ผู้หญิงกับความสุข


การทำงานของผู้หญิง ที่รัฐบาลมองว่าสิ่งเหล่านั้นไม่ได้ก่อให้เกิด GDP ไม่ก่อให้เกิดตัวเงินเกิดขึ้น และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ แต่สิ่งที่เขาทำนั้นทำให้เกิดมูลค่ากับครอบครัว

              เมื่อวานที่ผ่านมา ได้มีโอกาสเรียนและนำเสนอหัวข้อในการอภิปรายเรื่อง "ปาฏิหารย์เศรษฐกิจไทย บนหลังและไหล่ของผู้หญิง" ซึ่งทำให้ย้อนกลับไปถึงในเรื่องของ "บริหารธุรกิจ" ที่ได้สัมผัสและร่ำเรียนมาเกือบตลอดทั้งชีวิต ตั้งแต่การเรียนบัญชีในระดับ ปวช. การเรียนบริหารธุรกิจในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท แต่ตอนนี้ได้มาเรียนและสัมผัสกับทฤษฎีทางด้านสังคมศาสตร์ ก็ทำให้เข้าใจและสามารถอธิบายปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันได้ในอีกหลายมิติมากขึ้น 

         ย้อนกลับไปวันแรกที่เพื่อน ๆ และครูบาอาจารย์ได้ทราบว่าผมจะเรียนต่อในระดับปริญญาเอก ทุกคนก็นึกอยู่อย่างเดียวว่า ผมจะต้องเรียน Ph.D. (Business Management) หรือไม่ก็ Doctor of Business Management (DBA) เพราะเคยมีหลาย ๆ คนพูดว่า "โลกสร้างผมขึ้นมาเพื่อเรียนทางด้านบริหารธุรกิจ"

         ชีวิตของผมก็ได้ผันเปลี่ยนครั้งยิ่งใหญ่ เมื่อได้มีโอกาสสัมผัสกับ "งานวิจัย" โดยเฉพาะงานวิจัยกับชุมชน และก็มีคนพูดกับผมอีกว่า ผมน่ะลุ่มหลงและรักงานวิจัยเป็นอย่างมาก จนงานวิจัยสามารถกำหนดชะตาชีวิตผมได้เลย ชีวิตผมจะอยู่หรือจะไปไม่ได้อยู่ที่ผมแต่อยู่ที่ชุมชนกำหนด เพราะใจของผมมันเรียกร้องไปทางนั้น  ซึ่งตอนนั้นผมก็ไม่ทราบเลยว่า ผมหลงรักชุมชนมากขนาดนั้นเลยเหรอ

                   จนกระทั่งได้พบกับท่านอาจารย์จุฑาทิพย์ ภัทรวาท รองอธิการบดีฝ่ายทรัพย์สิน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อครั้งท่านเดินทางมากับทีมงานของ ดร.สีลาภรณ์ ในการตรวจเยี่ยมและสรุปงานในโครงการจัดทำแผนชีวิตและข้อเสนอภาคประชาชนเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนของจังหวัดอุตรดิตถ์ ว่า ผมติดบ่วงชุมชน  และท่านก็แนะนำว่า น่าจะเรียนมหาวิทยาลัยชีวิตในเมืองไทย จะเป็นสิ่งที่เหมาะกับผมมากที่สุด และในที่สุดผมก็มีโอกาสเรียนในเมืองไทยจริง ๆ ด้วยครับ

                  ในการเรียนแต่ละครั้ง ทำงาน หรือย่างก้าวในแต่ละครั้งทั้งในรั้วมหาวิทยาลัยและนอกรั้วมหาวิทยาลัย ผมพยายามเก็บเกี่ยวสิ่งต่าง ๆ ที่พบสิ่งที่สัมผัส นำมาประกอบกับประสบการณ์ที่ได้เคยใช้ชีวิตสัมผัสมาแล้วในอดีต เพื่อกำหนดเป็นกรอบในการทำงานของอนาคต ทุก ๆ วัน ผมใช้เวลาคิด คิด คิด แล้วก็คิด คิดสิ่งใดออก แวบแรก ผมก็จะรีบนำมาเขียนนำมาบอกเล่าเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับทุก ๆ ท่านทั้งใน Gotoknow และเพื่อน ๆ ที่เรียนด้วยกัน

                จนกระทั่งเมื่อวานได้เรียนรู้เกี่ยวกับ พลังของผู้หญิง ที่เป็นรากฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจไทย ก็นึกย้อนถึงครั้งหนึ่ง ซึ่งเคยประทับใจมาก ๆ กับภาพและคำพูดที่เคยได้สัมผัสที่กลุ่มแปรรูปไม้ด้วยมือ ตำบลจริม อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์

ความว่า.....

 ผมกลับมาทำงานที่บ้าน บางเดือนผมก็ไม่ได้เงินเลย แต่ผมก็พอใจเพราะผมได้อยู่กับลูกกับเมียผม

เมื่อก่อนจากบ้านไปทำงานในกรุงเทพฯ ได้เดือนละเป็นหมื่น ก็ไม่มีความสุขเหมือนกับเดี๋ยวนี้

"ได้กลับมาอยู่กับบ้าน ไม่มีเงินก็มีกิน

ได้เห็นหน้าเมียหน้าลูก ผมก็ดีใจมากแล้ว"

        การทำงานของผู้หญิง ที่รัฐบาลมองว่าสิ่งเหล่านั้นไม่ได้ก่อให้เกิด GDP ไม่ก่อให้เกิดตัวเงินเกิดขึ้น และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ แต่สิ่งที่เขาทำนั้นทำให้เกิดมูลค่ากับครอบครัว

"ครอบครัวเป็นฐานของเศรษฐกิจ หรือว่าเศรษฐกิจเป็นเป็นทุกอย่างของครอบครัว?"

        มูลค่าต่าง ๆ ที่ "ผู้หญิง" ก่อให้เกิดขึ้นกับระบบเศรษฐกิจนั้นมีอยู่มากมายมหาศาล เพราะสิ่งที่ผู้หญิงทำให้เกิดขึ้นนั้นคือ GDH (Gross Domestic Happiness) ซึ่งเป็นสิ่งพื้นฐานสำคัญที่สุดทางจิตใจ

จิตใจดี ร่างกายดี งานดี สังคมดี ประเทศย่อมดีไปด้วยครับ


"ไม้ใหญ่จะยืนทะนงต้านแรงช้างสารได้ ก็เพราะรากที่หยั่งลึกและแข็งแรง"

ฉันใดก็ฉันนั้น

"เศรษฐกิจจะดีได้ก็เพราะมีฐานครอบครัวที่เป็นสุข"

หมายเลขบันทึก: 40294เขียนเมื่อ 22 กรกฎาคม 2006 15:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • ไม่ทราบว่าใครกล่าวว่าผู้หญิงเป็นช้างเท้าหลัง
  • ผมว่าน่าจะเป็นเท้าที่เดินไปด้วยกัน
  • ขอคารวะมารดาของแผ่นดินทุกท่านครับ
  • ขอบคุณมากครับ

อาจารย์เขียนบันทึกนี้ได้เยี่ยมมากครับ ผมอ่านแล้วอึ้งครับ

จะติดตามอ่านบันทึก และให้กำลังใจครับผม 

สนับสนุนครับ

ให้กำลังใจ ครับ

บันทึกโดนใจมากครับ อ่านแล้วต้องมองผู้หญิงที่มีอิทธิพลต่อชีวิตทันที
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท