เสียงสะท้อนจากรากหญ้า


ร่างพระราชบัญญัติปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับสถาบันกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สูญพันธ์)

เสียงสะท้อนเสียงนี้ไม่ได้สะท้อนเพื่อตัวเอง เพราะไม่ยึดติดกับตำแหน่งมีกำลัง มีโอกาส รีบๆทำงาน เพื่อชาติ แข่งกับเวลาเดี๋ยวก็แก่เกินงาน แต่เป็นห่วงเรื่องแนวคิด การปกครองบ้านเมืองที่เอาอย่างต่างประเทศ มากไปหรือปล่าว เร็วไปหรือปล่าว ไทยแลนด์ น๊ะครับ

เรื่องการกระจายอำนาจในมุมมองของผู้นำรากหญ้าคนหนึ่งที่เจอจากประสบการณ์ด้วยตัวเองและคนอื่นก็เจอเหมือนกัน ลองมาดูซิว่าควรจะเอาอยา่งไหนหรือเอาไว้ทั้งคู่ 

ข้อดี:การบริหารท้องถิ่นทำให้ผู้คนในท้องถิ่นมีการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ให้ดีขึ้นกว่าเดิมการบริหารต่างๆในท้องถิ่นสามารถทำได้โดยท้องถิ่นเอง ไม่ต้องรอส่วนกลางมาจัดดำเนินการให้ คนในท้องถิ่นจะมีโอกาสที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของตนเองได้โดยการริเริ่มที่ท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่นซึ่งเป็นคนในท้องถิ่นเอง ย่อมมีความรัก ความผูกพันกับท้องถิ่นของตน ต้องการที่จะทำให้ท้องถิ่นของตนเจริญก้าวหน้า ผู้คนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี จึงมักทุ่มเทพลังกายพลังใจและสติปัญญาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นของตนเองอย่างเต็มกำลัง

-นี่เป็นความฝันของนักวิชาการ นักการเมือง ถ้าผู้บริหารท้องถิ่นทำได้ก็เหมือนฝันที่เป็นจริ

ข้อเสีย:การกระจายอำนาจจากส่วนกลางมาที่ท้องถิ่นหมดทุกเรื่องเลยกลายเป็น กระจุ

        :ท้องถิ่นใช้เงินในการบริหาร ใช้เงินพัฒนา 

 ที่ไหนมีงบเยอะ ก็สร้างๆ ทุบๆ อยู่กับโครงสร้างพื้นฐาน

 ที่ไหนงบประมาณน้อย ก็สร้างแต่โครงสร้างพื้นฐาน 

 ปัญหาทุกข์สุข ปัญหายาเสพติด ปัญหาผู้มีอิทธิพล ป่าไม้ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ความมั่นคง และที่สำคัญ ความสามมัคคี จะทำไม่ได้ 

เหตผล:1.ขาดความใกล้ชิด 2.กลัวอิทธิพล มีผลกระทบคะแนนเสียง 3.การใช้เงินอย่างเดียว ไม่ได้ใจ

ปัญหา:สภาพพื้นที่ไม่เหมือนกัน ศักยภาพผู้นำ/บุคลากร/ความเชื่อถือ

ควรจะมีท้องที่และท้องถิ่นควบคู่กันไป ไม่จำเป็นต้องกระจุก

หมายเลขบันทึก: 400926เขียนเมื่อ 4 ตุลาคม 2010 23:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 10:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีครับผู้ใหญ่

มายกมือสนับสนุนครับ"นี่เป็นความฝันของนักวิชาการ นักการเมือง ถ้าผู้บริหารท้องถิ่นทำได้ก็เหมือนฝันที่เป็นจริง"

เท่าที่ทำงานชุมชนมาสัมผัส ท้องถิ่นที่คิดเรื่องสุขภาวะชุมชนมีน้อยมาก

ส่วนใหญ่ยังวนอยู่แต่โครงสร้างพื้นฐาน ทั้งๆที่หลายอบต.ยกฐานะมาเป็นทศบาล ก็ยังวนอยู่ในพื้นของโครงสร้าง

แต่ยอมรับว่าบางแห่งบางที่ก้าวข้ามไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชนแล้ว

*ขอบคุณครับ ท่านวอญ่า ที่สนับสนุน ที่สะท้อนออกมาอยากให้เห็นภาพอีกมุมหนึ่งตามความเป็นจริง เดี๋ยวตามไปดูกันต่อ

  • มีคนถามไว้แบบนี้ครับ

สวัสดีค่ะ
 
ก่อนอื่นขออนุญาติแนะนำตัวก่อนนะคะ  ชื่อรุ่งอรุณคะ เป็นครีเอทีฟ รายการชุมชนต้นแบบ  ออกอากาศทางทีวีไทย ทุกวันเสาร์ เวลา 11.05-12.00 น. คะ
หรือจะดูรายการย้อนหลังได้ที่  http://www.thaipbs.or.th/Chumchon/
 
 
พอดีว่า ดิฉันได้ค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต เกี่ยวกับศูนย์การเรียนรู้ชุมชน และสนใจข้อมูลของชุมชนบ้านน้ำทรัพย์ จึงได้ติอต่อมา แต่ก่อนหน้านี้ดิฉันได้มีโอกาศโทรคุยกับคุณชูชาติ  แต่ไม่นาน เพราะสัญญาณไม่ค่อยจะได้ยิน  เลยขอเปลียนการติดต่อมาเป็นทางอินเทอร์เน็ตแทน  คงไม่ว่ากันนะคะ
 
เห็นว่าที่ชุมชนมีฐานการเรียนรู้เรื่องเศณษฐกิจพอเพียง และเปิดเป็นศูนย์การเรียนรู้ ให้คนเข้ามาดูงาน ก่อนอื่นคงต้องถามก่อนนะคะว่า
1. ชุมชนตั้งศูนย์เรียนรู้ขึ้นมาได้อย่างไร  ได้เพราะคนในชุมชนเองหรือว่า เพราะมีหน่วยงานภาครัฐสนับสนุน หรือเพราะทั้งสองอย่างร่วมกัน
2. วิธีการหรือกระบวนการสร้างศูนย์การเรียนรู้จนสำเร็จเป็นอย่างไร หรือมีชาวบ้านในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมอย่างไรบ้าง
3. วันนี้ชุมชนเราเป็นอย่างไร  อนาคตจะเป็นอย่างไร
 
ปล. ต้องขอโทษด้วยนะคะ ที่ถามเป็นข้อๆๆ  แต่เราอยากได้ข้อมูลเชิงลึกของชุมชน เพื่อนำเสนอสถานีนะคะ
 
ถ้ามีโอกาศ  เราอยากจะขอเข้าไปถ่ายทำรายการสักวันที่ 19 ตุลาคม 2553 - วันที่ 22 ตุลาคม 2553

ให้คุณรุ่งอรุณไปอ่านที่นี่ก้ได้ครับ

ขจิต ฝอยทอง - khajit's blog - เตรียมถอดบทเรียนหมู่บ้านน้ำทรัพย์(2)

ขจิต ฝอยทอง - khajit's blog - ถอดบทเรียนหมู่บ้านน้ำทรัพย์(3)

  ถอดบทเรียนหมู่บ้านน้ำทรัพย์(4)

ถอดบทเรียนหมู่บ้านน้ำทรัพย์(5)

 ถอดบทเรียนหมู่บ้านน้ำทรัพย์(6):...

ถอดบทเรียนหมู่บ้านน้ำทรัพย์(7):กลุ่มเกษตรกรของหมู่บ้าน

 

-สวัสดีครับครับอาจารย์ ตอนนี้ผมอยู่ที่ กศน.แก่งกระจาน กำลังคุยอยู่กับท่าน ผอ.เดียว อยู่นินทาอาจารย์ บ้างเล็กน้อยพอพุดถึงอาจารย์ เข้ามาเจอเลย ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท