นานาทัศนะ การท่องเที่ยวหลังมรดกโลก


นานาทัศนะ การท่องเที่ยวหลังมรดกโลก

นานาทัศนะ การท่องเที่ยวหลังมรดกโลก

ดร.วารัชต์ มัธยมบุรุษ[1]

           ผมได้มีโอกาสไปนำเสนอผลงาน เรื่อง การจัดการการท่องเที่ยวพำนักระยะยาวในจังหวัดเชียงใหม่ กรณีศึกษานักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่น เป็นงานวิจัยที่ต่อยอดงานปริญญาเอกของผม ที่เมือง Yogyakarta ประเทศอินโดนีเซีย ระหว่างวันที่ 31 กรกฎาคม 2553 – 5 สิงหาคม 2553 ที่จัดโดยมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย ประเทศไทยกับ Gadjah Mada University, Indonesia ในงานนำเสนอระดับนานาชาติในหัวข้อ .Toward Enhancement of Economic, Social, Technological and Environmental Development for Welfare Implications in the Greater Mekong Sub – region and Asia-Pacific” กับ ดร.สิทธิศักดิ์ ปิ่นมงคลกุล อาจารย์สาขาวิชาชีววิทยา ที่นำเสนอในหัวข้อ ความหลากหลายชนิดของสัตว์ป่าในภาคเหนือของประเทศไทย ในการนำเสนอครั้งนี้ผมได้มีโอกาสไปเยี่ยมชม โบราณแห่งหนึ่งที่เป็นมรดกโลก ของประเทศอินโดนีเซียชื่อว่า บุโรพุทโธ หรือ Borobudur ที่เป็นศาสนาสถาน ที่สร้างขึ้นประมาณ ค.ศ. 750 เป็นศาสนาสถานที่ขึ้นทะเบียนเป็นมรดก สถานที่แห่งนี้มีลักษณะเป็น สี่เหลี่ยมจัตุรัส ยาวและกว้าว ยาวด้านละ 123 เมตร ประกอบด้วย 9 ชั้น รวมฐานและยอดสถูป

          การท่องเที่ยวครั้งนี้เป็นครั้งหนึ่งที่ผมได้มีโอกาสเดินทางไปยังสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นมรดก ทำให้ผมได้นึกย้อนไปยังสถานที่ที่ผมเคยไปได้แก่ กำแพงเมืองจีน และพระราชวังโบราณ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน หลวงพระบาง ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว นครวัด นครธม ประเทศกัมพูชา อุทยานประวัตศาสตร์ อยุธยา และอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ประเทศไทย สถานที่เหล่านี้ทำให้ผมเกิดความคิดหรือทัศนะบางประการ หรือข้อคำถาม ว่า สถานที่เหล่านี้เมื่อเป็นมรดกโลก กลายเป็นทรัพยากรการท่องเที่ยวอย่างทำให้นักท่องเที่ยวมาท่องเที่ยว กับ สถานที่เหล่านี้ได้รับการดูและเพราะการเป็นมรดกมากโลกขึ้น จริงหรือเปล่า รวมทั้งแหล่งท่องเที่ยวเหล่านี้ไม่ได้เป็นมรดกโลก คงไม่ถูกทำลายไปมากกว่านี้ ฯลฯ

          ในความคิดของผมเพื่อตอบคำถามในแง่ลบเหล่านั้น ผมขอยกตัวอย่างเพื่อจะได้เห็นเป็นรูปธรรมตามแหล่งสถานที่ท่องเที่ยวที่ผมได้เดินทางไปผมคงขอยกกรณีที่ผมได้ไปมาล่าสุด ที่บุโรพุทโธ สถานที่ท่องเที่ยวนี้ใช้เวลาเดินทางมากกว่า หนึ่งชั่วโมงครึ่ง โดยรถบัส จาก Yogyakarta เมื่อไปถึงก็ต้องไป Tourism Information Center เป็นสถานที่ผมต้องไปจ่ายเงินค่าเข้าชมสำหรับชาวต่างชาติ ที่นี้มีบริการน้ำดื่ม กาแฟ ห้องน้ำฟรี แต่เมื่อออกนอกสถานที่จะต้องจ่ายเงินเอง และยังไปสถานที่จ้างมัคคุเทศก์เพื่อการอธิบายสถานที่นี้ เราไม่ต้องจ้างมัคคุเทศก์จากข้างนอก ผมสามารถจ้างได้ที่นี่หรือไม่จ้างเลยก็ได้ ผลก็คือเดินตรงไปยังพุทธสถานเลย เมือเดินไปสิ่งพบคือ ความสามารถของคนอดีตที่สามารถสร้างสถานที่ได้อย่างน่าอัศจรรย์ สร้างมากกว่า 1200 ปี amazing!! สำหรับที่บุโรพุทโธได้รับการบูรณแล้ว ผมคาดว่าใช้การบูรณแบบ อนัสดิโลซิส เป็นกระบวนบูรณโบราณสถานที่ที่สร้างด้วยหิน ที่นิยมมากอย่างหนึ่งของโลก สำหรับปัญหาที่เกิดขึ้นการสร้างความเข้าในการเยี่ยมชมสถานท่องเที่ยว ยกตัวอย่างเช่นผู้ให้บริการการท่องเที่ยวเห็นว่าอากาศที่นี่ร้อนสลับการมีฝน เลยมีการให้บริการให้เช่าร่มหรือข่ายร่ม อันนี้เป็นสิ่งที่ดีทำให้ชุมชนมีรายได้ แต่ขาดความรู้ที่ดี เพราะการร่มให้นักท่องเที่ยวดูเหมือน ดี แต่บังเอิญว่าร่มที่เช่ากับขาย มีสีสัน เนื่องจากเมื่อเป็นเช่าเลยคงกลัวหาย เลยต้องมีสีสันมากๆ ทำเวลามองจากข้างนอกมายังโบราณสถาน เกิดสีสันมาก ทำให้เหมือนกับโบราณมีสีตลอด หากเปลี่ยนสีร่มเป็นสีน้ำตาลหรือธรรมชาติน่าจะดีกว่า รวมทั้งการมีร่มจำนวนมาบนโบราณจะทำให้เกิดการเดินชนกัน หรือถ่ายรูปบนโบราณสถานก็จะติดร่มไปด้วย นอกจากนั้นยังพบว่า การให้ความรู้ก่อนการเดินทางเข้าชมก็ยังมีปัญหา คือการที่นักท่องเที่ยว ร้อยละ 90 ไม่ทราบว่าโบราณสถานห้ามปีนป่ายเพราะจะเป็นการทำลายสถานที่ท่องเที่ยว หรือการที่นักท่องเที่ยวที่เป็นชาวมุสลิมจับศีรษะพระพุทธรูป การเก็บ หินแกะสลัก นอกจากนั้นยังมีการค้าขายของชาวชุมชนที่เข้ามารุม พยามขายสินค้าให้ได้เหมือนเราไปซื้อของที่แม่สาย โดยสรุปแล้วการจัดการสถานที่ท่องเที่ยวที่นี่ไม่ดี ไม่มีการให้ความรู้แก่นักท่องเที่ยวโดยเฉพาะนักท่องเที่ยวท้องถิ่นที่ไม่สนใจการเข้าชมพุทธสถาน เพราะพุทธศาสนาไม่มีความสำคัญแก่พวกเขา จึ่งทำให้ในอนาคตของสถานที่แห่งนี้จะทำให้เกิดความเสื่อมโทรมจากการเดินทางของนักท่องเที่ยว หากมีการให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการการท่องเที่ยว และนักท่องเที่ยวก่อนการท่องเที่ยว ย่อมจะทำให้การท่องเที่ยวของที่นี่ยั่งยืน

          ส่วนเมืองมรดกโลกหลวงพระบาง เมืองนี้เป็นมรดกโลกทั้งเมืองไม่ได้เป็นแค่ บางส่วนหรือเป็นเฉพาะที่ สิ่งที่ผมเห็นและประทับใจคือการรักษาความเป็นเมืองเก่าที่อยู่เหนือกาลเวลา เหมือนถูกหยุดไว้ตั้งแต่ ประมาณเมื่อ 200 ปีที่ผ่านมาแล้วซึ่งความงดงามของเมือง วัดต่างๆ รวมถึงการแต่งกายของผู้คนในเมืองหลวงพระบาง ทำให้ผมเกิดความประทับใจมากในเมืองนี้ สมแล้วที่เป็นเมืองมรดกโลกทั้งเมือง แต่เมื่อถึงเวลากลางคืนผมได้เดินทางออกมานอกที่พักการที่เป็นเมืองที่หยุดของกาลเวลา กลายเป็นเมืองยุคใหม่ที่มีชาวต่างชาติเดินตลอดเวลา ร้านขายเหล้า เบียร์ แบบทันสมัยมีให้เห็นมากมายเหมือนที่ถนนข้าวสารของบ้านเรา คำถามที่เกิดขึ้นในใจเกิดอะไรขึ้นกลางวันที่ผมเดินก็ถนนเส้นเดียวกับกลางคืน เมื่อเราตอบคำถามแบบผม ผมก็หาคำตอบแบบผม ก็คือ มรดกโลกก็ให้เกิดโอกาสในการสร้างผลประโยชน์แก่ผู้คนทั่วไปแต่ไม่ได้กระจายโอกาสทุกคน ทั้งทีแนวความคิดของมรดกโลกต้องทำให้ทุกคนมีโอกาสเท่ากัน ทำให้หลวงพระบางสร้างโอกาสให้กับคนบางคนเท่านั้น แต่ในความคิดของผมกลับมองว่านักท่องเที่ยวนั้นแหละที่ขาดการให้ความรู้ที่ถูกต้องในการท่องเที่ยวในเมืองมรดกโลก มีความต้องอะไรก็ร้องขอให้คนในชุมชนทำให้ ต้องการร้านค้าขายเบียร์ก็ให้คนในชุมชุนก็จัดการสร้างมาขายให้ คนในชุมชนเมือเห็นเงินก็จัดการให้โดยไม่มีความเข้าใจในการจัดการเมืองมรดกโลกเพียงพอทำให้เกิดการสถานการณ์ดังกล่าว รวมทั้งบ้านหลายสิบหลังในเมืองหลวงพระบางกลายเป็นบ้านพักให้ชาวต่างชาติเพื่อแลกกับเงินประมาณ 10 เหรียญสหรัฐต่อคืน และเมื่อพิจารณาดีจะพบว่าชาวบ้านของหลวงพระบางเองก็ย้ายออกนอกเมืองไปพักรอบนอบเพราะค่าใช้จ่ายในเมืองหลวงพระบางค่อนข้างสูงทำให้ประชาชนชาวหลวงพระบางไม่สามารถอยู่ได้ พอตอนเช้าชาวหลวงพระบางจะเดินทางมาทำงานในเมือง เปิดร้านค้า ขายของที่ระลึก ให้ชาวต่างชาติ เหมือนทำให้ชาวหลวงพระบางเป็นการทำงานให้นักท่องเที่ยวเห็น คงเหมือนกับสวนสัตว์มนุษย์ ตามแหล่งท่องเที่ยวชนเผ่าในภาคเหนือ แล้วจริงๆแล้ว ชาวหลวงพระบางจะได้อะไรจากเมืองมรดกโลก นอกจากการได้เศษเงิน ต้องออกจากเมืองที่เคยเกิดเพราะค่าครองชีพสูง ส่วนประเพณีการตักบาตรข้าวเหนียวตอนหกโมงเช้า กลายเป็นการแสดงแบบมีส่วนรวมระหว่าง พระ พ่อค้าและนักท่องเที่ยว บวกชาวบ้าน แล้วอนาคตจะเป็นอย่างไรหว่า

          ส่วนกำแพงเมืองจีน และพระราชวังโบราณ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน พบว่าการท่องเที่ยวที่นี้เป็นระบบค่อนข้างดี การท่องเที่ยวที่นี่มีระเบียบ ไม่วุ่นวาย ไม่มีการให้ความรู้นักท่องเที่ยวว่าอะไรควรทำ หรือไม่ควรทำ Do and Do not แต่เป็นการให้ข้อกำหนดเลยมาห้ามทำอะไรบ้าง ไม่ต้องสร้างจิตสำนึกในการท่องเที่ยว ผมเอกกลับคิดว่าทำแบบนี้ก็ดีเพราะนักท่องเที่ยวชาวจีนและชาวต่างชาติย่อมไม่ค่อยสนใจการเรียนรู้ก่อนการท่องเที่ยว ฉะนั้นการห้ามก็เป็นข้อดีข้อหนึ่ง การบริหารจัดการสถานที่ก็ทำได้ง่ายไม่ต้องกำหนด ได้ง่าย ป้องกันปัญหาได้ง่าย แก้ไขปัญหาได้ง่าย ในความคิดของผมคือ ทุกคนไม่ว่าใครต้องอยู่ภายใต้กฎหมายจีน ใครมาท่องเที่ยวต้องทำตามกฎหมายไม่สามารถทำตามความต้องการของตนเองได้ การจัดการแบบจีน แล้วควรเอาอย่างหรือเปล่า (บางเรื่อง) แต่อย่างไรก็ตามสิ่งที่ผมค้นพบในการจัดการการท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวจะมีการจัดการด้านห้องน้ำที่สะอาด การขายของที่ระลึกจะเป็นระเบียบ การเดินทางเข้าออกแหล่งจะเป็นระเบียบด้วยเมื่อชมสานที่เสร็จก็จะเป็นแหล่งขายของที่ระลึกของรัฐบาล (จริงหรือเปล่า) ไกด์จีนบอกอย่างนั้น เราก็เชื่อได้อย่างนั้น (เหรอ) ในสถานที่ท่องเที่ยวของจีนจะเน้นความสวยงาม ใหญ่ไม่เน้นเรื่อง รายละเอียดเท่าไหร่ เหมาะกับการถ่ายรูปมากกว่า การมาศึกษาหาความรู้ ฉะนั้นการเรียนรู้จากแหล่งท่องเที่ยวจะต้องศึกษามาล่วงหน้า อีกทั้งการเข้าชมสถานที่มีเวลาจำกัดเนื่องจากนักท่องเที่ยวค่อนข้างมาก แค่นักท่องเที่ยวชาวจีนเที่ยวเองก็ตกประมาร ร้อยละ 90 ของนักท่องเที่ยวทั้งหมด ฉะนั้นจะต้องเที่ยวแบบก็รายละเอียดได้น้อยเน้นถ่ายรูปกับอาคาร มากกว่า เออ แล้วเราจะได้อะไรจากการท่องเที่ยวหว่า...

          ส่วนหลวงเมืองนครวัด นครธม ของประเทศกัมพูชา ที่ใครๆ ก็ให้นิยามเดียวกันว่า See Angkor before die หรือในชีวิตนี้ก่อนตายควรมาเยี่ยมชมอังกร ในการเยี่ยมชมในสถานที่ท่องเที่ยวนี้พบว่า โบราณแห่งนี้ ครอบคลุมรอบเมืองเสียมเรียบ เป็นอาณาจักรขอมโบราณ เป็นเทวสถานของงศาสนาพราหมณ์  ลักธิไศวะนิกาย นับองค์ศิวะเป็นใหญ่  ฉะนั้นโบราณสถานทั้งหลายจะมีเรื่องราวขององค์ศิวะ หรือรูปเคารพ (ศิวลึงค์) โดยส่วนใหญ่โบราณสถานของศาสนานี้จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ เทวสถานที่มีรูปเคารพ และอโรคยาศาล หรือที่พักคนเดินทาง การวางแผนของการก่อสร้าง เทวสถานและอโรคยาศาล จะเป็นการสร้างเชื่อระหว่างเมืองที่มีการแผ่อิทธิพลของอาณาจักรขอม ทำให้เราเห็นเทวสถานหรือรูปแบบของสถาปัตยกรรมขอมไกลถึง ประเทศลาว พม่า ไทย(ถึงลำพูน)  เมื่อกลับมาดูทีจุดเมืองมรดกโลกที่นครวัด นครธม พบว่าการบริหารจัดการเป็นแบบองค์รวม คือการซื้อบัตรเข้าชมสามารถซื้อได้เป็นแบบวัน หรือ แบบ สามวัน และแบบ เจ็ดวัน โดยคิดเป็นเงิน เหรียญสหรัฐ ซื้อแล้วสามารถเข้าชมได้ไม่จำกัดตามวันที่เราซื้อ ถามแบบนี้ดีหรือเมื่อเทียบกับประเทศไทยที่ซื้อบัตรเข้าชมเป็นรายสถานที่ ในความจริงแบบนี้ดีต่อชาวต่างชาติเพราะมีความตั้งใจในการมาท่องเที่ยวศึกษาอย่างจริงจัง และที่สำคัญง่ายต่อการบริหารเงินนะครับ (เท่าที่รู้มาการบูรณโบราณสถาน จะใช้แบบอนัสติโรสิต และให้ประเทศมหาอำนาจเช่น อินเดีย อียิปต์ ฝรั่งเศส มาช่วยบูรณะ และรับค่าตอบแทน ส่วนแบ่งจากบัตรเข้าชม) ปัญหาที่พบก็คือความสามารถในการบูรณะของแต่ละประเทศ ไม่เท่ากันและองค์ความรู้ด้านสถาปัตยกรรมเขมรก็ไม่เท่ากัน ทำให้การผลของการบูรณะโบราณสถานแต่ละแห่งไปคนละทิศทางทั้งที่บางโบราณสถานอยู่ในยุคเดียวกัน หรือยุคศิลปะเดียวกัน แต่ทางเขมรคงทำอะไรไม่ได้มาเนื่องจากตนเองก็ไม่มีความสามารถในการบูรณะ ในขณะนั้น สิ่งที่ค้นพบคือการมาขายสินค้าที่ระลึกของชุมชนรอบโบราณสถานก็จะเหมือนกับหลายที่ที่มารุมนักท่องเที่ยว แต่ไม่สามารถเข้าขายในโบราณสถานได้ ต้องขายที่กำหนดเท่านั้นคือนอกทางเข้าและทางออกเท่านั้น ไม่สามารถเข้าในโบราณสถานได้ เหมือนสถานที่เฉพาะนักท่องเที่ยวเท่านั้น ทั้งที่เป็นของชาวเขมรทุกคน การเป็นมรดกโลก กลายเป็นสถานที่กำหนดเฉพาะนักท่องเที่ยว มิใช้ของทุกคน ทุกคนไม่ได้ประโยชน์ร่วมกัน หากไม่มีเงินที่จะเข้าไป สถานที่เหนือกาลเวลา และอำนาจนิยม

          ส่วนสถานที่สุดท้ายคงเป็นประเทศไทย ที่คำเตือนจาก UNESCO ว่าจะถอดถอนมรดกโลกออกจากประเทศ คือที่อุทยานประวัติศาสตร์อยุธยา มา 2 ครั้งให้ประเทศไทยปรับปรุง แล้วมันเกิดอะไรขึ้นหว่า ระหว่างเราไม่ได้ดูแลมรดกโลก หรือมรดกโลกออกกฎมาบังคับประเทศไทยให้ทำตามความต้องการของโลก การตั้งคำถามจากคนที่ไม่ทราบว่ามรดกโลก ดีไม่ดีอย่างผม ก็คือ การเป็นมรดกโลกดีอย่างไร ทำให้คนเสียโอกาสในการดูแลแหล่งท่องเที่ยวด้วยตนเอง การที่คนชุมชนรอบมรดกขาดโอกาสที่เท่าเทียมกันในการใช้สถานที่ท่องเที่ยว เพราะถูกกำหนดการเข้าออกด้วย ค่าธรรมเนียม ที่ทำให้คนหลายคนในบริเวณนั้นขาดโอกาสในการศึกษาหาความรู้ จากอดีตด้วยตนเอง เมื่อตั้งคำถามแบบนี้ คงต้องถามต่อว่าแล้วแหล่งท่องเที่ยวมรดกของเราทั้งสองแห่งเกิดอะไรบ้าง คงเริ่มจากอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยที่เมื่อพูดถึงที่นี่หลายคนจะคิดถึงประเพณีเผาเทียนเล่นไฟ กับอาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรแรกของไทยตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ (ตามที่เรียนมาตอนประถม 5) เมืองแห่งรุ่งอรุณความสุข แล้วก็คิดไม่ออกว่าจะเป็นอย่างไรต่อ เพราะรู้เท่านี้จริงๆ แล้วในความเป็นจริงอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยมีการจัดการด้านการท่องเที่ยวเพื่อการท่องเที่ยวอย่างไร เท่าที่เห็นก็มีการชำระเงินค่าธรรมเนียมค่าเข้าชมเนื่องจากสถานที่นี้ สามารถเข้าชมได้โดยไม่ต้องอาศัยมัคคุเทศก์เท่าไหร่ ซึ่งนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศจะได้รับ ข้อมูลพร้อมแผ่นที่ในการชมเอง ได้ส่วนคนไทย นอกจ่ายเงินแล้วจะไม่ได้รับอะไรเลยอาจจะเป็นเพราะ เชื่อว่าคนไทยคงทราบข้อมูลดีอยู่แล้ว เออความเท่าเทียมกันอยู่ไหนหว่า แต่ก็ไม่นาแปลกที่ไม่แจกให้เพราะแจกให้คนไทยสิงที่ผมเห็นในสถานที่ท่องเที่ยวอื่น คนไทยจะเอาไปบังแดด ทำแทนพัด แล้วก็ทิ้งไม่สนใจในการศึกษา ซึ่งเหล่านี้เป็นต้นทุนเหมือนกัน แต่อย่างไรก็ตามการสร้างเส้นทางท่องเที่ยว มีการให้ความรู้ในป้ายบอกสถานที่ท่องเที่ยวย่อมเป็นสิ่งที่ทดแทนได้ แต่ก็ไม่ละเอียดเท่าไหร่ การให้บริการด้านการท่องเที่ยวเช่นการห้ามนำรถยนต์เข้าในเขตโบราณสถาน การมีรถราวพร้อมวิทยากรบรรยายย่อมทดแทนได้ หรือการให้บริการให้เช่าจักรยานของเอกชน ย่อมทดแทนได้เหมือนกัน แต่การให้ทุกคนมีโอกาสเหมือนกันย่อมเป็นปัญหาเหมือนกัน การพัฒนาและอนุรักษ์โบราณสถานยังเป็นปัญหาบ้างเนื่องจากงบประมาณที่ได้รับน้อยทำให้การดูแลโบราณสถานอาจจะมีปัญหาบ้าง หากมีการวางแผนที่ดีและการที่ภาครัฐมีนโยบายที่ดีเกี่ยวกับการบริหารจัดการย่อมจะทำให้การแก้ไขปัญหาต่างๆ ย่อมทำได้ดี ในความเป็นจริงแล้วอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยไม่ค่อยมีปัญหาอาจจะเป็นเพราะนักท่องเที่ยวที่มาท่องเที่ยวไม่มาก ส่วนมากจะเป็นนักท่องเที่ยวกลุ่มเยาวชน นักเรียนที่มาทัศนศึกษาเป็นหมู่คณะเพื่อศึกษาหาความรู้เรื่องราวอดีตของไทย เท่านั้น และได้รับการสร้างองค์ความรู้ในการอนุรักษ์จากครูมาล่วงหน้าแล้ว ทำให้ปัญหาจึงไม่เคยเกิด หรือมีก็แก้ไขปัญหาได้ทัน แต่อุทยานประวัติศาสตร์อยุธยา หรืออโยธยาศรีรามเทพนคร มีนักท่องเที่ยวจำนวนมากมาเยี่ยมชมทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ มากกว่า 10 ล้านคน ครั้งต่อปี ต้องขอย้อนกลับไปว่าอุทยานประวัติศาสตร์อยุธยาคือ อะไร คืออาณาที่สองของประเทศไทย มีอายุยืนยาวประมาณ 200 กว่าปี มีกษัตริย์ที่ปกครองถึง 34 พระองค์ ที่มีชื่อเสียงที่เรารู้จักท่านจากผลงานของท่านคือ พระเจ้าอู่ทอง ปฐมปรมกษัตริย์  อสมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระศรีสุริโยทัย พระเจ้าตากสินมหาราชเป็นต้น สำหรับในเขตอุทยานประวัติศาสตร์อยุธยา จะเป็นโบราณสถานที่อยู่กลางเมืองปัจจุบันเป็นเมืองมรดกโลกเดียวที่ไม่หยุดไปกาลเวลา เท่าที่ผมเข้าใจ เพราะเมืองอยุธยายังเจริญต่อไป มี seven- eleven จำนวนมาก มี pub จำนวนมาก การเข้าชมโบราณสถานก็ไม่มีให้ความรู้นักท่องเที่ยว ทำให้นักท่องเที่ยวเดินทางท่องเที่ยว แบบงง และงง มีของขายจำนวนมากในเขตโบราณสถานขาดการจัดการที่ดี ปล่อยให้คนเข้าไปหากินได้ตลอด แต่อย่างไรก็ตามการอนุรักษ์ก็ทำเป็นช่วงๆ ขึ้นอยู่กับอำนาจของนักการเมืองที่ต้องหาเสียงเท่านั้น สร้างความร่วมมือระหว่างชุมชนกับแหล่งท่องเที่ยวไม่ชัดเจน มีการสร้างกิจกรรมการท่องเที่ยวเพื่อตอบสนองนักท่องเที่ยว เช่นปางช้าง ก็ไม่ตอบสนองกับความเป็นจริงเหมือนปรุงแต่งเท่านั้นไม่ได้เกิดจากความจริงที่ต้องมีการอนุรักษ์ รวมทั้งยังพบขยะจำนวนมากจากการท่องเที่ยว ไม่รู้ว่าเกิดจากนักท่องเที่ยว หรือเกิดจากประชาชนที่มาขายของ หรือมาจากธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องการท่องเที่ยว

          การท่องเที่ยวที่เกิดจากการเป็นมรดกโลกนั้นมักจะมีสองด้านเสมอ ทั้งด้านบวกและด้านลบ ไม่มีอะไรจะดีทั้งหมด การให้ความรู้แก่ทั้งหมด ทั้งนักท่องเที่ยว ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยว รัฐบาล และชุมชนรอบแหล่ง ก็ย่อมจะทำให้การท่องเที่ยวและการอนุรักษ์แหล่งเท่องเที่ยวเดินทางไปด้วยกัน ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ทั้งหมด เช่นนักท่องเที่ยวได้ความรู้ ได้ถ่ายรูป ได้สัมผัสสถานที่เป็นมรดกโลก ผู้ประกอบการได้เงินจากค่าบริการ หรือจากสินค้าที่ระลึก รัฐบาลได้เงินภาษีเพื่อมาพัฒนาประเทศ และเงินมาดูและมรดกโลก ส่วนประชาชนรอบแหล่งย่อมจะได้ประโยชน์การเข้ามาของนักท่องเที่ยว เมื่อทุกฝ่ายได้ประโยชน์รวมกัน มีแบ่งปันเท่ากันย่อมทำให้ทุกฝ่ายพอใจ จะไม่เกิดการเอาเปรียบซึ่งกันและกัน ย่อมทำให้ได้ว่าหากมีการให้ความรู้ย่อมทำให้การท่องเที่ยวเดินทางไปได้

          การท่องเที่ยวยังยืนคงจะเกิดขึ้นมิใช้มีเฉพาะในฝันหรือทฤษฎีที่ขาดการปฏิบัติ ขอให้การท่องเที่ยวช่วยสนับสนุนทุกประเทศ ให้คนในประเทศต่างๆ มีความรู้ความเข้าใจ

 

3 สิงหาคม 2553

14:24 น.

Yogyakarta, Indonesia

Email/ Facebook : [email protected]

 


[1] อาจารย์สาขาวิชาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยพะเยา

หมายเลขบันทึก: 399622เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2010 21:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 14:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท