ประเภทของตัวแปร


ประเภทของตัวแปร
ขึ้นอยู่กับเกณฑ์การแบ่ง

1. ระดับการวัด เป็นเกณฑ์ มี 4 ระดับ
1.1 ตัวแปรนามบัญญัติ (Norminal Variable) - แบ่งตามชื่อ กลุ่ม ประเภท ของสิ่งนั้น อาจเรียกว่าตัวแปรจัดประเภท หรือตัวแปรจัดกลุ่ม (Categorical Variable)
1.2 ตัวแปรอันดับ (Ordinal Variable) - แบ่งตามลำดับ สามารถบอกได้ว่าอะไรมากกว่า เช่น ลำดับการเกิด ระดับของยศ ตำแหน่ง
1.3 ตัวแปรอันตรภาค (Interval Variable) - ตัวแปรที่มีการวัดที่เริ่มจากศูนย์สมมุติ (Arbitrary Zero) และช่วงระหว่างหน่วยการวัดมีค่าเท่ากัน เช่น อุณหภูมิ คะแนนสอบ
1.4 ตัวแปรอัตราส่วน (Ratio Variable) - ตัวแปรที่มีการวัดที่เริ่มจากศูนย์แท้ (Absolute Zero) และ 1 หน่วยใด ๆ มีค่าเท่ากัน เช่น ความสูง ความเร็วรถ

2. ธรรมชาติของตัวแปร เป็นเกณฑ์ มี 2 ประเภท
2.1 ตัวแปรเชิงปริมาณ เช่น น้ำหนัก คะแนสอบ เจตคติ แบ่งออกเป็น
2.1.1 ตัวแปรต่อเนื่อง (Continuous Variable) - ตัวแปรเชิงปริมาณที่วัดเป็นทศนิยม เช่น ความสูง รายได้ คะแนนสอบ
2.1.2 ตัวแปรไม่ต่อเนื่อง (Concrete Variable) - ตัวแปรเชิงปริมาณที่วัดเป็นจำนวนเต็ม เช่น จำนวนคน ลำดับการเกิด

2.2 ตัวแปรเชิงคุณลักษณะ เช่น ศาสนา อาชีพ แบ่งออกเป็น
2.2.1 ตัวแปรทวิ (Dichotomous Variable) - แปรค่าได้เพียง 2 ระดับ
2.2.2 ตัวแปรพหุ (Mutichotomous Variable) - แปรค่าไดหลายระดับ

3. การทำหน้าที่ของตัวแปร เป็นเกณฑ์ มี 5 ประเภท
3.1 ตัวแปรต้นหรือตัวแปรอิสระ (Independent Variable) - ทำหน้าที่เป็นสาเหตุของความผันแปร เช่น อาชีพ ระดับชั้นการศึกษาของผู้ปกครอง เป็นปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักเรียน
3.2 ตัวแปรตาม (Dependent Variable) - ตัวแปรที่เป็นผลของตัวแปรต้น บางครั้งไม่สามารถระบุว่าตัวแปรใดทำหน้าที่อะไร เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถทางวิทยาศาสตร์และความสามารถทางคณิตศาสตร์
3.3 ตัวแปรรอง (Moderator Variable) - เป็นตัวแปรต้นชนิดหนึ่ง มีผลต่อตัวแปรตาม แต่มีความสำคัญรองจากตัวแปรต้น เช่น วิธีสอนกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน อาจมีเพศเป็นตัวแปรรอง
3.4 ตัวแปรแทรกซ้อน (Extraneous Variable) - ตัวแปรที่ไม่ได้สนใจศึกษา แต่มีผลต่อตัวแปรตาม เช่น การออกกำลังกายช่วยลดอาการภูมิแพ้ได้มากน้อยเพียงใด ตัวแปรแทรกซ้อน เช่น ความสะอาดของที่พัก การทำร่างกายให้อบอุ่น การรับประทานอาหารที่มีคุณค่า ฯลฯ เราสามารถควบคุมได้โดยวางแผนการควบคุม
3.5 ตัวแปรสอดแทรก (Interventioning Variable) - ตัวแปรที่ไม่ได้ตั้งใจศึกษา แต่มีผลต่อตัวแปรตาม แต่นักวิจัยควบคุมไม่ได้ เช่น ความร่วมมือของกลุ่มตัวอย่าง

หมายเลขบันทึก: 401176เขียนเมื่อ 6 ตุลาคม 2010 11:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 22:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท