จากพิธีเปิดพิพิธภัณฑ์ถุงยางอนามัย สู่การบรรยายเรื่องถุงยางอนามัยและการคุมกำเนิดในพื้นที่


จากการที่หนูกับพี่อ้อได้เดินทางไปร่วมงานเกษียณของแม่ติ๋ว ที่รพ.สต. กะบาก ในวันเดียวกันเราทั้งคู่ได้ไปเยี่ยมเยียนเครือข่ายคือ อบต. ซึ่งอยู่ไม่ไกลกันนัก หลังจากพูดคุยแบบเยี่ยมยามถามไถ่ ก็ได้ทราบว่า พี่กุ้งกำลังจะจัดประชุม พี่อ้อจึงเสนอว่า "มีอะไรให้ช่วยก็บอกนะ"

แต่คำสั้น ๆในวันนั้น เมื่อถึงเวลา พี่กุ้งก็ กริ๊งกร๊างมาหาเราทันที แจ้งว่า

"กำลังจะจัดตั้งสภาเด็กและเยาวชน อยากจะขอให้ช่วยมาบรรยายเรื่องถุงยางอนามัยและการคุมกำเนิดให้หน่อย"               

เมื่อได้ทราบหัวข้อที่พื้นที่ขอมา พี่อ้อเดินมาแจ้งให้หนูทราบ ใจหนูก็ร้อง

“เฮ้ย ฉันจะทำไงดีเนี่ย งานเข้าแล้ว”

คิ้วขมวดไปชั่วขณะก็ แว๊บขึ้นมาในในว่า

“ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ ๖ (ขอนแก่น) มีงานรังสี ที่ดูแลเรื่อง คุณภาพของถุงยางอนามัย อาจจะขอจีบ ๆ ทีมพี่เขามาช่วยแจม”

แต่พอไปคุยปรากฏว่า

“ท่านติดงาน ไม่มีถุงยางอนามัยให้ด้วย เพราะตอนนี้ไม่มีนโยบายแจก แต่โชคดีที่มีหนังสือ ๒๐ ปีถุงยางอนามัย ที่พี่เซ้ (สุภาวรรณ จงธรรมวัฒน์) ทำไว้มาช่วยชีวิต”

กลับมาที่โต๊ะทำงานมานั่งนึก ๆ ทบทวนกับตนเอง

 

“ผู้ฟังคือใคร เราต้องการสื่ออะไร เรายังขาดอะไร”

 

 ด้วยความที่เคยเป็น HiPPS ก่อนหน้านี้ได้รับมอบหมายให้ไปช่วยงาน

“เปิดพิพิธภัณฑ์ถุงยางอนามัย ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ นนทบุรี”

ประกายใส ๆ ของปัญญาก็ปรากฏ ชื่อของพี่ก้อย (พรนภา ธรรมาธิวัฒน์) ลอยมา หนูรีบรุด mail ขอความช่วยเหลือท่านทันที แบบไม่ต้องรอนาน แค่ข้ามคืน ท่านก็ส่งข้อมูลมาให้มากมาย พร้อมทั้งคำแนะนำ รู้สึกโชคดีจังเลยค่ะที่ได้เข้าไปเจอพี่ ๆ แค่ไม่กี่นาทีที่นั่งประชุม ช่างเป็นหัวเชื้องาม ๆ ให้ความรู้ได้งอกเงย

จากข้อมูลที่ได้ ทำให้หนูไปพยายามไปหาคลิปข่าว และวิดิโอเกี่ยวกับถุงยางอนามัย พอเห็นคลิปข่าวและบทสัมภาษณ์ของพี่ ๆ ใจหนูยิ้มแฉ่ง มีพี่ ๆเก่ง ๆ ก็ แบบนี้นี่เอง น้อง ๆ อย่างหนูก็เลยสบายปรื๋อ รีบโหลดมาเก็บไว้ใช้ในช่วงบรรยายทันที

หลังจากได้คลิปข่าวแล้ว ตาหนูก็ไปสะดุดกับคลิปสอนการใส่ถุงยางอนามัย ครานี้เหมือนฟ้าประทาน ใจหนูร้อง

“ไชโยหัวใจเต้นตุ๊บ ๆๆ จนต้องดึงลมหายใจเข้าลึก ๆ ผ่อนลมหายใจออกยาว ๆ”

เดี๋ยวจะดีใจเกินเหตุ เพราะอะไรหน่ะเหรอค่ะ

“ก็หนูเคยใส่ถุงยางอนามัยซะที่ไหนหล่ะค่ะ”

 แม้จะเป็นเด็กหน้ามึน ๆ แก่น เปรี้ยว เซี้ยว ซ่าส์ แต่ว่าก็หัวโบราณ ไม่ค่อยจะรู้เรื่องเพศสัมพันธ์สักเท่าไหร่ หลังจากได้คลิปต่าง ๆ ก็ค้นข้อมูลเพิ่มเติมที่จะมาบรรยาย ทั้งบอกตนเองว่า

“พูดเท่าที่รู้ และสิ่งที่น้อง ๆ ควรรู้ ประโยชน์ โทษ ข้อจำกัด ข้อควรระวัง ประวัติศาสตร์ กรณีศึกษา เอาแบบฮา ๆ จะได้ไม่เครียด ประมาณนี้น่าจะพอไหว ได้คำชี้แนะจากพี่อ้อมาเพิ่มว่า ต้องเปิดใจน้อง ๆให้ได้ ว่า การเรียนรู้เรื่องนี้ไม่จำเป็นต้องอาย”

“อืม จริงค่ะพี่ แต่ตอนที่ฟังพี่ แม้จะหน้าเฉย ๆ แต่ข้างในก็อายอยู่ เฮอะ ๆ”

คิดอีกที ไม่แน่น้อง ๆ อาจจะรู้อยู่แล้ว หรือถ้าใครอยากรู้ ก็สามารถหาเพิ่มเติมได้ใน google หรือไม่ก็แหล่งต่าง ๆได้ หนูจึงแว๊บขึ้นมาว่า

“น่าจะมีเว็บไซด์แนะนำ ซึ่งก็ค้นเจอเว็บดี ๆ ที่มีผู้เชี่ยวชาญเข้ามาตอบ และน้อง ๆ สามารถปรึกษาได้โดยไม่ต้องเปิดเผยตัว”

งานนี้เริ่มต้นด้วยความไม่รู้ จึงต้องตั้งใจทำข้อมูล หาข้อมูล คิดกระบวนการนำเสนอให้สอดคล้องกับผู้ฟังมากที่สุด แต่ก็รู้สึกดีนะคะ เพราะเหมือนได้ลุยและเตรียมการกับตนเองอย่างเต็มที่เต็มภูมิของคำว่า “ความรับผิดชอบ”

 

 

สรุปความเข้าใจ “ได้อะไรจากสิ่งที่ทำ”

 

  1. อิ่มใจค่ะ จะบอกว่ายังไงดี คาดไม่ถึงว่า “จะได้ข้อมูลจากพี่ก้อยรวดเร็วและมากมายขนาดนี้ค่ะ ซึ้งใจมาก” เป็นการแสดงให้เห็นชัดขึ้นมาอีกว่า “การที่เราได้รู้จักใครสักคนหนึ่ง เป็นความงดงามของการเกื้อหนุนกัน เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม” ใครจะคิดหล่ะค่ะว่า “หนูต้องมาพูดเรื่องถุงยางอนามัย”
  2. สิ่งที่ผู้รู้ทำไว้ดีแล้ว เราสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้เลย เช่น ตำรา ๒๐ ปีถุงยางอนามัยที่พี่เซ้ทำไว้ ช่วยชีวิตหนูครั้งนี้ได้อย่างงดงาม เอกสารบางส่วนก็สามารถสำเนาให้น้อง ๆได้เลยค่ะ และยิ่งเป็นคลิปสั้น ๆ แค่รู้ว่ามีก็สามารถเพิ่มความมั่นใจได้
  3. การตั้งคำถามกับตนเองว่า “ผู้ฟังคือใคร เราต้องการสื่ออะไร เรายังขาดอะไร” คำถามเหล่านี้ช่วยให้การเตรียมข้อมูลพร้อมสำหรับการทำงานมากขึ้นค่ะ
  4. แท้ที่จริงการทำงาน เราไม่ได้ใช้ใบปริญญาไหนในการทำงาน “แต่เราใช้ศักยภาพที่มีทั้งหมด รวมถึงความสามารถในการเรียนรู้ได้ภายในตัวเรา”
หมายเลขบันทึก: 403111เขียนเมื่อ 17 ตุลาคม 2010 12:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 21:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ดีใจด้วยครับ

ที่ได้เรียนรู้กับวัยรุ่นครับ...

to noo tiw

  รูปแบบการทำลิงค์ดีขึ้นมากเลย และอ่านดูแล้วก็ดีใจที่บางเรื่องใครมิอาจบอกเราได้ นอกจากเราเรียนรู้ด้วยตัวเอง เพราะบางเรื่องเป็นเรื่องละเอียดอ่อนมาก เกินกว่าที่พี่จะบอกเองได้ด้วย

 ยังไงพี่ก็ยังเป็นกำลังใจ และพร้อมช่วยเหลือน้องเสมอนะจ๊ะ

อ้ายบำรุง เชียงใหม่

เล่าได้ดีครับ เป็นแบบอย่างของคนที่มีความตั้งใจ ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น สมกับค่านิยม เปิดใจไฝ่รู้ที่เรากำหนดไว้ เปิดไปหาชุมชน เยอะๆครับ การยอมรับต่อองค์กร หรือตัวเรา บางครั้งไม่ออกอากาศโฆษณาหรอกครับ เพราะมันแพง ผมจะเชียน้องๆให้มาปกิสัมพันธ์ด้วยครับ ขอจงมีความสุขจากส่วนบุญนี้

สวัสดีครับ ตามมาดู ใบไม้บรรยายเรื่องถุงยางอนามัย กับเยาวชน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท