การควบคุมความแปรผันของตัวแปรหรือความแปรปรวน


การควบคุมความแปรผันของตัวแปรหรือความแปรปรวน

                การควบคุมความแปรผันของตัวแปรหรือความแปรปรวน ซึ่งก็คือ การจัดกระทำให้ ความแปรผันของตัวแปรนั้น ๆ มีค่ามากน้อยตามความต้องการอันจะทำให้เราทราบอิทธิพลของตัวแปรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับตัวแปรที่เราต้องการศึกษาได้แน่ชัด หรือขจัดอิทธิพลนี้ออกไป จะช่วยให้การตีความผล การทดลอง หรือการวิจัยเป็นไปอย่างชัดเจนไม่คลุมเครือ และจะนำไปสู่การสรุปผลการวิจัยได้อย่างถูกต้อง ใกล้เคียงความเป็นจริง มากที่สุดซึ่ง ความแปรปรวน ในที่นี้หมายถึง ความแปรปรวนที่จะเกิดกับตัวแปรตามอันเป็นผลมาจากตัวแปรต้น

      ประเภทของความแปรปรวน   ความแปรปรวนที่เราต้องการศึกษาแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
     1. ความแปรปรวนที่เป็นระบบ (Systematic Variance) เป็นความแปรปรวนที่เกิดจากอิทธิพลที่เราทราบแหล่งแน่นอน  และอิทธิพลต่อความแปรปรวนประเภทนี้ เป็นผลคงที่ กล่าวคือ จะส่งผลเช่นเดียวกันในหน่วยทดลองทุกหน่วย
     2. ความแปรปรวนที่ไม่เป็นระบบ (Unsystematic Variance) เป็นความแปรปรวนที่เกิด
ความคลาดเคลื่อนมีทิศทางไม่แน่นอน จึงไม่สามารถกำจัดได้ เพราะไม่ทราบแหล่งและปริมาณที่แน่นอน ความแปรปรวนประเภทนี้ ถ้ามีมากจะทำให้ผลของการวิจัยมีความถูกต้องน้อยลง ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดความแปรปรวนชนิดนี้คือ ความแตกต่างระหว่างบุคคล ของผู้รับการทดลอง และความเคลื่อน ในการวัด           
     1. ทำให้ความแปรปรวนของตัวแปรตามอันเป็นผลเนื่องมากจากตัวแปรต้น หรือตัวแปรที่สนใจมีค่ามากที่สุด (Maximize Systematic Variance) ทำได้โดยเลือกตัวแปรต้นให้มีความ แตกต่างกันให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เช่น จะทดลองเปรียบเทียบวิธีการสอน วิธีการสอนทั้งสองนั้นจะต้องมีความแตกต่างกันผู้วิจัยคาดหวังว่าจากการสอนด้วยวิธีสอนสองวิธีนั้น จะให้ผลแตกต่างกัน เหตุผลที่ต้องพยายามทำให้ความแปรปรวนอันเป็นผลเนื่องมาจากตัวแปรต้นมีค่ามาก ที่สุด เพราะว่าจะทำให้ผลสรุป ที่ได้มีความชัดเจน กล่าวคือ ถ้าพบความแตกต่างระหว่างตัวแปรตามจะสรุปได้ว่ าเป็นผลเนื่องมาจากความแตกต่างระหว่างตัวแปรต้น นั่นเอง
     2. ทำให้ความแปรปรวนของตัวแปรตามอันเป็นผลเนื่องมาจากความคลาดเคลื่อนต่าง ๆ
มีค่าน้อยที่สุด (Minimize error Variance) ความคลาดเคลื่อนต่าง ๆ นั้นเกิดขึ้นจากความแตกต่างระหว่างบุคคล ความไม่คงที่ของสมาชิกในกลุ่มตัวอย่างแต่ละคน เช่น ในการทดลองเกี่ยวกับวิธีการสอน ใช้ครูคนเดียวกันในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ความคลาดเคลื่อนของเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล การลดค่าความแปรปรวนที่เกิดจากความคลาดเคลื่อนต่าง ๆ นั้นทำได้โดยปรับปรุงคุณภาพของเครื่องมือให้มีความตรง (Validity) และความเที่ยง (Reliability) ให้สูง และพยายามเพิ่มความแม่นยำในการบันทึกรวบรวมข้อมูล
     3. ควบคุมความแปรปรวนของตัวแปรตามอันเป็นผลเนื่องมาจากตัวแปรเกินให้มีค่า ต่ำสุด (Control extraneous Systematic Variance) ซึ่งทำได้โดยพยายามควบคุมหรือกำจัด ตัวแปรเกินต่าง ๆ ออกไปจากงานวิจัยให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

 

หมายเลขบันทึก: 401174เขียนเมื่อ 6 ตุลาคม 2010 11:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 เมษายน 2012 12:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท