยคอร์แนลล์ และบัฟฟาโล (buffalo = ควาย ในที่นี้หมายถึงควายไบซัน) สหรัฐฯ (ตีพิมพ์ใน Consumer Research) พบว่า

...

คนที่พก เงินสดมีแนวโน้มจะซื้ออาหารขยะ (junk food) หรืออาหารที่ไม่ค่อยดีกับสุขภาพ เช่น ฟาสต์ฟูดหรืออาหารจานด่วน ขนมกรุบกรอบ ฯลฯ น้อยลง เมื่อเทียบกับคนที่ใช้บัตรเครดิต

เรื่องของเรื่อง คือ การจับจ่ายใช้สอยด้วยเงินสด หรือเงินที่มีตัวตน-จับต้องได้ มักจะทำให้คนเราต้องคิดแล้วคิดอีก ทำให้สมองซีักซ้ายทำงานได้เต็มที่

...

ตรงกันข้าม... คนที่จับจ่ายใช้สอยด้วยใบหนี้พกพา หรือบัตรเครดิต มีแนวโน้มจะซื้ออาหารขยะมากเกิน

กลไกที่เป็นไปได้ คือ

(1). อาหาร ขยะ ซึ่งมักจะเป็นอาหารจานด่วน หรือฟาสต์ฟูด มีฤทธิ์กระตุ้นความอยากซื้อ หรืออยากกินแบบ "ทันทีทันใด" ซึ่งถ้าใช้บัตรเครดิตแล้ว จะทำให้กระบวนการคิดด้วยเหตุด้วยผลหายไปบางส่วน คล้ายกับทำให้คนเราไร้เดียงสาชั่วคราว

(2). การ จ่ายเงินด้วยเงินสดมักจะทำให้คนเรารอบคอบขึ้น ซึ่งทางจิตวิทยาเรียกว่า มี 'pain of payment' หรือ "ความเจ็บปวดในการจับจ่ายใช้สอย (ความเสียดายเงิน)"

...

วิธีลดความอ้วน และลดหนี้จากบัตรเครดิตได้แก่

(1). เลิกใช้บัตรเครดิตจับจ่ายใช้สอยในการซื้อหาอาหาร เครื่องดื่ม และขนมทุกชนิด

(2). ใช้แต่เงินสดในการซื้อหาอาหาร เพื่อให้เกิด "ผลกระทบจากความเจ็บปวดในการใช้เงิน (pain effect)"

(3). งดไปงานทุกชนิด เช่น งานเลี้ยง สังสันทน์ (สังสรรค์), งานศพ ฯลฯ เนื่องจากเวลาคนเราไปงานส่วนใหญ่มักจะกินเกินตัว

การไปร่วมประชุม อบรม สัมมนามักจะทำให้คนเรากินเกินตัว และอ้วนมากขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน

(4). ไม่กินอาหารแบบบุฟเฟต์ เนื่องจากจะทำให้กินเกินตัว

(5). ใช้จานใบเล็กลง แก้วใบเล็กลง เลือกใช้แก้วผอมสูงแทนอ้วนเตี้ย

(6). ชะลอการตัดสินใจ เช่น ถ้าจะซื้อของกิน... ให้เดินไปที่อื่นอย่างน้อย 5-10 นาที เพื่อลดการตัดสินใจแบบหุนหันพลันแล่น

(7). ซื้อของเมื่อมีเงิน ไม่ใช้สินเชื่อ ยกเว้นจำเป็นจริงๆ

(8). อย่า ตัดสินใจเป็นหนี้คนเดียว... เมื่อจำเป็นต้องกู้เงิน หรือใช้วงเงินบัตรเครดิต ควรปรึกษาทุกคนในบ้าน หรือปรึกษาญาติผู้ใหญ่ เช่น คุณแม่ คุณพ่อ ฯลฯ เพื่อป้องกันการเป็นหนี้เกินตัว

(9). ถ้า อยากซื้อของชิ้นใหญ่หรือของราคาแพง... ให้ชะลอการตัดสินใจไว้อย่างน้อย 7 วัน หรือดีกว่านั้น คือ 1 เดือน เพื่อให้รากเหง้าแห่งความอยาก (ตัณหา) เหี่ยวเฉาไปบางส่วน

(10). ทำบัญชีรายจ่าย โดยเฉพาะค่าอาหาร เครื่องดื่ม ขนม อย่างน้อย 1 เดือน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้แบบแผนในการใช้จ่ายของเรา

(11). หัดดื่มน้ำเปล่า น้ำชาไม่เติมน้ำตาล หรือน้ำข้าวเจือจาง (เช่น ข้าวโอ๊ต 1 ช้อนชาใส่น้ำร้อน 2 นาที ฯลฯ) 2 แก้วก่อนอาหาร 30 นาที

(12). เดินช้าๆ หลังอาหารแบบที่โบราณเรียกว่า "เดินย่อยอาหาร" (ไม่ใช่เดินเร็ว) ทุกมื้อๆ ละ 10-30 นาที, ถ้าจงกลมได้ยิ่งดี

...

คณะันักวิจัย กล่าวว่า มีความสัมพันธ์กันของสถิติความอ้วน-น้ำหนักเกินในประเทศตะวันตก (ฝรั่ีง) กับรูปแบบการจ่ายเงิน คือ การใช้บัตรเครดิตทำให้เราอ้วน

คำเตือนใหม่ตอนนี้ คือ บัตรเครดิต (อาจ) เป็นอันตรายต่อสุขภาพได้เช่นกัน

... 

ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

...

 > [ Twitter ]

ที่ มา                               

  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 20 ตุลาคม 2553.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อ การส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแล ท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.
หมายเลขบันทึก: 403766เขียนเมื่อ 20 ตุลาคม 2010 16:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 16:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท