แผนเฝ้าระวังคนจากหวัดนก ระดับ 3


 

         การจัดการความรู้เพื่อการซ้อมแผนเตรียมความพร้อมรับการระบาดของโรคไข้หวัดนกของสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดชัยนาท โดยมีหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมจำนวนมาก หมอโอ๋(นายกันตภณ  ปภากรเกตุรัตน์ นายสัตวแพทย์ชำนาญการ หัวหน้ากลุ่มงานพัฒนาสุขภาพสัตว์ ) ได้ส่งประเด็นสำคัญแผนเตรียมความพร้อมสำหรับการเฝ้าระวัง ควบคุม และป้องกันการระบาดในคน   ระดับ 3  ดังนี้

พบสัตว์ปีกป่วยตายด้วยโรคไข้หวัดนก และพบการติดต่อเชื้อไข้หวัดนกจากสัตว์จากสัตว์ปีกสู่คน               - การเตรียมความพร้อมด้านความร่วมมือระหว่างหน่วยงานแบบบูรณาการ

1. วางแผนระบบการติดต่อสื่อสารและการประชาสัมพันธ์

     - งานสื่อสาร  ระบบที่พร้อมใช้งานสามารถติดต่อประสานงานกับเครือข่ายหน่วยงานต่าง ๆ  

      - จัดตั้งศูนย์ Hot line ให้บริการตอบข้อซักถามของประชาชน ตลอด 24 ชั่วโมง

      - ประชาสัมพันธ์ จัดทำข่าวสารที่เป็นปัจจุบันให้ข้อมูลแก่สาธารณชน /ประสานความร่วมมือกับสื่อมวลชน การแถลงข่าว / เผยแพร่ประชาสัมพันธ์สร้างความรู้ความเข้าใจกับประชาชน และสื่อมวลชน

2.  กำหนดการประชุม WAR ROOM (ความถี่ขึ้นอยู่กับสถานการณ์โรค) ติดตามสถานการณ์ทั้งในสัตว์ปีกและคน / สถานการณ์โรคทั้งในและต่างประเทศ

3. กำหนดมาตรการต่างๆ

     - การประกาศพื้นที่เป็นเขตภัยพิบัติ

     - การประกาศเขตโรคระบาดสัตว์ปีก

     - ใช้มาตรการกักกันและควบคุมผู้ติดเชื้อ/ผู้สัมผัส

     - มาตรการป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคในสถานที่ต่าง ๆ และชุมชน เช่น โรงเรียน  โรงงาน  สถานที่ทำงาน  สถานที่มหรสพ  ห้างสรรพสินค้า ,  สถานีขนส่ง , เรือนจำ  เป็นต้น

      - จัดทำคู่มือแนะนำประชาชน

การเฝ้าระวัง ควบคุม และป้องกันการระบาดในสัตว์ปีก

1.  สอบสวนโรคเบื้องต้น

       -  จัดทีมควบคุมโรคไข้หวัดนกเข้าไปสอบสวนโรค  ณ. จุดเกิดเหตุและรอบจุดเกิดเหตุ ร่วมกับสาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

        -  รายงานเบื้องตันกับหน่วยงาน/กระทรวงที่เกี่ยวข้อง   เช่น  กระทรวงสาธารณสุขกระทรวงมหาดไทย  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น   กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แล้วสอบสวนโรค และประกาศเขตโรคระบาด

         -  การแจ้งผลชัณสูตรโรค สนง ปศจ   ชน  ควรรายงานผลการชัณสูตรโรค ซึ่งส่งตรวจที่สถาบัน

            หรือแจ้งกับเก๖รกรโดยตรง

2.  ทำลายสัตว์

  -  สัตว์ปีกในฟาร์มที่เป็นโรคโดยถ้าฟาร์มสัตว์ปีกมีหลายโรงเรือน  ภายในฟาร์มให้ทำลาย     สัตว์ปีกหมดทั้งฟาร์ม

           - ให้ดำเนินการทำลายสัตว์ปีกโดยเร็วที่สุดไม่เกิน 12 ชั่วโมงนับตั้งแต่ที่ได้รับแจ้งโดยทำลายเฉพาะบ้านหรือฟาร์มที่เกิดโรคหรือบ้าน หรือฟาร์มอื่นที่สัตวแพทย์พิจารณาแล้วเห็นว่าสาเหตุเชื่อได้ว่าสัมผัสกับเชื้อโรค

       

3.  ทำลายเชื้อโรค

-  ทำลายเชื้อโรคในฟาร์มที่เกิดโรคหรือควบคุมให้เกษตรกรดำเนินการทำลายเชื้อโรค ดังนี้

•          ยานพาหนะ

- ใช้เครื่องฉีดแรงดันสูงทำความสะอาดยานพาหนะที่ใช้บรรทุกสัตว์ปีก

-  พ่นยาฆ่าเชื้อบนรถและล้อรถให้ทั่วทุกซอกทุกมุมด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ

•          วัสดุอุปกรณ์ต่างๆในโรงเรือน

- แช่ล้างและขัดวัสดุอุปกรณ์ในน้ำผงซักฟอกเพื่อขจัดคราบไขมันและสิ่งสกปรกอื่นๆ

-  แช่อุปกรณ์ต่างๆในน้ำยาฆ่าเชื้อโรค

•          โรงเรือน

-  ล้างและขจัดคราบไขมันหรือสิ่งสกปรกออกโดยใช้น้ำผงซักฟอก

-  ฉีดพ่นบริเวณโรงเรือนและรอบโรงเรือนทุกวันเช้า-เย็นด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค

•          ถาดไข่

-  แช่ถาดไข่ในน้ำยาฆ่าเชื้อเป็นระยะเวลานาน  10-30  นาที

-  รมควันถาดไข่ในห้องแบบปิดหรือใช้ผ้าพลาสติกคลุม

•          ไข่

-  ไข่บริโภคใช้วิธีจุ่มไข่ในน้ำยาฆ่าเชื้อกลุ่มไฮโปโคลไรท์  20  ppm.

-  ไข่ฟักใช้วิธีรมควัน

4. การเฝ้าระวัง

- เฝ้าระวังรอบจุดเกิดโรค โดยเก็บตัวอย่างสัตว์ปีกส่งห้องปฏิบัติการด้วยวิธี  Cloacal  swab ในหมู่บ้านที่เกิดโรคทุกบ้านจำนวนสัตว์ปีก 5 ตัว/บ้าน(1 ตัวอย่าง) ในรัศมี 1 กิโลเมตรและเก็บตัวอย่างหมู่บ้านอื่นๆ ในรัศมี 5 กิโลเมตรรอบจุดเกิดโรคอย่างน้อย 20 ตัวต่อหมู่บ้าน       (4 ตัวอย่าง) และเฝ้าระวังเชิงรุกด้วยอาการทางคลินิกในรัศมี 10 กิโลเมตรรอบจุดเกิดโรคเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 30 วัน หากพบสัตว์ปีกป่วยตายให้ส่งซากตรวจอย่างน้อย 2-5 ตัว

- ห้ามเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกและซากสัตว์ปีกในพื้นที่รัศมี 10 กิโลเมตรรอบจุดสัตว์ปีกป่วยตายผิดปกติ เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 30 วัน หรือจนกว่ามีผลตรวจทางห้องปฏิบัติการเป็นลบ  ทั้งนี้ให้สัตวแพทย์ใช้อำนาจตามกฎหมายว่าด้วยโรคระบาดสัตว์สั่งกักสัตว์ปีกทุกรายในรัศมี 10 กิโลเมตร

- ทำลายเชื้อโรคด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรคที่มีประสิทธิภาพในจุดที่สงสัยและจุดเสี่ยงอื่นๆ และดำเนินการทุกสัปดาห์อย่างต่อเนื่องจนกว่าภาวะโรคจะสงบ หรือจนกว่ามีผลตรวจทางห้องปฏิบัติการเป็นลบ

- เฝ้าระวังและสอบสวนโรค ดำเนินการค้นหาสัตว์ปีกป่วยเพิ่มเติม สอบสวนหาสาเหตุของการเกิดโรคและควบคุมไม่ให้เกิดการแพร่กระจายของโรคต่อไป

5. เตรียมความพร้อมวัสดุ  อุปกรณ์  และน้ำยาฆ่าเชื้อ  เพิ่มจากปกติ  2  เท่า

6. ชดเชยความเสียหายของเกษตรกรจากการทำลายสัตว์ปีก  

7. ควบคุมการเคลื่อนย้ายสัตว์

8. การประชาสัมพันธ์

     - จัดทำข่าวสารที่เป็นปัจจุบันให้ข้อมูลแก่สาธารณชน /ประสานความร่วมมือ  กับสื่อมวลชน การแถลงข่าว / เผยแพร่ประชาสัมพันธ์สร้างความรู้ความเข้าใจกับประชาชน และสื่อมวลชน

9. จัดทีมสอบสวนโรคระบาด ติดตามและประเมินผล

การเฝ้าระวัง  ควบคุม และป้องกัน การระบาดของโรคในคน

1. ทีม SRRT สอบสวนโรค

  - ค้นหาผู้ป่วย / ผู้มีอาการสงสัยเพิ่มเติม ทำทะเบียนติดตามเฝ้าระวัง 10 วัน

  - ควบคุมป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ โดยทำลายเชื้อที่บ้านผู้ป่วยผู้สงสัย และสิ่งแวดล้อม

    ให้ความรู้ Health  education  สุขวิทยาส่วนบุคคล

  - รายงานตามระบบเฝ้าระวัง

  - เฝ้าระวังในโรงพยาบาล ตั้งจุดคัดกรองผู้ป่วยที่มีอาการเข้าตามนิยาม และมีประวัติสัมผัส

    สัตว์ปีกป่วย/ตาย  แยกผู้ป่วยที่สงสัยออกจากผู้อื่น  

  - ให้ความรู้กับผู้สัมผัสผู้ป่วย ในการป้องกันโรค

  - เฝ้าระวังบุคลากรทางการแพทย์ที่สัมผัสโรค / ทำทะเบียนรายชื่อสำหรับติดตาม

  - จัดทำรายงานและสถานการณ์โรคให้ผู้เกี่ยวข้อง / พื้นที่ใกล้เคียงทราบ

2. ติดตามสถานการณ์โรค วิเคราะห์สถานการณ์การระบาด นำเสนอผู้บังคับบัญชา / ศูนย์ปฏิบัติการทุกวัน

3. กำหนดแนวทางปรับเปลี่ยนระบบรายงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์โรค

4. เฝ้าระวังผู้สัมผัสสัตว์ปีกและผู้ที่อาศัยในพื้นที่มีสัตว์ปีกป่วยตาย หากมีอาการไข้ ตรวจรักษาที่สถานีอนามัย / โรงพยาบาลทุกราย

5. การค้นหาผู้ป่วยโดยเร็ว ทั้งเชิงรุกและรับ ที่รับการักษาใน รพ. ทั้งภาครัฐและเอกชน ในพื้นที่ทุกวัน  ด้วยการเฝ้าระวังผู้ป่วยปอดอักเสบ , ไข้หวัดใหญ่ได้แก่ ผู้ป่วยปอดอักเสบรุนแรงหรือเสียชีวิตทุกราย /ผู้ป่วยปอดอักเสบ 2 รายขึ้นไปที่มีความเชื่อมโยงทางระบาดวิทยา / ผู้ป่วยปอดอักเสบที่เป็นบุคลากรทางการแพทย์ / ผู้ป่วยอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ 5 ราย ขึ้นไปในหมู่บ้านเดียวกันในช่วงเวลา 10 วัน

6.เฝ้าระวังอาการป่วยของประชาชนในพื้นที่มีสัตว์ปีกป่วยตาย และลักษณะการระบาดเป็น Cluster ของผู้ป่วยติดเชื้อทางเดินหายใจจากเครือข่ายในชุมชน ได้แก่ โรงพยาบาล /สถานีอนามัย / อสม. / สื่อมวลชน

7. เก็บตัวอย่างสารคัดหลั่งจากระบบทางเดินหายใจและตัวอย่างเลือดทั้งผู้ป่วยและผู้สัมผัส ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการหาเชื้อไวรัสไข้หวัดนกและไข้หวัดใหญ่

8. จัดเตรียมห้องแยกดูแลผู้ป่วยและเตรียมบุคลากรในแต่ละจุด

9. จัดทำทะเบียนเครือข่ายผู้ดูแลระบบ VMI ในโรงพยาบาลทุกแห่ง และกำหนดแนวทางหรือช่องทางการประสานงาน/จัดหา/ขอสนับสนุน/การกระจายเวชภัณฑ์ วัสดุอุปกรณ์

10. เตรียมความพร้อมของสถานพยาบาลทุกระดับ คน เวชภัณฑ์ วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ

     - Ward รองรับผู้ป่วย,จำนวนเตียง ,บุคลากร,เวชภัณฑ์ วัสดุอุปกรณ์ป้องกัน

เครื่องช่วยหายใจ,รถพยาบาล

     - กำหนดบทบาทหน้าที่สถานพยาบาลแต่ละระดับ / บทบาท

บุคลากรกร 

      - แผนจัดเตรียม จนท.ทดแทนกรณีมีบุคลากรแพทย์/พยาบาล/จนท.เจ็บป่วย

 -  PPE  เพิ่มจากปกติ 20 เท่า

 -  ยา  Tamiflu  20 เท่า

 -  ชุดตรวจ  20  เท่า

 -  อุปกรณ์สนับสนุนอื่น ๆ เช่น  น้ำเกลือ ,  Antibiotic , น้ำยาฆ่าเชื้อ , วัคซีน  และเวชภัณฑ์อื่นๆเพิ่มจากปกติ  5  เท่า

11.จัดตั้งโรงพยาบาลสนาม

       - วางแผนจัดเตรียมสถานที่ เครื่องมือ เวชภัณฑ์ วัสดุอุปกรณ์ บุคลากร จัดตั้งโรงพยาบาลสนาม

       -  ประสานงานจัดหาและสนับสนุนเวชภัณฑ์ วัสดุอุปกรณ์ กับเครือข่ายจังหวัดในเขต 5 หรือจังหวัดใกล้เคียง หรือ สคร.2  เพื่อขอการสนับสนุนกรณีฉุกเฉิน

       -  อบรมอาสาสมัครเป็นกำลังเสริมในการปฏิบัติงานในสถานพยาบาล และ รพ.สนาม

12. กำหนดแนวทางการใช้ยาต้านไวรัส

     - กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้สัมผัสร่วมบ้านหรือครอบครัว / บุคลากรผู้ดูแลผู้ป่วยใน รพ. (ไม่สวมอุปกรณ์ป้องกันตนเอง /ดูแลใกล้ชิด / ต้องทำหัตถการ / สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันตนเอง แต่มีอาการ)  / ผู้ทำลายสัตว์ปีกที่มีอาการภายใน 10 วัน

     - ทำทะเบียนติดตามผู้ที่รับประทานยา

13. ทบทวนแนวทางการคัดกรองผู้ป่วยในสถานบริการสาธารณสุขทุกระดับ

14. ทบทวนแนวทาง IC

15. จัดเตรียมความพร้อมของวัสดุอุปกรณ์สำหรับ PHER TEAM

16. อบรมฝึกทักษะการใช้ PPE แก่บุคลากรทุกระดับ

17. ประชาสัมพันธ์การใช้หน้ากากอนามัยและการล้างมือ         ศูนย์ฯไข้หวัดนกจังหวัดชัยน

คำสำคัญ (Tags): #แผน#ไข้หวัดนก
หมายเลขบันทึก: 401371เขียนเมื่อ 7 ตุลาคม 2010 12:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤษภาคม 2012 17:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท