อิงจันทร์ บ้านกลอนไฉไล
ครู รัชดาวัลย์ วงษ์ชื่น น้ำตาล จันทวงศ์

แต่งกลอนแปดอย่างไรให้ไพเราะ


กลอนสุภาพ

  

 คณะ : คณะของกลอนสุภาพมีดังนี้

กลอนสุภาพบทหนึ่งมี ๒ บาท บาทที่ ๑ เรียกว่า บาทเอก มี ๒ วรรค คือ วรรคสลับ และวรรครับ บาทที่ ๒ เรียกว่า บาทโท มี ๒ วรรค คือ วรรครองและวรรคส่ง

 พยางค์คือคำของกลอนแต่ละวรรคมีดังนี้

กลอนแปด มี ๘ คำ ดังนั้นกลอนแปด ๔ วรรคจึงมี ๓๒ คำใน ๑ บท

กลอนสุภาพแปดคำประจำบ่อน                <-  วรรคสดับ
อ่านสามตอนทุกวรรคประจักษ์แถลง         <-  วรรครับ
ตอนต้นสามตอนสองสองแสดง                <-  วรรครอง
ตอนสามแจ้งสามคำครบจำนวน               <-  วรรคส่ง

 สัมผัส มีข้อสังเกตเกี่ยวกับสัมผัสของกลอนสุภาพดังนี้

 

(อ้่างอิง:http://www.oknation.net/blog/tnitaram/2009/11/16/entry-1

 ก. สัมผัสนอก (บังคับ) โปรดสังเกตเส้นโยงสัมผัส

   ๑). ในบทที่ ๑ คำสุดท้ายของวรรคสลับ (วรรคที่ ๑) สัมผัสกับคำที่ ๓ หรือคำที่ ๕ ของวรรครับ (วรรคที่ ๒) ตามที่ขีดเส้นประไว้ในแผนผัง

   ๒). คำสุดท้ายของวรรครับ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรครอง (วรรคที่ ๓ )

   ๓). คำสุดท้ายของวรรครองสัมผัสกับคำที่ ๓ หรือคำที่ ๕ ของวรรคส่ง (วรรคที่ ๔)

   ๔). คำสุดท้ายของวรรคส่งในบททที่ ๑ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรครับในบทที่ ๒

 

ข. สัมผัสใน (ไม่บังคับ) โปรดสังเกตเส้นโยงสัมผัส

   ๕). สัมผัสในชนิดสัมผัสสระ ในบทตัวอย่าง ได้แก่ สว่าง-พร่าง, ฟ้า-น่า, (วรรคสลับ) , ดี-ที่ (วรรครับ) , ดี-ที่ (วรรครอง) มี-ที่ (วรรคส่ง)

   ๖). สัมผัสใน ชนิดสัมผัสอักษร ในบทตัวอย่าง ได้แก่ พร่าง-พราย (วรรคสลับ) พวยพุ่ง ฟากฟ้า  พิภพพรั่น  หวาดไหว   สุข-สาย

 เสียงวรรณยุกต์ ที่นิยมว่าไพเราะ ใช้ดังนี้ 

วรรคสดับ หรือ สลับ ใช้ได้ทุกเสียงวรรณยุกต์ ควรเลี่ยง เสียงสามัญ

วรรครับ นิยมใช้เสียง เอก โท จัตวา ห้ามใช้เสียงสามัญ

วรรครอง นิยมใช้เสียงสามัญ ตรี ควรเลี่ยงเสียงจัตวา เอก โท

วรรคส่ง นิยมใช้เสียงสามัญ ตรี ควรเลี่ยงเสียงจัตวา เอก โท

 

 (อ้่างอิง :http://www.oknation.net/blog/tnitaram/2009/11/16/entry-1

เพชรน้ำหนึ่ง

กลอนเก้าคำจำไว้ด้อยไพ"เราะ"
เขียนให้เหมาะแปดคำเพชรน้ำหนึ่ง
แต่ละวรรคหนักแน่นดุจแกน"กลึง"
กลอนจะ"ซึ้ง"ติดใจและให้คุณ

คำสุดท้ายวรรคแรกแยกพิ"เศษ"
สามัญ"เขต"หวงห้ามตามเกื้อหนุน
ท้ายวรรคสองต้องรู้อยู่เป็น"ทุน"
เอก-โท"จุน"จัตวาประ"พนธ์"

ท้ายวรรคสามวรรคสี่นี้จำ"มั่น"
เสียงสามัญ-ตรีใช้ได้ทุก"หน"
สัมผัสซ้ำจำจดงดปะ"ปน"
จงคิด"ค้น"ถ้อยคำที่จำ"เป็น"

ไม้ไต่คู้ใช้กับไม้ไต่"คู้"
เมื่อฟังดูเด่นดีทั่งที่"เห็น"
เสียงสั้นยาวก้าวก่ายหลายประ"เด็น"
อย่าบำ"เพ็ญ"พ้องกันนิรัน"ดร

อย่าเขียนให้ใจความตามเพ้อ"นึก"
จงตรองตรึกตระหนักเรื่อง"อักษร
คติธรรมนำใส่ให้สัง"วร"
รวมสุน"ทร"ถ้อยไว้ให้งด"งาม"

จุดจบก็ขอให้กินใจหน่อย
มิควร"ปล่อย"เปะปะเหมือนสะ"หนาม"
จบให้เด่นเห็นชัดจำกัด"ความ"
ให้ตรง"ตาม"เค้าโครงเรื่องโยง"ใย"

เขียนเสร็จสรรพกลับมาตรวจตราผิด"
ตรวจชนิดเรียงตัวทั่วกันใหม่
เมื่อเห็นเพราะเหมาะดีจี้หัว"ใจ"
จึงเผย"ให้"ประชาชนตรา"ตรึง"

กลอนเก้าคำจำไว้ด้อยไพเราะ
เขียนให้เหมาะแปดคำเพชรน้ำ"หนึ่ง
แต่ละวรรคหนักแน่นดุจแกน"กลึง"
ผู้อ่าน"จึง"จะชอบชมขอบคุณ

ส.เชื้อหอม...นักกลอนรางวัลพระราชทาน

อ้างอิงhttp://www.oknation.net/blog/tomnon/2009/08/06/entry-1

หมายเลขบันทึก: 401281เขียนเมื่อ 6 ตุลาคม 2010 20:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (21)

ขอบคุณสำหรับการแบ่งปันความรู้ครับ

สวัสดีค่ะ

    พี่ดาชอบอ่านกลอน แต่แต่งไม่เป็นเลย ตั้งแต่สมัยเรียนเด็กๆแล้วค่ะ เรียงความกับแต่งกลอน พอได้การบ้านมาละกลุ้มใจเลย  พามาเรียนการแต่งกลอนและชมบันทึกงามๆพร้อมกันทั้ง 4 เลยนะคะ ขอบคุณมากค่ะ

         

        

สวัสดีค่ะคุณครูอิง

น้องซิลเวียแวะมาทบทวนฉันทลักษณ์กลอนสุภาพ อีกรอบค่ะ

อ่านแล้วไพเราะมากๆค่ะ

ขอบคุณค่ะ

  • สวัสดีค่ะ ครูอิงจันทร์
  • แวะมาศึกษาเรียนรู้ค่ะ
  • ขอบพระคุณที่แบ่งปันความรู้ดี ๆ ค่ะ

กลับมาอ่านทบทวนความรู้ทักษะการเขียนกลอนสมัยเก่าดูอีกครั้ง ขอหลักการเขียนโคลงมาด้วยนะครับเพื่อความสมบูรณ์

สวัสดีค่ะพี่อิงจันทร์

วันนี้แวะมาทักทายก่อนนอนค่ะ พี่อิงจันทร์สบายดีนะค่ะ

ขอบคุณมากค่ะที่นำเรื่องการแต่งกลอนมาแบ่งปัน นำไปใช้ก็ทำให้กลอนเพราะขึ้น เป็นประโยชน์มากค่ะ

สวัสดีค่ะพี่ดาIco32กานดา น้ำมันมะพร้าว

  • งดงามสดใสในมิตรภาพที่งอกเงย จริง ๆ นะคะ
  • ขอบพระคุณค่ะ แวะไปชมมาแล้วนะคะ

สวัสดีค่ะน้องIco32น้องซิลเวีย

  • การแต่งกลอนต้องทำบ่อย ๆ ค่ะ
  • ถ้าละทิ้งนาน ๆ  ก็เหมือนมีดที่ได้รับการลับให้คม
  • เชิญน้องซิลเวียมาฝึกต่อกลอนที่นี่นะคะ
  • บทกลอน : รักพ่ออย่าก่อ...

สวัสดีค่ะคุณIco32ธรรมทิพย์

  • ครูอิงได้อ่านบทกลอนของคุณหลายครั้ง
  • แต่งบทกลอนได้ดีมากค่ะ
  • สำหรับครูอิงยังคงต้องฝึกอีกเยอะ ๆ ค่ะ 
  • ร้างลาไปนานแล้ว  ทำให้ปฏิภาณในการแต่งกลอนลดไปเยอะค่ะ

สวัสดีค่ะอาจารย์Ico32โสภณ เปียสนิท

  • ขอเป็นการบ้านนะคะ  เรื่องของ  โคลง
  • จะนำมาแบ่งปันในโอกาสต่อไปค่ะ
  • ขอบพระคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ

ดีมากเลยนะคะ  ได้แบ่งปันความรู้  สมเป็นครูภาษาไทยจริง ๆ อ่านแล้ว สุดยอดของ "เพชรน้ำหนึ่ง"

น้องเอกหนีไปทานข้าวกับพี่คิมที่พิษณุโลกแล้วค่ะ

แวะมาลักเอ้ย ขออนุญาตเอาบล็อกไปให้สาวเมืองกาญจน์เข้ามาศึกษาแล้วครับ

อ่านแล้วดีมากเลยคะอาจารย์ที่มาแบ่งปันความรู้ให้

เป็นความรู้ที่ช่วยเตือนความจำเมื่อครั้งเก่าก่อนค่ะ (เคยเรียนมาแล้วแต่จำไม่ค่อยได้)โอ๋ชอบมากค่ะ "กลอน" กลอนอะไรๆ ก็ชอบ เพราะแต่ละคำฟังแล้วเพลิดเพลินมีการเล่นคำที่สวย (แต่แต่งไม่เป็นนะค่ะ รู้แต่ว่าเจอที่ไหนอ่านที่นั่น กลอนอะไรก็ได้) ขอบคุณทุกบันทึกที่ให้ความรู้เพิ่มเติมและช่วยเตือนความจำค่ะ

ขอบคุณค่ะ ได้ความรู้เพิ่มขึ้นค่ะ 
จะพยายาม ฝึกฝนตามที่แนะนำค่ะ

อยากได้เกี่ยวกับเพิ้นค่ะแต่งให้หน่อย

อยากให้ช่ายแต่งกลอนเกี่ยวกับ "ชาวประชาสุขใจ ใต้ร่มพระบารมี" นะค่ะ^^'`

แต่งไห้บ้างสิคะเกี่กับพ่อขุนรามคำแหง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท