เครื่องพิมพ์สกรีนเสื้อดิจิตอล DTG (ตอนสุดท้าย)


สกรีนเสื้อ, สกรีนเสื้อ DTG, เครื่องพิมพ์เสื้อดิจิตอล

สำหรับเครื่องพิมพ์สกรีนเสื้อดิจิตอล DTG ที่จำหน่ายอยู่หลากหลายแบรนด์ในท้องตลาดทั้งที่เป็นเจ้าของเทคโนโลยีด้านฮารด์แวร์เองและนำเทคโนโลยีหัวพิมพ์มาประยุกต์ดัดแปลงเครื่องพิมพ์ของตนเองโดยรวมแล้วมีอยู่ไม่ต่ำกว่า 10 แบรนด์ เช่น Brothers , Mimaki ,Kornit , Anajet, Fast T-Jet, Dream-Jet,Veloci-Jet  ซึ่งนอกเหนือจากปัจจัยทางด้านฮารด์แวร์แล้ว ในเรื่องของหมึกพิมพ์ และ ซอฟต์แวร์ก็ถือเป็นส่วนสำคัญเทียบเท่ากัน หากเปรียบฮารด์แวร์เป็นเครื่องจักร หมึกพิมพ์คือวัตถุดิบที่ป้อนให้กับเครื่องจักร โดยมีซอฟต์แวร์ช่วยควบคุมเป็นแบล็คกราวน์โพสเซสให้น้ำหมึกถูกฉีดในปริมาณที่เหมาะสมอิงหลักการของการสกรีนเสื้อแบบซิลค์สกรีน(โดยเฉพาะการสกรีนเสื้อลงบนเนื้อผ้าสีเข้ม ที่ต้องมีการรองพื้นด้วยหมึกสีขาว )  หากหมึกพิมพ์มีคุณสมบัติไม่เหมาะสม ผลลัพธ์หรือเอ้าพุทที่ได้ก็ด้อยคุณภาพ กล่าวคือ สีที่พิมพ์ลงบนผ้าเพี้ยนไปจากต้นฉบับ หรือ ซีดกว่าต้นฉบับ การยึดเกาะบนเส้นใยผ้าไม่คงทน เมื่อนำไปซักล้างจะซีดจางหรือหลุดลอก  และหมึกพิมพ์ที่มีคุณสมบัติไม่เหมาะสมหรือไม่สนับสนุนกลไกของหัวพิมพ์อาจส่งผลเสียต่อหัวพิมพ์ คือเกิดการอุดตันไม่สามารถใช้งานได้     สำหรับซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับเครื่องสกรีนเสื้อ DTG การสกรีนลงบนเสื้อสีอ่อนอาจไม่มีความจำเป็นมากนัก แต่สำหรับการสกรีนเสื้อสีเข้ม RIP software (Raster image processing)  เป็นสิ่งที่ผู้ผลิตให้ความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าหมึกพิมพ์  เนื่องจากกระบวนการสกรีนเสื้อสีเข้มจำเป็นต้องมีการพิมพ์หมึกสีขาวรองพื้นเพื่อช่วยให้หมึกพิมพ์ไม่ถูกสีผ้าดูดกลืนจนเกิดการซีดจางจนมองแทบไม่เห็น  เมื่อมีกระบวนการพิมพ์สีขาวรองพื้นเข้ามาเกี่ยวข้อง ทางผู้ผลิตจึงต้องคิดค้นโปรแกรมที่จะนำมาควบคุมการฉีดหมึกขาว สำหรับหัวพิมพ์ที่แยกขึ้นมาต่างหากจากชุดหัวพิมพ์หมึกปกติอีกหนึ่งชุด และสำหรับจุดเด่นของซอฟแวรต์ในงานพิมพ์บนเนื้อผ้าสีเข้มยังมีเป็นส่วนช่วยในการเตรียมอาร์ตเวิคร์(แยกเลเยอร์ รองพื้น) ก่อนพิมพ์ เพื่อลดขึ้นตอนที่ซับซ้อนในการทำงานบนโปรแกรมออกแบบกราฟิก  


       ดังที่กล่าวถึงความสำคัญของหมึกพิมพ์และ RIP ซอฟต์แวร์ข้างต้น ผู้ผลิตที่อยู่ในวงการพิมพ์สกรีน เช่นผู้จัดจำหน่าย หมึกพิมพ์ อุปกรณ์พิมพ์สกรีนได้มองเห็นช่องทางการเติบโตในอนาคตของเครื่องพิมพ์  จึงได้มีผู้ผลิตหมึกพิมพ์รวมถึง RIP Software เพื่อป้อนให้กับผู้ผลิตเครื่องพิมพ์ที่ขาดโนฮาวทางด้านหมึกพิมพ์และซอฟต์แวร์ ซึ่งมีอยู่หลากหลายแบรนด์ในท้องตลาด


มุมมองเปรียบเทียบระหว่างการสกรีนเสื้อด้วยเครื่องพิมพ์สกรีนดิจิตอล กับการสกรีนด้วยวิธีดั้งเดิมแบบซิลค์สกรีน ในอนาคตอันใกล้ผู้เขียนคาดว่าเมื่อเทคโนโลยีด้านการสกรีนเสื้อดิจิตอลถูกพัฒนาต่อยอดไปถึงจุดที่ หมึกพิมพ์ ซอฟต์แวร์ และฮาร์ดแวร์ มีคุณภาพที่ยอมรับได้ในช่วงราคาต่ำกว่า 200,000 บาท  ซึ่งปกติเครื่องพิมพ์แบรนด์ยุโรป หรืออเมริกาที่ให้คุณภาพงานพิมพ์ที่ดี กล่าวคือ สีที่ถูกพิมพ์ลงบนเนื้อผ้ามีความสดใกล้เคียงต้นฉบับ ความคงทนของหมึกบนเส้นใยผ้าเมื่อนำไปซักล้างไม่ซีดจาง   เทคโนโลยีหัวพิมพ์ที่ออกแบบมามีความเข้ากันได้เพื่อช่วยลดการอุดตันของหัวพิมพ์ ซึ่งมีส่วนช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านอะไหล่และการค่าบำรุงรักษา  ในคุณสมบัติที่กล่าวมาราคาจะอยู่ในช่วงตั้งแต่ 700,00-2,000,000 บาท     ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้มีความใกล้เคียงงานพิมพ์ซิลค์สกรีนประเภทสีจมกล่าวคือเนื้อสีซึมลงสู่เส้นใยของเนื้อผ้าให้ผิวสัมผัสที่เป็นเนื้อเดียวกับผ้า แม้ว่าในเรื่องความคมชัดและความสดยังไม่สามารถเทียบได้กับงานซิลค์สกรีน

ความเปลี่ยนแปลงที่น่าจะได้เห็นคือร้านรับสกรีนเสื้อประเภท Heat Transfer ที่รับพิมพ์ภาพถ่ายจะค่อยถูกแทนที่ด้วยเครื่องพิมพ์ดิจิตอล DTG   ที่สามารถรับออเดอร์จำนวนน้อยไม่จำกัดสีในงานพิมพ์ และพิมพ์เสร็จในเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งเป็นจุดเด่นของงานสกรีนแบบดิจิตอล  สำหรับการเข้ามากินตลาดของเครื่องสกรีนเสื้อ DTG ในงานซิลค์สกรีนผู้เขียนยังเชื่อว่า ด้านคุณภาพของงานซิลค์สกรีนทั้งในด้านความคมชัด ผิวสัมผัสที่สามารถควบคุมด้วยเทคนิคในการสกรีนแบบต่าง  ๆ เพื่อให้ได้ผิวสัมผัสเป็นเนื้อเดียวกับผ้า เป็นเนื้อยาง ผิวนูนหนา และเอฟเฟ็คอื่นๆ (ขึ้นกับเทคนิคการสกรีน) และสิ่งที่สำคัญคือการผลิตในปริมาณมากที่มีค่าใช้จ่ายคือค่าแรงงานในการสกรีนต่อตัวที่ต่ำมาก(ต่ำกว่า 10 บาท)  ทำให้ผู้เขียนมองว่าตลาดการสกรีนเสื้อแบบซิลค์สกรีนจะยังคงอยู่คู่กับอุตสหกรรมการสกรีนเสื้อต่อไปอีกยาวนาน

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงเกี่ยวกับ การสกรีนเสื้อ DTG (บางส่วน) จากเว็บไซต์ www.pandascreen.com

หมายเลขบันทึก: 399967เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2010 18:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 11:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท