พระมหาสะง่า
พระมหา พระมหาสะง่า ธีรสํวโร ไชยวงค์

วัดหมูบุ่น


ฟื้นวัด ฟูเมือง เรื่องหมู ๆ

 

หายหน้าไปหลายวัน เพราะมีภาระทั้งการเรียน การสอบ และงานบริการสังคม ชุมชนตามประสา  วันนี้สอบเสร็จอันเป็นภาระที่ตนเองทำอยู่ ทั้งในหน้าที่การสอนก็ตรวจข้อสอบเสร็จเป็นที่เรียบร้อย  สบายใจยิ่งนัก  ตจึงขอเล่าเรื่องวัดหมูบุ่นต่ออีกเล็กน้อย

          เมื่อวันที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๕๓ ที่ผ่านมา พระมหาสง่าพร้อมเพื่อน ๆ ที่ร่วมมือร่วมใจกันมี ดร.เกรียงไกร  เกิดศิริ  คุณพิทยา  คุณพัชรินทร์ กับอีกหลายชีวิต ได้ไปร่วมงานวางฤกษ์ในการสร้างวัดหมูบุ่นมา

http://i973.photobucket.com/albums/ae218/schaiwong/P1140838_resize.jpg

           ฝ่ายพระสงฆ์มีหลวงพ่อพระเทพวรสิทธาจารย์ รองเจ้าคณะภาค ๗ เจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยสุเทพ เป็นประธาน 

http://i973.photobucket.com/albums/ae218/schaiwong/P1140809_resize.jpg

   ทางฝ่ายบ้านเมืองก็มีท่านอธิบดี กรมปศุสัตว์ มาเป็นประธาน พร้อมคุณบุญเลิศ  บูรณุปกรณ์ นายก อบจ.เชียงใหม่   ในวันนั้นท่านอธิบดีได้กล่าวว่า "ท่านเพิ่งทราบจากหลวงพ่อว่า ในพื้นที่เมืองเจ็ดลินนี้ มีวัดร้างอยู่  และเป็นนิมิตหมายที่ดี ที่หลวงพ่อปรารภที่จะฟื้นฟูวัดแห่งนี้ขึ้นมา เพื่อเป็นสถานที่ศึกษา ปฏิบัติธรรม บ่มเพาะจิตวิญญาณของปวงชน  ท่านอธิบดีในนามของ กรมปศุสัตว์ และมหาวิทยาลัยที่ใกล้ชิด โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยราชมงคลมีความยินดี และขอเป็นส่วนหนึ่งที่จะสนับสนุนเพื่อให้วัดนี้สำเร็จตามเจตนารมย์ของคณะสงฆ์สืบต่อไป

http://i973.photobucket.com/albums/ae218/schaiwong/P1140825_resize.jpg

           ที่สำคัญหลวงพ่อมีความปรารถนาที่จะนำพาคณะสงฆ์ ศรัทธา ประชาชนทั้งหลายร่วมแรง ร่วมใจกัน สร้างวัดแห่งนี้ขึ้น

           ๑. เพื่อสืบสานจิตวิญญาณของบรรพชน

           ๒. เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล เสริมบารมีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

           ๓. เพื่อประดิษฐานพระแก่นจันทร์

           ๔. เพื่อเป็นแหล่งศึกษา เรียนรู้ ถ่ายทอดความรู้ด้านพุทธศิลป์ของท้องถิ่น

           ๕. เพื่อเป็นศูนย์รวมใจของศาสนิกชนทั้งหลายสืบไป

http://i973.photobucket.com/albums/ae218/schaiwong/P1140834_resize.jpg

อาจารย์ ดร.เกรียงไกร  เกิดศิริ   ม.ศิลปากร  หัวหน้าทีมงานออกแบบวัดหมูบุ่น

(โชติกุนสุวรรณาราม สัตตธารานคร เชียงใหม่)

http://i973.photobucket.com/albums/ae218/schaiwong/P1140829_resize.jpg

อ.จำเหลาะ  สมจิตต์  คุณครูผู้เฝ้ามองการเปลี่ยนแปลงของวัดหมูบุ่น  ของเวียงเจ็ดลิน  และเฝ้ารอคอยมากว่า ๕๔ ปี  ด้วยหวังว่า วันหนึ่งวัดและเวียงแห่งนี้จะฟื้นกลับคืนมามีชีวิตอีกครั้งหนึ่ง

           ทีมงานกำลังดำเนินงาน ก้าวไปอย่างช้า ๆ  ก้าวหน้าอย่างไรจะได้นำมาบอกเล่าต่อไปครับ

หมายเลขบันทึก: 399974เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2010 18:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 23:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พูนทรัพย์ วงศาศุกลปักษ์

ช่วยเวียงเจ็ดลินด้วย

ผมพบหลักฐานที่สำคัญว่าเวียงเจ็ดลินที่เชียงใหม่คือแอตแลนติสในงานเขียนของเพลโต้ครับ ผมพร้อมที่จะเสนอหลักฐานเหล่านั้นทุกเมื่อครับ แต่ขณะนี้เวียงเจ็ดลินกำลังถูกคุกคามอย่างหนักครับ

สัญลักษณ์ทรงกลมเชิงดอยสุเทพ

การพัฒนาสัญลักษณ์ทรงกลม(เวียงเจ็ดลิน ?)เป็น ความเสื่อมสลายทางจิตวิญญาณเป็นกระบวนการทำให้เป็นเชิงพาณิชย์ทั้งระบบที่ถือว่าเป็นการปล้นทรัพย์สินทางปัญญาของบรรพชนเพราะว่านั่นเป็นการเอามาทำกำไรส่วนตัว ซึ่งเห็นว่าเป็นการ ทำลายบรรพชนและทำลายจิตวิญญาณทางสังคม  แน่นอนว่าในขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมใหม่เห็นว่า ทุนนิยมเป็นมหันตภัยอันร้ายกาจกรณีของการทำสัญลักษณ์ทรงกลม(เรียกกันว่าเวียงเจ็ดลิน ?)ให้เป็นเวียง ก็อาจมีข้อควรตำหนิอยู่บ้าง แต่ถามว่าเอาเข้าจริงแล้วจิตวิญญาณของบรรพชนโดยแก่นแท้นั้นคืออะไร สำหรับผู้เขียนเห็นว่ามันเป็นแนวความคิด ไม่ใช่รูปแบบ ดังนั้นการอ้างว่าพัฒนาเวียงนั้น อาจไม่จริงแต่การก้าวล่วงพื้นที่ของสัญลักษณ์ทรงกลม โดยการนำเอาฟังก์ชั่นสาธารณะแบบทางโลกย์มาใช้นั้นในเชิงลำดับศักดิ์ และคุณค่าแบบผังเมืองแล้ว นั่นคือปัญหาแน่ๆสิ่งที่ กระทำ(โครงการพัฒนาเวียงเจ็ด

ลินงบประมาณ 300 ล้านบาท) ได้ทำการตบหน้านักอนุรักษ์นิยมทั้งหลายอย่างไม่ตั้งใจด้วยการจี้จุดไปส่วนที่สำคัญที่สุดของเขา นั่นคือความศักดิ์สิทธิ์ที่ในโลกสมัยใหม่นับวันจะถูกทำให้กลายเป็นเรื่องทางโลกมากขึ้นทุกที

พูนทรัพย์  วงศาศุกลปักษ์

เลขานุการศูนย์มานุษยวิทยาชาติพันธุ์เวียงเจ็ดลิน

0845048755

[email protected]

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท