EK-KARIN CHUAYCHOO
นาย เอกรินทร์ EK-KARIN CHUAYCHOO ช่วยชู

ใบจุดมะละกอแก้ง่าย ไม่ต้องใช้เคมีอันตราย


ฉีดพ่นล้างสปอร์เชื้อราด้วยสารสกัดเปลือกมังคุด อัตรา 10 ซีซี.ร่วมกับผงจุลสี อัตรา 10 กรัม ต่อน้ำเปล่า 200 ลิตร ฉีดพ่นสลับด้วยเชื้อไตรโคเดอร์ม่า อัตรา 1 กก.ต่อน้ำ 200 ลิตรหรือเชื้อหมักขยายบาซิลลัส-พลายแก้ว ทั้งบนใบใต้ใบให้ชุ่มโชกเหมือนอาบน้ำทุกๆ 3-5 วัน/ครั้ง

บทความวิชาการที่นำมาเสนอหรือเผยแพร่นี้ ผู้เขียนได้พิจารณาคัดกรองแล้วว่ามีความเหมาะสมต่อเกษตรกรชาวสวนมะละกอหรือผู้ที่สนใจอยากจะทดลองปลูกหรือกำลังประสบปัญหาโรคแมลงระบาดทำลาย เพิ่มความเสีย ตลอดจนนิสิตนักศึกษา ครูอาจารย์ หน่วยงานภาครัฐเอกชนทุกท่านทุกองค์กรที่ให้ความสนใจ และต้องการ ลด ละ เลิก ใช้สารเคมีอันตรายปราบศัตรูโรคพืช อาการใบจุดในมะละกอเกิดจากเชื้อราชื่อ Cercospora papayae และ Corynespora sp. ซึ่งจะแสดงอาการให้เห็นได้ 2 กรณี ต่อไปนี้

  1. ทางใบ  เกิดจากเชื้อรา Cercospora papayae จะเป็นจุดสีขาวอมเทาเป็นวงๆ มีรูปร่างไม่แน่นอน ใบที่เป็นโรคมากๆ จะเหลืองและแห้งตาย ถ้าเกิดจากเชื้อรา Corynespora sp. จะเป็นจุดสีขาวกระจัดกระจายบนใบ ใบซีดเหลืองและร่วง
  2. ทางผล ที่เป็นโรคนี้จะเกิดจุดเล็ก ๆ มีลักษณะฉ่ำน้ำ มีสีดำและจะขยายตัวกว้างออก เนื้อเยื่อใต้ผิวของผลจะมีลักษณะแข็ง แต่ไม่มีการเน่าเกิดขึ้น

แนวทางควบคุมป้องกัน

  1. เก็บผล ใบแห้งที่ร่วงหล่นทำลายทิ้ง โดยการฝังกลบเพื่อตัดต้นตอการระบาดของเชื้อโรค
  2. ให้ฉีดพ่นล้างสปอร์เชื้อราด้วยสารสกัดเปลือกมังคุด อัตรา 10 ซีซี.ร่วมกับผงจุลสีซึ่งประกอบด้วยทองแดง แมงกานีส อัตรา 10 กรัม ต่อน้ำเปล่า 200 ลิตร ก่อนฉีดพ่นสลับด้วยเชื้อไตรโคเดอร์ม่า  อัตรา 1 กก.ต่อน้ำ 200 ลิตรหรือเชื้อหมักขยายบาซิลลัส-พลายแก้ว (เชื้อบาซิลลัส – พลายแก้ว 10 กรัม + ไข่ไก่ 10 ฟอง + น้ำเปล่า 30 ลิตร + เสม็คไทต์  1 กิโลกรัม (จับกลิ่นก๊าซไข่เน่า) + น้ำมันพืช (ช่วยตรึงผิวน้ำไม่ให้เกิดฟองไข่ฟู่กระจาย) ผสมให้เข้ากัน ให้ออกซิเจนแบตู้ปลา ทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง ก่อนนำมาผสมน้ำเปล่าให้ครบ 200 ลิตร ) ทั้งบนใบใต้ใบให้ชุ่มโชกเหมือนอาบน้ำทุก ๆ 3-5วัน/ครั้ง ในฉีดพ่นยา ฮอร์โมน ปุ๋ย ให้ปรับสภาพน้ำด้วยซิลิซิค แอซิค อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 200 ลิตร ก่อนผสมทุกครั้ง เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพฤทธิ์ยา
  3. ให้นำหินแร่ภูเขาไฟ อัตรา 20 กิโลกรัม ผสมร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ 100 กิโลกรัมหรือปุ๋ยเคมี 50 กิโลกรัม ตามลำดับ ทำเป็นปุ๋ยละลายช้าใส่ทางดินหรือใส่ถังละลายน้ำ อัตรา 20 กิโลกรัมต่อน้ำ 200 ลิตร คนให้เข้ากันทิ้งให้ตกตะกอน 15 นาที ก่อนนำมาฉีดพ่นให้ทั่วทั้งบนใบใต้ใบให้ชุ่มโชกเหมือนอาบน้ำ  เนื่องด้วยหินแร่ภูเขาไฟที่แท้จะมีคุณสมบัติเป็นอิออน ( - ) มีความพรุน มีซิลิก้าจากธรรมชาติ
  4. สำหรับต้นกล้ามะละกอที่กำลังจะลงปลูกใหม่นั้นแนะนำให้รองก้นหลุมด้วยหินแร่ภูเขาไฟ 20 กิโลกรัมร่วมกับเชื้อไตรโคเดอร์ม่า  1 กิโลกรัมและปุ๋ยอินทรีย์ 50 กิโลกรัม คลุกเคล้าให้เข้ากัน ก่อนแบ่งใส่รองก้นหลุมๆ ละ 200 – 300 กรัม ( 2 กำมือ) ก่อนนำต้นกล้ามะละกอลงปลูกทุกครั้ง

ท่านใดสนใจสามารถขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์บริการคลีนิกเกษตร โทร. 081-3983128 (คุณเอกรินทร์  ช่วยชู) Email : [email protected] 

หมายเลขบันทึก: 403649เขียนเมื่อ 20 ตุลาคม 2010 06:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 20:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท